Re: อธิบายเกี่ยวกับกลอนเปล่าและทำความเข้าใจเบื้องต้น
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน
16 มิถุนายน 2024, 07:05:PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

กด Link เพื่อร่วมกิจกรรม ผ่านFacebook (หรือกดปุ่มสมัครสมาชิกด้านบน)
 
ผู้เขียน หัวข้อ: อธิบายเกี่ยวกับกลอนเปล่าและทำความเข้าใจเบื้องต้น  (อ่าน 6061 ครั้ง)
choy
Special Class LV3.9
นักกลอนรอบรู้กวี

***

คะแนนกลอนของผู้นี้ 145
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 314



« เมื่อ: 10 สิงหาคม 2013, 11:51:PM »




พอดีมีหลายคนถามมาหลายคนครับว่า กลอนเปล่าต้องมีสัมผัสหรือเปล่า

อธิบายตามเข้าใจเลยนะครับว่า.  มีหรือไม่ก็ได้ แต่ด้วยความงดงามของกลอน
อีกทั้งสื่ออารมณ์ได้ดี จึงนิยมมีสัมผัส ทำไมถึงบอกว่าเป็นกลอนไร้ฉันทลักษณ์
ถ้าจะจำแนกจริงๆ ฉันทลักษณ์คือโครงสร้างรูปแบบข้อกำหนด
ในการเขียนตามโครงสร้างนั้นๆแบบตายตัว เช่น โคลง หรือกลอนต่างๆเป็นต้น
ฉะนั้น กลอนเปล่าจึงเป็นกลอนที่ไม่มีโครงสร้างตายตัว ไม่กำหนดจำนวนคำหรือประโยค
ดังนั้น สำหรับคนที่เขียนเปล่าอยู่บ่อยๆเช่นผม จึงจะสังเกตได้ว่า กลอนทุกกลอนที่เคยเขียน
จะไม่มีโครงสร้างเหมือนกันตายตัว เปรียบเทียบเหมือนเพลง ยาว-สั้น ต่างกัน ทำนองต่างกัน
ทำนองของกลอนเปล่า จึงไม่ซ้ำกัน ตามที่เคยรู้มาบ้างไม่เยอะนัก กลอนที่ไม่มีสัมผัส เรียกว่ากลอนบรรยาย
หรือกลอนพูด เพราะคำว่ากลอนเปล่าไม่ได้ถูกบรรจุไว้ คำว่ากลอนเปล่าจริงๆเพิ่งเกิดเมื่ิอไม่นานนักนี่เอง
คำว่าเปล่า จึงถูกเรียกเองโดยคนเขียน อยาางไรก็ดี กลอนประเภทสื่ออารมณ์ได้ดี คล้ายฟังเพลง
จะเพราะไม่เพราะอย่างไรนั้น ทำนอง การลงตัวในการอ่าน อ่านได้ลื่นไหล ใช้คำได้ดี ไม่จัดคำมาก/น้อย เกินไป
ตามความเหมาะสมและอารมณ์ในการอ่าน. ขอบคุณครับ ข้อมูลผิดพลาดประการใดติชมแนะนำได้เลยนะครับ
(ขอเพิ่มเติมเพื่อเสริมอีกนิดหนึ่งจากท่านนายใบชา)

กลอนเปล่า (Blank Verse)

     ต้นกำเนิดจริงๆ เป็นกลอนในวรรณคดีอังกฤษที่ไม่มีการสัมผัสคำ แต่มีการเน้นเสียงในลักษณะ lambic Pentameter คือ 1 บาท แบ่งเป็น 5 จังหวะ จังหวะละ 2พยางค์ พยางค์แรกเสียงเบา (ลหุ) พยางค์หลังเสียงหนัก (ครุ) กลอนเปล่าได้กลายเป็นองค์ประกอบสำคัญของกวีนิพนธ์ประเภทบรรยายโวหารยาวๆ รวมทั้งงานด้านปรัชญาและการละคร นับตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา
     สำหรับกลอนเปล่าของไทยนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 6 ได้ทรงนำกลอนเปล่าเข้ามาใช้ในไทย โดยใช้เป็นบทสนทนาที่แปลมาจากบทละครของเช็คสเปียร์
     ต่อมา จิตร ภูมิศักดิ์ เขียนบทร้อยกรองชื่อพิราบขาวในลักษณะของกลอนเปล่า แต่เป็นกลอนเปล่าที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในความหมายของวรรณกรรมตะวันตก ซึ่งทำให้มีผู้เรียกว่า กลอนเปลือย
     ดังนั้น กลอนเปล่าและกลอนเปลือยที่ไทยใช้ จึงหมายถึงงานเขียนที่ผู้แต่งมุ่งประหยัดและพิถีพิถันในการใช้คำและที่สำคัญ คือ ผู้เขียนพยายามจัดถ้อยคำเป็นวรรค หรือเป็นรูปใดรูปหนึ่งคล้ายร้อยกรอง เพียงแต่ไม่มีสัมผัสบังคับเท่านั้น
    จ่าง แซ่ตั้ง ใช้ความเป็นจิตรกรในการเขียนงานกวีนิพนธ์ งานบางชิ้นวางรูปร่างโดยคำนึงถึงความเป็นจริงของธรรมชาติ งานของจ่าง จึงมีความเป็น วรรณรูป ด้วย เช่น กลอนเปล่าบท กลางคืน ดังตัวอย่างข้างล่างนี้ :
 
กลางคืน
ท้องฟ้า ยามกลางคืน
ดาว
ดาว
ดาว
ดาว
จันทร์
ดาว
ดาว
ดาว
ดาว
พื้นดินทุกแห่ง เงียบ คงเหลือแต่เสียงร้องของแมลง

     จ่าง แซ่ตั้ง เขียนกลอนเปล่าด้วยรูปแบบต่างๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแนวคิดที่ต้องการจสะท้อนออกมาเป็นสำคัญ แนวการเขียนของจ่าง ทำให้มีนักเขียนรุ่นหลังนำไปเป็นแบบอย่างในการเขียนบ้าง
       หรือกรณีกลอนเปล่า หยาดฝน เป็นผลงานของผกาดิน (นามปากกา) ที่วางรูปแบบเป็น วรรณรูป โดยวางเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน เหมือนเป็นเม็ดฝนหล่นจากฟ้า ตรงกับเนื้อความที่พรรณนาไว้

เด็ก
คนนั้น
มองสายฝน
ภายนอกหน้าต่าง
หยาดน้ำฝนจากฟ้า
หลั่งมาเป็นสาย
ดู ซิ จ๊ะ
น้ำฝน
ใส
สาว
คนนั้น
มองสายฝน
ภายในหัวใจ
หยาดน้ำฝนจากใจ
หลั่งมาเป็นสาย
ดู ซิ จ๊ะ
น้ำฝน
ขุ่น

***ค้นคว้าเพิ่มเติมได้จาก : หนังสือร้อยกรอง, รองศาสตราจารย์ วราภรณ์ บำรุงกุล

***หนึ่งในผู้ที่มีความรู้เรื่องวรรณคดีอังกฤษดีมากคือ ดร.เสรี วงษ์มณฑา ท่านจบเอกวรรณคดีอังกฤษตอนเรียนปริญญาตรี (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) แต่ไม่เคยเห็นท่านพูดหรือเขียนอะไรที่เกี่ยวกับบทกวีหรือวรรณคดีเลย...เสียดาย

***ควรจะมีใครทำการค้นคว้าและมาเล่าสู่กันฟังในบ้านกลอนฯ ผู้เขียนเองงานรัดตัวไม่ค่อยมีโอกาสแวะห้องสมุดเพื่อค้นคว้ามากนัก


ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ :

รพีกาญจน์, panthong.kh, รัตนาวดี, สมนึก นพ, Shumbala, คอนพูธน, บัณฑิตเมืองสิงห์, ชลนา ทิชากร, my smile, saknun, ไพร พนาวัลย์, กังวาน, ~ นายใบชา ~, รการตติ, พี.พูนสุข

ข้อความนี้ มี 15 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า

Email:
Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
s s s s s