Re: ช่วยชี้เเนะโคลงหน่อย
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน
06 มิถุนายน 2024, 04:22:PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

กด Link เพื่อร่วมกิจกรรม ผ่านFacebook (หรือกดปุ่มสมัครสมาชิกด้านบน)
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ช่วยชี้เเนะโคลงหน่อย  (อ่าน 14816 ครั้ง)
เพรางาย
ผู้ดูแลบอร์ด
*

คะแนนกลอนของผู้นี้ 553
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 1,312


ทุกคำถามจะนำมาซึ่งคำตอบ


« เมื่อ: 04 กันยายน 2012, 06:28:AM »

....ชำนาญชาญเชี่ยวด้วย......ฝึกฝน
ปฏิบัติ กุญแจดล................เลิศแท้
ค้นคว้า เฉกเวทมนต์............สำเร็จ
กลอนกาพย์กล้าแกร่งแล้.......ร้องเล่นเป็นประจำ

....คำงาม สัมผัสพร้อม..........ไพเราะ
จังหวะ รับส่งเสนาะ..............ครึกครื้น
ประเด็นเด็ด เด่นควรเหมาะ......ตรึงจิต
คีตะกานท์กวีฟื้น.................."ตื่นรู้"ละตน


ขอเขียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันครับ

อยากให้สังเกต บทแรกส่วนสีแดง ใช้ โทเอก (ตามกฎเกณฑ์บังคับให้ใช้ เอกโท)
ประมาณ ๓-๔ ปีก่อน ผมเคยลองใช้ โทเอก อยู่พักหนึ่ง เพราะเห็นว่า ไพเราะดี และบางครั้งเหมาะสมกับเนื้อหา
แต่คุณครูภาษาไทยหลายท่านติเตือน จะทำให้นักเรียนมีปัญหาในการทำข้อสอบ จึงหยุดไป
ภายหลังอ่านพบในมติชนสุดสัปดาห์ ผู้เขียนนั้นนำเสนอว่า น่าสนับสนุนให้เป็นโคลงรูปแบบใหม่ และเสนอให้เรียก
โคลงสี่โสภา
ผมเห็นด้วยเพราะ ฉันท์ มีผู้เชี่ยวชาญนำเสนอรูปแบบใหม่ๆ จนเป็นที่ยอมรับ แต่ โคลง หยุดการวัฒนารูปแบบใหม่ๆ มานาน

* ใคร ใช่ญาติจากแคว้น     แดนไกล
ใคร ชุบจิตแจ่มใส             เมื่อเศร้า
ใคร ให้แห่งพักใจ              ยามตก   ต่ำเฮย
ใคร ร่างเหลือเพียงเถ้า        เฝ้าร่ำอวยพร

นี่เป็นบทแรกที่ผมลองสลับตำแหน่ง เอกโท เป็น โทเอก เพราะ เฝ้า รับสัมผัสกับ เถ้า ได้ดี
เฝ้าร่ำ ก็ให้ความหมายชัดกว่า ร่ำเฝ้า

เพื่อนผู้รู้ เชิญร่วมแสดงความเห็น จะได้เกิดประโยชน์ต่อวงการร้อยกรอง
ขอบคุณครับ

ขอแสดงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องการใช้ เอก โท  และ  โท เอก  ในสัมผัสวรรณยุกต์บังคับเล็กน้อย
การสลับตำแหน่ง เอกโท โทเอก  ที่ใช้คู่กันนี้  ที่จริงแล้วไม่ใช่ของใหม่แต่อย่างใด
ในโคลงที่แต่งมาก่อนเก่าก็มีปรากฏให้เห็น
ถือว่าไม่ผิดบังคับเพื่อให้อ่านแล้วได้ความตามประสงค์
เพียงแต่ไม่เป็นที่นิยมนัก

และเมื่อจำเป็นต้องสอนการแต่งคำประพันธ์สำหรับผู้ที่ต้องการฝึกใหม่ๆ
คงจำเป็นจะต้องมีแบบหลักสำหรับฝึกหัดให้มั่นคง
ก่อนที่ผู้ฝึกนั้นจะแกร่งกล้าในการใช้คำและสื่อความ
จนเลือกสรรกลเม็ดและข้อยกเว้นที่ต้องตรงใจได้เป็น

ดังนั้นเมื่อแรกหัดจึงควรเริ่มจากการใช้เอกโทให้เป็นก่อน
เมื่อฝึกตนให้แม่นยำในแบบผังฉันทลักษณ์เป็น
จึงค่อยกระโดดออกจากกรอบไปสู่อิสระในการสื่อความและสร้างคำไพเราะ

ป.ล. ความรู้เรื่องโคลงประเด็นนี้ก็ได้มาจากเพื่อนในเว็บนี้ช่วยบอกสอนให้ได้ไปศึกษาสืบค้นต่อไป  จึงขอเรียนขอบคุณมาไว้ด้วย


 สาวน้อยเซย์ ฮาโหล

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ :

บูรพาท่าพระจันทร์, รพีกาญจน์, พี.พูนสุข, ไพร พนาวัลย์, อนุวาต, ไร้นวล^^, อริญชย์, เมฆา...

ข้อความนี้ มี 8 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า

คนที่กำลังไล่ตามความฝัน  ท่ามกลางความผกผันของเวลา

Email:
Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
s s s s s