Re: แฟน(กวี)พันธุ์แท้(เชิญร่วมทายสนุกเล่น ๆ)
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน
17 พฤษภาคม 2024, 08:59:PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

กด Link เพื่อร่วมกิจกรรม ผ่านFacebook (หรือกดปุ่มสมัครสมาชิกด้านบน)
 
ผู้เขียน หัวข้อ: แฟน(กวี)พันธุ์แท้(เชิญร่วมทายสนุกเล่น ๆ)  (อ่าน 13881 ครั้ง)
ช่วงนี้ไม่ว่าง
Special Class LV5
นักกลอนแห่งเมืองหลวง

*****

คะแนนกลอนของผู้นี้ 358
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 792



« เมื่อ: 22 มีนาคม 2012, 06:55:PM »

จากโคลงโลกนิติ

๏เจ็ดวันเว้นดีดซ้อม ..........ดนตรี
อักขระห้าวันหนี .................เนิ่นช้า
สามวันจากนารี ..................เป็นอื่น
วันหนึ่งเว้นล้างหน้า ............อับเศร้าศรีหมอง


..ครั้นเมื่อร. ๓ ทรงปฏิสังขรณ์วัดโพธิ์ เมื่อพ.ศ. ๒๓๗๔ มีราชประสงค์จะให้จารึกโคลงโลกนิติลงในแผ่นศิลา ติดไว้เป็นธรรมทาน
จึงโปรดให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร รวบรวมโคลงโลกนิติของเก่า มาชำระแก้ไขใหม่ให้ประณีตและไพเราะขึ้น

ตามสำนวนเก่า แต่งโคลงบทนี้ไว้ว่า

๏เจ็ดวันนิราศร้าง..............คนตรี
ห้าวันอักษรหนี...................เงื่องช้า
สามวันจากสตรี...................จิตเตร่
วันหนึ่งเว้นล้างหน้า.............อับเศร้าเสียศรี


ถอดความได้ว่า ความประพฤติใด หรือกิจกรรมใดทีเราเคยทำอยู่ พอไม่ได้ทำไปนานนาน ย่อมเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ด้อยลง
(เจ็ดวันไม่ซ้อมดนตรี จะเล่นไม่เก่ง ห้าวันไม่อ่านหนังสือ จะหลงลืม สามวันอยู่ห่างจากคนรัก คนรักจะนอกใจ วันหนึ่งไม่ล้างหน้า หน้าจะเศร้าหมอง)
ปล. คุณอริญชย์ ชอบโคลงบทนี้เหมือนกันคะ กระทู้นี้สนุกดี อิอิ

ขออนุญาตครับ เพราะเห็นแล้วคันปาก
อันที่จริงโคลงบทนนี้ผมเคยเห็นในหนังสือรวมโคลงโลกนิติครับ  และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร  นั้นผมนับถือในฐานะอาจารย์ทางโคลงสี่สุภาพครับ
เนื่องจากเคยอาศัยศึกษาการแต่งโคลงสี โดยอาศัย โคลงของท่าน  แต่วันนี้ขออนุญาตวิจารณ์ อาจารย์สักวัน
         ตามบทโคลงทั้งสองนั้นเมื่อนำมาเปรียบเทียบกันแล้วเราจะเห็นความเเหลื่อมล้ำต่ำสูงได้ชัดว่าของเดิมนั้นท่านใช้คำได้ครอบคลุมมากกว่า
อย่างบาทแรกนั้น  เครื่องดนตรีไม่จำเป็นต้องเครื่องสายที่ใช้ดีดเสมอไปครับ อาจเป็นชนิดอื่นเช่นเครื่องตี อย่างกลองหรือระนาด หรือขลุ่ยที่ใช้เป่า ฉะนั้นบาทแรกก็ยกให้ของเก่าท่านไป
บาทที่สองที่ว่า ห้าวันอักษรหนี  เงื่องช้า  คำว่าว่า เงื่องช้า คงจะเป็น เงื้องมือเพื่อจะเขียน แต่คงเขียนได้ช้า  ส่วนคำว่า เนิ่นช้า  เนิ่นกับช้า  ความหมายคล้ายกัน
ดังนั้น บาทีที่สองต้องยกให้ ของเก่าอีก
บาทที่สามว่า  สามวันจากสตรี  จิตเตร่  ส่วนสมเด็จท่านว่า  สามวันจากนารี เป็นอื่น  จะเห็นว่าของเก่าครอบคลุมความหมายกว้างกว่า
จริงอยู่ การจากกันไปนานๆ  อาจทำให้จิตใจคนเกิดวอกแวกไปบ้าง  แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะเปลี่ยนใจกลายเป็นอื่น  บางคนจากกันเป็นหลายๆปีก็ยังมั่นคง  ฉะนั้นต้องยกให้ของเก่าถูกต้องกว่า
ส่วนบาทสุดท้ายนั้นเห็นว่าเสมอกัน  สรูปแล้ว ในแง่ครอบคลุมเนื้อความได้ใกล้เคียงความจริงที่สุดต้องยกให้ของเก่าครับ
แต่ในแง่ความไพเราะ การเน้นเนื้อความให้เด่นชัด ยกให้สมเด็จ  แต่ยังไงก็เคารพทั้งคู่นะครับ  ที่วิจารณ์นี่ไม่ได้มีเจตนาลบหลู่ดูหมิ่น แต่ต้องการให้เป็นประโยชน์
ในการพิจารณาบทประพันธ์น่ะครับ  รู้ว่า เขียนแบบนี้อาจจะถูกหลายท่านตำหนิได้   แต่จะทำไงได้ล่ะครับ  ก็คนมันเห็นแล้วคันปาก


ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ :

อริญชย์, สมนึก นพ, ...สียะตรา.., Prapacarn ❀, ยามพระอาทิตย์อัสดง, พี.พูนสุข, ♥หทัยกาญจน์♥, รพีกาญจน์, รัตนาวดี, เมฆา..., ดุลย์ ละมุน, Thammada

ข้อความนี้ มี 12 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า

Email:
Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
s s s s s