ว่าด้วยการเขียนเรื่องสั้น
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน
15 ตุลาคม 2024, 01:37:AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

กด Link เพื่อร่วมกิจกรรม ผ่านFacebook (หรือกดปุ่มสมัครสมาชิกด้านบน)
 
หน้า: [1]
  ชุมชน  |  ส่งหัวข้อนี้  |  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ว่าด้วยการเขียนเรื่องสั้น  (อ่าน 9387 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
14 พฤศจิกายน 2008, 10:56:AM
Alpha
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: 14 พฤศจิกายน 2008, 10:56:AM »
ชุมชนชุมชน

การเขียนเรื่องสั้น


      การเขียนเรื่องสั้นเป็นการเขียนเล่าเรื่องแบบหนึ่ง และไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเขียนให้ได้ดี เพราะมันมีข้อจำกัดในเรื่องของขนาดเข้ามาเกี่ยวข้อง
ความหมายที่ง่ายที่สุดของมันคือ เรื่องเล่าที่มีประมาณ ๑,๐๐๐ ถึง ๕,๐๐๐ คำเป็นอย่างมาก

ลักษณะ

 ยิ้มหน้าใส ต้องสมบูรณ์ในตัวมันเอง

 ยิ้มหน้าใส อ่านจบแค่ในเวลาชั่วครู่

 ยิ้มหน้าใส ทุกคำในเรื่องต้องสำคัญ และส่งผลต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งในเรื่อง

 ยิ้มหน้าใส ประโยคเริ่มเรื่องเป็นสิ่งบอกถึงตลอดทั้งเรื่อง

 ยิ้มหน้าใส จบเมื่อไคล์แมกซ์

 ยิ้มหน้าใส ตัวละครมีเท่าที่จำเป็น

การแต่งเรื่อง

 สาวน้อยหัวเราะ ชนิดผูกเรื่อง
เป็นการแต่งโดยใช้พล็อตเป็นตัวเดินเรื่อง ใช้ความซับซ้อน น่าสงสัยของเหตุการณ์ต่างๆ ให้คนอ่านสนใจติดตามว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นต่อไป
และมักจะจบลงในลักษณะที่คนอ่านคาดไม่ถึง
      ( ไอเดียสำหรับการแต่งเรื่องมักจะมาจาก เหตุการณ์ สถานการณ์ เกร็ดประวัติ เรื่องเล่าพื้นเมือง หรือแม้กระทั่งข่าวคราวต่างๆ
นักเขียนจะเอาสิ่งที่รู้เหล่านี้ มาผูกเป็นเรื่อง สร้างเหตุการณ์ขึ้นมา เพื่อให้เกิดอีกเหตุการณ์หนึ่ง เพื่อจะนำไปสู่อีกเหตุการณ์หนึ่งเสมอ จนกว่าเรื่องราวจะยุติ )

 สาวน้อยหัวเราะ ชนิดเพ่งไปที่ตัวละคร
เป็นการนำเสนอเรื่องราวของตัวละครในเรื่อง โดยมากมักจะเกี่ยวข้องกับความต้องการ ความขัดแย้ง อุปสรรค และการตัดสินใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
หรือต่อเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งของตัวละคร คนอ่านจะสนใจในตัวละคร อยากรู้ว่าเขาจะทำอะไร และเขาจะได้รับผลจากการกระทำนั้นอย่างไรในตอนจบ

 สาวน้อยหัวเราะ เน้นฉากสถานที่
เป็นเรื่องที่เน้นถึงบรรยากาศของสถานที่ และเวลา ที่ต่างออกไปจากปกติที่ตัวละครเคยอยู่หรือพบเห็น เป็นที่แปลกใหม่สำหรับตัวละคร
และสถานที่นั้นได้สร้างความรู้สึกนึกคิด และมีผลกระทบต่อตัวละคร โดยมากมักจะเห็นในเรื่องระทึกขวัญ

 สาวน้อยหัวเราะ แสดงแนวคิด
นักเขียนแต่งเรื่องขึ้นมาเพื่อนำเสนอแนวคิดของตัวเองในรูปแบบของเรื่องสั้นแทนการวิจารณ์แนะนำตรง ๆ เรื่องจะน่าสนใจ ถ้าเป็นหัวข้อที่กำลังอยู่ในการวิพากวิจารณ์ในสังคม
หรือเป็นเรื่องที่สร้างความขัดแย้งอยู่ในสังคมขณะนั้น เช่นประเด็นการทำแท้งเสรี ตั้งบ่อนเสรี นักศึกษาขายตัว ศีลธรรมกำลังเสื่อม ฯลฯ

ประเภท

มีไม่ต่างไปจากนวนิยาย เรื่องรัก เรื่องลึกลับ เรื่องวิทยาศาสตร์ หรือ แฟนตาซี เรื่องประชดประชันหรือเสียดสีสังคม ฯลฯ

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : เขียนชีวิต

ข้อความนี้ มี 1 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
14 พฤศจิกายน 2008, 11:04:AM
Alpha
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: 14 พฤศจิกายน 2008, 11:04:AM »
ชุมชนชุมชน

องค์ประกอบ

 หัวเราะยิ้มๆ Plot พล็อตเรื่อง

 หัวเราะยิ้มๆ Character ตัวละคร

 หัวเราะยิ้มๆ Setting ฉากสถานที่

 หัวเราะยิ้มๆ Dialogue บทพูด

 หัวเราะยิ้มๆ Point of view มุมมอง

 หัวเราะยิ้มๆ Theme แสดงแก่นเรื่องที่ต้องการจะเสนอ

ก่อนจะเขียน

     คุณควรจะมีข้อมูลพอเป็นไอเดียอยู่สักหน่อย จากนั้นก็ขัดเกลามันให้อยู่ใน ๖ อย่างนี้

     ๑. Theme
มันหมายถึงสิ่งที่เรื่องของคุณต้องการจะบอกบางสิ่งบางอย่างที่อาจให้แง่คิด หรือ แสดงความเห็นของคนเขียน คุณไม่จำเป็นต้องเทศน์ หรือสอน อธิบายให้กับคนอ่านว่าเรื่องมันมีคุณธรรมเพียงใด คนอ่านจะเรียนรู้จากเรื่องที่คุณเขียนเอง

     ๒. Plot
เพื่อให้คนอ่านคงความสนใจคุณต้องมีพล็อตเรื่อง ความขัดแย้งหรือการต่อสู้ดิ้นรนของตัวละครเอกที่เขาต้องเอาชนะ ไม่ว่าการต่อสู้นั้นจะเป็นระหว่างคนกับคน หรือเป็นการต่อสู้ของจิตใจตัวเอง ตัวละครเอกจะต้องชนะหรือสูญเสียด้วยตัวของเขาเอง ไม่ใช่จากความช่วยเหลือของคนอื่น ความขัดแย้งจะเป็นสิ่งนำเรื่องให้เดินต่อถึงไคล์แมกซ์ จนจบเรื่อง ( เคล็ดลับในการจัดเรียงเหตุการณ์ก็คือ เริ่มจากสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีผลกระทบต่อตัวละครเอกทีอยู่ดี ๆ ตามปกติ แล้วสถานการณ์ก็เลวร้าย จากนั้นตัวละครก็เอาชนะได้ในที่สุด )

     ๓. โครงสร้างของเรื่อง
คำแนะนำที่ดีที่สุดคือ เข้าไปอยู่ในเรื่องเลย ไม่ต้องอารัมภบท ให้รู้ไปเลยว่าใครคือใคร เป็นเรื่องของใคร
ซึ่งตอนนี้คุณก็ต้องรู้แล้วนะว่า จะใช้มุมมองแบบบุคคลที่ ๑ หรือบุคคลที่ ๓
( แบบบุคคลที่ ๑ เล่าแบบคนเล่าอยู่ในเหตุการณ์หรือเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับเขาเองใช้คำแทนตัวว่า ฉัน ผม ข้าพเจ้า
แบบบุคคลที่สาม ถ้าเลือกแบบนี้ ควรจะใช้มุมมองของตัวละครสำคัญเป็นคนเล่า )

     ๔. สร้างตัวละคร
ตัวละครที่เหมาะสม และน่าสนใจ ทำให้คนอ่านอยากรู้เรื่องของเขา

     ๕. เลือกว่าจะให้เรื่องเกิดขึ้นที่ไหน และเมื่อไหร่

     ๖. ใช้บทพูดให้เร้าใจ กินใจ แสดงตัวตนของตัวละครได้อย่างเหมาะสม

     ๗. การเล่าเรื่องและการบรรยาย
ให้บอกแต่สิ่งที่จำเป็นใช้เป็นประโยชน์ในเรื่อ อย่าเยิ่นเย่อ เพราะเรื่องสั้นจะจำกัดความยาวของเรื่อง
( วิธีจะรู้ว่ามีประโยชน์หรือไม่ ให้ลองตัดทิ้งคำหรือประโยคนั้นๆ ออกไป แล้วดูว่ายังสร้างความเข้าใจให้กับคนอ่านหรือไม่
ถ้าคนอ่านเข้าใจและสามารถจินตนาการได้ก็เอาออกไปเลย )

     ๘. จะให้ดี ในเรื่องสั้น ควรจะมุ่งไปที่ จุดขัดแย้ง เพียงอย่างเดียว ที่ตัวละครสำคัญจะต้องเอาชนะให้ได้
ข้อความนี้ มี 1 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
14 พฤศจิกายน 2008, 11:07:AM
Alpha
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: 14 พฤศจิกายน 2008, 11:07:AM »
ชุมชนชุมชน

เริ่มต้นสร้างเรื่องอย่างง่ายๆ

 ยิ้มหน้าใส หาตัวละครมา

 ยิ้มหน้าใส ใส่ความต้องการบางอย่างให้เขา ( พอใจหรือไม่พอใจในสถานภาพของตัวเอง)

 ยิ้มหน้าใส เติมอุปสรรค หรือปัญหา ที่ขัดขวางไม่ให้เขาไปถึงความต้องการนั้น

 ยิ้มหน้าใส บีบคั้นเขาด้วยความยากลำบากหรือความผิดพลาดที่มากขึ้น

 ยิ้มหน้าใส พาเขาออกมาจากสถานการณ์นั้นๆ ด้วยความสามารถของเขาเอง

 ยิ้มหน้าใส จบเรื่อง

ตัวอย่าง

 ยิ้มหน้าใส สร้างตัวละคร A ให้น่าสนใจด้วยบุคลิกลักษณะ การกระทำ นิสัย หรืออื่นๆ

 emo_54ทำให้สถานภาพเขาเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะจากอะไรก็ได้ ฝนตก รถติด เมียหย่า พ่อตาย ตกงาน ( โดยมากมักจะเป็นเรื่องร้าย ๆ )

 emo_54ต้องมีเวลาจำกัด ในการที่จะแก้ไขเรื่องเลวร้ายที่เกิดขึ้นเพื่อบีบให้เรื่องเข้มข้น เช่น เมียจะคลอดแต่รถติด ต้องปลดชนวนระเบิดให้ได้ภายใน ๒๐ นาที
ต้องบอกเรื่องสำคัญต่อตำรวจภายในคืนนี้ ฯลฯ

 ยิ้มหน้าใส สถานการณ์นั้นต้องมีผลกระทบต่ออารมณ์ความรู้สึกของตัวละคร A อย่างใหญ่หลวงที่จะทำให้เขาเป็นตาย หรือระเบิดอารมณ์ออกมาได้พอกัน

 ยิ้มหน้าใส สร้างตัวละคร B พร้อมทั้งบุคลิกลักษณะ นิสัย หรืออื่นๆ

 ยิ้มหน้าใส จุดชนวนความลึกลับ หรือความสงสัยให้กับคนอ่าน ในขณะที่ตัวละครพอจะเข้าใจในบางสิ่งบางอย่างในเรื่องแล้วแต่คนอ่านยังไม่รู้โดยตรง

 ยิ้มหน้าใส สร้างความต้องการที่แตกต่างกันระหว่างตัวละคร เช่น A ต้องการไปต่อ แต่ B ให้หยุดรอ

 ยิ้มหน้าใส ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง A และ B ที่แสดงออกมา ไม่ใช่ใครคนเดียว

 ยิ้มหน้าใส A พยายามหาทางแก้ไขในปัญหา

 ยิ้มหน้าใส สถานการณ์บิดเบือน ไม่เป็นอย่างที่คาดหมาย

 ยิ้มหน้าใส เรื่องเริ่มเลวร้ายลง เวลาหมดไปเรื่อย

 ยิ้มหน้าใส จุดวิกฤต ต้องเลือกตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง

 ยิ้มหน้าใส ผลสุดท้าย
บันทึกการเข้า
14 พฤศจิกายน 2008, 11:19:AM
Alpha
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #3 เมื่อ: 14 พฤศจิกายน 2008, 11:19:AM »
ชุมชนชุมชน

คำแนะนำ

     ๑. เกาะติดกับขนาดที่จำกัดของแบบในการเขียนเรื่องสั้น โดยทั่วไปจะมีความจำกัดของกรอบและตัวละคร บทพูดมีพลังจูงใจ ฉากสถานที่ต้องการ แต่ไม่จำเป็นต้องอธิบายรายละเอียดมาก หลีกเลี่ยงพล็อตย่อย

     ๒. การเปิดเรื่องไม่แน่นอนตายตัว ว่าเป็นการบรรยาย และการสังเกตประจำ ยกเว้นการบรรยายนั้นจะแสดงถึงสิ่งที่ถูกรบกวนในขณะนี้น ก่อนที่การกระทำจะร้อนขึ้น แต่อย่าให้มันมากนัก

     ๓. เริ่มเรื่องสั้นด้วยกระตุ้นเหตุการณ์ ที่ชักจูงไปสู่ความเข้มข้น เหตุการณ์ที่ระเบิดขึ้นมักจะเกี่ยวพันกับการถูกขู่เข็ญที่ทำให้สถานภาพของตัวละครเอกเปลี่ยนแปลง

     ๔. การต่อสู้อย่างโดดเดี่ยวของตัวละครเอก มีผลกระทบต่อคนอ่าน

     ๕. เรื่องสั้นจำเป็นต้องเสนอบางสิ่งบางอย่างที่สร้างความรู้สึกให้กับคนอ่าน ให้คนอ่านร่วมความรู้สึกไปกับตัวละครร่วมเห็นอกเห็นใจไปกับตัวละครด้วย

     ๖. เรื่องสั้นควรจะถูกเล่าจากมุมมองของคนคนเดียว นอกจากคุณจะมีประสบการณ์ในการเขียนมากไปกว่านี้

     ๗. หลีกเลี่ยงความเกินพอดี ทุกรายละเอียดจะต้องเป็นประเด็นสู่พล็อต

     ๘. เหมือนเรื่องแต่งประเภทอื่นที่ต้องให้ตัวละครดิ้นรนหรือลอยคอท่ามกลางความเลวร้าย หรือมีทางเลือกที่ย่ำแย่พอกัน

     ๙. ให้ตัวละครมีข้อบกพร่อง อ่อนแอ และมุ่งไปยังข้อสรุปที่คาดไม่ถึง

     ๑๐. ขัดเกลาไอเดียของคุณเกี่ยวกับชุดของเหตุการณ์ที่ตัวละครแสดงหรือพูดออกมา และเหตุการณ์นั้นต้องเผยให้คนอ่านรู้ในเวลาที่เป็นจริง

     ๑๑. อย่ายืดเยื้อในตอนจบ

     ๑๒. โดยทั่วไปเรื่องสั้นมักจะเกี่ยวกับ ความขัดแย้ง การตัดสินใน หรือการค้นพบ มันต้องมีสิ่งสำคัญเป็นประเด็นหลักสำหรับตัวละครเอก พล็อตขัดแย้งต้องถูกวางเพื่อให้ตัวละครอื่นเป็นตัวขัดขวาง และเผชิญหน้าในตอนไคล์แมกซ์ ถ้าไคล์แมกซ์ของเรื่องสั้นมีตัวละครเอกกำลังตัดสินใจ การตัดสินใจนี้ต้องห่างจากการเข้าถึงผลที่จะตามมาภายหลัง( เพราะมันไม่ควรจะมีอะไรมากไปกว่านี้แล้ว ) ถ้าเรื่องจบลงด้วยตัวละครค้นพบความจริงบางอย่าง ความจริงนี้ควรจะเป็นสิ่งที่ที่ทำให้ชีวิตของตัวละครเปลี่ยนไป

เคล็ดลับเมื่อจะเขียนเรื่องสั้น

 หัวเราะยิ้มๆ ให้มีตัวละครในเรื่องน้อยที่สุด

 หัวเราะยิ้มๆ ร่างรายการถึงตัวละคร และ สิ่งที่คุณอยากจะให้เกิดในเรื่องอย่างสั้นๆ

 หัวเราะยิ้มๆ ในแผนการเขียนของคุณ ต้องเตรียมย่อหน้าที่จะเสนอฉากสถานที่และการแนะนำตัวละครให้คนอ่านรู้จัก

 หัวเราะยิ้มๆ การเปิดเรื่องของคุณต้องมีผลกระทบใจคนอ่าน

 หัวเราะยิ้มๆ หัวใจสำคัญต้องรู้ว่าเรื่องของคุณเกิดที่ไหน เกี่ยวกับอะไร และมุ่งไปสู่ประเด็นนั้น อย่าโอ้เอ้ออกนอกเรื่องในสิ่งไม่จำเป็น

 หัวเราะยิ้มๆ บทสรุปเรื่องในสองสามย่อหน้าสุดท้ายต้องขมวดทุกอย่างเข้าด้วยกัน และต้องตอบข้อสงสัยที่คุณเปิดประเด็นเอาไว้

 หัวเราะยิ้มๆ คุณอาจจะหักมุมในตอนจบ เพื่อสร้างสิ่งที่คาดไม่ถึงให้กับคนอ่าน

 หัวเราะยิ้มๆ เขียนให้ตรงประเด็นและเรียบง่ายที่สุด

ที่มา http://www.forwriter.com/index.htm
ข้อความนี้ มี 1 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
12 มีนาคม 2010, 08:32:AM
กริชอักษร
Special Class LV2
นักกลอนผู้ก้าวสู่โลกอักษร

**

คะแนนกลอนของผู้นี้ 59
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 354


ผลดีแวดล้อมดีสร้างได้ด้วยตัวเองบางอย่าง


« ตอบ #4 เมื่อ: 12 มีนาคม 2010, 08:32:AM »
ชุมชนชุมชน

ขอบคุณมากคะ กำลังสนใจอยู่เลย
แต่ยากเหมือนกันนะ
บันทึกการเข้า

เดินทางตรงลงใจให้เข้มแข็ง
เลือกแต้มแต่งชีวิตให้สดใส
เลือกธรรมเลือกอยู่เลือกหายใจ
ผลอย่างไรได้ตามเลือกบ้างบางประการ
หน้า: [1]
  ชุมชน  |  ส่งหัวข้อนี้  |  พิมพ์  
 

Email:
Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
s s s s s