Re: ช่วยชี้เเนะโคลงหน่อย
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน
15 พฤษภาคม 2024, 03:49:AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

กด Link เพื่อร่วมกิจกรรม ผ่านFacebook (หรือกดปุ่มสมัครสมาชิกด้านบน)
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ช่วยชี้เเนะโคลงหน่อย  (อ่าน 14723 ครั้ง)
toshare
Special Class LV6
นักกลอนเอกแห่งวังหลวง

******

คะแนนกลอนของผู้นี้ 303
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,363



« เมื่อ: 04 กันยายน 2012, 12:23:AM »

   พวกพี่คงบอกน้อง   หลายครา                               พี่คงต้องบอกน้อง      หลายครา
ที่ผิดต่างนานา     โปรดไว้                                   พลาดผิดหลากนานา      ติไว้
เป็นบุญที่จรมา     ปะพบ                                     เป็นบุญที่จรมา            พบปะ
มิถูกเเก้สอนให้    อย่างนี้ ดีมาก                             ผิดแนะเเก้สอนให้          อย่างนี้ดีจริง

  หากโคลงที่เเต่งนี้   มีอะไร                                    เกณฑ์โคลงบังคับนี้    มีอะไร
โทเอกเป็นไฉน     ใคร่รู้                                      โทเอกเป็นไฉน             ใคร่รู้
วิจารณ์หากพลาดไป  ติเถิด                                   แต่งผิดวิจารณ์ไป          แนะเถิด
หวังเเต่งไว้พอสู้     ไม่เเพ้  ใครเขา                          ร่ายเล่นเพียงพอสู้          ไป่แพ้ใครเขา

อย่างที่เคยระบุ จะไม่แก้ไขของใครเกินจำเป็น
จึงขอยกเทียบไว้ครับ

๑ คงบอกน้อง อ่านแล้ว เหมือนเป็นอดีต ทำนองว่า คงบอกแล้วมั้ง
คงต้องบอก ดูเป็นอนาคต ทำนอง คงต้องทำอีกแน่ๆ

๒ แม้ไม่มีข้อห้าม แต่ถ้าไม่จำเป็น ที่ใดไม่บังคับใช้ รูปวรรณยุกต์ เอกโท ก็พยายามเลี่ยง จะดีกว่า
ที่ผิด -> พลาดผิด
ต่างนานา -> หลากนานา
โปรด -> ลักษณะใช้ มักเป็น ราชาศัพท์ เลี่ยงเป็น ติ

๓ ปะพบ -> พบปะ
สังเกตไหม หากอ่านเป็นทำนองเสนาะ บรรดาเสียงวรรคหลังจะเป็น สูง แล้ว ต่ำ

๔ มิถูก -> ผิด ชัดเจนกว่า แล้วหาคำเติมคือ แนะ
มาก ห้ามใช้เด็ดขาด คำท้ายสุดต้องเป็นเสียง สามัญ หรือ จัตวา(นิยม) : "รูปของคำ" ห้ามมีวรรณยุกต์
ตย. อย่าได้ถามเผือ, เล่ห์นี้คือโคลง, คล่าวน้ำตาคลอ

๕ อย่างนี้ดีจริง ตั้งใจ ไม่ส่งสัมผัส เพื่อชี้แจง

*** ปกติ (ถ้าจะแสดงฝีมือก็ทำได้) โคลง ไม่บังคับให้ต้อง ส่งสัมผัส
เว้นแต่ แต่งลิลิต (ส่งสัมผัสคำท้ายสุด ไปรับสัมผัส คำที่ ๑ หรือ ๒ หรือ ๓ บทถัดไป) หรือเป็น โคลงดั้น ซึ่งปกติ บังคับให้แต่ง ๒ บท และต้อง ส่ง-รับ สัมผัสตามกฎของโคลงดั้นนั้นๆ


๑ หากโคลงที่เเต่งนี้  มีอะไร : คงต้องการสื่อว่า ถ้ามีอะไรก็ให้ แนะบอก

๓ วิจารณ์หากพลาดไป ติเถิด   อ่านแล้ว เหมือนสื่อว่า ถ้า(ฉัน)วิจารณ์พลาดไป ก็ให้ ติ มาได้
แต่งผิดวิจารณ์ไป     แนะเถิด   สื่อว่า แต่งผิด ก็ขอเชิญ วิจารณ์ เชิญแนะ

๔ ไม่แก้ก็ได้ครับ เพียงแต่ "ไม่" เขามักเลี่ยง แนะใช้ ไป่  บ  บ่

แฮะๆ พิมพ์ร่วมชั่วโมงเชียว

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ :

พยัญเสมอ, รพีกาญจน์, บูรพาท่าพระจันทร์, พี.พูนสุข, อนุวาต, อริญชย์, เมฆา...

ข้อความนี้ มี 7 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า

Email:
Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
s s s s s