03 ธันวาคม 2012, 04:54:PM |
puech009
LV2 วัยเร่ร่อนผจญภัย
คะแนนกลอนของผู้นี้ 0
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 14
|
|
« เมื่อ: 03 ธันวาคม 2012, 04:54:PM » |
ชุมชน
|
คือว่า สมมุติ ว่า ผมอยากแต่งกลอน เรื่องอื่นๆ แล้วผมก้อมี เนื้อ หา พอมี เนื้อหาแล้ว เราจะนำเนื้อหามาแต่งเป็นกลอนยังไงหรอครับ ขอบคุณครับ
|
|
|
|
03 ธันวาคม 2012, 09:59:PM |
น.ปฎิพน
|
|
« ตอบ #1 เมื่อ: 03 ธันวาคม 2012, 09:59:PM » |
ชุมชน
|
อันนี้ขึ้นอยู่กับว่า น้องอยากจะแต่งกลอนเปล่า หรือกลอนบังคับฉันทลักษณ์...
ถ้าแต่งกลอนเปล่า... อันนี้ free style เลยครับ น้องสามารถใช้ถ้อยคำ การเรียงอักษร หรือแม้กระทั่งที่ว่างเปล่าในกระดาษ ในการสื่ออารมณ์ได้เลยครับ..ไม่ต้องกังวลเลย ใจคิดออกมายังไง พิมพ์ตามนั้นเลยครับ...
แต่หากเป็นกวีนิพนธ์บังคับฉันทลักษณ์ อันนี้ก็คงจะต้องศึกษาตัวฉันทลักษณ์ก่อน และอ่านงานกวี (ในที่นี้เป็นกลอน) ของสุนทรภู่มากๆ บางทีอารมณ์การเขียนพวกนี้ ถ้าซึมซับมาจากกวีแล้ว ส่วนใหญ่ หากบวกกับฉันทลักษณ์ที่ศึกษามาแล้ว มันจะปล่อยออกเองได้ ครับ
|
๐ กรองฉันท์สวรรค์พจนะร้อย.......กวะถ้อยบวรมี รสซึ้งประหนึ่งทิพะฉวี...............จะพิเลปน์ประโลมมาน ฯ
|
|
|
03 ธันวาคม 2012, 10:26:PM |
ช่วงนี้ไม่ว่าง
|
|
« ตอบ #2 เมื่อ: 03 ธันวาคม 2012, 10:26:PM » |
ชุมชน
|
ความจริงผมก็ยังไม่เคยสอนคนที่แต่งกลอนไม่เป็นให้แต่งกลอนได้เลยสักคน นอกจากตัวเองเท่านั้น ดังนั้นวิธีการของผมจึงเป็นแบบปัจเจก หรือการรู้เฉพาะบุคคล แต่เมื่อถามมาแล้วก็จะเป็นต้องตอบ ซึ่งผมมีขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้ ๑. หากลอนดีๆที่แต่งถูกต้องฉันทลักษณ์ ในกรณีนี้แนะนำกลอนของท่านสุนทรภู่มาท่องจำให้ขึ้นใจก่อน เอาแบบว่าได้คล่องเลยยิ่งดี โดยพยายามจดจำไว้หลายๆบท ๒.ศึกษาฉันลักษณ์ ของกลอนแปด(หรือกลอนอื่นๆที่ต้องการ เช่นกลอน ๖ กลอน ๗)ซึ่งมีเผยแพร่ตามเว็บต่างๆอยู่แล้ว ๓.หัดแต่งกลอน โดยเน้นเรื่องสัมผัสบังคับหรือสัมผัสนอกให้ถูกต้องก่อน ทั้งสัมผัสระหว่างวรรค และสัมผัสระหว่างบท โดยยังไม่ต้องไปสนใจเรื่องสัมผัสใน ๔.ศึกษาและพยายามแต่งกลอนให้มีสัมผัสใน ๕.ศึกษางานเขียนของกวีหรือนักกลอนอื่นๆ ไม่ว่าจำเป็นลักษณะการใช้คำ ภาษา ตลอดจนกฏข้อบังคับปลีกย่อยอื่นๆ คิดว่าคงมีประโยชน์บ้างนะครับ สำหรับผู้ที่จะศึกษาและฝึกแต่งกลอนด้วยตนเอง การท่องจำเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากและไม่ควรจะมองข้ามนะครับสำหรับบทประพันธ์ร้อยกรองทุกชนิด ถ้าเราท่องจำบทร้อยกรองชนิดนั้นไว้ก่อนแล้วจึงค่อยศึกษาแผนผังของบทประพันธ์นั้นๆอีกทีจะช่วยให้เราไม่เป๋ คนที่ไม่ยอมท่องจำ แต่มุ่งเข้าหาฉันลักษณ์โดยการดูผังเลยมักจะผิดโน่นผิดนี่ผิดนั่นเหมือนยางรถยนต์รั่วที่ต้องคอยปะไปเรื่อยๆ เพราะไม่มีพื้นฐานมาก่อน(หมายถึงคนที่ยังไม่เคยแต่งครับไม่ได้หมายถึงคนที่เป็นแล้ว)
|
|
|
|
04 ธันวาคม 2012, 02:00:AM |
ไร้นวล^^
ผู้ดูแลบอร์ด
คะแนนกลอนของผู้นี้ 825
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 1,430
โปรดแนะนำเพื่อค้ำชูภาษาไทย
|
|
« ตอบ #3 เมื่อ: 04 ธันวาคม 2012, 02:00:AM » |
ชุมชน
|
ถ้าน้องอยากเก่งจริง น้องต้องพยายามครับ ยิ่งพยายามศึกษาค้นคว้ามากเท่าไหร่ น้องก็จะเก่งมากขึ้นเท่านั้น จะหาความเก่งสำเร็จรูปไม่มีในวงการกาพย์กลอนหรอกพี่ว่า
การที่น้องจะหัดแต่งกลอนแปดนั้นไม่ยากเลยยิ่งมีอินเตอร์เน็ตใช้ สรรพวิชาทุกแขนงมีหมด แม้แต่โหลดพจนานุกรมมาศึกษาคำศัพท์ต่างๆยังได้
น้องหาอ่านกลอนสุนทรภู่ง่ายมาก
พี่อยากจะแนะนำน้องตามประสาคนที่กำลังหัดฝึกระยะเริ่มต้นเช่นเดียวกับน้องดังนี้
๑.น้องจะแต่งกลอน๘(กลอนสุภาพ)น้องต้องทราบกฎเบื้องต้น และเคร่งครัดกับกฎอย่างมีวินัย แปลว่า ความสวยงามหรือไม่เอาไว้ทีหลัง ให้ตรงตามกฎโดยเคร่งครัดไว้ก่อน ทั้งการส่งสัมผัสและเสียงวรรณยุกต์ ๒.น้องต้องหัดและเรียนรู้ไปด้วย จะให้ใครบอกเหมือนเราต้มมาม่า สำเร็จรูปขนาดนี้ ไม่มีใครให้ใครได้เลยในการแต่ง น้องต้องฝึกคิด ฝึกใช้เสียง ฝึกสังเกต ฝึกฟังคำแนะนำ น้องต้องฝึกด้วยตัวเอง ๓.อ่านเยอะๆ ๔.นิสัยวัยรุ่น ชอบทิ้งอะไรกลางคัน บ้านพี่เค้าเรียกเหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ ถ้าน้องเรียนเท่ากับงูแลบลิ้น ความรู้และความฉลาดน้องก็จะมีเท่านั้น เพราะฉะนั้นอดทน ๕.น้องลองก้าวแรกก่อน แต่งมาสักบทก่อน หน้าด้านๆ(แบบพี่) ถูๆไถๆถากๆไปเรื่อย ผิดถูกค่อยๆปรับแก้ สักวันน้องคงจะเก่ง(พี่ก็หวังว่าสักวันพี่จะเก่ง) ๖.น้องโชคดีมากที่น้องอยากแต่งตอนนี้ เทียบกับพี่และอีกหลายคนมาหัดแต่งตอนสมองฝ่อแล้ว ๗.อย่าใช้คำหยาบในการแต่งกลอน เพราะเหมือนเราไม่เคารพเหล่ากวีรุ่นก่อนๆที่ท่านแต่งเป็นตัวอย่างให้เราได้เรียนตาม ๘.ถ้าน้องชอบจริงก็เริ่มเลย ณ บัดนี้
กลอนกวี ศรีสยาม อร่ามหล้า รจนา ภาษาศิลป์ ระบิลสาส์น โปรยประดับ พ้องพันธุ์ นิรันดร์กาล กระวัดหวาน วรรณนา สง่าวงศ์
เชวงเชิด ชูชั้น ประพันธ์สวย ก็เพราะด้วย ดำเนิน เหินระหง ความละเมียด ละไม ที่ใส่ลง ช่วยชุบชง เชิงกลอน บวรกานท์
|
|
|
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : น.ปฎิพน, รพีกาญจน์, บ้านกลอนไทย, จารุทัส, Prapacarn ❀, ไม่รู้ใจ, เพรางาย, ไพร พนาวัลย์, สุวรรณ, พี.พูนสุข, สายใย
ข้อความนี้ มี 11 สมาชิก มาชื่นชม
|
บันทึกการเข้า
|
แดนดินใดให้เราเกิด เราจะเทิดทูนไว้เหนือเศียร
|
|
|
04 ธันวาคม 2012, 04:51:PM |
พรายม่าน
|
|
« ตอบ #4 เมื่อ: 04 ธันวาคม 2012, 04:51:PM » |
ชุมชน
|
จะยากไยไหนพี่กวีกาพย์ เพียงศัพท์ทาบบรรทัดมาขัดถู ประเด็นหลากมากหราจับมาปู ตัดเพียงพู่พอผังคำบังคับ
เกริ่นเรื่องสาวคราวข้อให้พอครบ บรรจงจบเจียนจักวรรคสดับ ส่วนความเติมเสริมเด่นเป็นวรรครับ วรรครองจับเงื่อนเจาะให้เหมาะธง
วรรคสุดท้ายปลายปมแห่งคมสาส์น ใช้คำขานค่อยเค้นเป็นวรรคส่ง สรุปความตามเลศเหตุจำนง เลือกถ้อยลงเลื่อมลับให้จับใจ
แล้วจึ่งดูคู่คำรับสัมผัส ทั้งนอกในใส่กระหวัดดอกไม้ไหว เท่านี้กลอนก็เป็นกลอนได้ก่อนใคร ที่ยากเย็นเห็นจะได้ เมื่อไม่จริง ฯ
พรายม่าน สันทราย ๔ ธันว์ ๕๕
|
|
|
|
04 ธันวาคม 2012, 09:21:PM |
ไพร พนาวัลย์
กิตติมศักดิ์
คะแนนกลอนของผู้นี้ 2083
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 3,422
นักร้อง
|
|
« ตอบ #5 เมื่อ: 04 ธันวาคม 2012, 09:21:PM » |
ชุมชน
|
คือว่า สมมุติ ว่า ผมอยากแต่งกลอน เรื่องอื่นๆ แล้วผมก้อมี เนื้อ หา พอมี เนื้อหาแล้ว เราจะนำเนื้อหามาแต่งเป็นกลอนยังไงหรอครับ ขอบคุณครับ
|
|
|
|
05 ธันวาคม 2012, 11:09:AM |
puech009
LV2 วัยเร่ร่อนผจญภัย
คะแนนกลอนของผู้นี้ 0
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 14
|
|
« ตอบ #6 เมื่อ: 05 ธันวาคม 2012, 11:09:AM » |
ชุมชน
|
ผม ก้อ ขอขอบคุณ ทุกๆ คนด้วยนะครับ ที่ช่วยแนะนำ
|
|
|
|
15 มกราคม 2013, 08:03:PM |
ฟ้าฟื้น ธรรมชาติ
Special Class LV1 นักกลอนผู้เร่ร่อน
คะแนนกลอนของผู้นี้ 22
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 31
|
|
« ตอบ #7 เมื่อ: 15 มกราคม 2013, 08:03:PM » |
ชุมชน
|
ขั้นแรกต้องหาแนวของเราก่อนครับ ว่าเราชอบแนวไหน ลองนั่งนึกๆดูว่าถ้าจะเขียนเราอยากเขียนแนวไหน ควมรัก ธรรมชาติ ธรรมะ ความโศกเศร้า ฯลฯ เมื่อมีแนวในหัวใจแล้วก็เริ่มกันเลย
1. หางานเขียนที่ตัวเองชอบมาก่อน จะมาจากนักกวีท่านใดก็ได้ครับ เลือกมาสักท่าน
2. เริ่มศึกษาฉันทลักษณ์โดยดูงานเขียนที่ชอบ แล้วเทียบกันไปนะครับ
3. เริ่มเขียนกลอนออกมา ขึ้นแรก ไม่ต้องเอาความหมายครับ ลองเขียนอะไรออกมาก็ได้ ขอให้สัมผัสมันถูกต้องก่อน กลอนไม่จำเป็นต้องเป็นเนื้อความเดียวกันก็ได้ จะออกทะเลย วรรคแรกเป็นม้า วรรคสองจะเป็นลิงไปเลยก็ได้ เอาให้ได้กลวิธีก่อน ในขั้นตอนนี้อย่าไปเน้นสัมผัสในมากนะครับ เอาสัมผัสนอกก่อน เช่น ฉันเดินทางก้าวไปโรงเรียนฉัน เขาคนนั้นทำอะไรอยู่ข้างหลัง ฟ้าก้อนเมฆมันดูสีสวยจัง รถเสียงดังวิ่งมาจากบ้านเธอ
4. เมื่อได้ข้อสามแล้ว ก็มาเริ่มแต่งให้กลอนมีบทความเดียวเป็นไปในทิศทางเดียวกันนะครับ เพื่อที่จะได้ร้อยเรียงออกมาให้เป็นเรื่องราวไม่ขาดวิ่น หาเนื้อหาไม่ได้ ไม่รู้ว่าแต่งทำไม ต้องการอะไร เป็นกลอนแบบไหน การเขียนให้เป็นเนื้อความเดียวกันก็ประมาณนี้ครับ ฉันเดินทางก้าวไปโรงเรียนฉัน เขาคนนั้นเดินมากับฉันด้วย เราคุยกันเรื่องวิชาคุณครูรวย เมื่อบวชกล้วยตอนเรียนคหกรรม
5. เมื่อได้สัมผัสนอกครับ กลอนเป็นเนื้อเรื่องเดียวกันแล้ว เราก็จะมาต่อด้วยสัมผัสในกันเลย เพื่อที่จะให้กลอนเพราะยิ่งขึ้น ในขั้นนี้เราอาจจะใช้สัมผัสเสียงง่ายๆ เช่น ธง กับ โรง, มา กับ กะ, ชา กับ ระ ง่ายๆคือ ใช้เสียงก่อน อย่าพึ่งยึดติดรูปมาก ฉันใกล้เสาธงโรงเรียนฉัน เขาคนนั้นเดินมากะฉันด้วย เราคุยกันเรื่องวิชาครูระรวย เมื่อบวชกล้วยในวิชาคหกรรม
6. เมื่อผ่านข้อห้ามาแล้ว เราจะเริ่มการสัมผัสในแบบยึดตามฉันทลักษณ์จริงๆนะครับ ครั้งฉันเดินทางไกลไปโรงเรียน พี่มณเฑียรบ้านเถินเดินมาด้วย เขาเล่าถึงครูชายนายอำนวย ท่านชอบกล้วยน้ำว้าร้านป้าแดง
มาถึงตอนนี้เราจะเจอสัมผัสในที่เป็นไปในสระเดียวกัน เช่น ไกลกับไป เถินกับเดิน ชายกับนาย และ ว้ากับป้า ส่วนตำแหน่งนั้นท่านว่าคำที่ห้าจะสัมผัสกับคำที่หกหรือเจ็ด ก็ได้ในวรรคเดียวกันครับ
7. เมื่อผ่านทั้งหกข้อมาแล้ว ถึงตอนนี้จะเขียนยังไงก็ได้ครับ จะสัมผัสยังไง จะไม่มีสัมผัสก็ได้ จะมาแนวไหน จะไปทางไหน หรือแม้แต่จะเขียนออกนอกโลกไปเลยก็ได้ เมื่อรู้พื้นฐานเข้าใจกวีแล้ว การแต่งต่อไปก็เป็นแนวทางของงานศิลป์แล้วครับ กวีไม่มีขอบเขตข้อบังคับ จะรังสรรค์มาแนวไหนก็ได้ แต่สัมผัสที่ท่านได้ให้ไว้ท่านได้บอกไว้ว่า มันเพราะแล้วมันลงตัวแล้ว เราจะแปลงจะแต่งจะทำยังไงก็เป็นแนวทางเขาเราต่อไป แต่อย่าลบลืมแนวทางของท่านก็พอนะครับผม
|
|
|
|
|