ห้องแต่งกลอนตามฉันทลักษณ์มีกติกาไม่เหมือนห้องอื่น...รบกวนอ่านก่อนนะครับ โดยคลิ๊กที่นี่กาพย์ยานี ๑๑ กาพย์ยานี ๑๑ หรือ กาพย์ยานี คือ กาพย์ ชนิดหนึ่ง มีคำ ๑๑ คำในหนึ่งบาท จึงเรียกว่า กาพย์ยานี ๑๑ นิยมใช้ในการเล่าเรื่อง ในหนังสือประเภทคำกาพย์ ร่วมกับกาพย์ชนิดอื่นๆ หรือในหนังสือประเภทคำฉันท์ ร่วมกับกาพย์และฉันท์ชนิดอื่นๆ ในยุคปัจจุบัน นิยมแต่งกาพย์ยานีเป็นบทสั้นๆ โดยไม่ได้ร้อยกับฉันทลักษณ์ประเภทอื่นๆ
กาพย์ยานี มีลักษณะบังคับ หรือโครงสร้างของ ฉันทลักษณ์ ดังนี้คือ
คณะ• ใน ๑ บาท มี ๒ วรรค วรรคหน้ามี ๕ คำ วรรคหลังมี ๖ คำ รวมเป็น ๑๑ คำ
• ใน ๑ บท มี ๒ บาท บาทละ ๒ วรรค รวมเป็น ๔ วรรค
สัมผัส• สัมผัสระหว่างวรรค มีสัมผัส ๒ คู่ คือ
• คำสุดท้ายของวรรคหน้า สัมผัสกับ คำที่สามของวรรคหลัง แทนด้วยอักษร ก ในแผนภาพโครงสร้างด้านล่าง
• คำสุดท้ายของวรรคที่สอง สัมผัสกับ คำสุดท้ายของวรรคที่สาม แทนด้วยอักษร ข ในแผนภาพโครงสร้างด้านล่าง
• สัมผัสระหว่างบท มี ๑ คู่ คือ
• คำสุดท้ายของแต่ละบท สัมผัสกับ คำสุดท้ายของวรรคที่สองของบทที่ตามมา แทนด้วยอักษร ง ในแผนภาพโครงสร้างด้านล่าง
ลักษณะอื่นๆกาพย์ยานี ๑๑ กาพย์ยานี ๑๑ หรือ กาพย์ยานี คือ กาพย์ ชนิดหนึ่ง มีคำ ๑๑ คำในหนึ่งบาท จึงเรียกว่า กาพย์ยานี ๑๑ นิยมใช้ในการเล่าเรื่อง ในหนังสือประเภทคำกาพย์ ร่วมกับกาพย์ชนิดอื่นๆ หรือในหนังสือประเภทคำฉันท์ ร่วมกับกาพย์และฉันท์ชนิดอื่นๆ ในยุคปัจจุบัน นิยมแต่งกาพย์ยานีเป็นบทสั้นๆ โดยไม่ได้ร้อยกับฉันทลักษณ์ประเภทอื่นๆ
กาพย์ยานี มีลักษณะบังคับ หรือโครงสร้างของ ฉันทลักษณ์ ดังนี้คือ
คณะ• ใน ๑ บาท มี ๒ วรรค วรรคหน้ามี ๕ คำ วรรคหลังมี ๖ คำ รวมเป็น ๑๑ คำ
• ใน ๑ บท มี ๒ บาท บาทละ ๒ วรรค รวมเป็น ๔ วรรค
สัมผัส• สัมผัสระหว่างวรรค มีสัมผัส ๒ คู่ คือ
• คำสุดท้ายของวรรคหน้า สัมผัสกับ คำที่สามของวรรคหลัง แทนด้วยอักษร ก ในแผนภาพโครงสร้างด้านล่าง
• คำสุดท้ายของวรรคที่สอง สัมผัสกับ คำสุดท้ายของวรรคที่สาม แทนด้วยอักษร ข ในแผนภาพโครงสร้างด้านล่าง
• สัมผัสระหว่างบท มี ๑ คู่ คือ
• คำสุดท้ายของแต่ละบท สัมผัสกับ คำสุดท้ายของวรรคที่สองของบทที่ตามมา แทนด้วยอักษร ง ในแผนภาพโครงสร้างด้านล่าง
ลักษณะอื่นๆ• กาพย์ยานีอาจมีความยาวร้อยต่อกันกี่บทก็ได้ ไม่จำกัด
• บาทที่สองของแต่ละวรรค อาจไม่ต้องมีสัมผัส จากคำท้ายวรรคหน้า ไปยังคำที่สามของวรรคหลังก็ได้
การอ่านกาพย์ยานีการอ่านทำนองเสนาะสำหรับกาพย์ยานี อาจอ่านได้หลายแบบ เช่น อ่านเป็นทำนองสวด เป็นต้น โดยนิยมอ่านเว้น 2,3 / 3,3
ตัวอย่าง บทร้อยกรอง๏ วิชาเหมือนสินค้า อันมีค่าอยู่เมืองไกล
ต้องยากลำบากไป จึงจะได้สินค้ามา
จงตั้งเอากายเจ้า เป็นสำเภาอันโสภา
ความเพียรเป็นโยธา แขนซ้ายขวาเป็นเสาใบ
นิ้วเป็นสายระยาง สองเท้าต่างสมอใหญ่
ปากเป็นนายงานไป อัชฌาสัยเป็นเสบียง
สติเป็นหางเสือ ถือท้ายเรือไว้ให้เที่ยง
ถือไว้อย่าให้เอียง ตัดแล่นเลี่ยงข้ามคงคา
ปัญญาเป็นกล้องแก้ว ส่องดูแถวแนวหินผา
เจ้าจงเอาหูตา เป็นล้าต้าฟังดูลม
ขี้เกียจคือปลาร้าย จะทำลายให้เรือจม
เอาใจเป็นปืนคม ยิงระดมให้จมไป
จึงจะได้สินค้ามา คือวิชาอันพิศมัย
จงหมั่นมั่นหมายใจ อย่าได้คร้านการวิชาฯ
๏ สาธุสะ จขไหว้ พระศรีไตรสรณา
พ่อแม่แลครูบา เทวดาในราศี
ข้าเจ้าเอา ก ข เข้ามาต่อก กา มี
แก้ไขในเท่านี้ ดีมิดีอย่าตรีชา
๏ จะร่ำคำต่อไป ภรใจกุมารา
ธานีมีราชา ชื่อภาราสาวัตถี
ชื่อพระไชยสุริยา มีสุดามเหสี
ชื่อว่าสุมาลี อยู่บุรีไม่มีภัย
ข้าเจ้าเหล่าเสนา มีกริยาอัชฌาสัย
พ่อค้ามาแต่ไกล ได้อาศัยในภารา
ที่มา :
http://th.wikipedia.orgRevised by : victoriasecret