รบกวนช่วยแต่งโคลงสี่สุภาพให้หนูหน่อยน่ะค่ะ
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน
25 เมษายน 2024, 10:36:PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

กด Link เพื่อร่วมกิจกรรม ผ่านFacebook (หรือกดปุ่มสมัครสมาชิกด้านบน)
 
หน้า: 1 [2]
  ชุมชน  |  ส่งหัวข้อนี้  |  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: รบกวนช่วยแต่งโคลงสี่สุภาพให้หนูหน่อยน่ะค่ะ  (อ่าน 45388 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
01 สิงหาคม 2013, 09:57:AM
ไร้นวล^^
ผู้ดูแลบอร์ด
*

คะแนนกลอนของผู้นี้ 825
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,430

โปรดแนะนำเพื่อค้ำชูภาษาไทย


« ตอบ #20 เมื่อ: 01 สิงหาคม 2013, 09:57:AM »
ชุมชนชุมชน


มีอีกหลายคำนะครับ

คือคำว่า

"ชั่ง" กับ "ช่าง"

"ไม้" กับ "ละม้าย"

"ได้" กับ "ด้าย"

การเปลี่ยนรูปแบบทั้งการออกเสียงและการเขียนน่ะ ใครสามารถออกกฎระเบียบตรงนี้ได้ครับ ราชบัณฑิตยสถานรึเปล่าครับ

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : พี.พูนสุข, สมนึก นพ, ศรีเปรื่อง, panthong.kh, ไพร พนาวัลย์, รพีกาญจน์, รัตนาวดี, saknun, เนิน จำราย, ชลนา ทิชากร

ข้อความนี้ มี 10 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า

แดนดินใดให้เราเกิด  เราจะเทิดทูนไว้เหนือเศียร
01 สิงหาคม 2013, 10:01:AM
พี.พูนสุข
กิตติมศักดิ์
*

คะแนนกลอนของผู้นี้ 1269
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 1,104


ทิวาฉาย ณ ปลายผา


« ตอบ #21 เมื่อ: 01 สิงหาคม 2013, 10:01:AM »
ชุมชนชุมชน




ข้อใดออกเสียงสระยาวทุกคำ
  ๑.  น้ำตาแสงใต้
  ๒.  ลำน้ำโขงเชี่ยว
  ๓.  คำนำเรื่องข้าว
  ๔.  จำนงจำหน่าย


(แนวข้อสอบ ไทย กข ปี ๒๕๓๑)



  คุณนพ   คุณไร้นวม-ไร้หนาม  คุณบัณทิตเมืองสิงห์

ตอบ   ข้อ ๑  เหมือนกัน  (ดูจากกล้องวงจรปิดแล้ว จับพิรุธไม่ได้)

                      ถูกต้องค่ะ

                คอยรับคะแนนเก็บนะคะ

เฉลยค่ะ

  ข้อ ๑    น้ำ    ออกเสียงยาว  /อา/  มีเสียงพยัญชนะสะกด /ม/   (รูปกับเสียงไม่ตรงกัน  รูป เสียงสั้น /อะ/ )
            ตา     ออกเสียงยาว  /อา/  (รูปและเสียงตรงกัน)
            แสง   ออกเสียงยาว  /แอ/  (รูปและเสียงตรงกัน)
            ใต้     ออกเสียงยาว  /อา/  มีเสียงพยัญชนะสะกด /ย/  (รูปกับเสียงไม่ตรงกัน   รูป  ออกเสียงสั้น /อะ/ )

                      ข้อ ๑ จึงถูกต้อง   นักเรียนเก่งจัง

ข้อ ๒       ลำ    ออกเสียงสั้น  /อะ/  มีเสียงพยัญชนะสะกด /ม/   (รูปกับเสียงตรงกัน) 
             น้ำ   ออกเสียงยาว   /อา/  มีเสียงพยัญชนะสะกด /ม/   (รูปกับเสียงไม่ตรงกัน  รูป เสียงสั้น /อะ/ )
             โขง  ออกเสียงยาว  /โอ/   มีเสียงพยัญชนะสะกด /ง/    (รูปกับเสียงตรงกัน) 
            เชี่ยว  ออกเสียงสั้น  /เอียะ/ มีรูปวรรณยุกต์เอกกำกับ  ถ้าคำ เชียว ออกเสียง /เอีย/ ออกเสียงยาว

            ** รูปวรรณยุกต์กำกับ ทำให้เสียงสระในบางคำเปลี่ยนได้ เช่น
                รอง ออกเสียงยาว /ออ/ , ร่อง  ออกเสียงสั้น / เอาะ/  มีเสียงพยัญชนะสะกด /ง/
                ปอง ออกเสียงยาว /ออ/ , ป้อง ออกเสียงสั้น / เอาะ/  มีเสียงพยัญชนะสะกด /ง/   

               

ข้อ ๓       คำ    ออกเสียงสั้น /อะ/    (รูปกับเสียงตรงกัน) 
             นำ    ออกเสียงสั้น /อะ/     (รูปกับเสียงตรงกัน) 
             เรื่อง  ออกเสียงสั้น  /เอือะ/  มีววรรณยุกต์เอกกำกับ
             ข้าว   ออกเสียงยาว  /อา/ มีพยัญชนะสะกด /ว/   (รูปกับเสียงตรงกัน) 

ข้อ ๔       จำ   ออกเสียงสั้น /อะ/  (รูปกับเสียงตรงกัน)
              นง  ออกเสียงสั้น /โอะ/  (รูปกับเสียงตรงกัน)
              จำ   ออกเสียงสั้น /อะ/  (รูปกับเสียงตรงกัน)
          หน่าย   ออกเสียงยาว /อา/ มีเสียงพยัญชนะสะกด /ย/  (รูปกับเสียงตรงกัน)

 ........................

 ข้อสอบข้อนี้ เกี่ยวกับ เสียงสระในภาษาไทย
 ครูภาษาไทยยุคเก่า (ครูพี) และครูภาษาไทยยุคใหม่(???) ต้องสอนไวยากรณ์เก่าเหมือนเดิม  แต่ตัวอย่างคำเกิดขึ้นใหม่ไม่สิ้นสุด  
 อาจจะมีไวยากรณ์ใหม่เพิ่มก็เป็นได้  ต้องเตรียมรับมือกับข้อสอบโอเน็ตให้ดี

 วกกลับมาเรื่องที่กำลังถกกันอยู่ค่ะ   แหะ ๆ กินข้าวก่อนนะคะ... ถ้ามีข้อความใดคลาดเคลื่อน แนะนำด้วยค่ะ

                                          พี.พูนสุข

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : บัณฑิตเมืองสิงห์, สมนึก นพ, ศรีเปรื่อง, panthong.kh, ไพร พนาวัลย์, รพีกาญจน์, รัตนาวดี, saknun, เนิน จำราย, ชลนา ทิชากร

ข้อความนี้ มี 10 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
01 สิงหาคม 2013, 10:44:AM
toshare
Special Class LV6
นักกลอนเอกแห่งวังหลวง

******

คะแนนกลอนของผู้นี้ 303
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,362



« ตอบ #22 เมื่อ: 01 สิงหาคม 2013, 10:44:AM »
ชุมชนชุมชน

ในมุมมองผม ซึ่งไม่ได้เรียนด้าน ภาษา เป็นหลัก แต่ได้มีประสบการณ์ไปทั่วไทย
และว่าตามประวัติศาสตร์ที่ได้อ่านพบมาทั้งภาษาไทย และอังกฤษ

ขอยืนยันว่า ในแต่ละท้องถิ่น แต่ละชุมชน เขายึดเสียงเป็นหลัก ยิ่งคนส่วนใหญ่ไม่ได้เรียนขีดเขียนหนังสือ
เสียงเป็นหลักสำคัญที่หล่อหลอมชุมชน

แต่คนเราทุกเผ่าพันธุ์มีดนตรีในหัวใจ จึงมีการเคาะจังหวะ แล้วจึงตามมาด้วยท่วงทำนอง
เกิดเป็นบทเพลง แล้วจึงมีการขีดเขียน มีร้อยกรองคำประพันธ์ที่มีรูปแบบซับซ้อนตามมา


(การจดจารเป็นวัฒนธรรมชนชั้นปกครอง ได้สร้างภาษาให้เข้าถึงยาก เทียบได้ระหว่าง บาลี กับ สันสกฤต
ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่าฤษีทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรรพ์
คำว่า สํสฺกฤต (संस्कृत) แปลว่า "กลั่นกรองแล้ว" ส่วนคำว่า สํสฺกฤตา วากฺ (संस्कृता वाक्) จะใช้เพื่อเรียก "ภาษาที่กลั่นกรองแล้ว"
ซึ่งเป็นภาษาของชนชั้นพราหมณ์ จากวิกิพีเดีย)

การใช้เสียงนั้น ผู้ใช้ก็จะเน้นความเป็นธรรมชาติ เป็นธรรมดาที่พวกเขาพบเจอ คุ้นเคย
การออกเสียง สั้นยาว หนักเบา จึงเกิดขึ้นตามอารมณ์ความรู้สึกขณะพูดเป็นสำคัญ


เมื่อผมได้พบครูเพลงตามภาคต่างๆ หรือแวดวงขับร้องในศาสนาคริสต์ พบว่ามีลักษณะเหมือน ๆ กัน คือ
ในคำ คำเดิมนั้น ๆ จะออกเสียง สั้นยาว หนักเบา ให้ไพเราะลื่นไหลเป็นสำคัญ ไม่มีเกณฑ์ตายตัว
เน้นให้ฟังเพราะ เข้าใจกันได้
(เกิดการเอื้อนเสียงขึ้นในการขับร้องเพลง คงไม่มีครูเพลงคนใดให้ศิษย์ร้อง "คนเรารักกันยาก" ตามโน้ต
ซึ่ง "ยาก" จะกลายเป็น "อยาก" 555)

สรุป น้ำ ใช้ได้แน่นอน (จะอ่านแบบใด ก็มุ่งให้สื่อสารเข้าใจกันได้ และฟังไพเราะ) ขอบคุณครับ

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : ศรีเปรื่อง, พี.พูนสุข, บัณฑิตเมืองสิงห์, สมนึก นพ, panthong.kh, ไพร พนาวัลย์, รพีกาญจน์, saknun, เนิน จำราย, ชลนา ทิชากร

ข้อความนี้ มี 10 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
01 สิงหาคม 2013, 10:59:AM
ศรีเปรื่อง
Special Class LV5
นักกลอนแห่งเมืองหลวง

*****

คะแนนกลอนของผู้นี้ 220
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 371


ข้าพเจ้าเพียงใช้บทกวี...เพื่อหย่อนฤดี


« ตอบ #23 เมื่อ: 01 สิงหาคม 2013, 10:59:AM »
ชุมชนชุมชน

ขอบคุณน้องเจ้าของกระทู้ คุณพัน และทุก ๆ ท่านที่มาร่วมแลกเปลี่ยนกัน
สุดยอด  หัวเราะยิ้มๆ  หัวเราะยิ้มๆ  หัวเราะยิ้มๆ ผมได้ความรู้อีกเป็นกะละมังเลย

ส่วนตัวผมเห็นด้วยกับแนวคิดของท่าน Toshare มาก ๆ
และผมก็รับได้ด้วย หากจะใช้สระเสียงสั้นกับยาวมาสัมผัสกัน เช่น ใจ กับ คลาย
เพราะเวลาเราขับทำนองเสนาะหรือร้องเป็นเพลง เราสามารถปรับความสั้นยาวของเสียงให้ใกล้เคียงกันได้

แต่...คงต้องเอาไว้ดูไว้อ่านคนเดียว  ยิ้มแฉ่งฟันหลอ
ไปให้ครูหรือคนอื่น ๆ ดู...มีหวังโดนถล่มเละแน่ ๆ  หัวเราะเยาะ  หัวเราะเยาะ

ศรีเปรื่อง

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : พี.พูนสุข, บัณฑิตเมืองสิงห์, panthong.kh, ไพร พนาวัลย์, สมนึก นพ, รพีกาญจน์, saknun, เนิน จำราย, ชลนา ทิชากร

ข้อความนี้ มี 9 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า

01 สิงหาคม 2013, 11:17:AM
toshare
Special Class LV6
นักกลอนเอกแห่งวังหลวง

******

คะแนนกลอนของผู้นี้ 303
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,362



« ตอบ #24 เมื่อ: 01 สิงหาคม 2013, 11:17:AM »
ชุมชนชุมชน

ขอเล่าเรื่องขำ ๆ เกี่ยวกับ เสียง อีกเรื่องนะครับ

ผมมีเพื่อนพุทธหลายคนที่ชอบฟังเพลงประสานเสียง เขาจึงมักไปโบสถ์ด้วย
วันหนึ่ง หลังเลิกพิธี มีคนหนึ่งถามว่า นี่ ๆ ศาสนาเธอมีแต่แพะ ๆ แกะ ๆ ไม่ใช่หรือ
ผมก็ตอบว่าใช่ แล้วมีปัญหาอะไร เขาตอบว่า แล้วทำไมมี "ม้าลาย" ด้วย
ผมก็ว่า ไม่มีแน่ ๆ เขาว่าแล้วเพลงสุดท้ายทำไมมี  ผมล่ะงงไปเลย
ต้องเข้าไปเปิดหนังสือเพลง 555 เนื้อเพลงมีว่า
"มิทรงช่วยต้องม้วยมลาย" แต่ลูกหลานเขาไปเคร่งที่ตัวโน้ตมากเกินไป ร้องตามโน้ตจึงเป็นเรื่อง 555
เวลาผมสอนเพลงนี้ จะให้เขา ลดโน้ต "มะ" ลง แล้วไปเพิ่มที่ "ลาย" เพื่อให้ฟังได้เป็น "มลาย"

นี่คงเป็นอีกตัวอย่างขำ ๆ เรื่อง "สั้นยาว" ของเสียงอ่าน 555
====

แฮะ ๆ เจอประเด็นคุณศรีเปรื่อง "ต้องเอาไว้ดูไว้อ่านคนเดียว"
เลยต้องขอเพิ่มเติม

ไม่ต้องดูต้องอ่านคนเดียวดอกครับ 555 (ดอก ภาษาเขียนแบบ สูงวัย 555 ภาษาพูดเขาก็ว่า "หรอก" กันทั้งนั้น)

กรณีที่ผมยกมา ถ้าครูสอนขับร้องเพลงคนใด สอนให้ร้องตามโน้ต ผมยืนยัน นั่งยัน นอนยัน ไม่ยอมเด็ดขาด
เหมือนศิษย์ครูเอื้อ ผมไม่เคยได้ยินใครร้อง "รักกันอยาก" เลย ครูเอื้อท่านก็คงไม่ยอมแน่ ๆ 555

สรุปคนเป็น ครู ควรมีความเข้าใจโลก เข้าใจชีวิตให้ดี ๆ ไม่ใช่แต่กอดตำรา
อย่างที่เรามีปัญหาด้านการศึกษา ผมว่าก็เป็นทำนองนี้แหละครับ "ติดยึด" เกินไป

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : ศรีเปรื่อง, บัณฑิตเมืองสิงห์, ไพร พนาวัลย์, พี.พูนสุข, สมนึก นพ, รพีกาญจน์, panthong.kh, saknun, เนิน จำราย, ชลนา ทิชากร

ข้อความนี้ มี 10 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
01 สิงหาคม 2013, 11:41:AM
สมนึก นพ
Special Class LV6
นักกลอนเอกแห่งวังหลวง

******

คะแนนกลอนของผู้นี้ 728
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,994



taojeo@hotmail.com
« ตอบ #25 เมื่อ: 01 สิงหาคม 2013, 11:41:AM »
ชุมชนชุมชน


*เชิญชวนชมช่อไม้    โรงเรียน
งามเด่นเพราะแวะเวียน  รดน้ำ
สูงตระหง่านตะเคียน     ตะแบก
พิศเพ่งแลเลิศล้ำ    จึ่งชี้ชวนชม*

ประเด็น..โคลงบทนี้ สัมผัส น้ำ กับ ล้ำ ผิดหรือถูก
เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติต่อไป

นพ

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : ไพร พนาวัลย์, บัณฑิตเมืองสิงห์, พี.พูนสุข, รพีกาญจน์, panthong.kh, saknun, เนิน จำราย, ชลนา ทิชากร

ข้อความนี้ มี 8 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
01 สิงหาคม 2013, 12:33:PM
พี.พูนสุข
กิตติมศักดิ์
*

คะแนนกลอนของผู้นี้ 1269
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 1,104


ทิวาฉาย ณ ปลายผา


« ตอบ #26 เมื่อ: 01 สิงหาคม 2013, 12:33:PM »
ชุมชนชุมชน

 *เชิญชวนชมช่อไม้    โรงเรียน
งามเด่นเพราะแวะเวียน  รดน้ำ
สูงตระหง่านตะเคียน     ตะแบก
พิศเพ่งแลเลิศล้ำ    จึ่งชี้ชวนชม*
   
              พันทอง




พี่ว่า..  น้องพันแต่งโคลงบทนี้ได้ถูกต้องแล้ว
โดยยึดแบบบรรพกวี ตามที่คุณพรายม่านยกตัวอย่าง
หรือแม้แต่กวีกวีรัตนโกสินทร์ อาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์  ก็ใช้ค่ะ


๑.ล่องสะเปาเข้าติด        ตามโคม
โสมส่องคันฉ่องโฉม        ฉาบน้ำ
ผางประทีปประยิบโลม   ลอยพักตร์
ลอยปะอุระช้ำ           ช่วยรู้ใจประสงค์
 ("ลอยกระทง" - คำหยาด)

๒. เดือนลอยขึ้นทิวฟ้าขึ้นมาแล้ว
ประกายแพรวพราวระยับจับกระแส
ไกลแสนไกลในสายหมอกระลอกแร
เรืองร่างแหหิ่งห้อยพร้อยไม้น้ำ

ในดงดึกลึกเร้นเห็นทิวเขา
เป็นเงาเงางำทับชระอับอ่ำ
หมู่ยางยูงยืนซึมอยู่ครึ้มคล้ำ
ยะเยียบฉ่ำเฉียบหนาวอยู่ราวไพร 
("คืนหนึ่งในแควน้อย" - คำหยาด) 


อีกบทหนึ่ง ของ อังคาร  จันทาทิพย์ (กวี รางวัลนายอินทร์อะวอร์ด ปี ๒๕๕๔)
จากเรื่อง นาค : ตำนานแม่น้ำโขงอีกร้อยปีถัดไป...

จากฟ้าสูงต้นสาย  สุดปลายน้ำ
การค้างำครอบเงื่อนไขไม่หยุดหย่อน
ทุนสะเทือนเคลื่อนฐานรุกธารสะท้อน
ความยอกย้อนแผ่ขยายทลายทะลวง


ตัวอย่างข้างต้นนี้ พอจะตัดสินไดัหรือไม่ว่า..  ใช้คำว่า น้ำ ส่งสัมผัส  และรับสัมผัสด้วยคำว่า ล้ำ
                                         เคารพรัก

                                       พี. พูนสุข

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : บัณฑิตเมืองสิงห์, yaguza, รพีกาญจน์, สมนึก นพ, panthong.kh, saknun, เนิน จำราย, ไพร พนาวัลย์, ชลนา ทิชากร

ข้อความนี้ มี 9 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
01 สิงหาคม 2013, 02:34:PM
panthong.kh
Special Class LV6
นักกลอนเอกแห่งวังหลวง

******

คะแนนกลอนของผู้นี้ 2989
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 8,676



« ตอบ #27 เมื่อ: 01 สิงหาคม 2013, 02:34:PM »
ชุมชนชุมชน

*เชิญชวนชมช่อไม้    โรงเรียน
งามเด่นเพราะแวะเวียน  รดน้ำ
สูงตระหง่านตะเคียน     ตะแบก
พิศเพ่งแลเลิศล้ำ    จึ่งชี้ชวนชม*
   
              พันทอง




พี่ว่า..  น้องพันแต่งโคลงบทนี้ได้ถูกต้องแล้ว
โดยยึดแบบบรรพกวี ตามที่คุณพรายม่านยกตัวอย่าง
หรือแม้แต่กวีกวีรัตนโกสินทร์ อาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์  ก็ใช้ค่ะ



๑.ล่องสะเปาเข้าติด        ตามโคม
โสมส่องคันฉ่องโฉม        ฉาบน้ำ
ผางประทีปประยิบโลม   ลอยพักตร์
ลอยปะอุระช้ำ           ช่วยรู้ใจประสงค์
 ("ลอยกระทง" - คำหยาด)

๒. เดือนลอยขึ้นทิวฟ้าขึ้นมาแล้ว
ประกายแพรวพราวระยับจับกระแส
ไกลแสนไกลในสายหมอกระลอกแร
เรืองร่างแหหิ่งห้อยพร้อยไม้น้ำ

ในดงดึกลึกเร้นเห็นทิวเขา
เป็นเงาเงางำทับชระอับอ่ำ
หมู่ยางยูงยืนซึมอยู่ครึ้มคล้ำ
ยะเยียบฉ่ำเฉียบหนาวอยู่ราวไพร 
("คืนหนึ่งในแควน้อย"  คำหยาด) 


อีกบทหนึ่ง ของ อังคาร  จันทาทิพย์ (กวี รางวัลนายอินทร์อะวอร์ด ปี ๒๕๕๔)
จากเรื่อง นาค : ตำนานแม่น้ำโขงอีกร้อยปีถัดไป...

จากฟ้าสูงต้นสาย  สุดปลายน้ำ
การค้างำครอบเงื่อนไขไม่หยุดหย่อน
ทุนสะเทือนเคลื่อนฐานรุกธารสะท้อน
ความยอกย้อนแผ่ขยายทลายทะลวง


ตัวอย่างข้างต้นนี้ พอจะตัดสินไดัหรือไม่ว่า..  ใช้คำว่า น้ำ ส่งสัมผัส  และรับสัมผัสด้วยคำว่า ล้ำ
                                         เคารพรัก

                                       พี. พูนสุข


 ส่งจูบจ้ะ เคารพรัก ส่งจูบจ้ะ

สรุปว่า โคลงที่พันแต่งถูกต้องตามฉันทลักษณ์
ในฐานะที่เป็นผู้เปิดประเด็น ขอขอบพระคุณ อาจารย์ คุณครู คุณหมอ คุณตำรวจ และอีกหลายๆ ท่าน ที่ไม่ทราบอาชีพ
ที่เข้ามาให้ความรู้ ความกระจ่าง ที่นับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับท่านที่ไม่ทราบ ส่วนท่านที่ทราบอยู่แล้ว ก็ได้ทราบมากขึ้นไปอีก
โดยส่วนตัวแล้ว พันถือว่าทุกท่านเป็นครูเป็นอาจารย์ของพันทุกๆ ท่านถึงแม้บางท่านอาจจะอายุน้อยกว่า
แต่ถ้าสามารถให้ความรู้เราได้ สอนเราได้ ก็ถือว่าเป็นครูเหมือนกันจ้า

ดังนั้นจึงขอปิดประเด็นไว้แต่เพียงเท่านี้

ขอขอบพระคุณทุกท่านเป็นอย่างสูงค่ะ

พันทอง
 ส่งจูบจ้ะ เคารพรัก ส่งจูบจ้ะ

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : บัณฑิตเมืองสิงห์, สมนึก นพ, พี.พูนสุข, รพีกาญจน์, เนิน จำราย, ไพร พนาวัลย์, ชลนา ทิชากร

ข้อความนี้ มี 7 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  ชุมชน  |  ส่งหัวข้อนี้  |  พิมพ์  
 

Email:
Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
s s s s s