Re: @..ฝึกแต่งโคลง..@
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน
29 พฤษภาคม 2024, 01:48:AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

กด Link เพื่อร่วมกิจกรรม ผ่านFacebook (หรือกดปุ่มสมัครสมาชิกด้านบน)
 
ผู้เขียน หัวข้อ: @..ฝึกแต่งโคลง..@  (อ่าน 122528 ครั้ง)
choy
Special Class LV3.9
นักกลอนรอบรู้กวี

***

คะแนนกลอนของผู้นี้ 145
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 314



« เมื่อ: 05 พฤษภาคม 2013, 06:26:PM »

กระถินตำลึงเสี้ยน      เพกา
ขะแยงติ้วชี้ฟ้า         หน่อไม้
เทากระโดนยี่หร่า      ส้มป่อย หวานป่า
ย่านางเม็กข่าไคร้         ส้มเสี้ยวแคสะเดา ฯลฯ


choy
5 พฤษภาคม 56



*ผักพื้นบ้านอีสาน พบได้ทั่วไป อาทิ กระถิน, ตำลึง, ผักเสี้ยน, เพกา (ลิ้นฟ้า), ขะแยง, ผักติ้ว, พริกชี้ฟ้า, หน่อไม้, เทา (สาหร่ายน้ำจืด), กระโดน, ยี่หร่า, ส้มป่อย, ผักหวานป่า, ย่านาง, ผักเม็ก, ข่า, ตะไคร้, ส้มเสี้ยว, ดอกแค และ สะเดา ฯลฯ


(ต่อเลย)

เนียงสะตอถิ่นใต้            มันปู
มะกอกเหมียงขี้หนู         เถื่อนกล้วย
ฉิ่งยอเล็บครุฑคู่            ยาร่วง ส้มแขก
แมะส้มหลิงอร่อยด้วย         หมุยขมิ้นกูดเขียวแดง ฯลฯ

choy
5 พฤาภาคม 56


*ผักพื้นเมืองถิ่นใต้ อาทิ (ลูก) เนียง, (ลูก) สะตอ, มันปู, (ยอด, ใบ) มะกอก, เหมียง (เหรียง), พริกขี้หนู, กล้วยเถื่อน, ผักฉิ่ง, ใบยอ (ปัตตานีขึ้นชื่อ), เล็บครุฑ, ยอดยาร่วง, ส้มแขก (ชะมวงช้าง), ยอดแมะ (ผักแมะ), ส้มหลิง (ตะลิงปลิง), ผักหมุย, ขมิ้น (แกงต่างๆ อร่อยมาก) และผักกูด (ผักกูดแดง, ผักกูดเขียว) ฯลฯ



(ขอต่อให้จบ แล้วขอตัวงีบหน่อย)

บัวบกขิงตั้งเลื้อย         มะเขือยาว
มะรุมมุ่นลานเลา         แข้งม้า
สันตะวาใบข้าว         แย้มป่า เถาคันแดง   
มะแว้งเครือถั่วคล้า       เต่าร้างแดงมะเดื่อน้ำ ฯลฯ


*ผักพื้นบ้านภาคกลาง อาทิ ใบบัวบก, ขิง, ตั้งเลื้อย, มะเขือยาว, มะรุม, มุ่น, ลาน, เลา, (เขือง) แข้งม้า, สันตะวาใบข้าว, (นาง) แย้มป่า, เถาคันแดง, มะแว้งเครือ, ถั่วคล้า, เต่าร้างแดง และมะเดื่อน้ำ ฯลฯ

**สรรพคุณของผักจำแนกตามรสชาติต่างๆ
๑.   รสฝาด ฝาดสมาน, ปิดธาตุ กินมากไปอาจ ฝืดคอ, ท้องอืด และท้องผูก
๒.   รสหวาน ชุ่มชื่น, บำรุงกำลัง กินมากไปอาจ ลมกำเริบ, ง่วงนอน, เกียจคร้าน
๓.   รสขม แก้โลหิตเป็นพิษ, ดีพิการ, เพ้อคลั่ง กินมากไปอาจ อ่อนเพลีย, กำลังตก
๔.   รสเมาเบื่อ แก้พิษ, ฆ่าพยาธิผิวหนัง
๕.   รสเผ็ดร้อน แก้โรคกองลม, ลมจุกเสียด, ปวดท้อง, ลมแน่น, ลมป่อง กินมากไปอาจเกิดอาการอ่อนเพลีย, เผ็ดร้อนที่ปากและท้อง
๖.   รสมัน แก้เส้นเอ็นพิการ, ปวดเสียว, ขัดยอก, กระตุก
๗.   รสหอมเย็น แก้ลมมืดตาลาย, ลมวิงเวียน, บำรุงหัวใจ
๘.   รสเค็ม แก้ประดง, ชา, คัน หากกินมากไปทำให้มีอาการกระหายน้ำ, ร้อนใน
๙.   รสเปรี้ยว แก้เสมหะพิการ, กัดฟอกเสมหะ, กระตุ้นนำลาย, เจริญอาหาร กินมากไปอาจท้องอืด, แสลงแผล, ร้อนใน


choy
5 พฤษภาคม 56

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ :

เนิน จำราย, รพีกาญจน์, ไม่รู้ใจ, พี.พูนสุข, ชลนา ทิชากร, ปู่ริน, saknun, ดุลย์ ละมุน, ยามพระอาทิตย์อัสดง

ข้อความนี้ มี 9 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า

Email:
Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
s s s s s