Re: น้อมรำลึก มหากวี สุนทรภู๋
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน
01 พฤศจิกายน 2024, 07:06:AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

กด Link เพื่อร่วมกิจกรรม ผ่านFacebook (หรือกดปุ่มสมัครสมาชิกด้านบน)
 
ผู้เขียน หัวข้อ: น้อมรำลึก ๒๒๗ ปี มหากวี สุนทรภู๋  (อ่าน 30629 ครั้ง)
toshare
Special Class LV6
นักกลอนเอกแห่งวังหลวง

******

คะแนนกลอนของผู้นี้ 303
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,375



« เมื่อ: 26 มิถุนายน 2013, 09:54:AM »

....สุนทรภู่ระลึกให้.................จุ่งดี
อย่าแต่งเพียงปะรำพิธี.............เทิดไว้
โคลงท่านอ่อนในวจี...............ก็เปล่า
จารจดปรากฏให้....................ใช่ท้า-ท่านสอน

....กานท์กลอนเพียรฝึกใช้.......สม่ำเสมอ
รู้รอบดุจดั่งเกลอ.....................แนะชี้
ดำเนินเรื่องบำเรอ....................หลายหลาก
ครูท่านนำเสนอนี้.....................เร่งรู้ฝึกฝน


====
นิราศสุพรรณ เป็นผลงานกวีนิพนธ์แบบโคลงประพันธ์โดยสุนทรภู่ เป็นนิราศเรื่องแรกและเรื่องเดียวของสุนทรภู่
ที่ประพันธ์ด้วยฉันทลักษณ์โคลงสี่สุภาพ เข้าใจว่าต้องการลบคำสบประมาทว่าตนแต่งได้แต่เพียงกลอน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
====
เรือนไทย วิชาการ.คอม http://www.reurnthai.com/index.php?topic=2250.15
CrazyHOrse แขกเรือน นิลพัท ตอบ: 1659  เมื่อ 11 มิ.ย. 07, 17:45
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
 --------------------------------------------------------------------------------
สุนทรภู่มีชื่อลือเลื่องเป็นเลิศในกระบวนกลอน กลอนแปดแบบสุนทรภู่ถือเป็นกลอนครูมาจนถึงปัจจุบัน แต่ในบรรดาผลงานของท่าน มีนิราศสุพรรณที่แต่งโดยใช้ฉันทลักษณ์เป็นโคลงสี่สุภาพ
แต่ขึ้นชื่อว่าสุนทรภู่แล้ว จะเป็นแค่โคลงสี่ธรรมดาก็กระไรอยู่ โคลงของสุนทรภู่จึงมีเอกลักษณ์บางประการที่แตกต่างจากแบบแผนโคลงที่เขียนกันมา ผมขอเลือกตัวอย่างบทแรกของนิราศสุพรรณที่ถือได้ว่าเป็นตัวแทนของโคลงแบบสุนทรภู่ดังนี้ครับ

เดือนช่วงดวงเด่นฟ้า ดาดาว
จรูญจรัสรัศมีพราว พร่างพร้อย
ยามดึกนึกหนาวหนาว เขนยแนบ  แอบเอย
เย็นฉ่ำน้ำค้างย้อย เยือกฟ้าพาหนาว

 
ลักษณะเด่นประการแรกของโคลงแบบสุนทรภู่คือ จะใช้สัมผัสสระระหว่างคำที่สองและสามของทุกบาท
นอกจากจะทำให้ลีลาไหลลื่นแล้ว ยังเป็นการบังคับการแบ่งจังหวะการอ่านเป็น 2-3-2 ไปในตัว
ลักษณะนี้ถือเป็นลักษณะพิเศษ เพราะโคลงโดยทั่วไป ไม่นิยมใช้สัมผัสสระ ถ้ามีก็จะเป็นสัมผัสอักษรเสียมากกว่า และการแบ่งวรรคตอนของโคลงนั้น
โดยทั่วไปค่อนข้างยืดหยุ่น 2-3-2 หรือ 3-2-2 ปะปนกันไปครับ
มีบ้างที่สุนทรภู่จะใช้สัมผัสอักษรแทน หรือบางครั้งก็ใช้สัมผัสสระจากคำที่สองไปคำที่สี่ แต่ก็เป็นส่วนน้อยครับ เกือบทั้งหมดจะอยู่ในรูปแบบนี้

ข้อสังเกตต่อมา สุนทรภู่จะพยายามใช้สัมผัสระหว่างคำสุดท้ายของวรรคแรกไปยังคำหน้าของบาทหลังในทุกๆบาท โดยที่จะใช้สัมผัสอักษรเป็นหลัก
ยกเว้นบาทแรกที่มีการใช้สัมผัสสระปะปนกับสัมผัสอักษร ดูคร่าวๆไม่สามารถสรุปได้ชัดเจนว่าอย่างไหนมากกว่า ใครจะลองนับมาเป็นวิทยาทาน
ก็จะขอบคุณมากครับ
ลักษณะเช่นนี้ จะว่าไปก็ไม่แปลกนัก เพราะเป็นความนิยมปกติของการแต่งโคลงอยู่แล้ว (ยกเว้นเรื่องการใช้สัมผัสสระวรรคแรก)
แต่โคลงแบบสุทรภู่นั้นเน้นมาก ใช้บ่อยจนแทบจะเป็นบังคับสัมผัสเลยครับ

ข้อสังเกตประการที่สาม อันนี้ดูเหมือนจะเล็กน้อย คือการใช้คำสร้อยบาทที่สาม ถึงแม้ว่าฉันทลักษณ์โคลงจะอนุญาตให้ใช้คำสร้อยท้าบบาทสามเป็นปกติ
 แต่กวีคนอื่นๆจะไม่ได้ใช้มากเท่ากับสุนทรภู่ ในนิราศสุพรรณใส่คำสร้อยท้ายบาทสามเกือบจะครบทุกบทครับ ถือเป็นลักษณะพิเศษเช่นกัน
โดยจะลงด้วยคำว่า เอย มากที่สุด รองลงมาคือ แฮ มีใช้คำอื่นปะปนน้อยครั้งมากครับ

ข้อสังเกตประการที่สี่คือ ใช้สัมผัสสระระหว่างคำที่เจ็ดและแปดของบาทสามและสี่ครับ ถือว่าเป็นลักษณะพิเศษเหมือนกัน
เพราะโคลงทั่วไปนิยมใช้สัมผัสอักษรมากกว่า นอกจากนั้น สุนทรภู่ใช้สัมผัสลักษณะนี้เป็นปกติเกือบทุกบทเช่นกันครับ

ข้อสังเกตประการสุดท้าย
สุนทรภู่จะ ไม่ใช้ การร้อยโคลง ซึ่งใช้สัมผัสสระจากคำสุดท้ายของบทไปยังคำใดคำหนึ่งในวรรคแรกของบทถัดไปอย่างที่พบในโคลงลิลิตตะเลงพ่าย
 และงานประพันธ์โคลงของครูเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ครับ

เกือบลืมไปอีกประการหนึ่ง โคลงของสุนทรภู่นิยมเอกโทษโทโทษ ใช้มากจนเป็นปกติ บางท่านตั้งข้อสังเกตว่าสุนทรภู่แต่งโคลงด้วยหู
เน้นเสียงเป็นหลัก แต่ผมไม่เห็นด้วยเสียทั้งหมด
เรื่องที่ว่าแต่งด้วยหูนั้นจริงครับ แต่ไม่ถึงกับเน้นเสียงเป็นหลัก ยังเคร่งครัดกับรูปอยู่ เพราะไม่เคยใช้คำที่ไม่สามารถเขียนเป็นเอกโทษหรือโทโทษเลยครับ

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ :

รพีกาญจน์, Moo Dum, คอนพูธน, ชลนา ทิชากร, panthong.kh, พี.พูนสุข, ดาว อาชาไนย, Shumbala, สะเลเต, รัตนาวดี, saknun, กรกช, รการตติ, ปู่ริน, ศรีเปรื่อง, ไพร พนาวัลย์, แป้งน้ำ, บ้านริมโขง, พ.พิมพา, ...สียะตรา.., เนิน จำราย, muneenoi, ดุลย์ ละมุน, บูรพาท่าพระจันทร์, จารุทัส, ตรีประภัสร์ โสม

ข้อความนี้ มี 26 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า

Email:
Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
s s s s s