สัมผัสของโคลงสี่สุภาพ
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน
27 เมษายน 2024, 08:16:AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

กด Link เพื่อร่วมกิจกรรม ผ่านFacebook (หรือกดปุ่มสมัครสมาชิกด้านบน)
 
หน้า: [1]
  ชุมชน  |  ส่งหัวข้อนี้  |  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สัมผัสของโคลงสี่สุภาพ  (อ่าน 6191 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
20 ตุลาคม 2013, 01:20:AM
พยัญเสมอ
Special Class LV6
นักกลอนเอกแห่งวังหลวง

******

คะแนนกลอนของผู้นี้ 674
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,044


ไม่มีเหตุจำเป็นห้ามรบกวน


« เมื่อ: 20 ตุลาคม 2013, 01:20:AM »
ชุมชนชุมชน


เป็นที่รับรู้กันมานานแล้วว่าโคลงสี่หรือโคลงสี่สุภาพนั้นมีสัมผัสบังคับอยู่ห้าแห่งด้วยกันคือ
คำที่๗ ในบาทที่ ๑ ไปสัมผัสกับคำที่ ๕ ในบาทที่ ๒ และ ๓
กับคำที่ ๗ ในบาทที่ ๒  นั้นไปสัมผัสกับคำที่ ๕  ในบาทที่ ๔  ทั้งยังต้องบังคับวรรณยุกต์โท ด้วย
ดังตัวอย่าง  โคลงโลกนิติ


งานสารฤาห่อนเหี้ยน       หดคืน
คำกล่าวสาธุชนยืน         อย่างนั้น
ทุรชนกล่าวคำฝืน          คำเล่า
หัวเต่ายาวแลสั้น           เล่ห์ลิ้นทรชนฯ


ดังนี้จะเห็นได้ว่าสัมผัสบังคับของโคลงสี่สุภาพนั้นจะมีอยู่ห้าแห่งเท่านั้น  โดยที่สัมผัสของโคลงนั้นจะไม่เหมือนกับกลอน
แต่ก็อาจจะมีนักกลอนหลายๆท่านที่ติดสัมผัสของกลอนจึงพยายามที่จะเพิ่มสัมผัสแบบกลอนเข้าไปในโคลง ด้วยเห็นว่าสวยงาม,ดี  ดังตัวอย่าง



ทุกวันโลกแปลกเพี้ยน   เวียนไป
มักเกิดอุบัติภัย           ไป่สิ้น
น้ำท่วมแผ่นดินไหว      ใครก่อ  เหตุนา
มนุษย์ต้องดับดิ้น        ถิ่นบ้านเรือนทลายฯ

เป็นภัยธรรมชาติแท้     แลฤา
หรือเกิดจากน้ำมือ       สื่อสร้าง
ของมนุษย์นี่แลหรือ       คือเหตุ
ธรรมชาติจึงชะล้าง      ด่างด้าวดินเดิม

เสริมส่งพิสุทธิ์พื้น      คืนคง
มนุษย์ชั่วชีพปลิดปลง   บ่งแจ้ง
หนาวร้อนอุตุหลง        น้ำหลาก มานา
หรือไม่ก็ภัยแล้ง         แต่งให้นรสูญฯ



เฮ่อ.....กว่าจะแต่งได้.....  ดังนี้จะเห็นได้ว่าถ้าเป็นการจงใจเพิ่มสัมผัสเข้าไปด้วยหวังว่าโคลงจะได้มีความไพเราะเพราะพริ้ง
แต่ผลที่เกิดตามมาก็คือ โครงสร้างผังของโคลงเดิมจะเปลี่ยนไป จากเดิมที่มีสัมผัสเพียว ๕ ก็จะกลายเป็นมีสัมผัสถึง ๑๓ แห่ง
ซึ่งปกติของโคลงนั้นไม่จำเป็นต้องมีสัมผัสแบบกลอน  แต่ถ้าจะสัมผัสระหว่างคำที่ที่๕กับ๖ ภายในบาท มักจะนิยมใช้เป็นแบบอักษรสัมผัส
มากกว่า  ไม่นิยมสระสัมผัส  ดังตัวอย่างโคลงโลกนิตที่ยกขึ้นมาให้ดู

"งาสารฤาห่อนเหี้ยน    หดคืน
คำกล่าวสาธุชนยืน     อย่างนั้น"


และแม้จะไม่ได้มีข้อห้ามว่าทำไม่ได้ แต่เมื่อพิจารณาโดยถี่ถ้วนแล้วก็คิดว่าไม่ควรด้วยเหตุผลง่ายๆก็คือ"จะทำให้ผังหรือโครงสร้างฉันทลักษณ์
ของโคลงสี่สุภาพเปลี่ยนไป"



Orion264(มือขวา)



 น้อยใจแล้วด้วย น้อยใจแล้วด้วย น้อยใจแล้วด้วย






พบใหม่อีกคำ เว็บนี้มันเขียนคำ" โท ด้วย" ไม่ได้มันจะแก้ไขเป็น โทษ้วย      หัวเราะยิ้มๆ










ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : ศรีเปรื่อง, Prapacarn ❀, รพีกาญจน์, panthong.kh, panthong.kh, ชลนา ทิชากร, เพรางาย, ไพร พนาวัลย์, กรกช

ข้อความนี้ มี 14 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า

๐นามแฝงผู้เขียน Orion264(มือขวา),มือขวา,บูรพาทรนง-ตงฟางข้วงแขะ,สิงสู่,ต๊กโกม้อเกี่ยม-มารกระบี่เดียวดาย,
เทพเจ้าไก่
หน้า: [1]
  ชุมชน  |  ส่งหัวข้อนี้  |  พิมพ์  
 

Email:
Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
s s s s s