Re: วิชชุมาลาฉันท์ ๘
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน
02 พฤษภาคม 2024, 05:13:AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

กด Link เพื่อร่วมกิจกรรม ผ่านFacebook (หรือกดปุ่มสมัครสมาชิกด้านบน)
 
ผู้เขียน หัวข้อ: วิชชุมมาลาฉันท์ ๘  (อ่าน 178014 ครั้ง)
♥ กานต์ฑิตา ♥
Special Class LV6
นักกลอนเอกแห่งวังหลวง

******

คะแนนกลอนของผู้นี้ 500
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 1,078



« เมื่อ: 25 มกราคม 2011, 03:16:PM »




จารึกเรื่องฉันท์วรรณพฤติ แผ่นที่ ๔ (วิชชุมมาลาฉันท์)


ปัจจุบันอยู่ที่ เสาพระระเบียงพระอุโบสถชั้นใน วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ฉันท์วรรณพฤติ เป็นตำราแต่งฉันท์ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) ทรงอาราธนากรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ตั้งแต่ครั้งยังเป็นกรมหมื่นนุชิตชิโนรสให้ทรงนิพนธ์ เมื่อ ปีขาล จุลศักราช ๑๒๐๔ (พ.ศ. ๒๓๘๕) พร้อมกับตำราฉันท์มาตราพฤติ เพื่อจารึกไว้ที่วัดพระเชตุพนฯ คัมภีร์วุตโตทัยมีการแบ่งฉันท์ออกเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ ฉันท์ประเภทบังคับพยางค์ เรียกว่า “วรรณพฤติ” และฉันท์ประเภทบังคับมาตรา เรียกว่า “มาตราพฤติ” แต่ละประเภทมีการแบ่งย่อยเป็นหลายชนิด ตามลักษณะบังคับของคณะฉันท์ สำหรับฉันท์วรรณพฤติในคัมภีร์วุตโตทัยมี ๘๑ ชนิด ตั้งแต่บาทละ ๖ พยางค์จนถึงบาทละ ๒๕ พยางค์ กวีได้มีการนำมาจัดวรรคและเพิ่มสัมผัสเป็นฉันท์ไทย

เนื้อหาโดยสังเขป    แสดงลักษณะบังคับของ “วิชชุมมาลาฉันท์” (ฉันท์ ๘) กล่าวคือ บทหนึ่งมี ๔ บาท บาทละ ๘ พยางค์ แบ่งเป็น ๒ วรรค วรรคละ ๔ พยางค์ ประกอบด้วย มะ คณะ ๒ คณะ และ ครุลอย ๒ ตัว มีการส่งสัมผัสแบบกลอนและเพิ่มสัมผัสระหว่างวรรคในบาทที่ ๑ กับบาทที่ ๓ สำหรับตัวอย่างฉันท์มีเนื้อหาว่าด้วย “โทษเสพสุรา ๖ ประการ” สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓)


ภาพประกอบ    ภาพถ่ายจารึกจาก : โครงการพัฒนาฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), สำรวจเมื่อ ๒๑ - ๒๒ กรกฏาคม ๒๕๕๐

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ :

คอนพูธน, ...สียะตรา.., ดาวระดา, สะเลเต, รพีกาญจน์, สมนึก นพ, บ้านริมโขง, พี.พูนสุข, พิมพ์วาส, ♥หทัยกาญจน์♥, เมฆา..., อริญชย์

ข้อความนี้ มี 12 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า

Email:
Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
s s s s s