Re: ๐ไม่มีบทกวีหวานที่บ้านฉัน๐
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน
01 พฤศจิกายน 2024, 05:49:AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

กด Link เพื่อร่วมกิจกรรม ผ่านFacebook (หรือกดปุ่มสมัครสมาชิกด้านบน)
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ๐ไม่มีบทกวีหวานที่บ้านฉัน๐  (อ่าน 44296 ครั้ง)
อริญชย์
Special Class LV6
นักกลอนเอกแห่งวังหลวง

******

คะแนนกลอนของผู้นี้ 1154
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,568


ให้สุขแก่ท่าน สุขนั้นถึงตัว


« เมื่อ: 11 กุมภาพันธ์ 2012, 05:15:PM »





สำนักงานเขตหลักสี่ จัดตั้งขึ้นโดยประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2540 สมัยราชกาลที่ 5 โดยแบ่งพื้นที่ออกจาก เขตดอนเมือง จำนวน 2แขวง ประกอบด้วยแขวงทุ่งสองห้อง แขวงตลาดบางเขน มีเนื้อที่ประมาณ 22.841 ตารางกิโลเมตร เขตหลักสี่มีวัดหลักสี่ ซึ่งเป็นพระอารามหลวง เป็นวัดที่สำคัญสร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ คำขวัญประจำเขตหลักสี่  “วัดหลักสี่งามวิจิตร แหล่งผลิตว่าวไทย เลื่องลือไกลหัวโขนงามน่ายลเขตหลักสี่”




 

     ชุมชนทำว่าว เป็นชื่อเรียกชุมชนแห่งหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการที่ได้มีผู้อยู่อาศัยในชุมชนประกอบอาชีพในการประดิษฐ์ว่าวซึ่งเป็นภูมิปัญญาของคนไทย  และเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านออกจำหน่ายเผยแพร่ในชุมชน  ชุมชนนี้มีลุงกุน  บุญนก  เป็นผู้นำชุมชนในการประดิษฐ์ว่าวซึ่งอยู่บ้านเลขที่ 304/686 หมู่ 3 การเคหะแห่งชาติบางบัว ซอยพหลโยธิน 49/1 ถนนพหลโยธิน  แขวงตลาดบางเขน  เขตหลักสี่  กทม.




ผู้นำชุมชนการทำว่าวไทยเขตหลักสี่

     ผู้นำชุมชนด้านศิลปะการทำว่าวคือ ลุงกุน  บุญนก เกิดเมื่อวันที่ 29  มกราคม  พ.ศ. 2468 ที่จังหวัดนครสวรรค์  สมรสกับนางสาวเยือน จีนผ่อง อาชีพแม่บ้าน มีบุตรชาย 2 คน หญิง 6 คน ได้แก่  นางรัชนีกร  นายสาโรจน์  นางจงกล  นายปัญญา  นางสาวอรพินท์  นางกมล  นางสาวทองพูน บุญนก 



      ลุงกุน  บุญนก เป็นผู้เชี่ยวชาญ ด้านการทำว่าวพื้นบ้านทุกชนิดผลงานการสืบสานและสร้างสรรค์มีคุณค่าทางด้านศิลปะการสืบสานภูมิปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์ ทำให้ได้รับการยอมรับของชุมชนสังคมทั้งในประเทศและต่างประเทศการที่ลุงกุน บุญนก นำความรู้ด้านศิลปะการทำว่าว ที่ตนเองได้ศึกษาค้นคว้า ค้นพบ ทดลองจนประสบความสำเร็จแล้วไปเผยแพร่ สอน ถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้เรียนรู้นำไปปฏิบัติจนประสบความสำเร็จ เป็นประโยชน์โดยรวมแก่สังคมจึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ ให้เป็นครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่ 4 ด้านศิลปกรรมประจำปีพุทธศักราช 2548จากสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา  กระทรวงศึกษาธิการ  ว่าวที่ประดิษฐ์ออกจำหน่ายมีหลายแบบหลายชนิด  เช่น ว่าวนกฮูก  ว่าวปลาเงินปลาทอง  ว่าวผีเสื้อ  ว่าวมังกร  ว่าวหกเหลี่ยม  ว่าวพญาครุฑ ฯลฯ 


 



ผู้นำชุมชนการทำว่าวไทยหลักสี่ รุ่นที่ 2

     ปัจจุบันผู้สืบทอดกลวิธีการทำว่าวไทยหลักสี่ คือนายสาโรจน์  บุญนก ซึ่งรับสอนการทำว่าวให้กับสถานศึกษาทั่วไป รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาด้านการทำว่าวให้กับศูนย์พัฒนาวิชาการศิลปศึกษา โรงเรียนการเคหะท่าทราย



เอกสารอ้างอิง :

กฤษณ์  จันทร์ทับ. (2553). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระทัศนศิลป์หน่วยภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง ว่าวไทยหลักสี่ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบสอดแทรกกับการจัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนแสวงหาและค้นพบคความรู้ด้วยตนเอง. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม.(ศิลปศึกษา).กรุงเทพฯ:  บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.


**********************************************

 แนะนำงานวิจัย

    กฤษณ์   จันทร์ทับ.  (2553).  การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระทัศนศิลป์หน่วยภูมิปัญญา
ท้องถิ่นเรื่องว่าวไทยหลักสี่ ของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบสอดแทรกกับการจัดการเรียนรู้โดยให้ ผู้เรียนแสวงหาและค้นพบความรู้ด้วยตนเอง.  ปริญญานิพนธ์  กศ.ม.(ศิลปศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.  คณะกรรมการควบคุม: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เลิศศิริร์ บวรกิตติ.  ผู้ช่วยศาสตราจารย์จักรพงษ์  แพทย์หลักฟ้า.

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้  มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระทัศนศิลป์ หน่วยภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่องว่าวไทยหลักสี่ ของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบสอดแทรกกับการจัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนแสวงหาและค้นพบความรู้ด้วยตนเอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนการเคหะท่าทราย  เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 60 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยวิธีการจับฉลากให้เป็นกลุ่มทดลองที่ 1 และกลุ่มทดลอง ที่ 2 กลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองที่ 1 ได้รับการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบสอดแทรก กลุ่มทดลองที่ 2 ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนแสวงหาและค้นพบความรู้ด้วยตนเอง โดยผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนินการสอนด้วยตนเอง ใช้เวลาในการทดลองกลุ่มละ12 คาบๆ ละ 60 นาที โดยทั้งสองกลุ่มใช้เนื้อหาเดียวกันในการดำเนินการทดลองครั้งนี้ใช้แผนการวิจัยแบบ Randomized Control-Group Pretest Posttest  Design

   เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบสอดแทรก แผนการจัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนแสวงหาและค้นพบความรู้ด้วยตนเอง  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนค่าความเชื่อมั่น 0.82 และแบบสำรวจความพึงพอใจต่อการเรียนมีค่าความเชื่อมั่น 0.865 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ในรูปผลต่างของคะแนน (Difference Score)

ผลการศึกษาพบว่า

    1.นักเรียนที่เรียนสาระทัศนศิลป์ หน่วยภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่องว่าวไทยหลักสี่ ของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ 1 ด้วยการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบสอดแทรกมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

    2.นักเรียนที่เรียนสาระทัศนศิลป์ หน่วยภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่องว่าวไทยหลักสี่ ของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนแสวงหาและค้นพบความรู้ด้วยตนเอง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

    3.นักเรียนที่เรียนสาระทัศนศิลป์ หน่วยภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่องว่าวไทยหลักสี่ ของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ 1 ด้วยการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบสอดแทรกมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่ากลุ่มทดลองที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนแสวงหาและค้นพบความรู้ด้วยตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

    4.นักเรียนที่เรียนสาระทัศนศิลป์ หน่วยภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่องว่าวไทยหลักสี่ ของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ 1 ด้วยการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบสอดแทรกมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

    5.นักเรียนที่เรียนสาระทัศนศิลป์ หน่วยภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่องว่าวไทยหลักสี่ ของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนแสวงหาและค้นพบความรู้ด้วยตนเองมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก


*********************************

บรรยากาศการเรียนรู้ : ว่าวไทยหลักสี่

 

     ผลการเรียนรู้จากการสังเกตเพิ่มเติม และสัมภาษณ์พบว่า นักเรียนมีความสุขในการเรียนรู้สังเกตจากบรรยากาศการเรียนรู้ในชั้นเรียน นักเรียนเกิดปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนๆ ในกลุ่มเกิดการเรียนรู้แบบช่วยเหลือในกลุ่มของตัวเอง ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อีกทั้งพบว่านักเรียนเกิดการเชื่อมโยงถ่ายโอนความรู้ นำความรู้ที่ได้รับไปบูรณาการกับวิชาอื่นๆ เช่น วิชาคณิตศาสตร์ ในเรื่องรูปทรงของว่าวชนิดต่างๆ วิชาสังคม ในเรื่องประวัติชุมชนการทำว่าวไทยหลักสี่ เป็นต้น

 


ตัวอย่างผลงานว่าวไทยเขตหลักสี่


ชุมชนการทำว่าวไทยหลักสี่
 


« Back


http://www.artsedcenter.com/%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%88.html


ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ :

รัตนาวดี, เมฆา..., sunthornvit, Thammada, สะเลเต, พี.พูนสุข, บูรพาท่าพระจันทร์, ยามพระอาทิตย์อัสดง, รพีกาญจน์, ..กุสุมา.., สุนันยา, ไม่รู้ใจ, ลมหนาว

ข้อความนี้ มี 13 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า

เกื้อกูลต่อมวลมิตร ลิขิตเพื่อสังคม
เพาะบ่มเพื่อพงไพร ก้าวไปเคียงผองชน

Email:
Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
s s s s s