Re: แต่งใครแต่งมัน ห้ามสัมผัสกัน ห้ามแต่งเรื่องเดียวกัน (คนละบท)
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน
16 พฤษภาคม 2024, 06:24:AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

กด Link เพื่อร่วมกิจกรรม ผ่านFacebook (หรือกดปุ่มสมัครสมาชิกด้านบน)
 
ผู้เขียน หัวข้อ: แต่งใครแต่งมัน ห้ามสัมผัสกัน ห้ามแต่งเรื่องเดียวกัน (คนละบท)  (อ่าน 30462 ครั้ง)
อริญชย์
Special Class LV6
นักกลอนเอกแห่งวังหลวง

******

คะแนนกลอนของผู้นี้ 1154
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,568


ให้สุขแก่ท่าน สุขนั้นถึงตัว


« เมื่อ: 16 เมษายน 2012, 09:39:AM »




เพราะดินมีความเค็มอยู่เต็มเปี่ยม
จึงใช้เสียมขุดดินป่านำมาต้ม
จนได้เกลือเค็มชั้นดีคนนิยม
ต่างชื่นชมทั่วทุกถิ่นเกลือสินเธาว์!ฯ

                          อริญชย์
                     ๑๕/๔/๒๕๕๕



ปล.ประโยชน์ของการแต่งใครแต่งมัน(เฉพาะในกระทู้นี้นะ) คือ ทุกท่านจะได้เห็นจะได้รู้ในบางสิ่งบางอย่างอันมีคุณค่าทางวัฒนธรรมประจำถิ่นต่าง ๆ มากมาย จากแต่ละท่าน ที่แต่ละท่านอาจยังไม่เคยเห็นไม่เคยรู้มาก่อน (ถ้ารู้แล้ว อ่านเจออีกทีก็ไม่ได้เสียหายอะไร แม่นบ่)



การต้มเกลือ












วันที่ พุธ มีนาคม 2553
 
 พิมพ์หน้านี้  |  ดูบล๊อกอื่นๆ ที่ OKnation 
 

ต้มเกลือสินเธาว์จากดินเค็ม...ภูมิปัญญาชาวบ้านหนองตอ อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด



ต้มเกลือสินเธาว์จากดินเค็ม

...ภูมิปัญญาชาวบ้านหนองตอ จ.ร้อยเอ็ด
โดย...ว่าที่ร.ต.ดร.สมโชค เฉตระการ


ครูเชี่ยวชาญ (สังกัดวิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด)


อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ร้อยเอ็ด





เมื่อเช้าเดินทางไปที่บ้านหนองตอ อำเภอจตุรพัตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อไปชมภูมิปัญญาชาวบ้านที่นำดินเค็มที่อยู่บริเวณท้องนา ริมถนนหลวง เส้นทางห่างจากอำเภอจตุรพักตรพิมาน ไปทางอำเภอเกษตรวิสัย ประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นพื้นที่ของบ้านหนองตอ

คุณป้าที่มีอาชีพต้มเกลือเป็นอาชีพหลัก เริ่มสาธิตวิธีการต้มเกลือสินเธาว์ให้ชม


โดยขั้นแรกคุณป้า จะใช้จอบขูดเอาดินที่อยู่ผิวหน้าดินของท้องนา ดินดังกล่าวจะมีรสเค็ม  มากองรวมกันไว้เป็นกองโต ๆ  จากนั้นนำเอาดินที่ขูดมาเทลงในรางไม้ขนาดใหญ่ ตักเอาน้ำที่ขุดจากใต้ดิน ซึ่งก็มีความเค็มเช่นเดียวกัน มาเทลงในรางไม้  อัตราส่วนระหว่างน้ำเกลือกับดินเค็ม ที่ผสมกันนี้จากการถามคุณป้าบอกว่า ไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับผู้ทำ แต่โดยปกติจะใช้อัตราส่วน 1:1 ถัง ใช้ไม้คาดทา กวนให้เข้ากัน ทิ้งไว้ประมาณ 3-4 ชั่ว โมง เพื่อให้ดินตกตะกอนจนน้ำใส แล้วปล่อยน้ำผ่านท่อไม้ไผ่ลงไปในภาชนะรองน้ำเกลือ ส่วนดินจืดที่เหลือจากการตกตะกอน จะถูกนำมาพอกกับคันลานเกลือ เพื่อให้มีความหนาขึ้น


การต้มเกลือ จะตักน้ำเกลือที่เก็บไว้ในภาชนะ มาเทลงในรางเหล็กให้เต็ม  ใส่ฟืนและคอยดูความร้อนให้สม่ำเสมอ ระยะเวลาที่ใช้ในการต้มเกลือแต่ละครั้งประมาณ 4 ชั่วโมง น้ำเกลือจะค่อย ๆ งวดลงจนเม็ดเกลือตกผลึก จากนั้นตักเกลือใส่ในวัสดุรองที่มีไม้สองท่อนพาดรับน้ำหนัก เพื่อให้น้ำเกลือที่ยังไม่เป็นเกล็ดลอดผ่านเม็ดเกลือลงไปในรางเหล็ก และต้มต่อไป เกลือที่ได้จะนำมาตากแดดไว้ให้แห้งและนำบรรจุในถุง แต่ละถุงมีปริมาณ 2 ปี๊ป




การต้มเกลือจะทำตลอดทั้งวัน วันหนึ่งจะต้อมได้ประมาณ 4 ครั้ง  บางช่วงที่ต้องเร่งในการผลิต จะต้มตลอด 24 ชั่วโมง โดยจะแบ่งช่วงเวลาในการต้มออก เป็น 4 ช่วง ช่วงละประมาณ 4-5 ชั่วโมง  มีการผลัดเปลี่ยนคนมาเฝ้าเตาต้มเกลือ หลังจากนั้นจะมีพ่อค้ามารับซื้อ เกลือที่บรรจุใส่ถุงไว้รอการขาย ราคาหนึ่งถุงที่บรรจุ 2 ปี๊ป ราคา 200 บาท (ปี๊ปละ 100 บาท)
จากการถามคุณป้าว่าทำอาชีพนี้มานานเพียงใด คุณป้าตอบว่าได้ผลิตเกลือมานานตั้งแต่รับมรดกตกทอดอาชีพมาจากพ่อแม่  ส่วนการถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาดังกล่าว ยังเป็นปัญหาเพราะลูกชายจำนวน 2 คน ไม่สามารถที่จะดำเนินการต่อไปเพราะ ต้องเดินทางไปทำงานที่กรุงเทพมหานคร ฯ   ส่วนการศึกษาดูงานจะมีคณะอาจารย์ จากโรงเรียนหลายโรงเรียนในเขตพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดและข้างเคียงพานักเรียนมาศึกษาดูงาน


การต้มเกลือลักษณะนี้ จะพบในบางพื้นที่ ที่มีดินเค็ม เช่นที่อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม บ้านหนองตอ อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด บ้านบ่อเกลือ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด และจากการศึกษายังพบว่า มีการต้มเกลือลักษณะดังกล่าวในพื้นที่ ในเขตลุ่มแม่น้ำสงครามตอนล่าง เช่น ที่บ้านเสียว บ้านบะ บ้านท่าเรือ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม ซึ่งมีพื้นที่ติดต่อกับอำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร

 
เกลือที่ใช้ในการปรุงรสอาหาร และประโยชน์ในการหมักปลาแดก (ปลาร้า) ซึ่งชาว บ้านจะผลิตเกลือไว้ใช้เมื่อฤดูน้ำลดใน ช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม อันเป็นระยะเดียวกับการ ออกจับปลาตามลำน้ำ ลำห้วยใกล้หมู่บ้าน และลำน้ำสำคัญคือ ลำน้ำชี ลำน้ำมูล ลำน้ำสงคราม

ชาวบ้านที่ผลิตเกลืออย่างเดียว และนำขายอย่างเป็นล่ำเป็นสัน พ่อค้าจะมารับซื้อถึงแหล่งผลิตเพื่อนำไปจำหน่าย
เกลือ เป็นอาหารแร่ธาตุที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย นอกจากนั้นยังใช้ประโยชน์ในงานอุตสาหกรรมโรงงานเช่น โรงงานทำกระจก โรงงานฟอกหนัง เป็นต้น
 
เกลือที่ใช้อยู่โดยทั่วไปมี 2 ชนิด คือ เกลือสมุทร ที่ได้จากน้ำทะเลโดยวิธีการ นำน้ำทะเลมากักเก็บไว้ให้ระเหยจนเหลือ แต่เม็ดเกลือและเกลือสินเธาว์ที่ได้จากดินเกลือที่อยู่ผิวดิน นอกจากนั้นยังมีน้ำชั้นใต้ดิน ส่วนใหญ่จะพบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


อุปกรณ์ที่ใช้ในการต้มเกลือ

- จอบสำหรับขูดดินเค็มที่ผิวดิน  ไม้คาดหรือไม้กวาดเกลือ   ปุ้งกี๋ ไม้พาดรางเหล็ก
- รางไม้ขนาดใหญ่ เพื่อสกัดเอาน้ำเกลือจากดินเค็ม  ท่อคอนกรีตภาชนะรับน้ำเค็ม
- กะบะรางเหล็กใช้เป็นภาชนะต้มเกลือ
- ปี๊ปใช้ตวงปริมาณเม็ดเกลือใส่ถุง
 
 


ขอบคุณข้อมูลจากเวบ
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=574868


 อายจัง สาวน้อยเซย์ ฮาโหล อายจัง

<a href="http://www.youtube.com/v/j5mvDrABcvs&amp;rel=0&amp;fs=1" target="_blank">http://www.youtube.com/v/j5mvDrABcvs&amp;rel=0&amp;fs=1</a>

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ :

Prapacarn ❀, บูรพาท่าพระจันทร์, พี.พูนสุข, รพีกาญจน์, เนิน จำราย, sunthornvit, Khondoendin, สมนึก นพ

ข้อความนี้ มี 8 สมาชิก มาชื่นชม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 เมษายน 2012, 10:00:AM โดย อริญชย์ » บันทึกการเข้า

เกื้อกูลต่อมวลมิตร ลิขิตเพื่อสังคม
เพาะบ่มเพื่อพงไพร ก้าวไปเคียงผองชน

Email:
Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
s s s s s