ยอดผักเหลียงรสเด็ดเพาะเมล็ดยาก
สี่เดือนหากลงดินอย่าสิ้นหวัง
รดน้ำฉ่ำถุงบรรจุแทบผุพัง
ชุ่มน้ำสั่งกล้าเหลียง งอกเรียงราย!ฯ
อริญชย์
๑๔/๔/๒๕๕๕
ปล. เมล็ดผักเหลียงค่อนข้างจะเพาะเมล็ดยาก อาจจะยากกว่าเมล็ดมะค่าโมงด้วยซ้ำ รดน้ำทุกวันราว ๆ สี่เดือน จึงงอก ขอบคุณภาพจาก
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=210499วิธีการขยายพันธุ์ผักเหลียง
เกษตรกรที่คิดจะปลูกผักเหลียงไว้ขายเป็นรายได้เสริมหรือปลูกเพื่อบริโภค เริ่มลงมือ
ปลูกวันนี้เพียง 2 ปี ก็เก็บยอดขายได้ปลูกครั้งเดียวเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตลอดไป ขยาย
พันธุ์ง่ายได้ผลทุกวิธี ผักเหลียงเป็นพันธุ์ไม้ป่า และไม้ยืนต้นขนาดกลางที่เจริญเติบโตได้ดี
ในสภาพร่มเงา เป็นพืชที่นิยมบริโภค เนื่องจากเป็นผักป่าปลอดสารเคมี มีรสชาติอร่อย
และมีคุณค่าทางอาหารสูง สามารถนำมาประกอบเป็นอาหารได้หลากหลายชนิด ปัจจุบัน
มีการขยายปลูกผักเหลียงในสวนผลไม้ สวนยางพารา ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้
ยังสามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธี เช่น ด้วยเมล็ด ไหลราก กิ่งตอนและปักชำ โดยมีวิธีการ
ดังนี้
1. เมล็ด เมล็ดสุกเปลือกนอกจะมีสีเหลือง เปลือกในแข็งสีน้ำตาล นำเมล็ดแช่
น้ำเอาเปลือกนอกออก แล้วนำไปเพาะในกระบะทรายหรือขี้เถ้าแกลบผสมทรายประมาณ
4 เดือน เมื่อเมล็ดงอกมีใบ 2-3 คู่ นำลงถุงเพาะชำเลี้ยงไว้ประมาณ 1 ปี จึงลงแปลงปลูก 2. ไหลราก คือ รากแขนงที่อยู่ระดับผิวดินจะแตกเป็นต้นได้ ก็สามารถขุดต้นแล้ว
นำลงชำถุงเลี้ยงไว้ประมาณ 6 เดือน จึงลงแปลงปลูก
3. กิ่งตอน ควรเลือกกิ่งที่ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป คือ กิ่งที่มีสีน้ำตาลอ่อน ใช้เวลาตอน
ประมาณ 2 เดือน เมื่อรากออกสมบูรณ์แล้วนำลงชำถุงอีก 2-3 เดือน จึงนำลงแปลงปลูก
4. ปักชำ ก็สามารถทำได้แต่ได้ผลค่อนข้างต่ำ เกษตรกรจึงไม่นิยมทำกันเพราะต้อง
ใช้ฮอร์โมนเร่งราก ปักชำในตู้ชื้นหรือใช้ระบบพ่นหมอก ซึ่งทำให้แตกรากช้า และมี
เปอร์เซ็นต์งอกต่ำ
หวังว่าข้อมูลเล็กน้อยนี้อาจจะทำให้ท่านรัก "ผักเหลียง" ผักพื้นบ้านของชาวใต้
มากขึ้นไปอีกนะคะ แต่ข้าพเจ้าเองนอกจากหลงรักแล้ว ยังรู้สึกภาคภูมิใจ
เป็นของแถมด้วยค่ะ อ้อ!... ลืมบอกไปคนชุมพรไม่ค่อยมีใครเรียกเจ้าผักชนิดนี้ว่า
"ผักเหลียง" หรอกนะคะ ถ้าจะไปหาซื้อต้องเรียกว่า "ใบเหลียง" ค่ะ