Re: เขาว่ากวีตายแล้ว
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน
05 พฤษภาคม 2024, 06:37:PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

กด Link เพื่อร่วมกิจกรรม ผ่านFacebook (หรือกดปุ่มสมัครสมาชิกด้านบน)
 
ผู้เขียน หัวข้อ: เขาว่ากวีตายแล้ว  (อ่าน 64378 ครั้ง)
choy
Special Class LV3.9
นักกลอนรอบรู้กวี

***

คะแนนกลอนของผู้นี้ 145
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 314



« เมื่อ: 03 กรกฎาคม 2013, 06:24:PM »

         

        ๐สายเลือดเริ่มเหือดหาย    หลังจูงควายเข้าโรงเชือด
จำนำมันทำเดือด    มากด้วยเรือดแหละแร้งกา

        ๐จ้างดำซ้ำจ้างไถ   เหลืออะไรถึงตัวข้า
หน้าฝนฝนไม่มา    ชลประทานประทานแดด

        ๐ใส่ปุ๋ยขุดคุ้ยดิน    เงินก็สิ้นหลายสีแสด
หน้าด้านเหมือนหนังแรด     ดูกสันหลังคดโค้งงอ

        ๐ชาติช่วยต้องช่วยชาติ    ถึงคอขาดยากร้องขอ
คนดีที่หัวร่อ     เขาคือใครช่วยไขที

                          เนิน จำนำ



(อ้างถึง)

ชาวนารุ่นปู่ย่า

ชนสามัญเผ่าเชื้อ            ชาวนา
สืบเนื่องภูมิปัญญา            ปลูกข้าว
ลำบากเทวษหนักสา         หัสทุกข์ ยิ่งพ่อ
บ่สบสุขเรื้อเศร้า            อาบเคล้าชลนัยน์ฯ

แต่ปู่ทวดย่าครั้ง            นานนม
หลังตากแดดไถงห่ม            ค่ำเช้า
ควายทุยลากไถจม            พื้นทุ่ง
แปรเปลือกดินผาลห้าว         พลิกพร้อมตกกล้าฯ

ครั้นเติบกล้าใหญ่ต้น         เหมาะดำ
ก้มกอบมือถอนกำ            มัดกล้า
กล้ามัดหาบคอนย่ำ            ลัดลิ่ว
ดุ่มสู่นาห้องล้า            ฝืดพื้นหนืดตมฯ

ดำกล้าข้าวหมดถ้วน         แปลงนา
อนาถพึ่งโชคชะตา            เซ่นไหว้
บวงสรวงวิรุณฟ้า            เหล้าไก่ พลีนา
ให้ดื่นฝนแล้งไร้            ฉ่ำเลี้ยงข้าวงามฯ

ลมข้าวเบาช่วงต้น            หนาวระบัด
ข้าวปริช่อกำดัด            แรกท้อง
น้ำนาเคร่งแจงจัด            ทิ้งถ่าย บ้างเฮย
ผิพร่องน้ำบ่คล้อง            ท่วมแห้งแสลงผลฯ

ออกพรรษาเกี่ยวฟ้อน         ข้าวเบา
ข้าวหนักรอก่อนราว            ยี่น้อย*
อาจหลังก่อนนานยาว         ข้าวต่าง ชนิดนา
ช้าสุดอาจเนิ่นคล้อย            ยี่สิ้นจันทร์ดับฯ**

ยามเสร็จถ้วนเกี่ยวแล้ว         ข้าวรวง
เถ้าแก่โรงสีตวง            หักหนี้
ปุ๋ยยาค่าอื่นพ่วง            ใช้จ่าย
ท้ายสุดขายป่นปี้            หมดข้าวสิ้นลานฯ


***ชาวนาไทยไม่ว่าสมัยไหนก็ประสบชะตากรรมเช่นนี้ทั้งสิ้น

*เดือนยี่ ตามปฏิทินทางจันทรคติของไทยก็ตกประมาณเดือนธันวาคม-มกราคม ยี่น้อย แถวฉะเชิงเทราบ้านผมหมายถึงต้นธันวาคม เทียบเคียง วันพระน้อย คือวันก่อนวันพระ (ใหญ่) หนึ่งวัน ที่หลายแห่งเรียกวันโกน

**วันจันทร์ดับ อาจเป็นวันแรม 14-15 ค่ำ หรือขึ้น 1 ค่ำก็ได้ (มีโอกาส ราว 50%) การดูจันทร์เพ็ญอย่างง่ายในเขตร้อน เช่นประเทศไทย ให้ดูเวลาที่ดวงอาทิตย์ตกดังนี้
(1). ถ้าคืนนั้นดวงจันทร์ยังไม่ดับ จะไม่เห็นดวงจันทร์เลย เพราะดวงจันทร์ตกขอบฟ้าไปก่อนดวงอาทิตย์ เช่น วันแรม 13-14-15 ค่ำ
(2). ถ้าคืนนั้นเป็นคืนจันทร์ดับพอดี อาจไม่เห็นดวงจันทร์ก็ได้ เพราะดวงจันทร์จะตกไล่เลี่ยกับดวงอาทิตย์ คือตกก่อนหรือหลังดวงอาทิตย์ไม่เกิน ครึ่งชั่วโมง เช่น แรม 14-15 ค่ำ  ขึ้น 1 ค่ำ
(3). ถ้าคืนนั้นเป็นคืนอมาวสี (จันทร์ดับ) คือ คืนถัดจากคืนจันทร์ดับ จะเห็นดวงจันทร์เป็นเสี้ยวบางๆ หงายท้อง และตกตามหลังดวงอาทิตย์ไป ราว 1/2 ชั่วโมง เช่น ขึ้น 2 ค่ำ (อาจเป็นขึ้น 1 ค่ำก็ได้ ในบางเดือน)
ในที่นี้หมายถึงสิ้นเดือนยี่และขึ้น 1 ค่ำ (อาจประมาณมกราคม)


สนอง เสาทอง
3 กรกฎาคม 56


ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ :

บูรพาท่าพระจันทร์, panthong.kh, ไพร พนาวัลย์, รพีกาญจน์, ชลนา ทิชากร, Shumbala

ข้อความนี้ มี 6 สมาชิก มาชื่นชม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 กรกฎาคม 2013, 01:11:AM โดย choy » บันทึกการเข้า

Email:
Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
s s s s s