ลักษณะท่วงทำนองแห่งลีลา
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน
08 มิถุนายน 2024, 02:54:PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

กด Link เพื่อร่วมกิจกรรม ผ่านFacebook (หรือกดปุ่มสมัครสมาชิกด้านบน)
 
หน้า: [1]
  ชุมชน  |  ส่งหัวข้อนี้  |  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ลักษณะท่วงทำนองแห่งลีลา  (อ่าน 4288 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
27 มกราคม 2011, 05:16:PM
Lจ้าVojกaoนบทนี้*
Special Class LV4
นักกลอนรอบรู้กวี

****

คะแนนกลอนของผู้นี้ 270
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 757



« เมื่อ: 27 มกราคม 2011, 05:16:PM »
ชุมชนชุมชน


        กลอนต้องห้าม

เขียนกลอนกานท์หว่านถ้อยร้อยคำหวาน
เพื่อส่งผ่านเรื่องราวสาวหน้าใส
ว่าคิดถึงหนักหนายอดยาใจ
น้องรู้ไหมใจพี่นี้คร่ำครวญ

แค่อยากบอกแก้วตาว่าคิดถึง
ใจมันจึงเอ่ยย้ำคอยพร่ำหวล
ว่ารักนักรักหนาแม่หน้านวล
เจ้าอย่าด่วนเมินหน้าเหมือนว่าชัง

คิดถึงคำพี่ก่อนนอนหลับฝัน
ถ้าเจ้านั้นมีใจให้พี่หวัง
จงบอกหน่อยว่ามีใครไหนหรือยัง
เพียงสักครั้งเถิดหนาอย่าเชือนแช

ถ้าน้องนั้นมีใครไหนอื่นหนอ
พี่จะขอรอน้องเหมือนปองแข
ด้วยยังหวังพุ่มพวงยอดดวงแด
เพราะรักแท้มั่นคงประสงค์คอย

แม้ใจพี่ต้องเจ็บและเหน็บหนาว
ด้วยขาดสาวรู้ใจจะไม่ถอย
ถึงดาวเคลื่อนเดือนเร้นไม่เห็นรอย
จะไม่น้อยใจน้องที่ต้องรอ

แต่ถ้าน้องเปิดใจให้พี่หวัง
พี่ก็ตั้งใจอยู่ว่าสู่ขอ
เตรียมขันหมากแห่ไปดุจใจคอ
กับแม่พ่อของน้องตามต้องการ

จึงเกริ่นคำย้ำพจน์เป็นจดหมาย
ให้น้องได้อ่านก่อนเป็นกลอนหวาน
หากน้องตอบมอบใจไม่รอนาน
ขอให้ฟ้าเป็นพยานสู่ขอจริง...

      [/i] [/size] [/b]
  เห็นหัวข้อนี้แล้วโปรดอย่าคิดว่ากลอนผิดอะไรจึงกลายเป็นกลอนต้องห้าม   อันที่จริงกลอนนี้ก็เหมือนกลอนทั่วๆไปที่แต่งถูกต้องตามหลักฉันทลักษณ์ของกลอนทุกอย่าง(หรือว่ามันจะมีที่ผิด ?)  แล้วก็ไม่ได้มีกฏข้อใดมาบอกว่ากลอนบทนี้จะมีที่ผิดด้วย(ตามความเข้าใจของผู้แต่ง)
       แต่ที่บอกว่าเป็นกลอนต้องห้ามนั้น เนื่องจากผมมีเจตนาในการแต่งให้คำลงท้ายของบาทแรกกับบาทที่สอง
นั้นเป็นพยัญชนะเสียงสูงทั้งหมด  อันเป็นความผิดปกติของกลอนที่บาทแรกควรจะมีทั้งเสียงเอกเสียงโทเสียง
จัตวาสลับกัน  อีกทั้งยังมีความพยามที่จะทำให้คำที่สามของบาทที่สี่เป็นเสียงสูงอีกด้วย แต่ก็จนใจเนื่องด้วยปัญญาความสามารถไม่ถึงจริงๆ  ดังนั้นผมจึงได้เรียกกลอนนี้ว่ากลอนต้องห้าม(คือการแต่งกลอนในคำลงท้าย
บาทแรกไม่ควรเน้นใช้เสียงทั้งหมด ควรมีการสลับไปใช้เสียงอื่นบ้าง เช่นเสียงเอก เสียงโท และคำตายต่างๆ
ส่วนคำท้ายของบาทที่สองนั้น การใช้เสียงสูงได้ไม่เป็นไร เพราะเป็นความนิยมเช่นนั้นอยู่แล้ว)
       นี่เป็นเพียงลักษณะหนึ่งของกลอนต้องห้าม(ไม่ผิด..ฟังแล้วก็เพราะ...แต่....)  ความจริงยังมีอีกหลายลักษณะของการแต่ง โดยเฉพาะในการแต่งกลอนยาวๆนั้น ใครดีไม่ดีก็จะได้เห็นกันในตอนนั้น(ความหมายคือนอกจากความสามารถในการใช้ภาษาแล้ว ในการแต่งกลอนบทหนึ่ง แล้วเริ่มกลอนใหม่ คำลงท้ายในบาทที่หนึ่งก็เป็น
สิ่งที่สำคัญด้วยที่จะแสดงให้ผู้อ่านเห็นว่าเรานั้นมีชั้นเชิงลีลาแค่ไหน........
ข้อความนี้ มี 8 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า

27 มกราคม 2011, 05:47:PM
ข้าพเจ้า
Special Class LV5
นักกลอนแห่งเมืองหลวง

*****

คะแนนกลอนของผู้นี้ 142
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 447


หมื่นคำหวานมิสู้หนึ่งใจรัก


« ตอบ #1 เมื่อ: 27 มกราคม 2011, 05:47:PM »
ชุมชนชุมชน

[size=[
อ่านไปก็พอเข้าใจนะครับ แต่ผมก็ยังงงๆ ตรงคที่ใช้บอกอ่ะครับ

บาท นี่มันคืออะไรหรอครับ

ใช่ที่ว่า
 กลอนบท หนึ่งมี สองบาท
บาท หนึ่งมี สองวรรค
สี่วรรค เป็น หนึ่งบท ใช่มั๊ยครับ

ที่พี่อธิบายเหมือนกับว่า บาทหนึ่ง,สอง,สาม,สี่ คือ บาทหนึ่ง,สอง,สาม,สี่ ยังไงยังงั้นแหละครับ
หรือว่าที่ผมเข้าใจผิดอีกแล้ว   อิอิ ก้านกล้วยมั่วบ่อยๆ

ป.ล.สงสัยครับ  ลาตายดีกว่าตู
/size]
ข้อความนี้ มี 6 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า

ทอดร่างอุทิศชีวิตไว้
เอื้อมไปทะเลปุจฉา
เสพสมอักษรศรัทธา
จำหลักวาจาแดนดิน
27 มกราคม 2011, 06:26:PM
Lจ้าVojกaoนบทนี้*
Special Class LV4
นักกลอนรอบรู้กวี

****

คะแนนกลอนของผู้นี้ 270
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 757



« ตอบ #2 เมื่อ: 27 มกราคม 2011, 06:26:PM »
ชุมชนชุมชน

[size=[
อ่านไปก็พอเข้าใจนะครับ แต่ผมก็ยังงงๆ ตรงคที่ใช้บอกอ่ะครับ

บาท นี่มันคืออะไรหรอครับ

ใช่ที่ว่า
 กลอนบท หนึ่งมี สองบาท
บาท หนึ่งมี สองวรรค
สี่วรรค เป็น หนึ่งบท ใช่มั๊ยครับ

ที่พี่อธิบายเหมือนกับว่า บาทหนึ่ง,สอง,สาม,สี่ คือ บาทหนึ่ง,สอง,สาม,สี่ ยังไงยังงั้นแหละครับ
หรือว่าที่ผมเข้าใจผิดอีกแล้ว   อิอิ ก้านกล้วยมั่วบ่อยๆ

ป.ล.สงสัยครับ  ลาตายดีกว่าตู
/size]

ไม่รู้สินะ  ตามที่รู้ๆมา  บทประพันธ์ที่มี 32  คำ  แปดคำเป็น หนึ่งบาท  สองบาทเป็นกึ่งคาถา
สี่บาทเป็นหนึ่งคาถา (32 คำ)
ฉะนั้น คำว่าบาทแรก ในที่นี้จึงใช้หมายถึงกลอนสดับครับ ส่วนบาทที่สองก็หมายถึงกลอนรับ
บาทที่สามคือกลอนรอง บาทที่สี่คือกลอนส่ง  รวมสี่บาทนี้น่าจะเท่ากับกลอนหนึ่งบท
หรือพูดง่ายๆคือ บรรทัดหนึ่งๆก็คือหนึ่งบาท(ไม่รู้ถูกเปล่า)บางทีอาจเรียกไม่เหมือนกันก็ได้มั้งต้องลองถามผู้รู้อีกทีง
บางทีการเรียกอาจจะเข้าใจต่างกันก็ได้ ตัวอย่าง
เห็นการเรียน  เพียรพร่า  เหมือนยาพิษ   (ถ้าเขียนลักษณะนี้ก็เท่ากับสามวรรคแล้ว-เพราะเว้นวรรคไว้ในระหว่าง)
อันนั้นไม่ขอยืนยันนะ  เพราะไม่ได้เรียนมาทางด้านกลอนโดยตรง
ข้อความนี้ มี 5 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า

27 มกราคม 2011, 06:37:PM
พรายม่าน
Special Class LV6
นักกลอนเอกแห่งวังหลวง

******

คะแนนกลอนของผู้นี้ 548
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 556


Praiman CharlesTep CharlesTep
เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 27 มกราคม 2011, 06:37:PM »
ชุมชนชุมชน


สนับสนุนความเข้าใจของคุณก้านกล้วยครับ

กลอนหนึ่งบท มีสองบาท
บาทหนึ่งมีสองวรรค

ดังนั้นกลอนหนึ่งบทจึงมีสี่วรรค อันประกอบด้วย
วรรคสดับ
วรรครับ
วรรครอง
วรรคส่ง  ฉะนี้

ส่วนสิ่งทีท่าน Lจ้าVojกaoนบทนี้* ได้อธิบายกลเม็ดในการประพันธ์โดยใช้ “บาท” เรียกแทน “วรรค” เห็นจะใช้กันคนละมาตราเสียแล้วกระมัง แต่เจตนาน่าจะหมายถึง “วรรค” นั่นแหละ ครับ

พรายม่าน
สันทราย
๒๗.๐๑.๕๔
ข้อความนี้ มี 6 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า

27 มกราคม 2011, 06:59:PM
Lจ้าVojกaoนบทนี้*
Special Class LV4
นักกลอนรอบรู้กวี

****

คะแนนกลอนของผู้นี้ 270
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 757



« ตอบ #4 เมื่อ: 27 มกราคม 2011, 06:59:PM »
ชุมชนชุมชน


สนับสนุนความเข้าใจของคุณก้านกล้วยครับ

กลอนหนึ่งบท มีสองบาท
บาทหนึ่งมีสองวรรค

ดังนั้นกลอนหนึ่งบทจึงมีสี่วรรค อันประกอบด้วย
วรรคสดับ
วรรครับ
วรรครอง
วรรคส่ง  ฉะนี้

ส่วนสิ่งทีท่าน Lจ้าVojกaoนบทนี้* ได้อธิบายกลเม็ดในการประพันธ์โดยใช้ “บาท” เรียกแทน “วรรค” เห็นจะใช้กันคนละมาตราเสียแล้วกระมัง แต่เจตนาน่าจะหมายถึง “วรรค” นั่นแหละ ครับ

พรายม่าน
สันทราย
๒๗.๐๑.๕๔


จริงด้วย......เรียกวรรคเป็นบาท  แบบนี้สงสัย ตำแหน่งผู้รู้เจนจบด้านกวี คงต้องคืนเว็บเขาไป  หัวเราะยิ้มๆ
แล้วไปเริ่มนับหนึ่งใหม่.... อะไรว๊า..แม่ไม่ปลื้ม
ข้อความนี้ มี 4 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]
  ชุมชน  |  ส่งหัวข้อนี้  |  พิมพ์  
 

Email:
Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
s s s s s