02 กุมภาพันธ์ 2012, 07:31:PM |
อริญชย์
|
|
« ตอบ #40 เมื่อ: 02 กุมภาพันธ์ 2012, 07:31:PM » |
ชุมชน
|
๐บ้านน้อยคอยรัก๐ ๐บ้านหลังน้อยรอคอยรักมาทักถาม แม้ไม่งามเหมือนเขตบ้านเศรษฐี ก็ร่มรื่นด้วยธรรมชาติ อากาศดี มวลมาลี แย้มบาน ตระการตา
๐ดอกอัญชันพรายพร่างอยู่ข้างรั้ว ดอกหน้าวัวแย้มบานใกล้ลานหญ้า สายลมเย็นหวิวแว่วผิวแผ่วมา เสียงไผ่ป่า เสียดสี ดนตรีไพร
๐ผักสวนครัวปลอดภัยเขียวไร้สาร ข้าวโพดหวาน ถั่ว แตง ฟักแฟงใหญ่ ต้นแคขาวผลิดอกตามซอกใบ นกกาไก่ร่ำร้องทำนองสวรรค์
๐บ้านหลังนี้เสมือนดั่งเรือนหอ เพียงแต่รอคนร่วมทางเคียงข้างฝัน อยากมีลูกไว้วิ่งเล่นเช้า-เย็นกัน เธอและฉัน...สร้างตำนานรักบ้านนา
ยังคอยคนใจงามไม่หยามหยัน ไม่ถือชั้นต่ำ-สูงส่งศักดิ์หงสา มอบใจภักดิ์คงมั่นในสัญญา ยึดคุณค่าความเอื้อเฟื้ออยู่เหนือเงิน ฯ
อริญชย์ ๓/๒/๒๕๕๕
ปล.เป็นเพียงจินตนาการในการแต่งกลอน (เพ้อฝัน) เพราะในโลกของความจริง “เงิน” คือองค์ประกอบและเป็นจุดพลิกผันของความรักได้อย่างแน่นอน
|
|
|
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : บูรพาท่าพระจันทร์, ยามพระอาทิตย์อัสดง, พี.พูนสุข, รพีกาญจน์, รัตนาวดี, Prapacarn ❀, Thammada, somkan, แป้งน้ำ, กังวาน, Music, กามนิต, sunthornvit, สะเลเต, ไพร พนาวัลย์, ..กุสุมา.., สุนันยา, panthong.kh, ไม่รู้ใจ, ธาตรี รติกานท์, ลมหนาว
ข้อความนี้ มี 21 สมาชิก มาชื่นชม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
เกื้อกูลต่อมวลมิตร ลิขิตเพื่อสังคม เพาะบ่มเพื่อพงไพร ก้าวไปเคียงผองชน
|
|
|
03 กุมภาพันธ์ 2012, 12:32:PM |
Prapacarn ❀
|
|
« ตอบ #41 เมื่อ: 03 กุมภาพันธ์ 2012, 12:32:PM » |
ชุมชน
|
กระท่อมน้อยหอมดินหอมกลิ่นหญ้า แม้พี่เป็นชาวนาน่าสรรเสริญ ใฝ่ปองรักภักดีไม่มีเมิน สูงค่าเกินสินทรัพย์นับอนันต์
มาลัยน้องฝากให้คนปลายทุ่ง หนีเมืองกรุงตึกใหญ่ภัยมหันต์ ผู้คนต่างอวดโอ้...โชว์แข่งกัน ล้วนเสกสรรแต้มแต่งคอยแย่งยื้อ
หรือจะเทียบน้ำใจใสสะอาด ธรรมชาติคือครรลองของคนซื่อ เปี่ยมไมตรีประกาศไว้ได้ระบือ ว่าพี่คือแสงทองของชีวิต
จะกลิ่นกรุ่นราตรีที่ข้างรั้ว หรือหน้าวัวรูปหัวใจอำไพจิต หอมคัดเค้าเล้าโลมพี่ชมชิด เคียงสนิทร้อยบุหงามาร่วมเรียง
และจำปาหน้าบ้านบานสะพรั่ง เกาะกิ่งยังปักษาพาส่งเสียง พี่คนดีหนุ่มบ้านนามาขอเคียง คือวังเวียงแสนหวานที่บ้านเรา
แซมค่ะ 02/02/2012
|
|
|
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : ดาว อาชาไนย, somkan, พี.พูนสุข, รพีกาญจน์, บูรพาท่าพระจันทร์, แป้งน้ำ, กังวาน, Music, ยามพระอาทิตย์อัสดง, กามนิต, Thammada, อริญชย์, sunthornvit, สะเลเต, ไพร พนาวัลย์, ..กุสุมา.., สุนันยา, panthong.kh, ไม่รู้ใจ, ลมหนาว
ข้อความนี้ มี 20 สมาชิก มาชื่นชม
|
บันทึกการเข้า
|
Take my love, take my land Take me where I cannot stand I don't care, I'm still free You can't take the sky from me..
|
|
|
03 กุมภาพันธ์ 2012, 11:39:PM |
กังวาน
|
|
« ตอบ #42 เมื่อ: 03 กุมภาพันธ์ 2012, 11:39:PM » |
ชุมชน
|
สาวชาวกรุงมุ่งหมายมาปลายฟ้า หนุ่มบ้านนาคนนี้ไม่มีเหงา เริ่มตำนานรักกึกก้องของสองเรา อยู่นานเนาชั่วชีวิตมิคิดลา
ตื่นแต่เช้าเข้าทุ่งมุ่งไถหว่าน มีนงคราญเคียงข้างไม่ห่างหา พอพักเที่ยงเลี่ยงเจ้าทุยที่ลุยนา ป้อนข้าวปลาหยอกล้อแต่พอดี
จะทัดดอกไม้ให้ไว้ข้างหู โอ้โฉมตรูรจนาเจ้าอย่าหนี รักเจ้าเงาะเปราะบางเป็นบางที แต่รักพี่กายเป็นทองรับรองใจ
ชั่วชีวิตชั่วดินฟ้าไม่มาพูด จะพิสูจน์โลกประจักษ์รักยิ่งใหญ่ บทกวีหวานล้ำคำของใคร ก็คงไม่มีน้ำหนัก....เท่ารักแซม
|
|
|
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : พี.พูนสุข, Prapacarn ❀, Music, รพีกาญจน์, ยามพระอาทิตย์อัสดง, กามนิต, บูรพาท่าพระจันทร์, Thammada, อริญชย์, sunthornvit, สะเลเต, ดาว อาชาไนย, ..กุสุมา.., สุนันยา, panthong.kh, ไม่รู้ใจ, ลมหนาว
ข้อความนี้ มี 17 สมาชิก มาชื่นชม
|
บันทึกการเข้า
|
ถ้ารู้สึกพอ ก็เป็นสุขทันที
|
|
|
04 กุมภาพันธ์ 2012, 11:31:AM |
Prapacarn ❀
|
|
« ตอบ #43 เมื่อ: 04 กุมภาพันธ์ 2012, 11:31:AM » |
ชุมชน
|
คำหวานจากแดนไกลใครพร่ำเพ้อ แม้นไผลเผลอรักพี่คงมีแถม อาเนี้ยใหญ่ที่บ้านอาจมาแจม เกรงเจ้าแซมเซ่อซม..จำข่มใจ
อยากมาอยู่คู่เคียง ณ เถียงน้อย จู๋จี๋กันบ่อยบ่อย..พี่ไหวไหม น้องหุงข้าว..ปิ้งปลาอย่าร่ำไร เสร็จงานไถกลับบ้านมาหว่านรัก
เก็บดอกไม้ทัดหูอยู่ห้องหอ น้องจะรอพี่ชายอย่าหายหัก ดอกอะไรทัดหูดูงามนัก ขอดอกรักทัดใจ..ได้ไหมคุณ
หวานกวีของใครไม่หวานเท่า หวานคำเหงาของเธอที่เพ้อวุ่น รักของพี่จากห้วงใจใฝ่เจือจุน รักคุณคุณ...คงไม่หนัก(ใจ)เท่ารักแซม
แซมค่ะ
|
|
|
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : พี.พูนสุข, ยามพระอาทิตย์อัสดง, กามนิต, บูรพาท่าพระจันทร์, กังวาน, Music, Thammada, อริญชย์, รพีกาญจน์, sunthornvit, สะเลเต, ..กุสุมา.., รัตนาวดี, สุนันยา, panthong.kh, ไม่รู้ใจ, ลมหนาว
ข้อความนี้ มี 17 สมาชิก มาชื่นชม
|
บันทึกการเข้า
|
Take my love, take my land Take me where I cannot stand I don't care, I'm still free You can't take the sky from me..
|
|
|
11 กุมภาพันธ์ 2012, 05:09:PM |
อริญชย์
|
|
« ตอบ #44 เมื่อ: 11 กุมภาพันธ์ 2012, 05:09:PM » |
ชุมชน
|
๐ฤดูกาลแห่งลมหนาว๐
๐ผ่าซีกไผ่เหลาลำให้งามเกลี้ยง แล้วดัดเอียงโค้ง-ตรงเป็นโครงว่าว กระดาษเตรียมให้พอและก็กาว ด้ายสายยาวเตรียมจัดผูกมัดโครง
๐จะทำว่าวชนิดใดกะไว้ด้วย “ปักเป้า” สวย “จุฬา” ลอยฟ้าโปร่ง ให้ลมแรงพัดไปสุดสายโยง เหนือทุ่งโล่งหน้าหนาวมีว่าววน
๐เด็กวิ่งเล่นเริงร่าริมนาข้าว เสียงเกรียวกราววิ่งไปมิได้หม่น “อีลุ้ม” “ดุ้ยดุ่ย” ใคร เล่นหลายคน เสียงอึงอลสุขสันต์ตามครรลอง
๐หน้าหนาวปล่อยว่าววนลอยบนฟ้า เหนือท้องนาเสียงสะนูว่าวกู่ก้อง ตืด ตื๊ด ตืด คล้ายพร่ำเป็นทำนอง คนเล่นคล่อง ว่าวถลาบนฟ้านาน
๐เป็นกีฬาพื้นบ้านมานานนัก แรกประจักษ์เรื่องราาวจีนกล่าวขาน คนเล่นกันดาษดื่น ใจชื่นบาน ฤดูกาลแห่งลมหนาวปล่อยว่าวลอย! ฯ อริญชย์ ๑๑/๒/๒๕๕๕ว่าว จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากเอกสารอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูล โปรดช่วยพัฒนาบทความนี้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก ว่าวยักษ์ในญี่ปุ่น ว่าว เป็นของเล่นชนิดหนึ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อให้ลอยอยู่ในอากาศได้ด้วยแรงลมและมีสายป่านคอยบังคับให้ลอยอยู่ในทิศทางที่ต้องการ โดยเริ่มจากประเทศจีนโดยใช้ไม้ไผ่และผ้าไหมเป็นอุปกรณ์ ต่อมาได้ประดิษฐ์ว่าวในหลายรูปแบบตามวัฒนธรรมของหลายประเทศ เนื้อหา [ซ่อน] • 1 ว่าวไทย o 1.1 ว่าวอีลุ้ม o 1.2 ว่าวปักเป้า o 1.3 ว่าวจุฬา o 1.4 ว่าวดุ้ยดุ่ย • 2 แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้] ว่าวไทย ในอดีตมีกล่าวอยู่ในพงศาวดารเหนือว่า พระร่วงทรงเล่นว่าวอย่างไม่ถือพระองค์ว่าเป็นท้าวพระยา ในสมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 1893 – 2300) ก็มีการเล่นว่าวกันมากถึงกับมีกฎมณเพียรบาลห้ามมิให้ประชาชนเล่นว่าวทับพระราชวัง ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ก็มีการเล่นว่าวดังเช่นในสมัย ก็มีการเล่นว่าว เช่นในรัชกาลที่ 5 ก็ทรงโปรดให้ใช้สถานที่ในพระราชวังดุสิต และสนามเสือป่าเป็นที่เล่นว่าวจุฬากับปักเป้า เป็นต้น ว่าวของไทยที่ทำขึ้นเล่นกันเป็นพื้นมีอยู่ 4 ชนิดด้วยกัน คือ ว่าวอีลุม ว่าวปักเป้า ว่าวจุฬา และว่าวตุ๋ยตุ่ย [แก้] ว่าวอีลุ้ม มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน มีไม้ไผ่เป็นโครงสองอันคือ อกและปีกอกจะสั้นกว่าปีกเล็กน้อย กระดาษที่ใช้ปิดทาบลงบนโครงนี้ คือกระดาษว่าว ซึ่งบางเป็นพิเศษ ส่วนปลายของปีกทั้งสองข้างจะติดพู่กระดาษเพื่อช่วยในการทรงตัว ในขณะที่ว่าวลอยอยู่ในอากาศ มีหางสำหรับถ่วงน้ำหนักป้องกันไม่ให้ว่าวส่ายไปมา [แก้] ว่าวปักเป้า มีลักษณะเช่นเดียวกับว่าวอีลุม แต่ทว่าไม้ส่วนโครงที่เป็นปีกจะแข็งกว่าปีกของอีลุ้มมาก จึงต้องมีหางที่ทำด้วยผ้าเป็นเส้นยาวถ่วงอยู่ที่ส่วนก้น เมื่อชักขึ้นไปลอยอยู่ในอากาศแล้วจะไม่ลอยอยู่เฉยๆจะส่ายตัวไปมาน่าดูมากและเมือถูกคนชักกระตุกสายเชือกป่านตามวิธีการแล้ว มันจะเคลื่อนไหวโฉบเฉี่ยวไปมาท่าทางต่างๆตามต้องการ [แก้] ว่าวจุฬา มีลักษณะเป็น 5 แฉก ประกอบเป็นโครงขึ้นด้วยไม้ 5 อัน นักเลงว่าวจะเสาะหาไม้ไผ่สีสุกที่มีปล้องยาวเรียว เรียกว่า “เพชรไม้” มาเหลา อันกลางเรียกว่า “อก” เหลาปลายเรียวหัวท้าย 1 อัน อีก 2 อัน ผูกขนาบตัวปลายให้จรดกันเป็นปีก และอีก 2 อัน เป็นขาว่าวเรียกว่า “ขากบ” จากนั้นขึงด้ายเป็นตารางตลอดตัวว่าว เรียกว่า “ผูกสัก” แล้วใช้กระดาษสาปิดทับลงบนโครง สำเร็จเป็นว่าวจุฬา ถ้าหากไม่ถูกสัดส่วนแล้ว ว่าวจะไม่อาจลอยตัวขึ้นได้เลย [แก้] ว่าวดุ้ยดุ่ย มีรูปร่างแบบเดียวกับว่าวจุฬาแต่ขากบเป็นรูปเดียวกับปีก ติดอยู่ซ้อนกัน ส่วนบนใหญ่ส่วนล่างจะเล็ก สุดตัวตอนล่างมีไม้ขวางอีกอันหนึ่ง สำหรับผูกหาง ซึ่งมีสองหางช่วยในการทรงตัวเมื่อลอยขึ้นไปอยู่ในอากาศ ส่วนบนของหัว ไม้อันที่เป็นอกยื่นออกมาในราวหนึ่งคืบ เป็นเดือยในลักษณะสี่เหลี่ยมเพื่อเสียบที่ทำเสียง ซึ่งเป็นคันเหมือนที่ทำกระสุนหรือธนู ทำด้วยไม้ไผ่ เจาะรูให้เป็นสี่เหลี่ยม กึ่งกลางคันให้พอดีกับเดือยสี่เหลี่ยมที่ยื่นออกมา ตัวกลางที่ทำให้เกิดเสียงนั้น ใช้ไม้ไผ่หรือหวายเส้นโตๆ เหลาให้เป็นแผ่นบางๆ แล้วเอาปลายเชือกสองข้างผูกติดกับปลายคัน เมื่อติดเครื่องทำเสียงนี้แล้วก็จัดการให้ว่าวขึ้นไปลอยอยู่บนอากาศ ไม้ไผ่หรือหวายแผ่นบางๆที่ถูกขึงอยู่นั้น เมื่อสายลมมาปะทะ ก็จะพลิ้วตัว ทำให้เกิดเสียงดังตุ๋ยตุ่ยอยู่ตลอดเวลา ว่าวนี้ทำเล่นกันตามชนบท โดยมากพระเป็นผู้ทำ นิยมชักขึ้นในเวลากลางคืน[/size]
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7
|
|
|
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : รัตนาวดี, เมฆา..., sunthornvit, ช่วงนี้ไม่ว่าง, Thammada, รพีกาญจน์, สะเลเต, พี.พูนสุข, บูรพาท่าพระจันทร์, ยามพระอาทิตย์อัสดง, ..กุสุมา.., สุนันยา, ไม่รู้ใจ, ธาตรี รติกานท์, ลมหนาว
ข้อความนี้ มี 15 สมาชิก มาชื่นชม
|
บันทึกการเข้า
|
เกื้อกูลต่อมวลมิตร ลิขิตเพื่อสังคม เพาะบ่มเพื่อพงไพร ก้าวไปเคียงผองชน
|
|
|
11 กุมภาพันธ์ 2012, 05:15:PM |
อริญชย์
|
|
« ตอบ #45 เมื่อ: 11 กุมภาพันธ์ 2012, 05:15:PM » |
ชุมชน
|
สำนักงานเขตหลักสี่ จัดตั้งขึ้นโดยประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2540 สมัยราชกาลที่ 5 โดยแบ่งพื้นที่ออกจาก เขตดอนเมือง จำนวน 2แขวง ประกอบด้วยแขวงทุ่งสองห้อง แขวงตลาดบางเขน มีเนื้อที่ประมาณ 22.841 ตารางกิโลเมตร เขตหลักสี่มีวัดหลักสี่ ซึ่งเป็นพระอารามหลวง เป็นวัดที่สำคัญสร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ คำขวัญประจำเขตหลักสี่ “วัดหลักสี่งามวิจิตร แหล่งผลิตว่าวไทย เลื่องลือไกลหัวโขนงามน่ายลเขตหลักสี่”
ชุมชนทำว่าว เป็นชื่อเรียกชุมชนแห่งหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการที่ได้มีผู้อยู่อาศัยในชุมชนประกอบอาชีพในการประดิษฐ์ว่าวซึ่งเป็นภูมิปัญญาของคนไทย และเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านออกจำหน่ายเผยแพร่ในชุมชน ชุมชนนี้มีลุงกุน บุญนก เป็นผู้นำชุมชนในการประดิษฐ์ว่าวซึ่งอยู่บ้านเลขที่ 304/686 หมู่ 3 การเคหะแห่งชาติบางบัว ซอยพหลโยธิน 49/1 ถนนพหลโยธิน แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กทม.
ผู้นำชุมชนการทำว่าวไทยเขตหลักสี่
ผู้นำชุมชนด้านศิลปะการทำว่าวคือ ลุงกุน บุญนก เกิดเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2468 ที่จังหวัดนครสวรรค์ สมรสกับนางสาวเยือน จีนผ่อง อาชีพแม่บ้าน มีบุตรชาย 2 คน หญิง 6 คน ได้แก่ นางรัชนีกร นายสาโรจน์ นางจงกล นายปัญญา นางสาวอรพินท์ นางกมล นางสาวทองพูน บุญนก
ลุงกุน บุญนก เป็นผู้เชี่ยวชาญ ด้านการทำว่าวพื้นบ้านทุกชนิดผลงานการสืบสานและสร้างสรรค์มีคุณค่าทางด้านศิลปะการสืบสานภูมิปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์ ทำให้ได้รับการยอมรับของชุมชนสังคมทั้งในประเทศและต่างประเทศการที่ลุงกุน บุญนก นำความรู้ด้านศิลปะการทำว่าว ที่ตนเองได้ศึกษาค้นคว้า ค้นพบ ทดลองจนประสบความสำเร็จแล้วไปเผยแพร่ สอน ถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้เรียนรู้นำไปปฏิบัติจนประสบความสำเร็จ เป็นประโยชน์โดยรวมแก่สังคมจึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ ให้เป็นครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่ 4 ด้านศิลปกรรมประจำปีพุทธศักราช 2548จากสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ว่าวที่ประดิษฐ์ออกจำหน่ายมีหลายแบบหลายชนิด เช่น ว่าวนกฮูก ว่าวปลาเงินปลาทอง ว่าวผีเสื้อ ว่าวมังกร ว่าวหกเหลี่ยม ว่าวพญาครุฑ ฯลฯ
ผู้นำชุมชนการทำว่าวไทยหลักสี่ รุ่นที่ 2
ปัจจุบันผู้สืบทอดกลวิธีการทำว่าวไทยหลักสี่ คือนายสาโรจน์ บุญนก ซึ่งรับสอนการทำว่าวให้กับสถานศึกษาทั่วไป รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาด้านการทำว่าวให้กับศูนย์พัฒนาวิชาการศิลปศึกษา โรงเรียนการเคหะท่าทราย
เอกสารอ้างอิง :
กฤษณ์ จันทร์ทับ. (2553). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระทัศนศิลป์หน่วยภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง ว่าวไทยหลักสี่ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบสอดแทรกกับการจัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนแสวงหาและค้นพบคความรู้ด้วยตนเอง. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม.(ศิลปศึกษา).กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
**********************************************
แนะนำงานวิจัย
กฤษณ์ จันทร์ทับ. (2553). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระทัศนศิลป์หน่วยภูมิปัญญา ท้องถิ่นเรื่องว่าวไทยหลักสี่ ของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบสอดแทรกกับการจัดการเรียนรู้โดยให้ ผู้เรียนแสวงหาและค้นพบความรู้ด้วยตนเอง. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม.(ศิลปศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. คณะกรรมการควบคุม: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เลิศศิริร์ บวรกิตติ. ผู้ช่วยศาสตราจารย์จักรพงษ์ แพทย์หลักฟ้า.
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระทัศนศิลป์ หน่วยภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่องว่าวไทยหลักสี่ ของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบสอดแทรกกับการจัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนแสวงหาและค้นพบความรู้ด้วยตนเอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนการเคหะท่าทราย เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 60 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยวิธีการจับฉลากให้เป็นกลุ่มทดลองที่ 1 และกลุ่มทดลอง ที่ 2 กลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองที่ 1 ได้รับการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบสอดแทรก กลุ่มทดลองที่ 2 ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนแสวงหาและค้นพบความรู้ด้วยตนเอง โดยผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนินการสอนด้วยตนเอง ใช้เวลาในการทดลองกลุ่มละ12 คาบๆ ละ 60 นาที โดยทั้งสองกลุ่มใช้เนื้อหาเดียวกันในการดำเนินการทดลองครั้งนี้ใช้แผนการวิจัยแบบ Randomized Control-Group Pretest Posttest Design
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบสอดแทรก แผนการจัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนแสวงหาและค้นพบความรู้ด้วยตนเอง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนค่าความเชื่อมั่น 0.82 และแบบสำรวจความพึงพอใจต่อการเรียนมีค่าความเชื่อมั่น 0.865 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ในรูปผลต่างของคะแนน (Difference Score)
ผลการศึกษาพบว่า
1.นักเรียนที่เรียนสาระทัศนศิลป์ หน่วยภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่องว่าวไทยหลักสี่ ของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ 1 ด้วยการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบสอดแทรกมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2.นักเรียนที่เรียนสาระทัศนศิลป์ หน่วยภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่องว่าวไทยหลักสี่ ของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนแสวงหาและค้นพบความรู้ด้วยตนเอง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.นักเรียนที่เรียนสาระทัศนศิลป์ หน่วยภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่องว่าวไทยหลักสี่ ของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ 1 ด้วยการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบสอดแทรกมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่ากลุ่มทดลองที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนแสวงหาและค้นพบความรู้ด้วยตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4.นักเรียนที่เรียนสาระทัศนศิลป์ หน่วยภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่องว่าวไทยหลักสี่ ของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ 1 ด้วยการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบสอดแทรกมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
5.นักเรียนที่เรียนสาระทัศนศิลป์ หน่วยภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่องว่าวไทยหลักสี่ ของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนแสวงหาและค้นพบความรู้ด้วยตนเองมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
*********************************
บรรยากาศการเรียนรู้ : ว่าวไทยหลักสี่
ผลการเรียนรู้จากการสังเกตเพิ่มเติม และสัมภาษณ์พบว่า นักเรียนมีความสุขในการเรียนรู้สังเกตจากบรรยากาศการเรียนรู้ในชั้นเรียน นักเรียนเกิดปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนๆ ในกลุ่มเกิดการเรียนรู้แบบช่วยเหลือในกลุ่มของตัวเอง ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อีกทั้งพบว่านักเรียนเกิดการเชื่อมโยงถ่ายโอนความรู้ นำความรู้ที่ได้รับไปบูรณาการกับวิชาอื่นๆ เช่น วิชาคณิตศาสตร์ ในเรื่องรูปทรงของว่าวชนิดต่างๆ วิชาสังคม ในเรื่องประวัติชุมชนการทำว่าวไทยหลักสี่ เป็นต้น
ตัวอย่างผลงานว่าวไทยเขตหลักสี่
ชุมชนการทำว่าวไทยหลักสี่ « Back http://www.artsedcenter.com/%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%88.html
|
|
|
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : รัตนาวดี, เมฆา..., sunthornvit, Thammada, สะเลเต, พี.พูนสุข, บูรพาท่าพระจันทร์, ยามพระอาทิตย์อัสดง, รพีกาญจน์, ..กุสุมา.., สุนันยา, ไม่รู้ใจ, ลมหนาว
ข้อความนี้ มี 13 สมาชิก มาชื่นชม
|
บันทึกการเข้า
|
เกื้อกูลต่อมวลมิตร ลิขิตเพื่อสังคม เพาะบ่มเพื่อพงไพร ก้าวไปเคียงผองชน
|
|
|
18 กุมภาพันธ์ 2012, 09:23:PM |
อริญชย์
|
|
« ตอบ #46 เมื่อ: 18 กุมภาพันธ์ 2012, 09:23:PM » |
ชุมชน
|
๐พลัดถิ่น๐
ใบเอ๋ยใบข้าว หนุ่มสาวชาวบ้านทุ่ง เข้าเมืองหวังเรืองรุ่ง ในแสงสีศิวิไลซ์ ยอดผักบุ้งพลัดถิ่น ดอกกระถินพลัดไพร จิ้งหรีดร้องร่ำไห้ เรไรกู่รำพัน นกขมิ้นแบกดาว โอ้หนุ่มสาวแบกฝัน ขี่แมลงจักจั่น ซัดเซพเนจร ถือกระดาษใบเดียว ท่องเที่ยวทั่วนาคร รินเหงื่อเพื่อเงินก้อน ส่งหนี้เหลือบนายทุน !ฯ
อริญชย์ ๑๘/๒/๒๕๕๕
|
|
|
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : บูรพาท่าพระจันทร์, Thammada, พี.พูนสุข, ยามพระอาทิตย์อัสดง, รพีกาญจน์, ..กุสุมา.., Prapacarn ❀, รัตนาวดี, สุนันยา, sunthornvit, panthong.kh, ไม่รู้ใจ, รการตติ, ลมหนาว
ข้อความนี้ มี 14 สมาชิก มาชื่นชม
|
บันทึกการเข้า
|
เกื้อกูลต่อมวลมิตร ลิขิตเพื่อสังคม เพาะบ่มเพื่อพงไพร ก้าวไปเคียงผองชน
|
|
|
|
30 พฤษภาคม 2012, 01:32:PM |
|
|
30 พฤษภาคม 2012, 04:28:PM |
|
|
30 พฤษภาคม 2012, 04:48:PM |
สุนันยา
|
|
« ตอบ #50 เมื่อ: 30 พฤษภาคม 2012, 04:48:PM » |
ชุมชน
|
มีเพียงแต่ กลอนเศร้า เอามาฝาก ด้วยลำบาก กลั่นกลอน วอนถวิล เพราะว่ายัง ขื่นขม ระทมจินต์ อักษรศิลป์เหว่ว้า อ่อนล้าทรวง
คนเคยรัก หักหาญ ไม่พานพบ ยากจะกลบ ลบรอย ที่คอยหวง ความทรงจำ ย้ำลึก ตรึกแดดวง เมื่อถูกลวงด้วยรัก สุดหักใจ
ร้อยบรรเลงเพลงกานท์ผสานเศร้า กลายเป็นเรา รักคุด ยากฉุดไหว ช้ำสะอื้น กลืนเก็บ หนาวเหน็บใน ไม่อาจข่ม ฤทัย ลืมได้เลย
ได้แต่ครวญเพลงคลอ ท้อจับจิต รักคนผิด คิดครอง ปองเปิดเผย กลับแปรผัน เปลี่ยนไปไม่ลงเอย ต้องกอดเกย เชยช้ำ ระกำมาน
รับไหมคะ กลอนเศร้า คนเหงาแต่ง มิได้แกล้ง โอดครวญ ชวนสงสาร รอยน้ำตาอาลัย ไหลล้นกานท์ สิ้นรสหวาน สานกลอน มาอ้อนครวญ...
“สุนันยา”
|
ชะตาชีวิต ลิขิตผกผัน....ดิ้นรนฝ่าฟัน..เพื่อฝันที่มี
|
|
|
|