หัวข้อ กลอนสุภาพ (กลอน ๘)
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน
27 เมษายน 2024, 11:24:AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

กด Link เพื่อร่วมกิจกรรม ผ่านFacebook (หรือกดปุ่มสมัครสมาชิกด้านบน)
 
หน้า: 1 [2] 3 4 5
  ชุมชน  |  ส่งหัวข้อนี้  |  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: หัวข้อ กลอนสุภาพ (กลอน ๘)  (อ่าน 127969 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
14 มกราคม 2010, 12:24:AM
วฤก
Special Class LV5
นักกลอนแห่งเมืองหลวง

*****

คะแนนกลอนของผู้นี้ 151
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 138



เว็บไซต์
« ตอบ #20 เมื่อ: 14 มกราคม 2010, 12:24:AM »
ชุมชนชุมชน



  อยากให้คุณ  Webmaster  มาบอกวิธีการเล่นอักษร หรือที่เรียกว่า "กลบท-กลอักษร"น่ะครับ เพราะอยากรู้ว่าเป็นอย่างไรบ้าง และอีกอย่าง
  ผมไปหาแล้วมันมีแค่นิดเดียวเอง  ถ้าหาได้ก็ขอบคุณมากครับ แต่ไม่ได้ก็ไม่เป็นไรครับ

  ด.ช.นนท์
   ยิ้มหน้าใส




กลบท "ธงนำริ้ว"

กำหนดให้ซ้ำคำ สองคำแรกของทุกวรรคกลอนครับ
ข้อความนี้ มี 25 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า

14 มกราคม 2010, 08:06:PM
บ้านกลอนไทย
ผู้ดูแลทุกบอร์ด
*

คะแนนกลอนของผู้นี้ 533
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 962


จิ๊กโก๋...กำลังจะโตเป็นหนุ่ม ฮ่าๆ


« ตอบ #21 เมื่อ: 14 มกราคม 2010, 08:06:PM »
ชุมชนชุมชน


กลอักษร….คมในฝัก
ตอน…ความรักของกา




วิธีเขียน….. ยิ้มแก้มแดง

๐ ใจสั่นเต้น  เมื่อได้พบ
ย่องเดินหลบ  แอบมองเขา
เร้นบังตัว  เหมือนเช่นเงา
เพียงได้เฝ้า  แค่เมียงมอง

๐ เธอสูงศักดิ์  เสมอฟ้า
เราเพียงกา  เคล้าความหมอง
รวยจนแบ่ง  ด้วยเงินทอง
ตาน้ำนอง  สิทธิ์กามี

๐ แอบเร้นบัง  แบบห่างห่าง
รักผิดทาง  ต่ำศักดิ์ศรี
ไม่หวังครอง  ใกล้คนดี
หักใจหนี ….ความรักกา




ที่มา : กลอักษร (กน-อัก-สอน,กน-ละ-อัก-สอน) น. กลบทที่ซ่อนเงื่อนไว้ให้อ่านฉงน
เป็นการแต่งตามแบบฉบับกวีเก่าก่อน ซึ้งเวลาเขียนนิยมเขียนเป็นกลอนซ่อนรูป
 ผู้อ่านต้องใช้ความรู้และความคิด  จึงจะอ่านกลนั้นได้
ดังตัวอย่างย่อหน้าข้างบน  ซึ่งที่กล่าวมาเป็นการเล่นกลอักษร ชื่อว่า “คมในฝัก”
วิธีการอ่าน….ในกลอักษรคมในฝักนี้ จะสังเกตเห็นว่าการอ่านจะลำดับคำดังนี้
ออกเสียงคำที่ ๑ ๒ ๓  / ๓ ๒ ๑ / ๗ ๘ ๙  เป็นอย่างนี้ทุกวรรคไป  จะได้ว่า….



๐ ใจสั่นเต้น เต้นสั่นใจ เมื่อได้พบ
ย่องเดินหลบ หลบเดินย่อง แอบมองเขา
เร้นบังตัว ตัวบังเร้น เหมือนเช่นเงา
เพียงได้เฝ้า เฝ้าได้เพียง แค่เมียงมอง

๐ เธอสูงศักดิ์ ศักดิ์สูงเธอ เสมอฟ้า
เราเพียงกา กาเพียงเรา เคล้าความหมอง
รวยจนแบ่ง แบ่งจนรวย ด้วยเงินทอง
ตาน้ำนอง นองน้ำตา สิทธิ์กามี

๐ แอบเร้นบัง บังเร้นแอบ แบบห่างห่าง
รักผิดทาง ทางผิดรัก ต่ำศักดิ์ศรี
ไม่หวังครอง ครองหวังไม่ ใกล้คนดี
หักใจหนี หนีใจหัก….ความรักกา




ในเว็ปบ้านกลอนไทยของเราก็มี สอนวิธีการแต่ง ซึ่งคุณนายอัณณ์ริน ได้ลงไว้
ลองศึกษาเพิ่มเติมได้ที่.. http://www.klonthaiclub.com/index.php/board,50.0.html
หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์นะครับ….(..ผิดพลาดขออภัย….พึงตั้งใจมาเล่นกลอน.)..


ขอบพระคุณครับ........   ขำแบบกระแดะหน่อยๆ

     ชอบใจๆ ปลื้มจัง ชอบใจๆ

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : จารุทัส

ข้อความนี้ มี 1 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า

22 มกราคม 2010, 02:19:PM
ระนาดเอก
webmaster
*

คะแนนกลอนของผู้นี้ 780
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,732


~พลิ้วไหว..ดั่งสายน้ำ~


profile.php?id=100024533527747
เว็บไซต์
« ตอบ #22 เมื่อ: 22 มกราคม 2010, 02:19:PM »
ชุมชนชุมชน




"เคล็ดลับที่พ่อแนะ?"



๐ วันที่พ่อชมกลอนแล้วป้อนแหย่
ถ้อยหวานแต่คารมไม่คมสัน
ดั่งลิเกออดอ้อนกลอนรำพัน
คำรักนั้นไม่ขลังช่างเลื่อนลอย

๐ กลอนแกว่งไปแกว่งมาหน้าตาสวย
ข้างในป่วยบางคราเนื้อหาด้อย
เดินเรื่องโยก..วกวน!คนอ่านพลอย-
งงในถ้อยขบขันฝันชอบกล

๐ เขียนเดินหน้านะลูก?..ผูกเรื่องไว้
สร้างโยงใยพร้อมเกริ่นดำเนินผล
หยิบทุกคำมาเรียงเยี่ยงใจตน
คิดแทนคนนั่งอ่านงานของเรา

๐ เหมือนชมนกชมไม้ไปเรื่อยเรื่อย
ค่อยค่อยเลื้อยมัดใจใครใครเขา
เพียรสอดแทรกแจกคำพร่ำบางเบา
กลอนจะเข้าสู่จิตผู้พิศงาน

๐ อย่าเพ้อเจ้อนอกทางที่วางไว้
จะตัดทอนกลอนได้ในความหวาน
บรรยายเรื่องอย่าขัดวัตรแห่งกานท์
เกี่ยวสมานด้วยศิลป์จินตนา

๐ จะบรรยายเรื่องใดจับให้มั่น
ยึดแล้วกลั่นตามแนวแพรวคุณค่า
รักก็รักให้หวานซ่านอุรา
เศร้าก็เศร้าจนคว้าผ้าเช็ดนัยน์

๐ แล้วอย่าโยงล้นหลากจนมากเรื่อง
ปล่อยคำเปลืองนุงนังพลั้งเหลวไหล
ถ้อยประดิษฐ์จะหม่นผลเปลี่ยนไป
หากเราไม่คุมเรื่องก็เปลืองแรง..

ระนาดเอก

ยิ้มแก้มแดง


ข้อความนี้ มี 22 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า

16 มีนาคม 2010, 10:28:PM
ระนาดเอก
webmaster
*

คะแนนกลอนของผู้นี้ 780
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,732


~พลิ้วไหว..ดั่งสายน้ำ~


profile.php?id=100024533527747
เว็บไซต์
« ตอบ #23 เมื่อ: 16 มีนาคม 2010, 10:28:PM »
ชุมชนชุมชน



..ผมอยากให้สมาชิกทุกท่าน..ที่มีความสนใจในการเขียนกลอนสุภาพ(กลอนแปด)..
..ได้เข้ามาตักตวงความรู้จาก ข้อมูลตรงนี้ครับ..
..ซึ่งข้อมูลทั้งหลายที่ผมนำมาเผยแพร่นี้..
..เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์..เหมาะสำหรับ..ทุกๆท่านที่มีความสนใจในการเขียนกลอนแปด..ซึ่งเป็นกลอนตลาดเขียนกันอย่างแพร่หลาย..
..แต่หลายๆท่านในที่นี้ บางท่านก็อาจหลงลืมกฎเกณฑ์ในการเขียน..เช่น เกล็ดเล็กๆน้อยๆในการเขียน..
..ประเภท.."สัมผัสซ้ำ" , "ชิงสัมผัส" หรือ "สัมผัสเลือน" ฯลฯ ซึ่งเป็นพื้นฐานแรกของ การเขียนกลอนแปด ที่ทุกๆท่านควรจะทราบครับ..
..เนื้อหาดังกล่าวนี้..ก็เป็นข้อมูลพื้นฐาน ที่ถือว่าเป็นมาตราฐานของทางวงการกลอนไทย..
..และก็เป็นมาตราฐานหนึ่ง..ซึ่งทางสมาคมฯหรือทางชมรมต่างๆ ในวงการกลอน..
..ได้ใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาตัดสินผลงานกลอนที่ได้ส่งเข้าประกวด..ตลอดจนนิตยสารบางเล่ม ที่พิจารณาผลงานของทุกๆท่านเพื่อลงตีพิมพ์ด้วยครับ..

..ซึ่งข้อมูลดังกล่าวมาจาก..หนังสืออ้างอิง:
๑. "เรียงร้อยถ้อยคำ" โดย เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ และ วาณิช จรุงกิจอนันต์
๒. "กลอนสัมผัสใจได้อย่างไร" โดย วาสนา บุญสม..ครับ!


กลอนสุภาพ

ผมสังเกตเห็น นักกลอนสมัครเล่น รุ่นใหม่ๆ หลายๆคน ที่เมื่อเริ่มต้น เขียนกลอนแปด มักจะลืมเลือน หรือไม่ทราบถึง กฏเกณฑ ์ทางฉันทลักษณ์ และไม่สามารถแยกแยะ เสียงกับจังหวะ ของกลอนสุภาพ ที่ถูกต้องได้ จึงได้ทำการค้นคว้า
 และรวบรวม เป็นข้อเสนอแนะ สำหรับนักกลอนรุ่นใหม่ๆ ให้อ่าน และทำความเข้าใจ ถึงลีลาและชั้นเชิงใน การเขียนกลอนสุภาพ ให้ไพเราะ และสัมผัสใจคนอ่าน โดยจะพยายาม อ้างอิงจาก ท่านผู้รู้ในเชิงกลอน ให้มากที่สุด

ข้อบังคับในกลอนสุภาพ

๑ คณะ กลอนสุภาพแต่ละบท จะมี ๒ บาท แต่ละบาทจะมี ๒ วรรค แต่ละวรรค จะมี ๘ คำ (ตามปกติ ให้ใช้คำได้ ระหว่าง ๗ - ๙ คำ) ดังตัวอย่าง

กลอนสุภาพแปดคำประจำบ่อน                <-  วรรคสดับ
อ่านสามตอนทุกวรรคประจักษ์แถลง        <-  วรรครับ
ตอนต้นสามตอนสองสองแสดง                <-  วรรครอง
ตอนสามแจ้งสามคำครบจำนวน              <-  วรรคส่ง

     บาทที่ ๑ เรียกว่า บาทเอก มี ๒ วรรค คือ วรรคสดับ(วรรคสลับ) และวรรครับ
     บาทที่ ๒ เรียกว่า บาทโท  มี ๒ วรรค คือ วรรครอง และวรรคส่ง

๒ สัมผัส มี ๒ อย่างคือสัมผัสนอก และสัมผัสใน สัมผัสนอกนั้น เป็นข้อบังคับที่ต้องใช้ ดังรูป ส่วนสัมผัสใน ใช้เพื่อ ให้กลอนนั้น มีความไพเราะ มากขึ้น

การใช้ สัมผัสนอก เป็นเรื่องที่ทุกคน ทราบดี อยู่แล้ว เพียงแต่ ที่เคยเห็น นักกลอนมือใหม่ บางคน มักจะไม่ส่งสัมผัส ระหว่างบท คือส่งจาก คำสุดท้าย ในวรรคสุดท้าย ไปยังคำสุดท้ายในวรรคที่สอง ของบทต่อมา  และสัมผัสนอกนั้น จะใช้สัมผัสสระ
 ที่เป็นเสียงเดียวกัน ความผิดพลาด ที่มักจะพบเห็น คือใช้สัมผัสสระ เสียงสั้นกับเสียงยาว ทำให้กลอน บทนั้นเสียไปทันที เช่น ไม้ สัมผัสกับ วาย , สันต์ สัมผัสกับ วาร เป็นต้น..

ส่วนการใช้สัมผัสใน มีได้ทั้งสัมผัส สระและอักษร การใช้สัมผัสใน อันไพเราะ ตามแบบอย่าง ของสุนทรภู่ มักจะใช้ ดังตัวอย่าง

๐ เหมือนหนุ่มหนุ่มลุ่มหลงพะวงสวาท
เหลือร้ายกาจกอดจูบรักรูปเขา
ครั้นวอดวายตายไปเหม็นไม่เบา
เป็นหนอนหนองพองเน่าเสียเปล่าดาย..
               "สุนทรภู่" สิงหไตรภพ

สังเกตได้ว่า สุนทรภู่ มักจะใช้ สัมผัสใน ที่คำที่ ๓-๔ และคำที่ ๕-๗ และมักจะใช้ รูปแบบเช่นนี้ เป็นส่วนมาก ในบทประพันธ์ 
บางตำแหน่งที่ไม่สามารถใช้สัมผัสสระได้ ก็อาจจะใช้สัมผัสอักษรแทน

๓ เสียง คำสุดท้าย ในแต่ละวรรค ของกลอน มีข้อกำหนด ในเรื่องเสียง ของวรรณยุกต์  เป็นตัวกำหนดด้วย การกำหนดเรื่องเสียงนี้
ถือว่าเป็นข้อบังคับ ทางฉันทลักษณ์ อย่างหนึ่ง ของกลอนแปด หรือกลอนสุภาพ อันมีข้อกำหนด ดังต่อไปนี้..

๑. คำสุดท้ายวรรคที่ ๑ (วรรคสดับ) ใช้ได้ทุกเสียง แต่ไม่ค่อยนิยมใช้เสียงสามัญ
๒. คำสุดท้ายวรรคที่ ๒ (วรรครับ) ต้องใช้เสียงเอก โท หรือจัตวา นิยมใช้เสียงจัตวา ห้ามใช้เสียงสามัญและตรี
(บางท่านก็อนุโลมให้ใช้เสียงตรีได้แต่ไม่นิยม)
๓. คำสุดท้ายวรรคที่ ๓ (วรรครอง) ต้องใช้เสียงสามัญ หรือเสียงตรี  ที่นิยมที่สุดคือเสียงสามัญ ห้ามใช้เสียง เอก โท และจัตวา
๔. คำสุดท้ายวรรคที่ ๔ (วรรคส่ง) ต้องใช้เสียงสามัญหรือตรี ที่นิยมมากที่สุดคือเสียงสามัญ ห้ามใช้เสียงเอก โท และจัตวา..

สิ่งที่พึงระวัง ในการใช้สัมผัส มากเกินไป จนลืมความหมาย สำคัญหลัก อันเป็นเรื่องราว ของกลอนนั้นๆ
ก็จะทำให้ กลอน ดูไม่เป็นธรรมชาติ ไม่มีความหมายที่ลึกซึ้งกินใจ
ท่านอาจารย์ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ เคยกล่าวไว้ว่า "ถ้าหลงใหลถือเคร่งกับสัมผัสคำมากเกินไป ก็ทำให้เกิด คำด้าน ขึ้นมาได้"
"คำด้าน" คือสำนวนที่มีแต่ "สัมผัสคำ" แต่ไม่ "สัมผัสใจ" นั่นเอง..


๔ จังหวะ ในกลอนสุภาพมักจะแบ่งกลุ่มคำออกเป็น ๓ ช่วงจังหวะ คือ ooo oo ooo เป็นกลุ่มแบบ ๓-๒-๓ 
บางท่าน อาจจะแบ่ง เป็นอย่างอื่น ก็ได้เช่น oo oo ooo (๒-๒-๓) , oo ooo ooo (๒-๓-๓) , ooo ooo oo (๓-๓-๒) 
หรือใช้หลายๆแบบที่กล่าวมานี้ผสมกัน แต่รูปแบบ ๓-๒-๓ เป็นมาตรฐานที่นิยมกันมากที่สุด ใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณ
โดยเฉพาะในกลอนของ สุนทรภู่ ดังตัวอย่าง

๐ เมื่อเคราะห์ร้าย-กายเรา-ก็เท่านี้
ไม่มีที่-พสุธา-จะอาศัย
ล้วนหนามเหน็บ-เจ็บแสบ-คับแคบใจ
เหมือนนกไร้-รังเร่-อยู่เอกา..

การยึดจังหวะ เช่นนี้รวมกับ การใช้สัมผัสใน แบบท่านสุนทรภู่ เป็นหลักการ มาตรฐาน ที่มักจะ ทำให้กลอน ไพเราะ สละสลวย ได้โดยง่าย
แต่ก็พึงระวัง การแบ่งจังหวะ แบบที่ฝืน จนต้องฉีกคำ เช่น เที่ยวสวนส-นุกอ-เนกประสงค์ ซึ่งทำให ้กลอนนั้น อ่านไม่ได้จังหวะ ดังที่ต้องการ
และอาจทำให้ กลอนเสีย ทั้งบทได้

๕. ข้อควรหลีกเลี่ยงในการเขียนกลอน

ข้อควรหลีกเลี่ยงนี้ เป็นเพียง ข้อแนะนำ (ส่วนตัว) มิใช่กฏเกณฑ์ ตายตัว ที่ต้องปฏิบัติตาม อย่างเคร่งครัด
เพียงแต่ ถ้าสามารถ ปฏิบัติตาม ข้อควรระวัง เหล่านี้แล้ว จะทำให้กลอน ดูสละสลวย และถูกต้อง ตามความนิยม ของกวีสมัยก่อนๆ
และมิใช่วิธีการ ในการประเมิณค่า ของบทประพันธ์ แต่อย่างใด ถ้าใครสามารถ ยึดถือไว้ เป็นหลัก ในการแต่งกลอน ก็เป็นเรื่องที่น่ายินดี

    ๕.๑ ไม่ควรใช้คำไม่สุภาพ, คำหยาบต่างๆ มาใช้ เช่น เสือก, ตูด, ถุย ฯลฯ, คำแสลงเช่น มหา'ลัย, แม่ง ฯลฯ  เป็นต้น

    ๕.๒ ไม่นำคำเสียงสั้น กับเสียงยาว มาสัมผัสนอกกัน อย่างที่เคย กล่าวมาแล้ว ในเรื่องสัมผัส การกระทำ เช่นนี้
ถือว่าเป็นความผิดพลาด ทางฉันทลักษณ์โดยตรง โดยให้ดูที่รูปสระนั้นๆ เป็นหลักเช่น รัก สัมผัสกับ มาก, ใจ สัมผัสกับ วาย,
คน สัมผัสกับ โดน , เก้า สัมผัสกับ ท้าว, เก็น สัมผัสกับ เขน ฯลฯ เป็นต้น ดังตัวอย่าง..

๐ ศึกสิงห์เหนือเสือใต้ในวันนี้
ขอสตรีร่วมบทบาทชาติสุขศานต์
ตาร้อยคู่ตาคู่เดียวเกี่ยวร้อยกัน
สงครามนั้นจักสงบเลิกรบรา..

    ๕.๓ ไม่ชิงสัมผัสก่อน ในการใช้คำสัมผัสนอกกันนั้น พึงระวังมิให้มีคำที่เป็นเสียงสระเดียวกัน กับคำที่จะใช้สัมผัสปรากฏก่อน คำสัมผัส ในวรรคเดียวกัน
เช่น..

๐ จะไหวตัวกลัวเชยเลยลองนิ่ง
เขากลับติงว่านั่น มันเชยใหญ่
อะไรอะไรก็ตะบันไป
ทำฉันใดหนอพ้นเป็นคนเชย..

การกระทำเช่นนี้ จะทำให้กลอนด้อย ความไพเราะ ในเชิง คำสัมผัส เพราะมีการ ชิงสัมผัส กันก่อน

    ๕.๔ ไม่สัมผัสเลือน มักปรากฏอยู่ในวรรค รับ (ที่ ๒) และวรรคส่ง (ที่ ๔) คือมีการใช้คำ สัมผัส ภายในวรรค เดียวกัน ในคำที่ ๓, ๕ และ ๘ เช่น

๐ ถึงฤกษ์เรียงเคียงหมอนเมื่อตอนดึก
กลับรู้สึกหนาวสั่นขันไหมเล่า?
ใครไม่เคยเข้าหออย่าล้อเรา
ถึงตัวเข้าบ้างคงหนาวเหมือนกล่าวเอย..

จะเห็นได้ว่า คำว่า หนาว กับ กล่าว นั้น เป็นสัมผัสใน ที่ถูกต้องแล้ว แต่ดันไปสัมผัส กับคำว่า เข้า ก่อนหน้านี้อีก จึงติดเงื่อนไข การใช้สัมผัสเลือนไป..

    ๕.๕ ไม่สัมผัสซ้ำ มี ๒ ประเภทคือ

    ก. สัมผัสซ้ำแบบ "พ้องรูปและเสียง" คือเป็นการใช้คำสัมผัส เป็นคำเดียวกัน ซ้ำภายในบทกลอนบทดียวกัน  หรือบทติดๆกัน เช่น..

๐ ช่างกำเริบเสิบสานทหารชั่ว
อย่างเป็นผัวนางนี่ร้อยตรีสาว
วันัยอ่อนหย่อนดื้อแถมมือกาว
พบนายสาวไม่คำนับเข้าจับตัว..

    ข. สัมผัสซ้ำแบบ "พ้องเสียง" คือเป็นการใช้คำสัมผัส เป็นคำพ้องเสียง ซ้ำภายในบทกลอนบทดียวกัน  หรือบทติดๆกัน เช่น..

๐ ชีวิตเลือกเกิดมิได้ใครก็รู้
ต้องดิ้นรนต่อสู้อุปสรรค
ทำให้ดีที่สุดอย่าหยุดพัก
ทางสู่ศักดิ์ศรีแม้ไกลเหมือนใกล้กัน..

    ๕.๖ ไม่ควรใช้คำศัพท์โบราณ มาใช้มาก เกินความจำเป็น  เนื่องจากคำเหล่านี้ ต้องแปลความหมาย ซึ่งคนส่วนมาก ไม่ทราบความหมาย เหล่านั้น ทำให้กลอน อ่านแล้ว ทำความเข้าใจ ได้ยากขึ้น เช่น..

๐ สรวงสวรรค์ชั้นกวีรุจีรัตน์
ผ่องประภัศร์พลอยหาวพราวเวหา
พริ้งไพเราะเสนาะกรรณวัณณนา
สมสมญาแห่งสวรรค์ชั้นกวี
๐ อิ่มอารมณ์ชมสถานวิมานมาศ
อันโอภาสแผ่ผายพรายรังสี
รัศมีมีเสียงเพียงดนตรี
ประทีปทีฆะรัสสะจังหวะโยนฯ..

    ๕.๗ ไม่นำคำเฉพาะที่เป็นคำคู่ มาสลับหน้าหลังกัน เพราะจะทำให้ ความหมายเปลี่ยนไป หรือ สูญสิ้นความหมาย ของคำนั้นๆไปได้  เช่น..

ขุกเข็ญ เขียนเป็น เข็ญขุก
งอกงาม เขียนเป็น งามงอก
ลิดรอน เขียนเป็น รอนริด
หุนหัน เขียนเป็น หันหุน
ว้าเหว่ เขียนเป็น เหว่ว้า
ย่อยยับ เขียนเป็น ยับย่อย
ทักทาย เขียนเป็น ทายทัก
บดบัง เขียนเป็น บังบด
งมงาย เขียนเป็น งายงม
ร่ำรวย เขียนเป็น รวยร่ำ
ชั่วช้า เขียนเป็น ช้าชั่ว

การใช้คำสลับกันเช่นนี้ อาจจะทำให้กลอน ที่ไพเราะ ด้อยคุณค่า ลงได้ เช่น..

๐ แค้นมีหนอนบ่อนไส้ใจไม่ซื่อ
เป็นเครื่องมือเบียนเบียดช่วยเหยียดหยาม
มันขายชาติช้าชั่วมิกลัวความ
หายนะรุกรามเข้าทำลาย..

    ๕.๘ ไม่ควรให้คำสัมผัสนอก  ซ้ำภายในวรรคเดียวกัน เช่น..

พวกเราเหล่าทหารชาญสนาม
ไม่ครั่นคร้ามใครว่าหรือมาหยาม
จะยืนหยัดซัดสู้ให้รู้ความ
ดังนิยามเชิงเช่นผู้เป็นชาย..

    ๕.๙ ไม่ลอกเลียนหรือละเมิดลิขสิทธิ์ บทประพันธ์ของผู้อื่น นอกจาก จะผิดกฏหมาย พระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์แล้ว ยังเป็นการผิด จรรยาบรรณ อีกด้วย จึงควรระวัง ไม่ลอกบทประพันธ์ ของผู้อื่นอย่างจงใจ เช่น..

กลอนที่ชื่อว่า "ขอ" ของ เอก หทัย เขียนไว้ว่า..

๐ ขอเธอมีรักใหม่อย่าให้รู้
และถ้าอยู่กับใครอย่าให้เห็น
ให้ฉันเถอะ  ขอร้องสองประเด็น
แล้วจะเป็นผู้แพ้อย่างแท้จริง..

มีผู้นำไปแปลงใหม่ แล้วให้ชื่อว่า "วันนี้ที่รอคอย" ดังนี้..

๐ ขอเธอมีผัวใหม่บอกให้รู้
และเลือกคู่หล่อกว่าพี่อย่างที่เห็น
พินัยกรรมใบหย่าอย่าลืมเซ็น
แล้วจะเป็นโสดตอนแก่อย่างแท้จริง..



*** หนังสืออ้างอิง:
๑. "เรียงร้อยถ้อยคำ" โดย เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ และ วาณิช จรุงกิจอนันต์
๒. "กลอนสัมผัสใจได้อย่างไร" โดย วาสนา บุญสม


--------------------------------------------------------------------------------


..จากใจระนาดเอกครับ..

อายแบบน่ารัก

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : สล่าผิน, จารุทัส

ข้อความนี้ มี 2 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า

28 มีนาคม 2010, 05:54:PM
saowarose
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #24 เมื่อ: 28 มีนาคม 2010, 05:54:PM »
ชุมชนชุมชน

ผมมาใหม่นึกคึกมาฝึกเขียน
อยากจะเรียนจะรู้ตามครูสอน
เสาวรสพากเพียรจะเขียนกลอน
ผมเด็กอ่อนฝากพี่ช่วยติชม

ผมหลงใหลในกลอนเป็นยิ่งนัก
ติดกับดักเข้าแล้วสิครับผม
แม้ว่ากลอนผมหนาไม่น่าชม
ไม่เหมาะสมใคร่ขอคำแนะนำ


 เอ้อ..จริงว่ะ แหะๆ ผมตั้งใจสุดชีวิตเลยครับ ไม่ไพเราะอย่างไรก็ขออภัยด้วยครับ ไม่ถูกต้องอย่างไรช่วยแนะนำว่ากล่าวตักเตือนผมด้วยนะครับ  ลาตายดีกว่าตู
ข้อความนี้ มี 13 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
28 มีนาคม 2010, 06:20:PM
บ้านกลอนไทย
ผู้ดูแลทุกบอร์ด
*

คะแนนกลอนของผู้นี้ 533
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 962


จิ๊กโก๋...กำลังจะโตเป็นหนุ่ม ฮ่าๆ


« ตอบ #25 เมื่อ: 28 มีนาคม 2010, 06:20:PM »
ชุมชนชุมชน




๐ หลากคำล้วน มวลกลอน สะท้อนพจน์
งามปรากฏ บทกานท์ ที่หวานฉ่ำ
ต้องออกจาก รากจิต ค่อยคิดคำ
แล้วร่ายรำ พร่ำไป ตามใจเรา

๐ กลอนเจ้าชายฯ ร่ายเรียง ใกล้เคียงแล้ว
สาดส่องแวว ว่าแน่ มาแต่เก่า
เพียงต้องฝึก ศึกษา วิชาเอา
ไม่นานเนา เข้าที…กวีกลอน




แบบว่า…เป็นกำลังใจให้ครับ

    ยิ้มแก้มแดง


ข้อความนี้ มี 11 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า

28 มีนาคม 2010, 06:34:PM
saowarose
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #26 เมื่อ: 28 มีนาคม 2010, 06:34:PM »
ชุมชนชุมชน

ขอบคุณหนุ่ม นะโม มากเลยครับ
ได้สดับ ดีใจ มากนักหนา
ผมจะตั้ง ใจครับ ผมสัญญา
เรียนวิชา กับครู บ้านกลอนไทย

เพราะที่นี่ มีกลอน ที่ไพเราะ
ผมชมเปาะ ในคำ ที่ลื่นไหล
ขอบคุณอีก ครั้งครับ กับน้ำใจ
ที่มอบให้เจ้าชายเสาวรส


ขอบคุณมากๆเลยครับพี่หนุ่มนะโม ผมซาบซึ้งจังเลยครับ กลอนของพี่เพราะมากๆเลยครับ ชี้เเนะผมด้วยนะครับ ซึ้งจัง
ข้อความนี้ มี 12 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
30 มีนาคม 2010, 01:01:AM
ไพร พนาวัลย์
กิตติมศักดิ์
*

คะแนนกลอนของผู้นี้ 2083
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,422


นักร้อง


paobunjin
« ตอบ #27 เมื่อ: 30 มีนาคม 2010, 01:01:AM »
ชุมชนชุมชน




ขอขอบคุณ ทีมงาน บ้านกลอนไทย
ชี้แนะจน เข้าใจ ในวิถี
การแต่งกลอน ถูกต้อง ตามกวี
ทำให้มี บทเรียน ดั่งเทียนชัย

 ขอจีบ...ได้ป่ะ

“ปรางค์  สามยอด”


ข้อความนี้ มี 13 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า

01 เมษายน 2010, 01:27:AM
..ทักษมน..
Special Class

***

คะแนนกลอนของผู้นี้ 81
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 339



« ตอบ #28 เมื่อ: 01 เมษายน 2010, 01:27:AM »
ชุมชนชุมชน

คารวะ.....ท่านอาจารย์
จะคุกเข่า....จนท่านรับข้าฯเป็นศิษย์
[/color]

(โพ โพ)
ข้อความนี้ มี 3 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า

โลกนี้สีชมพู
01 เมษายน 2010, 09:28:AM
ธาตรี พฤกษา
LV5 ศิลปินเอกแห่งตำบล
*****

คะแนนกลอนของผู้นี้ 31
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 90


*คนใจบาป..ในคราบนักแต่งกลอน*


« ตอบ #29 เมื่อ: 01 เมษายน 2010, 09:28:AM »
ชุมชนชุมชน

ท่านคารวะผู้ใดครับ...
บันทึกการเข้า

เมื่อใดที่ผมใช้ชื่อ ธาตรี พฤกษา ผมจะกลับมาเขียนอีกครั้ง
01 เมษายน 2010, 10:36:PM
คนไร้ค่า
Special Class LV1
นักกลอนผู้เร่ร่อน

*

คะแนนกลอนของผู้นี้ 23
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 201



เว็บไซต์
« ตอบ #30 เมื่อ: 01 เมษายน 2010, 10:36:PM »
ชุมชนชุมชน

ถึงคิดฝาก จากใจ หวั่นไหวฉัน...(อ่านถอยหลัง).......ฉันหวั่นไหว ใจจาก ฝากคิดถึง
รองรอยร้าว หนาวเหน็บ จึงเจ็บตรึง....................ตรึงเจ็บจึง เหน็บหนาว ร้าวรอยรอง

จ้องจันทร์เจ้า เปล่าเปลี่ยว ดายเดียวหมาย........................หมายเดียวดาย เปลี่ยวเปล่า เจ้าจันทร์จ้อง
รอคนไกล หายห่าง หมองทางมอง................................มองทางหมอง ห่างหาย ไกลคนรอ

ขอเก็บเศษ เช็ดโศก เกลาโลกเหงา...............................เหงาโลกเกลา โศกเช็ด เศษเก็บขอ
ใจเหว่ว้า พาตัว ท้อกลัวพอ........................................พอกลัวท้อ ตัวพา ว้าเหว่ใจ

ใส่หวังฝัน มั่นหมาย ดูคล้ายอยู่...................................อยู่คล้ายดู หมายมั่น ฝันหวังใส่
เพียงพอแล้ว แน่วแน่ ใครแพ้ไป..................................ไปแพ้ใคร แน่แน่ว แล้วพอเพียง

เสียงใบไม้ ร่ายพัด ยังชัดฟัง......................................ฟังชัดยัง พัดร่าย ใบไม้เสียง
เรากล่อมชื่น คลื่นลม เอียงตรมเคียง .............................เคียงตรมเอียง ลมคลื่น ชื่นกล่อมเรา

เหงาใจยิ่ง จริงแท้ มีแค่นี้.........................................นี้แค่มี แท้จริง ยิ่งใจเหงา
รักหรือนี่ ที่หวัง เศร้าบางเบา......................................เบาบางเศร้า หวังที่....."นี่หรือรัก?"

ธาตรี  พฤกษา...


กลัว งง ครับ เลยต่อตรงท้ายให้ เขียนถอยหลังให้อ่านเลยครับ จะได้สะดวกในการอ่าน.......

ฝีมือท่าน เก่งกล้า ถึงเพียงนี้
ยังอุตส่าห์ ปรานี มาปราศัย
คารวะ ข้าน้อย ละอายใจ
ด้วยฝีมือ ไม่มีค่า พอคู่ควร

อยากจะขอ คารวะ ผู้กล้าเก่ง
มินักเลง ใจอ่อนน้อม มิผกผวน
มีน้ำใจ ต่อน้อง มีแปรปรวน
ความทั้งมวล ข้ากลั่นกรอง ออกจากใจ

อยากให้ท่าน ถือตน ดังพี่ข้า
จักสั่งสอน หรือติว่า เชิญปราศัย
ขออย่า คารวะ ข้า ละอายใจ
วางตัวใหม่ เถิดหนา พี่ข้าเอย
ข้อความนี้ มี 6 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า

04 เมษายน 2010, 05:24:PM
สายลมสีขาว
Special Class LV6
นักกลอนเอกแห่งวังหลวง

******

คะแนนกลอนของผู้นี้ 261
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 823


จงพัดพา ความเป็นไปได้


« ตอบ #31 เมื่อ: 04 เมษายน 2010, 05:24:PM »
ชุมชนชุมชน

งานกวีดี มีถ้อย ร้อยคำฝัน
เกิดจากคำ ประพันธ์ อันสดใส
ซึ่งกลั่นออก มาจาก ห้องจิตใจ
ส่องประกาย งามไสว ในอุรา

อย่ารีบเร่ง แต่แรก กลบท
เดี๋ยวสลด ปลดไป สิ้นใจหา
ด้วยเพราะคำ ที่ใช้ พร่ำออกมา
กลับย้อนฆ่า ตัวเอง ข่มเหงกัน

จงใช้ใจ ใส่อาภรณ์ ป้อนสัมผัส
เป็นบรรทัด จัดเติม เพิ่มสีสัน
เมื่อชำนาญ ค่อยประดับ แก้วอำพัน
เติมใส่ฝัน กลบท กฏหลักการ

กลอนจะงาม กานท์จะเพราะ เสนาะจิต
จงลิขิต "ด้วยใจ" ใส่ประสาน
อย่าได้ยึด ถือเหตุผล จนซมซาน
เดี๋ยวจะเสีย คำหวาน ผสานทรวง

หากแต่ใช่ ใช้ใจ ใฝ่ลงลักษณ์
แล้วทิ้งผลัก เหตุผล ไม่สนหวง
คงจะน่า เสียดาย ความหมายลวง
เมื่องานถ่วง สองข้าง ไม่เท่ากัน


เคยมีคนบอกมาว่า คนที่ใช้อารมณ์ในการทำสิ่งต่างๆนั้น มักจะถูกมองว่าไร้เหตุผล
แต่ขณะเดียวกัน คนที่ใช้แต่เหตุผลทำสิ่งต่างๆ ก็มักจะถูกมองว่าไร้จิตใจเช่นกัน
ข้อความนี้ มี 11 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
04 เมษายน 2010, 10:40:PM
ธาตรี พฤกษา
LV5 ศิลปินเอกแห่งตำบล
*****

คะแนนกลอนของผู้นี้ 31
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 90


*คนใจบาป..ในคราบนักแต่งกลอน*


« ตอบ #32 เมื่อ: 04 เมษายน 2010, 10:40:PM »
ชุมชนชุมชน

"เมื่อเราอาจหาญที่จะเขียนร้อยกรองที่มีบังคับแล้ว  จะไปกลัวอะไรกับกลบทที่แค่มีบังคับมากขึ้น"   

เชษฐภัทร
ข้อความนี้ มี 3 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า

เมื่อใดที่ผมใช้ชื่อ ธาตรี พฤกษา ผมจะกลับมาเขียนอีกครั้ง
28 มิถุนายน 2010, 10:06:AM
เพรางาย
ผู้ดูแลบอร์ด

*

คะแนนกลอนของผู้นี้ 553
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 1,312


ทุกคำถามจะนำมาซึ่งคำตอบ


« ตอบ #33 เมื่อ: 28 มิถุนายน 2010, 10:06:AM »
ชุมชนชุมชน

เขียดใต้บัว (กลอน ๗)

ซ่อนตัวอยู่ใต้ใบบัวเขียว
นั่งอยู่ตัวเดียวเมื่อวันก่อน
อาศัยน้ำอ่างล้างความร้อน
ยึดเป็นที่นอนที่พักพิง

สัปดาห์ผ่านไปไม่เห็นตัว
อ่างใหม่ใต้บัวเห็นเกาะนิ่ง
เจ้าได้เพื่อนใหม่มาแอบอิง
เพื่อนหญิงหรือชายไม่ยักรู้

ค่ำลงเห็นแมวเที่ยวมุดซุก
ข้างอ่างไล่รุกค้นหาอยู่
คว้าแมวเข้าบ้านปิดประตู
กลัวเขียดดวงจู๋อยู่ไม่นาน

ข้อความนี้ มี 5 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า

คนที่กำลังไล่ตามความฝัน  ท่ามกลางความผกผันของเวลา
28 มิถุนายน 2010, 03:08:PM
แงซาย
Special Class LV2
นักกลอนผู้ก้าวสู่โลกอักษร

**

คะแนนกลอนของผู้นี้ 40
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 109



« ตอบ #34 เมื่อ: 28 มิถุนายน 2010, 03:08:PM »
ชุมชนชุมชน

เขียดใต้บัว (กลอน ๗)

ซ่อนตัวอยู่ใต้ใบบัวเขียว
นั่งอยู่ตัวเดียวเมื่อวันก่อน
อาศัยน้ำอ่างล้างความร้อน
ยึดเป็นที่นอนที่พักพิง

สัปดาห์ผ่านไปไม่เห็นตัว
อ่างใหม่ใต้บัวเห็นเกาะนิ่ง
เจ้าได้เพื่อนใหม่มาแอบอิง
เพื่อนหญิงหรือชายไม่ยักรู้

ค่ำลงเห็นแมวเที่ยวมุดซุก
ข้างอ่างไล่รุกค้นหาอยู่
คว้าแมวเข้าบ้านปิดประตู
กลัวเขียดดวงจู๋อยู่ไม่นาน



ซ่อนตนทนเหงารอเจ้าหญิง
เกาะนิ่งอิงใบไม่อาจหาญ
โชคดีเปลี่ยนผันเมื่อวันวาน
พบท่านใจดีมีเมตตา

ต้องมนต์คำสาปกำราบไว้
หวังได้ใครดลพ้นปัญหา
ถึงคราวพ้นช่วงบ่วงมายา
เหมียวมาคลายมนต์จึงพ้นเวร
ข้อความนี้ มี 2 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า

"พรสวรรค์ หรือจะสู้ การแสวงหา
      ลิขิตฟ้า หรือจะสู้ มานะตน"
22 สิงหาคม 2010, 04:53:PM
ระนาดเอก
webmaster
*

คะแนนกลอนของผู้นี้ 780
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,732


~พลิ้วไหว..ดั่งสายน้ำ~


profile.php?id=100024533527747
เว็บไซต์
« ตอบ #35 เมื่อ: 22 สิงหาคม 2010, 04:53:PM »
ชุมชนชุมชน




~ระวังคำ"สัมผัสซ้ำ"กันนะจ๊ะ..น้องรัก?~



๐ เขียนกลอนเพลินมีสุขลืมฉุกคิด
กลั่นประดิษฐ์ถ้อยฝันยันรุ่งสาง
เขียนสะสมเป็นปีมิเว้นวาง
ผ่านเส้นทางหมื่นบทพจน์กวี

๐ ใส่ความฝันสรรแต่งแฝงข้อคิด
เนรมิตปรุงรสงดงามถี่
นั่งนอนอ่านครั้งใดไฟทวี
โดยไม่มีผู้ใดใคร่ติชม

๐ ยามที่ฝันพร่างพรายเป็นสายม่าน
พลิ้วของกานท์ก็ฟ้อนอ่อนสุขสม
โลกแห่งฝันทะยานซ่านอารมณ์
ฝากคำคมคำรักทักโลกา

๐ วันสำคัญศักดิ์ศรีของชีวิต
รวบรวมถ้อยลิขิตพิศคุณค่า
เป็นหนังสือของขวัญอันชื่นตา
หรือออกขายสู่หล้าประชาชน

๐ อาจจะเจอผู้รู้ครูงานถ้อย
ติเตียนงานร่องรอยงานพลอยหม่น
กฎข้อห้ามพื้นฐานพานชอบกล
เขียนวกวนจนติดพ่นพิษงาน

๐ สัมผัสซ้ำกลอนแปดแผดแผลงฤทธิ์
ทั้งชีวิตเริงรื่นชื่นถ้อยสาร
ส่งประกวดหนังสือสื่อผลงาน   
กรรมการเพ่งพิศ..อาจปิดใจ..


ปล.คำว่า"วี"ด้านบน..กับคำว่า"งาน"คือตัวอย่างหนึ่ง ที่เป็นคำ"สัมผัสซ้ำ"ที่เป็นข้อห้ามจ้ะ..
..คำที่เราได้ใช้รับ-ส่งสัมผัสไปแล้ว (ในกลอนสั้นที่ไม่เกิน ๖ บท) ให้ใช้เพียงแค่ครั้งเดียวจ้ะ น้องๆระวังกันให้มากๆนะจ๊ะ..
..และพี่มีลิงค์ที่น่าสนใจแนบมาให้ด้วย..

http://www.st.ac.th/thaidepart/undo_1.php

..จากใจ..พี่ระนาดเอกจ้ะ..


อายแบบน่ารัก






"แด่..ศิษย์มีครูทุกท่านครับ?"



๐ เส้นทางกลอนอ่อนถ้อยปล่อยใจเขียน
สร้างคำเนียนเพียรแต่งใจแจ้งอยู่
สรรหาคำล้ำลึกตรึกตรองดู
เนื้อหาหรูสู่ใจผู้ใคร่ชม

๐ รักษ์ในศิลป์จินตนาตั้งหน้าสื่อ
จิตใสซื่อบริสุทธิ์รุจ..คารม(งามสม)
ลืมศึกษาเสียงศิลป์ถิ่นนิยม
แต่งระดมปิดใจ..ไกลอาจารย์

๐ ฝากฝีมือสื่อเพี้ยนเขียนเผยแพร่
ก็รังแต่ใครพบสบถ้อยกานท์ (สาร)
พิศที่ไรใครตรองต้องรำคาญ
นำลูกหลานตามอย่าง..ทางลงคลอง

๐ บรรพชนคนเก่าผู้เฒ่าแก่
ท่านคิดค้นดีแท้..และน่าลอง(แก่เราผอง)
ช่วยกันสืบศิลป์ไทยให้เรืองรอง
อนุชนควรตรอง..สนองตาม

๐ เริ่มง่ายง่ายใส่ใจใฝ่เรียนรู้
ค้นคว้าดูครูศิลป์..จินต์งดงาม (ถิ่นสยาม)
เรียนรู้ผังทางกลอนสะท้อนความ
หลีกข้อห้ามของเสียง..เลี่ยงแหกทาง

๐ ผิดครั้งแรกเป็นครูสู่ความเก่ง
ผิดแล้วเพ่งเร่งคิดพิศความต่าง
ฝึกบ่อยบ่อยถ้อยหม่นพ้นเลือนลาง
ใครอ่านพลางจับจิต..ศิษย์มีครู..

ระนาดเอก

ปล.คำเตือน ถ้าคุณลงเสียงสามัญท้ายวรรค ๒ เมื่อไหร่..สำนวนคุณก็จะพังไปทั้งบทนะครับ..

..การกำหนดเรื่องเสียงนี้..
..ถือว่าเป็นข้อบังคับ ทางฉันทลักษณ์ อย่างหนึ่ง ของกลอนแปด หรือกลอนสุภาพ อันมีข้อกำหนด ดังต่อไปนี้..
๑. คำสุดท้ายวรรคที่ ๑ (วรรคสดับ) ใช้ได้ทุกเสียง แต่ไม่ค่อยนิยมใช้เสียงสามัญ
๒. คำสุดท้ายวรรคที่ ๒ (วรรครับ) ต้องใช้เสียงเอก โท หรือจัตวา นิยมใช้เสียงจัตวา ห้ามใช้เสียงสามัญและตรี
(บางท่านก็อนุโลมให้ใช้เสียงตรีได้แต่ไม่นิยม)
๓. คำสุดท้ายวรรคที่ ๓ (วรรครอง) ต้องใช้เสียงสามัญ หรือเสียงตรี  ที่นิยมที่สุดคือเสียงสามัญ ห้ามใช้เสียง เอก โท และจัตวา
๔. คำสุดท้ายวรรคที่ ๔ (วรรคส่ง) ต้องใช้เสียงสามัญหรือตรี ที่นิยมมากที่สุดคือเสียงสามัญ ห้ามใช้เสียงเอก โท และจัตวา..

อายแบบน่ารัก


ข้อความนี้ มี 11 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า

22 สิงหาคม 2010, 07:05:PM
ทอฝัน
Special Class LV6
นักกลอนเอกแห่งวังหลวง

******

คะแนนกลอนของผู้นี้ 455
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 1,502

...ทอฝัน ขะรับ...ทอฝัน...!!!


« ตอบ #36 เมื่อ: 22 สิงหาคม 2010, 07:05:PM »
ชุมชนชุมชน

...สัมผัสซ้ำ...ย้ำใจ...ให้ฉุกคิด
ยังพลาดผิด...ครูติง...ประวิงไหว
อีกแล้วหนอ..."ทอฝัน"...นั่นยังไง
เขียนกลอนไว...ไกวรวน...ป่วนทุกที

...ย้อนไปอ่าน...งานตน...ปนสะอื้น
มีจุดยืน...ไร้แยบยล...คนเขาหนี
คำตรงเตือน...เยือนชิด...ติดไมตรี
น้ำใจมี...มามอบ...ศิษย์ขอบคุณ
....................//ทอฝัน....กราบขอบพระคุณครูระนาดค่ะ ขอโทษคร๊าบบ
ข้อความนี้ มี 7 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า

หัวโขมย...เรียงร้อยจากห้วงใจ มิตรภาพยิ่งใหญ่ ไร้กาลเวลา
23 สิงหาคม 2010, 05:57:PM
ระนาดเอก
webmaster
*

คะแนนกลอนของผู้นี้ 780
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,732


~พลิ้วไหว..ดั่งสายน้ำ~


profile.php?id=100024533527747
เว็บไซต์
« ตอบ #37 เมื่อ: 23 สิงหาคม 2010, 05:57:PM »
ชุมชนชุมชน





~"ระวัง..คำรับสัมผัสที่"ต่างรูป"กันนะจ๊ะ..น้องรัก?"~



๐ เป็นมือใหม่หรือเก่าเฝ้าขีดเขียน
ร่างกลอนเนียนอารมณ์คมความหมาย
แต่งตอบโต้โชว์เพื่อนเหมือนรู้ใจ
คนอยู่ไกลได้อ่านกานท์ของเรา

๐ แต่งไปตามประสาอารมณ์ฝัน
ถ้อยหวานพลันแก้มใสให้ร้อนผ่าว
หวังว่าใครได้อ่านดวงมานเบา
แล้วคงเข้าถึงกลอนนอนชื่นชม

๐ ปล่อยเวลารังสรรค์ขวัญเจิดจ้า
ใส่ภาษาดื่มด่ำล้ำถาโถม
อ่านทุกครั้งกระหยิ่มยิ้มระดม
วาดคารมจนผึ้งอึ้งทุกวัน

๐ หวานเจ้าเอยภาษาหาใดเหมือน
ดั่งลมเคลื่อนพะนอล้อลมผ่าน
โลกแห่งศิลป์จำรัสอัศจรรย์
อิ่มเอมฝันสกาวทั้งเช้าเย็น

๐ เขียนครูพักลักจำถลำลึก
แบบลืมฝึกศึกษาตำราเข่น
ใส่สัมผัสผิดถูกลูกเขียนเป็น
พอได้เห็นแม่พ่อนั่งต่อกลอน

๐ รับสัมผัสสับสนคนละรูป
งานสวยวูบเหมือนไม้ไร้กลิ่นหอม
เด็กมาเห็นถ้อยคำพร่ำสุนทร
อาจถูกย้อนนี่หละ..กลอนประตู..

ระนาดเอก

 อายแบบน่ารัก



..ปล.คำรับสัมผัสที่ต่างรูป..หรือมีเสียงสั้นยาวที่ต่างกัน..
..น้องๆระวังให้มากนะจ๊ะ..เพราะว่าใช้รับสัมผัสระหว่างวรรคกันไม่ได้จ่ะ..
..ตัวอย่างที่พี่ยกมาเช่น..คำว่า..
.
.."หมาย"กับ"ใจ"..
.."เรา"กับ"ผ่าว"..
.."ชม"กับ"โถม"..
.."วัน"กับ"ผ่าน"
.."เย็น"กับ"เข่น"
.."กลอน"กับ"หอม"
.
..ตัวอย่างของคำเหล่านี้..ถึงแม้จะมีเสียงที่ใกล้เคียงกันก็ตาม..
..แต่ถือว่าเป็นสระ..หรือมีตัวสะกดคนละรูปกัน..
..จึงใช้รับสัมผัสระหว่างวรรค หรือระหว่างบทกันไม่ได้..
..ลองสำรวจกันให้ดีนะจ๊ะ..

จากใจ
..พี่ระนาดเอกจ่ะ..

 ยิ้มแก้มแดง

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : สล่าผิน, จารุทัส

ข้อความนี้ มี 2 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า

25 สิงหาคม 2010, 06:31:PM
ระนาดเอก
webmaster
*

คะแนนกลอนของผู้นี้ 780
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,732


~พลิ้วไหว..ดั่งสายน้ำ~


profile.php?id=100024533527747
เว็บไซต์
« ตอบ #38 เมื่อ: 25 สิงหาคม 2010, 06:31:PM »
ชุมชนชุมชน




~"ระวัง.."คำสัมผัสเลือน" และ "คำชิงสัมผัส"นะจ๊ะ..น้องรัก?"~



๐ นั่งเขียนกลอนอ่อนหวานขับขานรัก
แบบแทบควักหัวใจมาใส่เขียน
หวังอนงค์หลงคำ..พร่ำจนเนียน
เสร็จวนเวียนอ่านซ้ำขำตัวเอง

๐ เขียนถึงเธอหลักร้อยคล้อยพันบท
ระดมพจน์ปรากฎในบทเก่ง
(คำว่า"พจน์" กับ"กฎ" คือ"สัมผัสเลือน"นะครับ)
ร้อยบรรเลงเพลงฝันขั้นครื้นเครง
(คำว่า"เลง" กับ "เพลง" มาก่อนคำว่า"เครง" คือ"ชิงสัมผัส"นะครับ)
อย่างไม่เกรงคนอ่านนั้นเป็นครู

๐ เฝ้าจีบสาวอาจารย์งานอักษร
เห็นพธูชอบกลอนอ้อนจนอยู่
(คำว่า"พธู" มาก่อนคำว่า"อยู่" คือ"ชิงสัมผัส"นะครับ)
ไม่รู้ตัวมัวสานกานท์พร่างพรู
(คำว่า"รู้"มาก่อนคำว่า"พรู"คือ"ชิงสัมผัส"นะครับ)
จนโฉมตรูเห็นไส้ในงานเรา

๐ ใส่อารมณ์ลืมใส่ใจภาษา
ลืมคุณค่าฉันทลักษณ์หลักจึงเศร้า
กฎข้อห้ามละเลยเหวยใจเบา
คิดว่า เขาและเราเล่าชอบกัน
(คำว่า"เขา" กับ "เรา" คือ"สัมผัสเลือน"นะครับ)

๐ ชิงสัมผัสใส่เกลื่อนเหมือนงานเด็ก
ชินเขียนมาแต่เล็กเด็กยังขัน
สัมผัสเลือนโลเลเร่ใส่ยัน
เธอรู้ทันลดขั้นผลงานกลอน
(คำว่า"ทัน" กับ "ขั้น" คือ"สัมผัสเลือน"นะครับ)

๐ นั่งสร้างฝันสรรคำน้ำตาลอ้อย
สาวอ่านพลอยอึดอัดวัตรอักษร
เจอะหนุ่มใหม่ใส่เสน่ห์เก๋สุนทร
ใจอาจอ่อนหากป้อน..กลอนถูกใจ..
(คำว่า"อ่อน" กับ "ป้อน" คือ"สัมผัสเลือน"นะครับ)

ระนาดเอก

อายแบบน่ารัก




..ปล.จำง่ายๆนะครับว่า..
๑.คำ"สัมผัสเลือน"นั้นหมายถึง ตามฉันทลักษณ์นั้น ครูบาอาจารย์ ท่านให้รับสัมผัสบังคับไว้แค่เพียง"ตำแหน่งเดียว"..
..แต่ผู้แต่ง ไปเพิ่มคำรับสัมผัสมากว่า ๑ ตำแหน่ง(ผมอยากให้เรียกว่า"โลเล"ก็ได้) ส่งผลให้กลอนในวรรคนั้นจะไม่กระชับ..
..และ..คำสัมผัสเลือน จะเกิดขึ้นในวรรค ๒ - ๔ ของบทเท่านั้นนะครับ..

๒.คำ"ชิงสัมผัส"นั้นหมายถึง คำหรือสระที่เป็นรูปเดียวกัน ที่เรานำมาใช้ ก่อนที่จะถึงเสียงที่รับสัมผัสจริงน่ะครับ..
..การใช้คำเหล่านี้..จึงควรหลีกเลี่ยง..เพราะถือว่าเป็นข้อห้าม ข้อหนึ่งของทางกลอนแปดครับ..
.
..จากใจจริง..
..พี่ระนาดเอกครับ..

 อายแบบน่ารัก

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : จารุทัส

ข้อความนี้ มี 1 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า

25 สิงหาคม 2010, 06:37:PM
ดาวระดา
Special Class LV6
นักกลอนเอกแห่งวังหลวง

******

คะแนนกลอนของผู้นี้ 369
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 595



« ตอบ #39 เมื่อ: 25 สิงหาคม 2010, 06:37:PM »
ชุมชนชุมชน

ขอบคุณครับสำหรับสิ่งดีๆผมน้อมรับไปปรับตัวครับท่าน
ผมเองถ้าระวังก็ไม่เกิดโรคสองสามอย่างนี้หรอกแต่หลังๆไม่ค่อยระวัง
ขอบคุณครับจากใจเช่นกันครับคุณ
ซึ้งในน้ำใจที่ไขพาทีเนาะ
ข้อความนี้ มี 10 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 5
  ชุมชน  |  ส่งหัวข้อนี้  |  พิมพ์  
 

Email:
Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
s s s s s