18 ธันวาคม 2011, 08:37:AM |
อริญชย์
|
|
« เมื่อ: 18 ธันวาคม 2011, 08:37:AM » |
ชุมชน
|
|
|
|
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : บูรพาท่าพระจันทร์, สุนันยา, รพีกาญจน์, Prapacarn ❀, พี.พูนสุข, ลมหนาว, บ้านริมโขง, Thammada, รัตนาวดี, ไม่รู้ใจ, sunthornvit
ข้อความนี้ มี 11 สมาชิก มาชื่นชม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
เกื้อกูลต่อมวลมิตร ลิขิตเพื่อสังคม เพาะบ่มเพื่อพงไพร ก้าวไปเคียงผองชน
|
|
|
18 ธันวาคม 2011, 09:31:AM |
บูรพาท่าพระจันทร์
|
|
« ตอบ #1 เมื่อ: 18 ธันวาคม 2011, 09:31:AM » |
ชุมชน
|
คลังปัญญา หาให้ ไม่มีหมด เพียรจารจด พจน์พร่ำ คำเฉลย ทั้งต้นไม้ ไก่ปลา มาหมดเลย ยากมาเผย เอ่ยครบ ให้จบความ.../
บูรพาท่าพระจันทร์
|
|
|
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : สุนันยา, อริญชย์, รพีกาญจน์, Prapacarn ❀, พี.พูนสุข, ลมหนาว, บ้านริมโขง, Thammada, รัตนาวดี, ไม่รู้ใจ, sunthornvit
ข้อความนี้ มี 11 สมาชิก มาชื่นชม
|
บันทึกการเข้า
|
"สั้น-ตรงเป้า-เร้าใจ"
|
|
|
18 ธันวาคม 2011, 06:25:PM |
อริญชย์
|
|
« ตอบ #2 เมื่อ: 18 ธันวาคม 2011, 06:25:PM » |
ชุมชน
|
“ตะคร้อ” เป็นต้นไม้ป่าธรรมชาติ ผลสุกอาจทานช่วยให้ขับถ่ายคล่อง รสชาติเปรี้ยวสีเหลืองงามเรืองรอง เนื้อไม้ของตะคร้อแก่นหนักแน่นทน! ฯ อริญชย์ ๑๘/๑๒/๒๕๕๔ข้อมูลเพิ่มเติม(สาระธรรม) นิทานชาดก “หมีกับไม้ตะคร้อ” http://www.dhammathai.org/chadoknt/chadoknt24.phpข้อมูลเกี่ยวกับต้นตะคร้อ(โดยตรง) http://www.boonrarat.net/smunprai/takro.htm“ตะคร้อ Schleichera oleosa (Lour.) Oken
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Schleichera oleosa (Lour.) Oken ชื่อวงศ์ : SAPINDACEAE ชื่อท้องถิ่น : กอซ้อ กาซ้อง ค้อ คอส้ม เคาะ เป็นต้น ลักษณะทั่วไป: ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15-25เมตร ผลัดใบ เรือนยอดทรงรูปไข่ทึบ แตกกิ่งลำต้นสั้นมักเป็นปุ่มปมและ พูพอน เปลือกสีนำตาลเทา ดอก: สีขาวอมเขียว ออกเป็นช่อแยกแขนงตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอก ออก มี.ค - เม.ย ผล: ผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดี่ยว ทรงไข่แกมขอบ และโคนผลเปลือกเรียบและเกลี้ยน ผลสุกสีนำตาล เนื้อสีเหลือง เมล็ดรูปไข่ ผล ออก มิ.ค - ส.ค ด้านภูมิทัศน์: ปลูกเพื่อให้ร่มเงาดี เพราะพุ่มใบทึบเหมาะสำหรับพื้นที่กว้าง ผลดึงดูดนกได้ ประโยชน์: ไม้ทำเสาเรือน ด้ามเครื่องมือ เปลือกแก้ท้องร่วง น้ำมันเมล็ดแก้ผมร่วง ผลสุขมีรสเปรี้ยวอมหวาน,ทำผลิตภัณฑ์ล้างจาน ล้างห้องน้ำ,ผลทำอาหารหวานได้หลายชนิด เช่น แยม,ตะคร้อแก้ว,ลูกกวาดตะคร้อ,น้ำตะคร้อ,ไวน์
|
เกื้อกูลต่อมวลมิตร ลิขิตเพื่อสังคม เพาะบ่มเพื่อพงไพร ก้าวไปเคียงผองชน
|
|
|
19 ธันวาคม 2011, 08:21:AM |
อริญชย์
|
|
« ตอบ #3 เมื่อ: 19 ธันวาคม 2011, 08:21:AM » |
ชุมชน
|
“ต้นแมงดา” หอมกรุ่นละมุนกลิ่น คนท้องถิ่นเด็ดใบมาปรุงอาหาร ได้กลิ่นหอมแมงดาน่ารับประทาน, เกิดริมธาร หุบเขาลำเนาไพร ฯ
อริญชย์ ๑๙/๑๒/๒๕๕๔
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURONWIzVXdNakE0TURZMU13PT0=§ionid=Y25Wd1lXbHRiMlJs&day=TWpBeE1DMHdOaTB3T0E9PQ==
ต้นแมงดา"ทำมัง"
รู้ไปโม้ด [email protected]
อยากรู้จักต้นกลิ่นแมงดา เป็นอย่างไรอธิบายด้วยครับ
Niwat
ตอบ นิวัต
ไม้พันธุ์ที่มีกลิ่นเหมือนแมงดาคือ "ทำมัง" ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีเกษตร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยอธิบายไว้ว่า ทำมังเป็นต้นไม้ที่มีกลิ่นแมงดา สกุล Litsea วงศ์ Lauraceae โดยที่ไม้ในวงศ์นี้มีอยู่ถึง 400 ชนิด อาทิ อบเชย สะทิด ทัง บง ฯลฯ ทำมังเป็นไม้หวงห้ามประเภท ข พบกระจายในเขตร้อนและกึ่งร้อนของเอเชีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอเมริกา สำหรับประเทศไทยซึ่งเรียกชื่อทำมังเหมือนกันหมด พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่จ.ประจวบคีรีขันธ์ตอนล่าง (อ.บางสะพาน และอ.บางสะพาน น้อย) ชุมพร สุราษฎร์ธานี นรา ธิวาส โดยชอบอยู่ตามที่ชื้นในหุบเขา ริมลำธาร ในป่าดงดิบจนถึงป่าพรุ แต่ไม่ค่อยพบในป่าบนภูเขา
ทำมังเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มแบบพีระมิดค่อนข้างโปร่ง เส้นผ่าศูนย์กลางโคนต้น 30-40 ซ.ม. เปลือกลำต้นสีน้ำตาลถึงเทา ใบแบบใบเดี่ยวเรียงสลับหมุนเวียนรอบกิ่ง ใบกว้าง 3-9 ซ.ม. ยาว 6-20 ซ.ม. ก้านใบยาว 1-2.5 ซ.ม. แผ่นใบบางเป็นมัน เส้นแขนง 4-12 คู่ มองเห็นชัดเจนทางด้านท้องใบ บนใบมีต่อมน้ำมัน ผลรูปไข่ยาว 1 ซ.ม. เมื่อแก่มีสีน้ำตาลแดง ภายใน มีเมล็ดเดียว ต้นทำมังมีทั้งต้นตัวผู้และตัวเมีย ดอกแยกเพศ ส่วนกลิ่นแมงดามีอยู่ที่ใบ เปลือกลำต้น และเนื้อไม้ นิยมนำใบอ่อนมาผสมลงในแกงเลียงเพื่อให้มีกลิ่นฉุนของแมงดา หรือนำใบแก่ย่างไฟตำผสมลงในน้ำพริก จะได้น้ำพริกกลิ่นแมงดา และนำไม้มาทำสากสำหรับตำน้ำพริกที่ต้องการให้มีกลิ่นแมงดา
ในการสำรวจพันธุ์ไม้ พบประเทศไทยมีทำมัง 4 ชนิด ลักษณะใกล้เคียงกันมาก ได้แก่ 1.Litsea elliptica Boerl. พบมากที่จ.สุราษฎร์ธานี ลักษณะเด่นคือใบรูปมนรี ใบเล็กกว่าพันธุ์อื่น คือ กว้าง 2-6.5 ซ.ม. ยาว 6-14 ซ.ม. มีเส้นแขนงใบ 5-8 คู่ ฐานใบไม่เท่ากัน กระพี้ไม้สีเหลืองอ่อน ส่วนต้นขนาดใหญ่กว่าชนิดอื่น และก้านดอกสั้นเพียง 3 ม.ม. 2.Litsea leiantha Hook.f พบมากที่ จ.สุราษฎร์ธานี ลักษณะเด่นคือใบค่อนข้างใหญ่ ฐานใบเท่ากัน เส้นแขนงใบและเส้นตาข่ายเห็นชัดเจนด้านล่างของใบ ก้านดอกสั้น
3.Litsea petiolata Hook.f พบมากที่จ.ตรัง ลักษณะเด่นคือก้านใบยาวเรียว ใบมีขนาดกลาง กลิ่นฉุนกว่าชนิดอื่น 4.Litsea resinosa Bl. พบมากที่จ.นครศรีธรรมราช ลักษณะเด่นคือมียางใสที่ใบ มีใบขนาดใหญ่ที่สุดคือ กว้าง 4-9 ซ.ม. ยาว 11-20 ซ.ม. เส้นแขนงใบ 7-12 คู่ มีช่อดอกยาวกว่าชนิดอื่น แต่ลำต้นเล็กกว่า อย่างไรก็ตาม การจำแนกทำมังทั้ง 4 ชนิด ยังค่อนข้างสับสน โดยเฉพาะเมื่อทำมังเป็นต้นไม้ทั้งต้นตัวผู้และตัวเมียจึงแยกชนิดได้ยาก ส่วนในมาเลเซียมีรายงานว่ามีทำมังชนิดที่ 1, 3 และ 4
ทุกวันนี้ ทำมังในแหล่งธรรมชาติถูกตัดทำลายจนเกือบสูญพันธุ์ เพื่อนำพื้นที่ปลูกยางพารา ปาล์มน้ำมัน ทุเรียน มังคุด กาแฟและโกโก้ ข้อมูลระบุว่า ช่วงเวลาก่อนเหตุการณ์พายุไต้ฝุ่นเกย์ (4 พฤศจิกายน 2532) ยังมีต้นทำมังอยู่ประปรายในเขตประจวบคีรีขันธ์ตอนล่าง และชุมพรตอนบน รวมทั้งที่เกษตรกรปลูกอยู่บ้าง แต่หลังจากพายุไต้ฝุ่นเกย์ ต้นทำมังสูญไปจากบริเวณนั้นอย่างสิ้นเชิง นอกจากนี้ เพราะลำต้นผอมสูง ทรงพุ่มลีบ การจะขึ้นไปเก็บเมล็ดทำได้ลำบาก ประกอบกับเมล็ดที่ร่วงลงมากระจายหายไป ทำให้ต้นกล้าที่ขึ้นอยู่ในสภาพป่าธรรมชาติมีน้อยมาก การขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดจึงมีโอกาสน้อยมากด้วย
ส่วนการขยายพันธุ์โดยวิธีตอนกิ่ง ใช้เวลา 3-4 เดือนจึงออกรากและตัดไปปลูกได้ แต่ในการทดลองใช้ฮอร์โมนเร่งราก ABT หมายเลข 1 และ 2 เข้มข้น 2,500 ส่วนในล้านส่วน (ppm) ทาบริเวณที่ควั่น ใช้ใบตองแห้งหุ้มไว้ 2 สัปดาห์ แล้วหุ้มด้วยขุยมะพร้าว พบว่าเร่งให้ออกรากได้ในเวลา 2 เดือน และกิ่งออกรากได้สูงถึงร้อยละ 95
หน้า 24
|
เกื้อกูลต่อมวลมิตร ลิขิตเพื่อสังคม เพาะบ่มเพื่อพงไพร ก้าวไปเคียงผองชน
|
|
|
20 ธันวาคม 2011, 07:09:PM |
อริญชย์
|
|
« ตอบ #4 เมื่อ: 20 ธันวาคม 2011, 07:09:PM » |
ชุมชน
|
|
เกื้อกูลต่อมวลมิตร ลิขิตเพื่อสังคม เพาะบ่มเพื่อพงไพร ก้าวไปเคียงผองชน
|
|
|
24 ธันวาคม 2011, 06:07:PM |
อริญชย์
|
|
« ตอบ #5 เมื่อ: 24 ธันวาคม 2011, 06:07:PM » |
ชุมชน
|
“ต้นรางจืด” คลายฤทธิ์เมา จากเหล้าได้ พิษเบื่อร้าย จากสัตว์,พืช รางจืดถอน ดอกสีม่วง งามตระการ แห่งบ้านดอน เถาไม้อ่อน เลื้อยไปเรื่อย ยาวเฟื้อยเอย!ฯ
อริญชย์ ๒๔/๑๒/๒๕๕๔
รางจืด มีฤทธิ์ แก้ (ไม่มีฤทธิ์กัน:กินก่อนเพื่อป้องกันไม่ได้)
แต่ถ้าคนเบื่อสัตว์พิษ (แมงดาเห-รา) เห็ดพิษ พิษคางคก เมาเหล้าค้าง ต้มน้ำรางจืดให้ดื่ม อันนี้ช่วยได้อย่างแน่นอน
รางจืดคือพืชที่แสนอัศจรรย์ในทางแก้พิษของไทยเรา
ว่านรางจืด แก้พิษ ไข่ แมงดาไฟ แมงดาถ้วย เห รา กรณีนายศุภชัย จุลมูล อายุ 42 ปี และนางนงนุช ปงเมฆ อายุ 40 ปี 2 สามีภรรยา
อยู่บ้านเลขที่ 1/2 บ้านอีแล็ด หมู่ 2 ต.หาดทรายรี อ.เมืองชุมพร อาชีพรับซื้ออาหารทะเล นำไข่แมงดาทะเลชนิดมีพิษหรือ “แมงดาถ้วย” หรือเหรา หรือแมงดาไฟ มายำกับมะม่วงดิบ ทำเป็นอาหารจานโปรดเลี้ยงสมาชิกในครอบครัว แต่ภายหลังรับประทานเข้าไปไม่นาน ปรากฏว่าทุกคนเกิดอาการแน่นหน้าอก ปากมือเท้าชา อาเจียน ไม่มีเรี่ยวแรง ญาติต้องหามส่ง รพ.ชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ อ.เมืองชุมพร 5 ราย ในจำนวนนี้มีอาการโคม่า 2 ราย คือนางนงนุช กับ ด.ญ. ดารารัตน์ จุลมูล อายุ 11 ขวบ ลูกสาว แพทย์ต้องส่งตัวเข้าห้องไอซียู ส่วนนายศุภชัยและลูกอีก 2 คน คือนายวีรยุทธ จุลมูล อายุ 17 ปี และ ด.ช.วีระชัย จุลมูล อายุ 12 ปี อาการปลอดภัย
ความคืบหน้าเมื่อตอนสายวันที่ 5 ก.พ. ผู้สื่อข่าวเดินทางไปที่ รพ.ชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ อ.เมืองชุมพร
พบเจ้าหน้าที่กำลังเคลื่อนย้ายนางนงนุช และ ด.ญ.ดารารัตน์ ออกจากห้องไอซียูไปยังห้องพักฟื้นตึกหมอพร โดย นางนงนุชซึ่งนอนอยู่บนรถเข็นผู้ป่วย มีสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส หันมากล่าวกับผู้สื่อข่าวเพียงสั้นๆว่า “เหมือนตายแล้วเกิดใหม่” สร้างความอัศจรรย์ใจแก่ผู้พบเห็นเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกัน ผู้สื่อข่าวได้สอบถามนางวนิดา จุลมูล อายุ 63 ปี อยู่บ้านเลขที่ 1/1 หมู่ 2 ต.หาดทรายรี อ.เมืองชุมพร แม่นายศุภชัย สามีของนางนงนุชเปิดเผยว่า ขณะนี้ได้รับการยืนยันจากแพทย์แล้วว่า นางนงนุชกับ ด.ญ.ดารารัตน์ ลูกสะใภ้และหลานสาวอาการพ้นขีดอันตรายแล้ว แพทย์ได้ถอดเครื่องหายใจออกแล้ว ทั้งลูกสะใภ้และหลานสาวรอดตายครั้งนี้เหมือนปาฏิหาริย์ ตอนแรกที่พาส่ง รพ.อาการโคม่า แพทย์เรียกญาติไปพบบอกว่าให้ทำใจ โอกาสรอดมีเพียง 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
นางวนิดาเปิดเผยอีกว่า ระหว่างที่ทุกคนนั่งเฝ้าอาการด้วยความสิ้นหวังอยู่นั้น มีพยาบาลรายหนึ่งที่เฝ้าไข้เล่าให้ฟังว่า
ก่อนหน้านี้เคยมีผู้ป่วยรายหนึ่งรับประทานแมงดาพิษเข้าไป ญาติเอาต้นรางจืดซึ่งเป็นพืชสมุนไพรมาตำคั้นเอาน้ำให้ผู้ป่วยดื่มกิน ผลปรากฏว่าแก้พิษได้ และรอดตายในที่สุด เมื่อได้ยินเช่นนั้นทำให้เกิดความหวังขึ้นมา โทรศัพท์บอกญาติให้นำต้นรางจืดมาให้ทั้งต้นและราก จากนั้นนำไปตำจนละเอียดคั้นเอาแต่น้ำผสมกับน้ำซาวข้าวให้พยาบาลฉีดเข้าไปทางหลอดอาหารให้กับนางนงนุชก่อน หลังเวลาผ่านไปประมาณ 5-6 ชม. ปรากฏว่านางนงนุชเริ่มรู้สึกตัว พูดได้ แพทย์เจ้าของไข้จึงอนุญาตให้นำรางจืดไปใช้รักษา ด.ญ.ดารารัตน์ อีกคน เวลาผ่านไปเพียงแค่ 2 ชม. ด.ญ.ดารารัตน์เริ่มรู้สึกตัว สร้างความประหลาดใจให้กับแพทย์เป็นอย่างมาก เมื่อแพทย์เห็นเช่นนั้นนำรางจืดให้ผู้ป่วยรับประทานทุก 3 ชม. ปริมาณครั้งละ 10 ซีซี กระทั่งในวันเดียวกันนี้ แพทย์วัดความดัน การเต้นของหัวใจของผู้ป่วยยืนยันว่าทั้งคู่ปลอดภัย แพทย์ เชื่อว่าเหตุที่รอดตายเพราะต้นรางจืดแน่นอน เพราะคนที่รับประทานแมงดาพิษเข้าไปจะไม่มียาใดๆรักษาได้
ด้าน พญ.สุพรรณี ประดิษฐ์สถาวงษ์ ผอ.รพ.ชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ กล่าวว่า
ปกติคนที่รับประทานแมงดาถ้วย หรือเหรา หรือแมงดาไฟเข้าไปแล้วเกิดอาการเป็นพิษจะไม่มียาใดๆรักษาแก้พิษ แพทย์ทำได้แต่เพียงล้างท้อง หรือทำให้อาเจียน แล้วใช้เครื่องช่วยหายใจ การที่แพทย์ หรือพยาบาลยอมให้ญาตินำเอาสมุนไพรอย่างรางจืดมาให้ผู้ป่วยกินนั้น เพราะปัจจุบันนี้ เมื่อถึงจุดๆหนึ่งที่แพทย์เห็นว่าผู้ป่วยอยู่ในอาการโคม่า แพทย์มีสิทธิที่จะทำตามคำขอของญาติผู้ป่วยนั้นๆ ยิ่งต้นรางจืดเป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณแก้พิษได้ ทั้งต้นและรากของรางจืดจะเป็นยาขับปัสสาวะ ทำให้ช่วยขับพิษแมงดาทะเลออกมาทางปัสสาวะของผู้ป่วย จนอาการของแม่ลูกดีขึ้นตามลำดับ ขณะนี้ทราบมาว่าแพทย์อนุญาตให้นำทั้งคู่ ออกจากห้องไอซียูไปพักฟื้นตึกหมอพรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เนื่องจากอาการปลอดภัย คาดว่าพรุ่งนี้คงจะกลับบ้านได้ สำหรับต้นรางจืดกำลังตรวจสอบอยู่ว่ามีใครทำการวิจัยไว้หรือไม่ ถ้าไม่มีจะถือโอกาสศึกษาและนำมาใช้เป็นยาแก้พิษแมงดาทะเลมีพิษต่อไป
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ http://tnews.teenee.com/etc/20194.htmlข้อมูลประกอบภาพข้างบน http://www.sahavicha.com/?name=article&file=readarticle&id=2353
|
เกื้อกูลต่อมวลมิตร ลิขิตเพื่อสังคม เพาะบ่มเพื่อพงไพร ก้าวไปเคียงผองชน
|
|
|
25 ธันวาคม 2011, 04:57:PM |
อริญชย์
|
|
« ตอบ #6 เมื่อ: 25 ธันวาคม 2011, 04:57:PM » |
ชุมชน
|
๐มะค่าโมง/มะค่าแต้๐๐ “มะค่าโมง” ต้นใหญ่ผลิใบเก่า ฝักดำเงา เมล็ดลื่น ตกพื้นหล้า เนื้อไม้แก่นแข็งมากจากพนา ให้คุณค่ามากมายคนหมายปอง ฯ ๐ “มะค่าแต้” มีหนามแหลมตามฝัก ไม่สูงนัก แต่โดดเด่นไม่เป็นสอง เนื้อไม้แก่นมีคุณค่าให้น่ามอง เมล็ดอ่อนของมะค่าไทยกินได้เอย ฯ อริญชย์ฝักเมล็ดมะค่าโมง ฝักดิบมะค่าโมง (เมล็ดอ่อนกินได้ รสคล้ายมะพร้าวอ่อน) อันนี้มะค่าแต้ (หมากกะแต้) เมล็ดมะค่าแต้ คล้ายเมล็ดมะค่าโมง ต่างกันที แบนกว่า และในฝักจะมีประมาณ 3-4 เมล็ด มะค่าโมง มีประมาณ ๕ – ๘ เมล็ด หรือมากกว่า
*ต้นมะค่าโมง ไม่มีหนามที่ฝัก เมล็ดใหญ่ ถ้าเมล็ดอ่อนก็กินได้ ถ้าเมล็ดแก่ จะแข็งมาก
*ต้นมะค่าแต้(หมากกะแต้) มีหนามที่ฝัก เมล็ดเล็กกว่ามะค่าโมง เมล็ดอ่อนกินได้เช่นกัน แต่จะขมฝาดกว่ามะค่าโมงนิดหน่อยฝักมีดและด้ามมีดที่ทำจากไม้มะค่าโมงสวยงามทนทาน วอนลมเกี่ยวใจ - สลา คุณวุฒิ (เคยร้องเพลง ก่อนจะมาเป็นครูเพลงชื่อดัง)
|
เกื้อกูลต่อมวลมิตร ลิขิตเพื่อสังคม เพาะบ่มเพื่อพงไพร ก้าวไปเคียงผองชน
|
|
|
|