Re: เลื่อมพรายปีก แมลงทับ ขลับมันขลับ
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน
06 มิถุนายน 2024, 10:30:AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

กด Link เพื่อร่วมกิจกรรม ผ่านFacebook (หรือกดปุ่มสมัครสมาชิกด้านบน)
 
ผู้เขียน หัวข้อ: เลื่อมพรายปีก แมลงทับ ขลับมันขลับ  (อ่าน 16805 ครั้ง)
พยัญเสมอ
Special Class LV6
นักกลอนเอกแห่งวังหลวง

******

คะแนนกลอนของผู้นี้ 674
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,044


ไม่มีเหตุจำเป็นห้ามรบกวน


« เมื่อ: 12 พฤษภาคม 2013, 01:13:PM »


อย่าว่าแต่ท่านกรกช และคนอื่นอ่านแล้วจะงงเลยครับ  ขนาดผมที่เป็นคนอาสาอธิบายเองก็ยังงงตัวเองเหมือนกัน หัวเราะยิ้มๆ
เอาใหม่ครับ  คราวนี้ยกตัวอย่่างกันให้แจ่มแจ้งแดงแจ๋กันไปเลย

เคล็ดลับสำคัญการแต่งกลอนแบบนี้ก็อยู่ที่บรรทัดแรก ๘ คำนั่นแหละครับ   ตัวอย่าง


หลายคนเห็นเป็นงามตามตนคล้าย

ตามตัวอย่างที่ยกมานี้จะเห็นได้ในการเขียนกลอนบรรทัดแรกแปดคำนั้น  ได้มีการเตรียมการไว้หมดแล้วว่าจะใช้ตัวไหน
สำหรับรับสัมผัสระหว่างท้ายวรรหนึ่งกับวรรคสอง    และจะใช้คู่ไหนเพื่อรับสัมผัสระหว่างท้ายวรรคสองกับท้ายววรคสาม
และต้องเตรียมคำเสียงสามัญหนึ่งคู่  ไว้สำหรับการลงท้ายวรรคสี่    ดังตัวอย่าง



หลายคนเห็น  เป็นงาม  ตามตนคล้าย
งามเป็นหลาย  คล้ายตน  ตามคนเห็น
ตนเห็นตาม   งามคล้าย  หลายคนเป็น
ตนตามเห็น   เป็นหลาย   คล้ายคนงาม



เห็นไหมครับว่า  ตรงที่เน้นสีแดงด้านบนนั้น ได้กลายมาเป็นคำลงท้ายวรรคสองกับวรรคสามไปแล้ว(ตามที่เน้นสีแดงให้ดู)
นี่ก็คือการเตรียมการสำหรับคำที่จะใช้เป็นคำลงท้ายวรรคตั้งแต่แรกที่เขียนเพียงบรรทัดเดียว

คำต่อมาก็คือคำว่า หลาย ซึ่งถูกเน้นสีฟ้าซึ่งอยู่เป็นคำแรกเลย  ได้ถูกเตรียมไว้เพื่อนำมารับคำว่าคล้ายที่อยู่ท้ายวรรคตั้งแต่ต้น

และที่ขาดไม่ได้เลยก็คือต้องเตรียมคำที่เป็นเสียงสามัญไว้สำหรับลงท้ายวรรคที่สี่ด้วย
นอกนั้นก็สุดแต่จะบรรเลงอย่างไรก็ได้ตามถนัด  โดยยกคำจากบรรทัดแรกที่มีอยู่เพียงแปดคำมาสลับเอาตามใจชอบ
โดยให้มีสัมผัสให้ถูกต้องตามหลักกลอนแปด   ห้ามใช้เกินอย่างละคำ  และห้ามขาดคำใดคำหนึ่ง
ห้ามนำคำอื่นที่ไม่ได้อยู่แปดคำในบรรทัดแรกมาใส่


ตัวอย่างของท่านกรกฏ


ร้องคำหวานวานลมชมทำนอง


ร้องคำหวาน วานลม ชมทำนอง
วานลมร้อง ทำนอง ชมคำหวาน
ทำนองร้อง หวานชม คำลมวาน
ทำนองหวาน วานชม ลมร้องคำ



ตัวอย่างกลอนของท่านอริญชย์

เสือช้างสิงห์ลิงหมูหนูค่างเหยื่อ


เสือช้างสิงห์   ลิงหมู   หนูค่างเหยื่อ
หมูลิงเสือ      เหยื่อค่าง  หนูช้างสิงห์
ค่างสิงห์หนู    หมูเหยื่อ   เสือช้างลิง
ค่างหนูสิงห์     ลิงเสือ   เหยื่อช้างหมู ฯ  



เมื่อพิจารณาและชี้กันอย่างชัดๆแล้ว  ทั้งสามบทนี้ใช้หลักการเดียวกันหมด  คือได้เตรียมคำสำหรับไว้รับสัมผัสวรรคสองกับวรรคสามไว้แล้ว ๑ คู่
ซึ่งก็คือคำที่เน้นสีแดง  โดยคำหนึ่งเสียงสูง  อีกคำเสียงสามัญ
และได้เตรียมคำที่จะใช้รับสัมผัสระหว่างวรรคแรกกับวรรคสองไว้แล้วซึ่งก็คือคำที่เน้นสีฟ้า ซึ่งจะใช้เสียงอะไรก็ได้ แต่ควรเป็นเสียงที่ต่างระดับกัน
และคำที่เป็นเสียงสามัญอีกหนึ่งคู่ สำหรับคำลงท้าย   แต่ท่านอริญชย์ไม่ได้เตรียมคำที่เป็นเสียงสามัญไว้ สุดท้ายก็เลยจำเป็นต้องลงด้วยเสียงสูง
ผมคงอธิบายได้สุดเท่านี้แล้วนะครับ   ที่เหลือก็ฝากผู้ที่สนใจเก็บไปคิดเอาเอง  ว่าจะใช้คำแบบไหนจึงกลับได้ทั้งสองด้านหน้า
เช่น  มือขวา  ขวามือ  มือซ้าย  ซ้ายมือ   อันนั้นคงต้องแล้วแต่ปฏิภาณของแต่ละคนครับ แนะนำกันไม่ได้






ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ :

เนิน จำราย, กรกช, khuadkao, ชลนา ทิชากร, พี.พูนสุข, ไพร พนาวัลย์, choy, Moo Dum

ข้อความนี้ มี 8 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า

๐นามแฝงผู้เขียน Orion264(มือขวา),มือขวา,บูรพาทรนง-ตงฟางข้วงแขะ,สิงสู่,ต๊กโกม้อเกี่ยม-มารกระบี่เดียวดาย,
เทพเจ้าไก่

Email:
Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
s s s s s