รวมบทประพันธ์ของ สนอง เสาทอง
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน
17 เมษายน 2024, 02:44:AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

กด Link เพื่อร่วมกิจกรรม ผ่านFacebook (หรือกดปุ่มสมัครสมาชิกด้านบน)
 
หน้า: 1 2 [3]
  ชุมชน  |  ส่งหัวข้อนี้  |  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: รวมบทประพันธ์ของ สนอง เสาทอง  (อ่าน 78043 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
07 พฤษภาคม 2013, 08:56:AM
choy
Special Class LV3.9
นักกลอนรอบรู้กวี

***

คะแนนกลอนของผู้นี้ 145
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 314



« ตอบ #40 เมื่อ: 07 พฤษภาคม 2013, 08:56:AM »
ชุมชนชุมชน

นิทานอีสปคำกรอง
   ๙.
จุดกำเนิดของทะเลทราย

๑.
   อันมนุษย์สุดหยั่งแท้         มโนจินต์
คดแต่ฉ้อนิจสิน                  ห่อนแก้
โลกีย์เกียรติกามกิน            ข้องดื่ม
ห่ามหื่นกิเลสแท้              อิ่มแปล้โลกีย์ฯ

๒.
   กาลครั้งหนึ่ง พระเจ้า ทรงสร้างโลก      ล้วนสวยงาม ธารโตรก พฤกษชาติ
เสกเถื่อนภู เดือนดาว ดารดาษ         น้ำไฟลม ดินธาตุ ได้พักพิง
   เมื่อสำเร็จ โลกสวย แสนน่าอยู่      จึงสร้างมนุษย์ คู่หนึ่ง ชายและหญิง
ทรงสำทับ ตรัสห้าม อย่าช่วงชิง         ทุกสรรพสิ่ง แบ่งปัน เอื้ออาทร
   ครั้นเผ่าพันธุ์ มนุษย์นั้น มากมายขึ้น      เริ่มขืนขัด ฝืนสิ้น คำท่านสอน
กิเลสโลภ โลกีย์ ระยำบอน            ทุกหย่อมหญ้า ร่านร้อน ทะเลบาป
   ในครั้งนั้น พระเจ้า ปวดร้าวนัก      จำท่านจัก ตักเตือน ด้วยคำสาป
ผิว่าใคร กำเริบ ผิดจ้วงจาบ                ต้องกำราบ ลงโทษ ให้เข็ดจำ
   คิดดังนั้น จึงเสด็จ มายังโลก         เพื่อล้างโศก บาปชั่ว อันซากซ้ำ
ป่าวประกาศ หากใคร สร้างบาปกรรม         หนึ่งบาปทำ หนึ่งทราย เม็ดร่วงดิน
   ครั้นเสร็จการ พระเจ้า ก็ทรงจาก      มนุษย์โดยมาก หยาบช้า อยู่นิจสิน
ไม่หวาดกลัว ทำบาป อยู่ชาชิน         หนึ่งเม็ดทราย มิถวิล ทำร้ายตน
   ครั้นจำเนียร ผ่านกาล ไปนานเนิ่น      เม็ดทรายนั้น ถมเทิน หลายแหล่งหน   
ทะเลทราย ก่อเกิด จากบาปชน         ดั่งได้ยล โลกล้น ทุ่งทรายเอยฯ

๓.
   คตินิทาน เรื่องนี้ ท่านสอนว่า
หากทำชั่ว บาปหนา เนิ่นนานเข้า
บาปชั่วนั้น ปรากฏ มิผ่อนเพลา
ยิ่งมากชั่ว เรื่องราว ยิ่งชัดเจนฯ   

๔.
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
“ทำชั่วมากๆ ยิ่งนานเท่าไร ก็ยิ่งเห็นความชั่วชัดเจนมากขึ้นเท่านั้น”

สนอง เสาทอง
อินทามระ 10
9 เมษายน 2556

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : Shumbala, ชลนา ทิชากร, รพีกาญจน์, อริญชย์, ยามพระอาทิตย์อัสดง, รัตนาวดี, พี.พูนสุข, เนิน จำราย

ข้อความนี้ มี 8 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
08 พฤษภาคม 2013, 02:39:PM
choy
Special Class LV3.9
นักกลอนรอบรู้กวี

***

คะแนนกลอนของผู้นี้ 145
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 314



« ตอบ #41 เมื่อ: 08 พฤษภาคม 2013, 02:39:PM »
ชุมชนชุมชน

นิทานอีสปคำกรอง
   ๑๐.
นกกับมด

๑.
   อันความดีอย่าร้าง         เลิกทำ
อุตส่าห์เพียรมุ่งย้ำ            เนื่องสร้าง
กุศลจิตหนุนนำ                ตั้งมั่น ท่านนา
ผิเหนื่อยล้าปัดอ้าง          ชั่วแพร้วระบัดสมัยฯ

๒.
   กาลครั้งหนึ่ง คามเขต ถิ่นไพรสี      สัตว์ใหญ่น้อย ถ้อยที ถ้อยอาศัย
ทั่วป่าจึง อบอวล ล้วนน้ำใจ              ทุกชีวิน สดใส ไร้บีฑา
   มาวันหนึ่ง ทินกร สาดแสงอุ่น         ไร้เมฆเทา วิรุณ จะโถมถา
เจ้ามดน้อย ค่อยไต่ เลาะราวพนา      ใกล้หน้าหนาว เสาะหา อาหารตุน
   มดเทียวใกล้ ริมฝั่ง ทะเลสาบ         ดั่งต้องสาป ก้าวเร่ง อย่างหันหุน
อนิจจา กรรมเจ้า ไถลหัวซุน             ใจว้าวุ่น หล่นน้ำ น้ำตานอง
   ฝ่ายวิหค เหินฟ้า อยู่ใกล้ใกล้          เจ้าใจหาย เห็นมด ตะกายร้อง
คาบใบไม้ ทิ้งน้ำ แล้วเฝ้ามอง            มดเกาะใบ ไม้ว่อง จึงรอดตาย
   มาวันหนึ่ง ถึงคราว วิหคบ้าง          เพลินแต่สาง ร้องเพลง กระทั่งสาย
มีพรานปืน จ้องอยู่ ไม่รู้กาย              มดใจหาย คิดช่วย สกุณา
   เจ้ามดน้อย คิดได้ พลางรีบเร่ง      ไม่หวั่นเกรง ไต่ขึ้น พรานไพรขา
กัดทันใด พรานเจ็บ ร้องออกมา       ตื่นรู้ตัว สกุณา บินลับเอยฯ     

๓.
   คตินิทาน เรื่องนี้ ท่านสอนว่า
ทำสิ่งใด มิช้า ได้เช่นนั้น
เช่นมดนก ทำดี มีให้กัน
ความดีนั้น ย้อนท่าน ตอบแทนเอยฯ

๔.
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
“ทำสิ่งใด ย่อมได้สิ่งนั้นตอบแทน”

สนอง เสาทอง
อินทามระ 10
10 เมษายน 2556

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : อริญชย์, รพีกาญจน์, Shumbala, ยามพระอาทิตย์อัสดง, ชลนา ทิชากร, รัตนาวดี, พี.พูนสุข, เนิน จำราย

ข้อความนี้ มี 8 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
11 พฤษภาคม 2013, 09:24:AM
choy
Special Class LV3.9
นักกลอนรอบรู้กวี

***

คะแนนกลอนของผู้นี้ 145
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 314



« ตอบ #42 เมื่อ: 11 พฤษภาคม 2013, 09:24:AM »
ชุมชนชุมชน

นิทานอีสปคำกรอง
   ๑๑.
หมาในกับเจ้าป่า

๑.
   อันสิงโตแกว่นกล้า         ปกครอง
เหนือส่ำสัตว์เผ่าผอง         ใหญ่น้อย   
ใครยกย่องครรลอง           เจ้าป่า ชี้นำ
ถือแห่งคำสิงห์ถ้อย           ท่านชี้คดีความฯ

๒.
   กาลครั้งหนึ่ง เจ้าป่า สิงโตใหญ่      ผู้ปกครอง สรรพสัตว์ ถิ่นไพรกว้าง
เพียรค่ำเช้า ตระเวน ไม่เว้นวาง        อำนาจอ้าง เหนือใคร ในผู้นำ
   ในครานั้น ฝูงสัตว์ ทั่วไพรสัณฑ์      ต่างคร้ามพรั่น ท่านยิ่ง มิเกินก้ำ
ข้อพิพาท น้อยใหญ่ สิงโตคำ            พิพากษา น้อมนำ ไม่ดื้อดึง
   มาวันหนึ่ง เจ้าป่า เลือกผู้ช่วย        เพื่ออำนวย ปกครอง ให้ทั่วถึง
จึงเอ่ยเอื้อน หมาใน เจ้าจงพึง          ทำหน้าที่ อันซึ่ง ควรภาคภูมิ
   ฝ่ายหมาใน นับถือ และเลื่อมใส      ทั้งหวาดกลัว เจ้าไพร ผู้สุขุม
รับคำชวน ตำแหน่ง ช่วยควบคุม       หมาในทุ่ม หน้าที่ ไม่เกี่ยงงอน
   ครั้นนานเข้า หมาใน ก็หายหวาด    ในอำนาจ ศรีศักดิ์ เจ้าป่าใหญ่
จากเคยกลัว ค่อยกล้า ไม่เกรงใจ        ขืนคำสั่ง ร่ำไป อยู่เนืองนิตย์
   สรรพสัตว์ ทั้งหลาย เห็นเช่นนั้น     ต่างสงสัย งวยงัน อยู่ตระหงิด
จึงถามไถ่ ให้หาย คับข้องจิต            ไม่เบือนบิด หมาใน ไขความจริง
   “...สหายข้าเอ๋ย ตอนนี้ ที่ข้าเห็น     รู้เห็นเช่น หน้าฉาก ของท่านสิงห์
ผดุงคุณธรรม เลื่อมใส ใครพึ่งพิง     แต่ทุกสิ่ง กลอกกลิ้ง ไม่จริงเลย
   ด้วยหลังฉาก เจ้าป่า นิสัยท่าน      กมลสันดาน คดฉ้อ ไม่ผ่าเผย
ตัดสินใคร ทำผิด กระไรเลย            น่าหยันเย้ย ท่านทำ เยี่ยงนั้นเอง...”

๓.
   คตินิทาน เรื่องนี้ ท่านสอนว่า
อันผู้นำ ชั่วช้า คุณธรรมสิ้น
หาผู้ใด กริ่งเกรง ทั่วแผ่นดิน
ถูกหยันหมิ่น หยามเหยียด เดียดฉันท์เอยฯ 

๔.
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
“ผู้นำที่ไร้คุณธรรม ก็จะขาดความนับถือยำเกรงจากผู้คน”

สนอง เสาทอง
อินทามระ
24 เมษายน 2556

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : ยามพระอาทิตย์อัสดง, Shumbala, รพีกาญจน์, ชลนา ทิชากร, รัตนาวดี, พี.พูนสุข, เนิน จำราย

ข้อความนี้ มี 7 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
01 มิถุนายน 2013, 11:26:PM
choy
Special Class LV3.9
นักกลอนรอบรู้กวี

***

คะแนนกลอนของผู้นี้ 145
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 314



« ตอบ #43 เมื่อ: 01 มิถุนายน 2013, 11:26:PM »
ชุมชนชุมชน

นิทานอีสปคำกรอง
   ๑๒.
ห่านอยากเป็นหงส์


๑.
อันห่านดินต่ำหญ้า      วานวงศ์
เผยอหยิ่งเทียมเผ่าหงส์         มิ่งฟ้า
บ่เจียมเหล่าสกุณพงศ์      กำพืดห่าน
เหิมเห่อชูคอกล้า         เยี่ยงชั้นหงส์ไฉนฯ

๒.
   กาลครั้งหนึ่ง ห่านหงส์ ร่วมบึงใหญ่   เชื่อมคูคลอง ทอดไกล สู่แม่น้ำ   
ล้วนหากิน ฝูงตน ไม่ปนกัน            เพลินสุขสันต์ ประสา พงศ์สกุณ
   มาวันหนึ่ง กำดัด ห่านวัยใส      ขนขาวไร พราวสวย ผลิบานรุ่น
เจ้าภาคภูมิ ไซ้ขน แพรวละมุน         เทียววายวุ่น วนว่าย เลาะกว้างบึง
   ครั้นเถลไถล ว่ายไกล ย่านถิ่นหงส์      ให้งวยงง หงส์สง่า ดูน่าทึ่ง
เจ้าห่านเพิ่ง แรกพบ จ้องตะลึง          ชะโงกน้ำ รำพึง กับเงาตน
   ใต้เงาน้ำ ขนขาว ของเรานี้      ใช่หมองศรี ต่ำเชื้อ กว่าหงส์ขน
แต่นี้ไป ขอเปลี่ยน ในบัดดล         สกุณวงศ์หน หงส์ศักดิ์ อาภัสรา
   คิดดังนั้น ห่านน้อย กรีดกรายป้อ      คอชูเชิด ไม่ท้อ เคล็ดเมื่อยล้า
เหยาะเยื้องย่าง ลีลาศ หงส์ลีลา          ปั้นโสภา หงส์สง่า ลำบากครัน
   อนิจจา ห่านนั้น ยังเป็นห่าน      คืนวันผ่าน เมื่อยขบ วางท่าปั้น
ไม่มีใคร ว่าหงส์ ต่างยืนยัน            ห่านคือห่าน เชื้อพันธุ์ ต่ำหญ้าเอยฯ

๓.
คตินิทาน เรื่องนี้ ท่านสอนว่า
อันห่านดิน ต่ำค่า พงศานั้น
คิดเปลี่ยนตน เชื้อหงส์ ศักดิ์ผ่องพรรณ
แม้เพียรปั้น หงส์ท่า หาใช่เอยฯ

๔.
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
“ไม่มีใครเปลี่ยนแปลงตัวตนที่แท้จริงของตนได้”

สนอง เสาทอง
17 เมษายน 2556

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : ชลนา ทิชากร, รัตนาวดี, รพีกาญจน์, Shumbala, พี.พูนสุข, เนิน จำราย, D

ข้อความนี้ มี 7 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
03 มิถุนายน 2013, 09:30:AM
choy
Special Class LV3.9
นักกลอนรอบรู้กวี

***

คะแนนกลอนของผู้นี้ 145
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 314



« ตอบ #44 เมื่อ: 03 มิถุนายน 2013, 09:30:AM »
ชุมชนชุมชน

นิทานอีสปคำกรอง
   ๑๓.
ใครสำคัญกว่า


๑.
   มวลสรรพสัตว์โอ่อ้าง      อวดตน
ใครยิ่งสำคัญล้น            เด่นชั้น
ปั้นตนย่ำเขื่องข่ม            ถ้อยหมิ่น
อันค่าใครถ้วนนั้น            ท่านข้าสำคัญเสมอฯ

๒.
   กาลครั้งหนึ่ง ส่ำสัตว์ พงไพรทั่ว       ต่างใครตัว ยกตน เข้าข่มท่าน
ด้วยเหิมตน เหนือกว่า และสำคัญ         ใครอื่นนั้น ด้อยค่า ต่ำเตี้ยดิน
   มาวันหนึ่ง นกยูง และกระเรียน      จำนรรจา วกเวียน มุ่งข่มลิ้น
ใครสำคัญ สวยสง่า ผ่องโสภิณ         สองสกุณิน กล่าวอ้าง เข้าทางตัว   
   “...ดูก่อนสหาย กระเรียน ในตัวเจ้า   ขนสีขาว หม่นหม่น ช่างน่าหัว
จริตท่าที ไม่งาม ดูหมองมัว         ใช่ยวนยั่ว ข้านี้ พูดความจริง...”
   “...นกยูงขา ข้านี้ แม้สีสัน         ไม่เฉิดฉัน ลวดลาย เลอเลิศพริ้ง
เจ้ารำแพน กรีดกราย อยู่ระวิง         ต่ำเตี้ยยิ่ง นกดิน ช่างน่าอาย
   แล้วเยี่ยงนี้ อ้างตน สำคัญไฉน      ข้าบินไกล สูงเมฆ กว้างฟ้าใหญ่
เยี่ยงสกุณา อิสรา ครองนภาลัย         เจ้าต่ำไพร่ รำแพน เรี่ยดินเอย...ฯ”

๓.
   คตินิทาน เรื่องนี้ ท่านสอนว่า
หามีใคร เหนือกว่า ใครทุกเรื่อง
ต่างสำคัญ แผกมี งามประเทือง
อย่ายกตน วางเขื่อง ข่มท่านเอยฯ

๔.
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
“ไม่มีใครดีกว่าใครไปหมดทุกเรื่อง”

สนอง เสาทอง
สุรินทร์
18 เมษายน 2556

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : รพีกาญจน์, Shumbala, ชลนา ทิชากร, พี.พูนสุข, เนิน จำราย

ข้อความนี้ มี 5 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
05 มิถุนายน 2013, 03:11:PM
choy
Special Class LV3.9
นักกลอนรอบรู้กวี

***

คะแนนกลอนของผู้นี้ 145
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 314



« ตอบ #45 เมื่อ: 05 มิถุนายน 2013, 03:11:PM »
ชุมชนชุมชน

เจ้าเอี้ยงแกลบ
(รังเสาไฟฟ้า)

นกเอยนกเอี้ยงแกลบ
เจ้าคู่แสบชวนตีท้า
กระจอกเอือมระอา
เสาไฟฟ้าแย่งทำรัง

เช้าค่ำไม่ปรองดอง
คู่เอี้ยงผยองทำโอหัง
ถนัดแต่ใช้กำลัง
กระจอกชังเอี้ยงนิสัย

นกเอยเจ้าแกลบเอี้ยง
ควายไม่เลี้ยงพร่ำพิไร
คลอคู่คอนสายไฟ
วางเขื่องใส่กระจอกเจ้า

นกเอี้ยงบ้านจัดสรร
ไร้ไม้พรรณให้คอนเจ่า
กระจอกรวงรังเก่า
เจ้ายึดเขาเอาต่อหน้า

หากินถังขยะคุ้ย
ควงคู่ลุยเพื่อนสกุณา
แย่งยื้อเศษข้าวปลา
เจ้าถิ่นหมากรรโชกเห่า

ไร่นาเคยมีมาก
เขาลำบากไถปลูกข้าว
ลูกหลานใครไม่เอา
หอบลูกเต้าเข้าโรงงาน

นาทุ่งจำนองหนี้
ผ่านหลายปีดอกเบี้ยบาน
ถูกยึดนาเปลี่ยนผ่าน
บ้านจัดสรรผุดดอกเห็ด

คนเอยประเสริฐมนุษย์
ใจเสื่อมทรุดอนาถอเนจ
ธรรมชาติผลาญสะเด็ด
กราบเจว็ดพระภูมิตึก

ทุ่งนาอวสาน
ถมปลูกบ้านกันคักคึก
ไม้โค่นไม่ตรองนึก
ใจเหิมฮึกเมาเงินตรา

นกเอยเจ้าแกลบเอี้ยง
ควายไม่เลี้ยงเจ้าอยู่ไฉน
ตึกปูนขึ้นเรียงราย
ยึดเสาไฟทำรังเอยฯ


สนอง เสาทอง
4 มิถุนายน 56

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : รพีกาญจน์, รัตนาวดี, บูรพาท่าพระจันทร์, ชลนา ทิชากร, Shumbala, พี.พูนสุข, เนิน จำราย

ข้อความนี้ มี 7 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
06 มิถุนายน 2013, 08:50:AM
choy
Special Class LV3.9
นักกลอนรอบรู้กวี

***

คะแนนกลอนของผู้นี้ 145
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 314



« ตอบ #46 เมื่อ: 06 มิถุนายน 2013, 08:50:AM »
ชุมชนชุมชน

นิทานอีสปคำกรอง
   ๑๔.
เทียนไขคุยโว

๑.
   อันเทียนไขสว่างจ้อย         วูบวาย
ถ้อยหมิ่นแสงสูรย์ฉาย            แจ่มหล้า
ข่มแขเด่นดาวราย               รุ้งพร่าง
อวดโอ่อ้างปากท้า               ห่อนรู้ประมาณตนฯ

๒.
   กาลครั้งหนึ่ง เทียนไข อยู่ในบ้าน       ใครแวะผ่าน เยี่ยมพัก จุดสว่างจ้า
ครั้นนานล่วง เทียนใหญ่ ด้วยน้ำตา       ของเทียนหยด ลงมา ห่อแท่งเทียน
   จึงเทียนไข ร่างกาย นั้นโตใหญ่      ภาคภูมิใจ คุยโอ่ ไม่กระเมี้ยน
อันแสงข้า สว่างไสว ใช่นวลเนียน         เช่นอื่นเทียน แหร่มหรอย จ้อยน้อยนิด
   มาวันหนึ่ง มีแขก แวะมาเยี่ยม      เจ้าไม่เจียม อวดโอ่ อ้างแสงฤทธิ์
ชั้นสุรีย์ ดาวเดือน ใช่เบือนบิด         แสงกระจิด กระจ้อย กว่าข้านัก
   ขณะเทียนไข โวแขก ข่มเขื่องกร่าง      พลันลมผ่าน หน้าต่าง พัดกระชัก
วูบเดียวแสง เทียนดับ เหนือเชิงปัก      แขกผู้พัก เห็นพลาง นึกเวทนา
   “...เทียนไขเอ๋ย คุยโอ่ อวดแสงฤทธิ์    เหนืออาทิตย์ จันทร์ดวง พร่างเวหา
เพียงวูบลม พัดดับ ไร้ฤทธา         มิประมาณ รู้ค่า เจียมตนเอย...” ฯ

๓.
   คตินิทาน เรื่องนี้ ท่านสอนว่า
จงรู้ค่า ตนนั้น ประมาณไหน
อย่าโอ่อ้าง ข่มท่าน และใครใคร
จงประมาณ ตนไว้ เนืองนิตย์เอยฯ

๔.
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
“จงรู้จักประมาณตัว”


สนอง เสาทอง
อินทามระ 10
21 เมษายน 2556

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : Shumbala, รพีกาญจน์, บูรพาท่าพระจันทร์, พี.พูนสุข, ชลนา ทิชากร, เนิน จำราย

ข้อความนี้ มี 6 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
07 มิถุนายน 2013, 01:23:PM
choy
Special Class LV3.9
นักกลอนรอบรู้กวี

***

คะแนนกลอนของผู้นี้ 145
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 314



« ตอบ #47 เมื่อ: 07 มิถุนายน 2013, 01:23:PM »
ชุมชนชุมชน

นิทานอีสปคำกรอง
   ๑๕.
ลูกปูกับแม่ปู


๑.
   อันปูเปี้ยวเผ่าเชื้อ      นาทะเล
โย้ป่ายเย้ขาเก         เช่นนั้น
สอนปูบ่เดินเฉ         ให้เที่ยง ตรงฤา
ปูว่านวงศ์พืดชั้น         ไต่เบี้ยวเสมอสมัยฯ

๒.
   กาลครั้งหนึ่ง แม่ปู มีลูกอ่อน    ไม่อนาทร เลี้ยงลูก เฝ้าฟูมฟัก
เลาะริมเลน ชายหาด ถิ่นพำนัก      เฝ้ากล่อมเกลี้ยง ลูกรัก วัยน่าชัง
   เช้าวันหนึ่ง แม่ปู เดินนำหน้า   ฝูงลูกปู สาระพา เฮโลหลัง
แม่สังเกต ลูกไต่ โย้เย้จัง         จึงสอนสั่ง ลูกจ๋า เดินให้ตรง
   แม้แม่ปู ดุด่า สักเท่าไหร่      ลูกปูยัง ป่ายเฉ คล้ายเลือนหลง
แม่สำทับ กี่ครั้ง ไม่พะวง         ลูกปูคง เดินส่าย ไม่ตรงทาง
   หลายครั้งเข้า ลูกปู ชักหงุดหงิด   จึงสะกิด บอกแม่ ทำตัวอย่าง
เดินให้ตรง จักดู ไม่ตาวาง          อยู่ไม่ห่าง เดินตรง ตามแม่เอยฯ

๓.
   คตินิทาน เรื่องนี้ ท่านสอนว่า
ก่อนว่าใคร นั่นหนา คิดเสียบ้าง
ดูตัวเอง เตือนตน ให้ถูกทาง
เป็นเยี่ยงอย่าง กล่าวอ้าง สอนสั่งเอยฯ

 ๔.
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
“ก่อนจะว่าผู้อื่นนั้น ให้ดูตัวเองเสียก่อน”



สนอง เสาทอง
สุรินทร์
1 พฤษภาคม 2556

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : พยัญเสมอ, รพีกาญจน์, ชลนา ทิชากร, เนิน จำราย, บูรพาท่าพระจันทร์, Shumbala, พี.พูนสุข

ข้อความนี้ มี 7 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
01 กรกฎาคม 2013, 05:33:PM
choy
Special Class LV3.9
นักกลอนรอบรู้กวี

***

คะแนนกลอนของผู้นี้ 145
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 314



« ตอบ #48 เมื่อ: 01 กรกฎาคม 2013, 05:33:PM »
ชุมชนชุมชน

นิทานอีสปคำกรอง
   ๑๖.
ลูกแพะปากเก่ง

๑.
     ลูกแพะขลาดเก่งกล้า      ฝีปาก
ร้องด่าเย้ยถางถาก            แกว่งถ้อย
แต่ตนซ่อนบังฉาก            พ้นปลอด ภัยนา
หมาป่าบ่แต่งสร้อย            ต่อล้อทุ่มเถียงฯ

๒.
     กาลครั้งหนึ่ง ชาวนา ซื้อลูกแพะ      เดินเตาะแตะ เลี้ยงไว้ คอกใกล้บ้าน
หวังเติบโต แพะนม ได้เจือจาน         มื้ออาหาร อิ่มท้อง พอประทัง
     ในย่านนั้น หมาป่า จอมเจ้าเล่ห์      เทียววนเวียน เตร็ดเตร่ ไม่หย่อนยั้ง
ปองสัตว์เลี้ยง ของใคร ไม่ระวัง          คมเขี้ยวฝัง สาหัส อาจวายปราณ
     มาวันหนึ่ง ลูกแพะ เที่ยวซนซุก       ปีนป่ายสนุก หลังคา ชาวนาบ้าน
เห็นหมาป่า แวะวน ตนได้การ         จึงตะโกน ด่าพลัน ในทันใด
     เจ้าหมาป่า ใจบาป ช่างหยาบช้า      เจ้าหมาชั่ว ตัวข้า หาชอบไม่
เทียวเลาะบ้าน นายข้า ไม่วางใจ         จงออกไป ไม่งั้น ได้เห็นดี
     ลูกแพะน้อย ทำเก่ง ฝีปากกล้า      ตะโกนด่า ไม่หยุด คำบัดสี
ด้วยรู้แน่ หมาป่า ไม่ย่ำยี            เพราะอยู่ที่ ปลอดภัย บนหลังคา
     เจ้าหมาป่า มองแพะ พลันเอื้อนเอ่ย   เจ้าแพะเหวย ด่าเข้า เอาเถิดหนา
ตราบใดเจ้า ซ่อนตน บนหลังคา         ตีฝีปาก เก่งกล้า ตามสบายเอยฯ

๓.
     คตินิทาน เรื่องนี้ ท่านสอนว่า
อันคนขลาด แต่กล้า ฝีปากเก่ง
เพราะอยู่ที่ ปลอดภัย ไม่ยำเกรง
เบ่งอวดเก่ง กล้าดี เช่นนี้เอยฯ

๔.
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
“คนขลาดจะเก่งเฉพาะในที่ที่ตนปลอดภัย”

สนอง เสาทอง
สุรินทร์
2 พ.ค. 56

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : ชลนา ทิชากร, เนิน จำราย, บูรพาท่าพระจันทร์, รพีกาญจน์, Shumbala, พี.พูนสุข

ข้อความนี้ มี 6 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
03 กรกฎาคม 2013, 10:16:AM
choy
Special Class LV3.9
นักกลอนรอบรู้กวี

***

คะแนนกลอนของผู้นี้ 145
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 314



« ตอบ #49 เมื่อ: 03 กรกฎาคม 2013, 10:16:AM »
ชุมชนชุมชน

ศตอีสปนิทานคำกรอง
๑๗.
แร้งกับหมาป่า

๑.
     หมาป่าเพียรแกร่วเฝ้า         ทองคำ
มโนพร่ำอวยค่าล้ำ                   สิ่งแก้ว
แหนเห่ออยู่เช้าค่ำ                   รั้นโง่
ผอมผ่ายโซบ่แคล้ว                 ชีพม้วยประโยชน์ไฉนฯ

๒.
     กาลครั้งหนึ่ง มีหมา เที่ยวจรจัด          แสนอัตคัด อาหาร ข้าวปลาเนื้อ
ด้วยไม่มี เจ้าของ คอยจุนเจือ                  อนาถเหลือ ผ่ายผอม เทียวแรมรอน
     มาวันหนึ่ง เจอกอง กระดูกมนุษย์       หมานั่งทรุด ดีใจ โห่เห่าหอน
ด้วยโชคดี พบศพ คนตายนอน                เจ้าหมาจร คุ้ยซาก อยู่วุ่นวาย
     ทันใดนั้น หมาเจอ ทองคำแท่ง           เปล่งวับแสง เข้าตา เจ้าใจหาย
ด้วยรู้ว่า ทองนั้น ค่ามากมาย                   มนุษย์ทั้งหลาย บูชา คุณค่าทอง
     เจ้าหมาจร นอนเฝ้า ทองคำนั้น           ผ่านคืนวัน แหนอยู่ ด้วยหวงของ
เฝ้าทองคำ ค่ำเช้า ไม่ไตร่ตรอง                ในที่สุด หมาต้อง อดโซตาย
     ฝ่ายเจ้าแร้ง เฝ้าดู อยู่ไม่ห่าง              เมื่อหมาตาย ปีกกาง ร่อนที่หมาย
จิกกินเนื้อ หมานั้น อิ่มสบาย                    แล้วครวญใคร่ รำพึง ถึงหมาจร
    โอ้อนิจจา ชะตา เจ้าหมาโง่                  ทนหิวโซ ถึงตาย เฝ้าทองก้อน
หวงในสิ่ง ไร้ค่า มิอนาทร                         จึงเดือดร้อน ม้วยมรณ์ ด้วยอดเอยฯ

๓.
     คตินิทาน เรื่องนี้ ท่านสอนว่า
อันคุณค่า สิ่งของ ต้องประสงค์
ประโยชน์สม แต่ใคร อาจเจาะจง
กับบางใคร ฝุ่นผง ไร้ค่าเอยฯ 

๔.
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
“ของบางอย่างก็มีประโยชน์เฉพาะกับคนบางคนเท่านั้น”

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : บูรพาท่าพระจันทร์, รพีกาญจน์, ชลนา ทิชากร, ไพร พนาวัลย์, Shumbala, พี.พูนสุข

ข้อความนี้ มี 6 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
04 กรกฎาคม 2013, 08:58:AM
choy
Special Class LV3.9
นักกลอนรอบรู้กวี

***

คะแนนกลอนของผู้นี้ 145
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 314



« ตอบ #50 เมื่อ: 04 กรกฎาคม 2013, 08:58:AM »
ชุมชนชุมชน

ศตอีสปนิทานคำกรอง
๑๘.
ความเศร้ากับความยินดี

๑.
     อันสุขทุกข์หม่นเศร้า         ระคน
โศกคู่ยินดีปน                         อยู่เคล้า
พึงชนอย่าแพ้กล                    พลั้งพ่าย อารมณ์นอ
สุขบ่สมทุกข์เหย้า                   ว่ายฟ้อนเวียนวนฯ

๒.
     กาลครั้งหนึ่ง มีชาว ประมงบ้าน        คร่ำเชิงชาญ หาปลา ออกเรือหมู่
ปลาทะเล น้อยใหญ่ ตามฤดู                  ลากอวนกู้ หากิน ชาวคนเล
     ในวันไหน ออกเร่ ระลอกคลื่น          ปลาดกดื่น ยินดี ต่างร้องเห่
หากวันใด เงียบเหงา ปลาทะเล               พาลโยเย เศร้าโศก อกทุกข์ตรม
     มาวันหนึ่ง ลงอวน ได้สักพัก            ตอนกู้ขึ้น หนักนัก ต่างสุขสม
คงได้ปลา มากมาย ชื่นอารมณ์                ปั้นหน้าเคร่ง ก้มกู้ อวนขึ้นเรือ
     ครั้นกู้เสร็จ อวนแผ่ ตาแลจ้อง          ต่างเศร้าหมอง เห็นปลา ปั้นหน้าเบื่อ
ด้วยอวนหนัก เพราะหิน ดินเลนเจือ         ปลาร้างเรือ ท้อแท้ กำลังใจ
     ท่านผู้เฒ่า ชาวเล เห็นเช่นนั้น          เอ่ยปลอบขวัญ ลูกเรือ เตือนสติให้
เจ้าคร่ำครวญ เศร้าโศก กันอยู่ไย              เรื่องโชคเคราะห์ ดีร้าย คู่กันเอยฯ

๓.
     คตินิทาน เรื่องนี้ ท่านสอนว่า
อันสุขทุกข์ ชะตา เคราะห์กรรมนั้น
เคล้าระคน ปะปน อยู่คู่กัน
มีทั้งทุกข์ สุขสันต์ คู่กันเอยฯ

๔.
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
“ความทุกข์และความสุขเป็นของคู่กัน”

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : รพีกาญจน์, ไพร พนาวัลย์, D, บ้านกลอนไทย, ชลนา ทิชากร, Shumbala, บูรพาท่าพระจันทร์, พี.พูนสุข

ข้อความนี้ มี 8 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
05 กรกฎาคม 2013, 05:11:PM
choy
Special Class LV3.9
นักกลอนรอบรู้กวี

***

คะแนนกลอนของผู้นี้ 145
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 314



« ตอบ #51 เมื่อ: 05 กรกฎาคม 2013, 05:11:PM »
ชุมชนชุมชน

ศตอีสปนิทานคำกรอง
     ๑๙.
อิฐกับครั่ง


๑.
     อันอิฐเผาแกร่งก้อน          ทานทน
ไฟเคร่งเผาร้อนข้น                 ผึ่งแห้ง
อันเนื้อครั่งไฟลน                   แหลกร่าง เหลวเฮย
อิฐครั่งเผยธาตุแจ้ง                 ต่างเนื้ออ่อนแข็งฯ

๒.
     กาลครั้งหนึ่ง อิฐครั่ง สองเพื่อนสหาย           ต่างอาศัย ถ้อยที ผูกน้ำมิตร
มักพูดคุย ปรับทุกข์ อยู่เนืองนิตย์                      ด้วยต้องจริต รักใคร่ ปลูกสัมพันธ์
     ปัญหาหนึ่ง เพื่อนครั่ง มักเปรยเสมอ            อิฐเพื่อนเกลอ ทนทาน มิแตกบั่น
ผิดครั่งข้า เจอแรง กระแทกพลัน                       เปราะเหลือนั่น ก็พลัน ยับแตกไป
     เรื่องแข็งทน ปัญหา ได้ทุ่มเถียง                   ยากหลีกเลี่ยง ทะเลาะ สองสหาย
ด้วยเจ้าครั่ง เพียรถาม มิรู้วาย                           อยากกายแข็ง ละม้าย อิฐเพื่อนเกลอ
     มาวันหนึ่ง เจ้าครั่ง ก็แจ้งจิต                       บอกเพื่อนอิฐ เธอแข็ง สม่ำเสมอ
ด้วยเผาไฟ ตากแดด ใช่ไหมเออ                        ฉะนี้เธอ จึงแกร่ง ทั่วแผ่นทน
     จึงครั่งนั้น เดินไป ที่เตาเผา                         มิสนใจ เรื่องราว และเหตุผล
กระโดดเข้า เตาเผา ในบัดดล                         ไฟเปลวลน ร้อนไหม้ ละลายเอยฯ

๓.
     คตินิทาน เรื่องนี้ ท่านสอนว่า
ในบางสิ่ง คุณค่า ประโยชน์นั้น
เฉพาะบางใคร เจาะจง เป็นสำคัญ
หากฝืนพลัน อาจท่าน วอดวายเอยฯ

๔.
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
“บางสิ่งเป็นประโยชน์กับผู้อื่น แต่อาจเป็นอันตรายกับเรา”

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : D, บ้านกลอนไทย, ชลนา ทิชากร, รพีกาญจน์, Shumbala, บูรพาท่าพระจันทร์, พี.พูนสุข

ข้อความนี้ มี 7 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
06 กรกฎาคม 2013, 08:48:AM
choy
Special Class LV3.9
นักกลอนรอบรู้กวี

***

คะแนนกลอนของผู้นี้ 145
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 314



« ตอบ #52 เมื่อ: 06 กรกฎาคม 2013, 08:48:AM »
ชุมชนชุมชน

ศตอีสปนิทานคำกรอง
     ๒๐.
ฝูงแกะกับหมาเลี้ยงแกะ


๑.
     อันงานหน้าที่นั้น         สำคัญ
ควรเร่งตั้งมโนมั่น               ถั่งสู้
ตรำเคร่งอย่ารู้บั่น               ทิ้งเลี่ยง
ผิท่านหลบเกี่ยงอู้               ห่อนรู้เสร็จไฉนฯ

๒.
     กาลครั้งหนึ่ง ฝูงแกะ กับหมาเฝ้า         ทุกค่ำเช้า หมาต้อน ตะล่อมเลี้ยง
จากคอกขัง ระวัง เจ้ามองเมียง                  แกะกินหญ้า ไม่เลี่ยง เคร่งตรวจตรา
     ด้วยศัตรู ฝูงแกะ มีมากยิ่ง                   ทั้งหมาใน จิ้งจอก เสือนักล่า
อีกงูเงี้ยว สารพัด มากเหลือคณา                ตลอดเวลา หมาเฝ้า เช้าจรดเย็น
     แกะหนึ่งคิด น้อยเนื้อ ต่ำใจยิ่ง            รำคาญจริง หมาเฝ้า แต่ขู่เข็ญ
ตะล่อมต้อน พวกเรา คล้ายจองเวร            มองไม่เห็น คุณค่า หมาเลี้ยงแกะ
     ตัวแกะนั้น คิดเพียง ประโยชน์เห็น        ตนลำเข็ญ ขนนม เนื้อชำแหละ
หมายามนั้น วิ่งวน แต่ข้องแวะ                   ไล่ต้อนแกะ น่าเบื่อ อยู่เมื่อวัน
     ซ้ำชาวนา ลำเอียง อคตินัก                 ให้แกะกิน หญ้าผัก ใยหยาบกร้าน
เทียบหมายาม เมนู เลิศพิสดาร                  ตักใส่จาน ข้าวเนื้อ อาหารดี
     คำแกะบ่น ลือลาม ไปทั่วฝูง               และชักจูง เพื่อนแกะ ให้เลี่ยงลี้
กิจการใด ชาวนา ล้วนมากมี                      ทุกหน้าที่ งดพลัน เถอะพวกเรา
     หมาเลี้ยงแกะ ได้ยิน ข่าวลือนั้น           จึงเอ่ยเอื้อน อย่ารั้น เลยพวกเจ้า
งานหน้าที่ ข้านั้น ไม่บันเบา                      ตั้งแต่เช้า เที่ยงบ่าย พลบอัสดง
     ต้องระแวด ภัยร้าย สุนัขป่า                  สัตว์นักล่า เนื้อเจ้า จ้องประสงค์
อีกคอยต้อน ให้เดิน เลี่ยงชัฏดง                  รวมเข้าฝูง อยู่คง ไม่หลงทาง
     ครั้นฝูงแกะ ได้ฟัง คำหมาเฝ้า             ในเรื่องราว หน้าที่ สิ้นทุกอย่าง
จึงเลิกคิด น้อยเนื้อ ปล่อยใจวาง                 ไม่อางขนาง หน้าที่ หมาเลี้ยงเอยฯ

๓.
     คตินิทาน เรื่องนี้ ท่านสอนว่า
งานหน้าที่ ของตน ต้องมุ่งมั่น
อย่าคอยแต่ จับผิด นินทากัน
งานเคร่งทำ ทุกวัน สุขสันต์เอยฯ

   
๔.
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
“ทุกคนก็มีหน้าที่ จงทำหน้าที่ของตนเอง ดีกว่าเอาแต่คอยจับผิดผู้อื่น”

***อย่าเพิ่งเบื่อและรำคาญครับ เพื่อน พ้อง น้อง พี่ ลุง ป้า ป๋า และปู่ พอดีมีสำนักพิมพ์แห่งหนึ่งติดต่อมาว่าอยากตีพิมพ์ วรรณกรรมสำหรับเยาวชน ก็เลยเลือกหยิบนิทานอีสปมาเขียน ตอนเด็กๆ ชอบอ่านมาก แต่เป็นร้อยแก้ว เลยคิดจะทำเป็นร้อยกรองบ้าง ครบ 100 เรื่องเมื่อไรก็จะนั่งเกลาสำนวนต้นฉบับให้พร้อมสำหรับการตีพิมพ์ต่อไป***
 

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : รพีกาญจน์, Shumbala, บูรพาท่าพระจันทร์, ชลนา ทิชากร, พี.พูนสุข

ข้อความนี้ มี 5 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
07 กรกฎาคม 2013, 08:50:AM
choy
Special Class LV3.9
นักกลอนรอบรู้กวี

***

คะแนนกลอนของผู้นี้ 145
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 314



« ตอบ #53 เมื่อ: 07 กรกฎาคม 2013, 08:50:AM »
ชุมชนชุมชน

ศตอีสปนิทานคำกรอง
     ๒๑.
นกกระเรียนกับหมาจิ้งจอก


๑.
     อันน้ำจิตถั่งล้น           รื่นหทัย
รินฉ่ำชื่นหลั่งสาย              ไป่สิ้น
น้ำมิตรบ่เสื่อมคลาย            ยั้งอยู่
ผิเนื่องนิจปล้อนปลิ้น        เพื่อนพ้องลี้ไกลฯ

๒.
     กาลครั้งหนึ่ง ป่าใหญ่ มากสรรพสัตว์    ต่างถือสัตย์ ปรองดอง พึ่งอาศัย
แต่ใช่ว่า ทั้งหมด จะจริงใจ                          มีมากมาย หน้าไหว้ หลังหลอกจริต
     ในป่านั้น กระเรียน และจิ้งจอก             แม้เพื่อนกัน กลับกลอก อยู่เนืองนิตย์
อันน้ำใจ ใสจริง ล้วนเบือนบิด                    ต่างตนคิด คดฉ้อ เพทุบาย
     มาวันหนึ่ง จิ้งจอก เชิญกระเรียน           ไปเยี่ยมเยียน บ้านตน ช่วงคล้อยบ่าย
เลี้ยงข้าวปลา เต็มอิ่ม กินให้สบาย              กระเรียนสหาย รับเชิญ ด้วยยินดี
     ครั้นถึงบ้าน งานเลี้ยง จิ้งจอกจัด           ให้เคืองขัด จิ้งจอก มากเหลือที่
จานอาหาร แบนแบ แสร้งย่ำยี                    แล้วชวนชี้ กระเรียน ร่วมวงกิน
     อันกระเรียน ปากคอ นั้นยาวแสน          กินจานแบน ไม่ได้ ใครรู้สิ้น
เจ้าจิ้งจอก เล่ห์ร้าย ล้วนรู้ยิน                     จึงมิถวิล กินแทน จนหมดจาน
     แล้ววันหนึ่ง กระเรียน เอาคืนบ้าง         ชวนจิ้งจอก ย้อนทาง กินเลี้ยงบ้าน
เจ้าจิ้งจอก ครุ่นคิด อยู่ไม่นาน                    ตกปากขาน รับคำ ไม่ร่ำไร
     ครั้นจิ้งจอก ถึงบ้าน กระเรียนจัด           ให้เคืองขัด ภาชนะ อาหารใส่
ด้วยขวดคอ ยาวยื่น สูงมากไป                   ชอกช้ำใจ กระเรียน กินแทนเอยฯ

๓.
     คตินิทาน เรื่องนี้ ท่านสอนว่า
ทำสิ่งใด มิช้า ได้เช่นนั้น
ทำใครอื่น อย่างไร เขาแก้พลัน
ทำเช่นนั้น ตอบท่าน เช่นกันเอยฯ

 ๔.
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
“เราปฏิบัติต่อคนอื่นอย่างไร เขาก็ทำกับเราเช่นนั้น”

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : บูรพาท่าพระจันทร์, รพีกาญจน์, ชลนา ทิชากร, พี.พูนสุข, ไพร พนาวัลย์

ข้อความนี้ มี 5 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
05 สิงหาคม 2013, 05:03:PM
choy
Special Class LV3.9
นักกลอนรอบรู้กวี

***

คะแนนกลอนของผู้นี้ 145
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 314



« ตอบ #54 เมื่อ: 05 สิงหาคม 2013, 05:03:PM »
ชุมชนชุมชน

ศตอีสปนิทานคำกรอง
(โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน)
๒๒.
ความจนปัญญาของโลมา



๑.
        อันสิงโตใหญ่ค้ำ         พงพนา
ปองคู่เจ้าโลมา            ฉลาดล้ำ
สองสหายต่างมรคา            คล้องคู่ เพื่อนนา
หนึ่งอยู่ป่าอีกน้ำ            ช่วยเกื้อประโยชน์ไฉนฯ

๒.
        กาลครั้งหนึ่ง สิงโต เจ้าแห่งป่า      เขี้ยวเล็บคม สง่าศรี กล้าห้าวหาญ
ส่วนโลมา ถือดี ปัญญาชาญ         ทั่วชลธาร ปลาปู ต่างรู้จัก       
        มาวันหนึ่ง โลมา อาบแดดเล่น      สิงโตเห็น จึงปรี่ เข้าทายทัก
โลมาจ๋า สองเรา สมานสมัคร         ผูกสัมพันธ์ เพื่อนรัก ร่วมน้ำมิตร
        ด้วยข้านั้น เป็นใหญ่ เหนือไพรถิ่น    ชเลสินธุ์ เจ้าเลิศ เรืองไกรวิทย์
เถิดสองเรา คบหา อย่าเบือนบิด         ชั้นสหายสนิท ประโยชน์ นั้นมากมี
        ฝ่ายโลมา ฟังความ เห็นตามถ้อย      จึงเออออ เห็นคล้อย ไปตามที่
คำสิงโต เอื้อนเอ่ย เผยวจี             ต่างยินดี ผูกเกลอ ร่วมสาบาน
        ครั้นจำเนียร เนิ่นผ่าน ไม่นานนัก       เจ้าสิงโต เพื่อนรัก บุกถึงย่าน
คุ้งสาคร โลมา เริงสำราญ            ร้องไหว้วาน เกลอเอ๋ย ท่านฟังคำ
        ด้วยวัวเถื่อน เกเร พาลนิสัย      ดุเหลือร้าย กำแหง ล่วงรุกล้ำ
อาณาเขต ถิ่นข้า อยู่ประจำ                 จึงห้ำหั่น ประลอง แกร่งกำลัง
        สู้กันอยู่ หลายครา ไม่รู้ผล         ข้าจึงด้น มาหา ด้วยความหวัง
แม้ได้เจ้า อีกแรง อาจพอยัง         ล้มวัวป่า ฤทธิ์คลั่ง ถึงม้วยวาย
        โลมาฟัง เกลอแก้ว สิงโตป่า      พลางส่ายหน้า ตอบคำ สิงห์สหาย
อันข้าท่าน สาบาน ฉันเพื่อนตาย         เพื่อนได้ทุกข์ ต่างหมาย ช่วยเหลือกัน
        แต่ครั้งนี้ ฟังเหตุ อาเพศร้าย      ข้าลำบาก ย้ายย่าง รกไพรสัณฑ์
อันโลมา อาศัย ห้วงชลธาร            มิอาจหนุน เกื้อท่าน สู้วัวเอยฯ

๓.
        คตินิทาน เรื่องนี้ ท่านสอนว่า
สิงห์อยู่ป่า โลมา อาศัยน้ำ
ท่านฝืนกฎ ธรรมชาติ ต้องระกำ
หนึ่งอยู่น้ำ อีกหนึ่ง อยู่ป่าเอยฯ 

๔.
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
“เราไม่สามารถฝืนธรรมชาติของเราได้”

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : ชลนา ทิชากร, รพีกาญจน์, ไพร พนาวัลย์, พี.พูนสุข

ข้อความนี้ มี 4 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
08 สิงหาคม 2013, 08:35:AM
choy
Special Class LV3.9
นักกลอนรอบรู้กวี

***

คะแนนกลอนของผู้นี้ 145
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 314



« ตอบ #55 เมื่อ: 08 สิงหาคม 2013, 08:35:AM »
ชุมชนชุมชน

ศตอีสปนิทานคำกรอง
(โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน)
๒๓.
นกยูงผู้จองหอง


๑.
        มยุระหยิ่งเชื้อ         ทะนง
ฟ้อนร่ายรำแพนองค์             อวดฟ้า
ผยองศักดิ์ค่ายูงพงศ์          ยศยิ่ง ท่านเฮย
เย้ยหมิ่นสกุณอื่นหญ้า          ต่ำต้อยธุลีดินฯ

๒.
   กาลครั้งหนึ่ง นกยูง ผู้จองหอง              ลำพองตน หยิ่งผยอง ชั้นหงส์ศักดิ์
เหยียดเพื่อนสกุณ ร่วมพงศ์ ต้อยต่ำนัก              ค่ำเช้ามัก กรีดกราย ร่ายรำแพน
   มาวันหนึ่ง นกยูง ผู้เลอสง่า                 วาดท่วงท่า ปั้นจริต งามเหลือแสน
เหนือลานดิน โดดเด่น กลางดงแดน              ฟ้อนรำแพน เริงร่าย อวดเพื่อนพงศ์
   ในครานั้น งูใหญ่ พันไม้กิ่ง                 อยู่ไม่ไกล แอบนิ่ง ใจประสงค์
เนื้อนกยูง มื้อนี้ เจ้าเจาะจง                    ค่อยเลื้อยลง คืบใกล้ มยุรา
   ไม่ไกลนั้น กระจิบ ตัวกระจ้อย              เห็นงูใหญ่ จ้องคอย คิดหมายฆ่า
จึงส่งเสียง เตือนไพร อยู่โกกา                 นกยูงเฉย หมิ่นว่า อิจฉาตน
   กระจิบน้อย วุ่นวาย เตือนหลายครั้ง           นกยูงยัง รำแพน อวดปีกขน
กระจิบเจ้า เร้าเสียง อยู่ลานลน                  แต่ไร้ผล งูฉก ยูงตายเอยฯ

๓.
   คตินิทาน เรื่องนี้ ท่านสอนว่า
มยุรา หยิ่งผยอง ลำพองศักดิ์
เฉกเช่นคน ทะนงตน อนาถนัก
สุดท้ายมัก สิ้นศักดิ์ หายนะเอยฯ
 

๔.
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
“ความหยิ่งผยองเป็นเหตุแห่งความหายนะ”

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : รพีกาญจน์, ชลนา ทิชากร

ข้อความนี้ มี 2 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
10 สิงหาคม 2013, 08:08:AM
choy
Special Class LV3.9
นักกลอนรอบรู้กวี

***

คะแนนกลอนของผู้นี้ 145
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 314



« ตอบ #56 เมื่อ: 10 สิงหาคม 2013, 08:08:AM »
ชุมชนชุมชน

ศตอีสปนิทานคำกรอง
(โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน)
   ๒๔.
ไม่เหมือนกัน



๑.
        อันต่างชนต่างล้วน         ต่างกัน
แผกต่างฝีมือชั้น                     ต่างผู้
ต่างถนัดต่างขีดขั้น                 สามารถต่าง
จึงต่างฉลาดต่างรู้                  ต่างฟ้าต่างฝันฯ

๒.     
        กาลครั้งหนึ่ง สรรพสัตว์ ร่วมชัฏรก      ทั้งสัตว์บก เลื้อยคลาน แมลงปักษิน
ร่วมเขตคาม พนาไพร หลายชีวิน         ร่วมประชุม ทั้งสิ้น พร้อมเพรียงกัน
        ข้อปรึกษา หารือ เต็มวาระ         เพื่อที่จะ อยู่ร่วม สมานฉันท์
ปกป้องภัย ถิ่นตน จากผองภยันต์         ทุ่มเถียงเครียด เสียงลั่น อภิปราย
        ฝ่ายลิงจ๋อ จอมกวน เห็นเช่นนั้น      จึงคิดมุข ขบขัน กำนัลสหาย
ให้ครึกครื้น สลับฉาก พอเครียดคลาย      ด้วยยักย้าย ส่ายเต้น ระบำโชว์
        เหล่าสรรพสัตว์ น้อยใหญ่ ต่างชื่นชอบ   ลีลาลิง ฮิปฮอป ร้องฮาโห่
ฝ่ายเจ้าอูฐ อิจฉา จ้องตาโต          หมั่นไส้โจ๋ แดนเซอร์ ลิงจ๋อสไตล์
        คิดดังนั้น จึงขยับ เอาอย่างบ้าง      วาดลีลา ท่าทาง ช้าอุ้ยอ้าย
ด้วยตัวใหญ่ ไม่พลิ้ว ดูน่าอาย         สัตว์ทั้งหลาย โห่ไล่ ให้หยุดเอยฯ

๓.
        คตินิทาน เรื่องนี้ ท่านสอนว่า
ในต่างคน นั่นหนา ถนัดเชิงชั้น
แล้วแต่ใคร เฉพาะตน ไม่เหมือนกัน
อย่าฝืนตัว ตามท่าน เช่นอูฐเอยฯ

๔.
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
“แต่ละคนมีความถนัดไม่เหมือนกัน การที่ฝืนทำในสิ่งที่ตนไม่ถนัดอาจเกิดผลเสียมากกว่าผลดี”

   

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : รพีกาญจน์, ชลนา ทิชากร

ข้อความนี้ มี 2 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3]
  ชุมชน  |  ส่งหัวข้อนี้  |  พิมพ์  
 

Email:
Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
s s s s s