อาจารย์เปลื้อง ณ นคร ได้สรุปบทบัญญัติการเขียนกลอนของ น.ม.ส.
ไว้ 5 ประการด้วยกันคือ
1. ต้องบรรจุจำนวนคำให้ตรงตามแบบจริงๆ เช่น กลอนหก ต้องมี 6 คำจริงๆ
จะมีคำมากจนเป็นกลอนเจ็ดคำหรือแปดคำไม่ได้ กลอนแปดก็ต้องเป็น 8 คำ
จะมีคำมากเป็นกลอนเก้า หรือกลอนเจ็ด ก็ไม่ได้เป็นอันขาด (คำลหุยอมให้ปน
กับครุเป็นคำสมาส นับเป็น 1 คำได้ เช่น "เสบียง" จะนับเป็นคำเดียวก็ได้)
2. ต้องไม่ให้มี "อาเก้อ" หมายความว่า "สระอา" มาเติมเข้าไปในที่ไม่มี
ความหมาย เช่น พักตรา ขัติยา ฤทธา ครรภา เป็นต้น
3. ต้องไม่ตัดศัพท์ผิด เช่น ปัจจา (ตัดมาจาก ปัจจามิตร) ตักษัย (ตัดมาจาก ชีพิตักษัย)
นุกูล (ตัดมาจาก อนุกูล) เป็นต้น
4. ต้องไม่ทับศัพท์ เช่น "พระภูมีพิโรธโกรธโกรธา ดำรัสตรัสสั่งองค์กษัตริย์ขัติยา"
(พิโรธ โกรธ โกรธา ความหมายเดียวกัน) (ดำรัส ตรัส สั่ง ความหมายเดียวกัน) เป็นต้น
5. ต้องไม่ให้กลอนพาไป เช่น "เจ็บคำคิดจิตขวย หลงเชยเลยชมลมชวย
ดูรวยด้วยรวนด่วนร้าว" (กลบทกบเต้นต่อยหอย) หรือ "เห็นเดือนแดงโร่โจ้ท้องฟ้า
ฝูงนกกาบินเข้ารังไม่ยั้งเฉย ต่างก็บินเข้ารังเล่นเช่นเคย สงสารเอ๋ยแต่บำเรอเพ้อรำพัน"
ทั้ง 5 ข้อเป็นบัญญัติที่จะทำให้บทกลอนมีความไพเราะ เหมือนเป็นมาตรฐานที่นำไปใช้วัด
ความไพเราะของบทกลอนแต่ละบทได้ จึงนำมาเล่าสู่กันฟัง พอเป็นเกร็ดกวี
สุดท้ายขอฝากบทกลอนของ ส.เชื้อหอม ไว้เพื่อพิจารณาประกอบด้วยดังนี้
กลอนเก้าคำจำไว้ด้อยไพเราะ เขียนให้เหมาะแปดคำเพชรน้ำหนึ่ง
ให้ความหนักวรรคเดียวเป็นเกลียวกลึง ผู้อ่านจึงจะชอบชมขอบคุณ
คำสุดท้ายวรรคแรกแยกกวดขัน เสียงสามัญอย่าใช้พาให้วุ่น
สัมผัสซ้ำจำจดงดเจือจุน จงใช้ดุลพินิจประดิษฐ์กลอน
อย่าเขียนให้ใจความตามเพ้อนึก จงตรองตรึกให้หนักเรื่องอักษร
อย่าสุกเอาเผากินสิ้นสังวร รวมสุนทรถ้อยไว้ให้งดงาม
จุดจบก็ขอให้กินใจหน่อย มิควรปล่อยเปะปะเหมือนสะหนาม
จบให้เด่นเห็นชัดจำกัดความ ให้ตรงตามเค้าโครงเรื่องโยงใย
เขียนเสร็จสรรพกลับมาตรวจตราผิด ตรวจชนิดเรียงตัวจรดหัวใต้
เมื่อเห็นเหมาะเพราะดีจี้หัวใจ จึงเผยให้ประชาชนตราตรึง1. น.ม.ส. เป็นพระนามแฝงของพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์
หรือพระนามเดิม พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส
ทรงเป็นปราชญ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นพระบิดาแห่งสหกรณ์ไทย
ทรงเป็นต้นราชสกุล "รัชนี" (--ข้อมูลจากวิกิพีเดีย--)
2. ส.เชื้อหอม ชื่อเต็มคือ สมจิตร เชื้อหอม เกิดที่บ้านวังหัวคู้ หมู่ที่ 1 ตำบลบางพลวง
อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี บิดาชื่อ นายล้อม มารดาชื่อนางชั้น
มีอาชีพทำนา ส. เชื้อหอม เป็นบุตรคนที่ 2 ในจำนวนพี่น้อง 5 คนด้วยความ
รักภาษาไทยเป็นชีวิตจิตใจจึงทำงานเพื่อภาษาไทยมากกว่า 40 ปี ชี้แนะ
และต่อสู้ด้วยความอดทนให้ผู้ผลิตสินค้าที่เขียนผิดหลักภาษาไทย ยอมแก้ไข
ให้ถูกต้อง เช่น อายิโนะโมะโต๊ะ เป๊บซี่ แฟ้บ ไฮเป๊กซ์ แท็ตทู แม็กนั่ม ฯลฯ
และยังทำให้ผู้ที่ไม่ซึ้งถึงค่าภาษาไทย คิดแก้ไขภาษาไทยให้ถูกต้องอีกด้วย
ปัจจุบัน เป็นประธานชมรมผู้อนุรักษ์ภาษาและวัฒนธรรมไทย ผู้ทรงคุณวุฒิที่
มีผลงานดีเด่นเป็นคุณประโยชน์ต่อการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย ของหน่วย
ศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ประธานฝ่ายคำร้องเพลง
"พระพิฆเนศทองพระราชทาน" สมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย ในพระบรม
ราชูปภัมภ์ ผลงานประพันธ์รวมเล่มมีหลายเรื่องคือ "ภาษาพาที" "ภาษาไทยคือ
ไทย" "อ้ายเปีย" "ชีวิตในวัยเด็ก" ของพระธรรมโกศาจารย์ (ปัญญานันทะ)
"วลีลีลา" "พุทธประวัติ" "ภาษาภาษิต" "ภาษาปาก" "วัจนามนี"(ร้อยกรอง)
"ภาษาสื่อมวลชนมีกี่คนที่ทนรับได้" "ผ่าเพลง" ฯลฯ..
(--ข้อมูลจาก
http://www.ru.ac.th/province/prachinburi/goodper/sor/sor.htm--)
3. คัดลอกบางส่วนจากหนังสือ กลอนและวิธีการเขียนกลอน ของ ช่อประยงค์