ที่แล้วไปไม่นับ กลับมาเริ่มใหม่
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน
31 พฤษภาคม 2023, 05:07:PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

กด Link เพื่อร่วมกิจกรรม ผ่านFacebook (หรือกดปุ่มสมัครสมาชิกด้านบน)
 
หน้า: 1 ... 5 6 7 8 [9]
  ชุมชน  |  ส่งหัวข้อนี้  |  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ที่แล้วไปไม่นับ กลับมาเริ่มใหม่  (อ่าน 42784 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
09 มีนาคม 2023, 06:21:PM
@free
Special Class LV2
นักกลอนผู้ก้าวสู่โลกอักษร

**

คะแนนกลอนของผู้นี้ 99
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 570



« ตอบ #160 เมื่อ: 09 มีนาคม 2023, 06:21:PM »
ชุมชนชุมชน

     

     
                      บาทสกุณี
           


                  กลบทผสม


สุมซอนรัอนเร่าเพลิงเริงเพลง
เร้าเร่งรุมแรงแสงแข่งเสียง
ค่อยควรคุมควบเยี่ยงพอเพียง
สร้อยเสี่ยงเศร้าแสนเผลอเหม่อเพลิน




เลือนอย่าลาพงศ์ผู้     เพื่อนพ้อ(ออ(เจ้า)เอง)


เพลงเริงเพลิงเร่าร้อน     ซอนสุม
เสียงแข่งแสงแรงรุม     เร่งเร้า
เพียงพอเยี่ยงควบคุม     ควรค่อย (พลอยเฮย)
เพลินเหม่อเผลอแสนเศร้า     เสี่ยงสร้อย(พลอยหวล)

มายาปนล้นลามในความจริง     โลกสองสิ่งตรงข้ามในความผวน
มายาปัดสัตว์เขวคนเรรวน     โลกสองส่วนมิเห็น ฤ เป็นคน

ไม่มีจ(ริ)ตพิศหางก็ว่างหัว     
ไม่มีตัวเพียงชื่อคือเหตุผล
ไม่มีจริงสิ่งหมายว่ากายคน
ไม่มีตนคืนกลับลับอย่าคอย

กุหลาบขาวราวพุทธพิสุทธ์ธรรม
กุหลาบดำคงใคร่ค่าใช้สอย
กุหลาบเขาเจ้าคู่ภูสูงลอย
กุหลาบดอยจึงหนาวทนร้าวใจ






ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : ระนาดเอก, โซ...เซอะเซอ

ข้อความนี้ มี 2 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
13 มีนาคม 2023, 07:26:PM
@free
Special Class LV2
นักกลอนผู้ก้าวสู่โลกอักษร

**

คะแนนกลอนของผู้นี้ 99
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 570



« ตอบ #161 เมื่อ: 13 มีนาคม 2023, 07:26:PM »
ชุมชนชุมชน

       
                     
    เพลงขอมสุวรรณ เถา

(สามชั้น)
ขอเดชะ ฝ่าละออง ธุลีพระบาท
บงกชมาศ ปกเกล้า เกษมสานต์
ข้าพระบาท ขอกราบ ทูลการณ์
ผิดพลั้ง ขอประทาน ซึ่งอภัย

ได้ยิน ข่าวฤา ระบือมา
ว่าพระร่วง พ่อเมือง ผู้ใหญ่
ผู้ครอบครอง ละโว้ นั้นไซร้
ชาวไทย นิยม บารมี

(สองชั้น)
ชาวไทย รักใคร่ พระร่วงนัก
ชวนชัก เชื่อถือ อย่างเต็มที่
จนเขาว่า วาจา ก็สิทธี
พอวจี เธอลั่น พลันสมปอง

(ชั้นเดียว)
ชาวไทย เข้าไป สู่ละโว้
มากอะโข เล่าฤา ระบือก้อง
ว่าพระร่วง มีบุญ เรืองรอง
และคิดปอง จะกู้ คณาไทย"


           

           
           

  เกือบดีละ เผลอพลาดจุดสำคัญจุดนึง
   ครั้งนี้ฝีกมากฝีกนานฝึกยากจริง


หลายแลแน่น้องครองปองใคร
เฝ้าใฝ่ฟายเฟือหวังดั่งไหว
คลี่แคลงคลายคลุมจ่างวางใจ
ชี้ใช่เช้าชนคืนชื่นเคียง
/

กุหลาบดอยจึงหนาวทนร้าวใจ

ใครปองครองน้องแน่     แลหลาย
ไหวดั่งหวังเฟือฟาย     ใฝ่เฝ้า
ใจวางจ่างคลุมคลาย     แคลงคลี่ ดีแล
เคียงชื่นคืนชนเช้า     ใช่ชี้ดีหลาย

ใจมีเจ็บเหน็บหนาวนะสาวหนุ่ม     หากแคลงคลุมระแวงจักแหนงหน่าย
ใจมีจริงมิ่งมิตรคิดเคียงกาย         หากแคลงคลายพึงรักสมัครกัน

หวังจะเลือกเกลือกกล้ำทำไฉน     คืดจงไกลลึกตื้นฝืนหรือฝัน
หวังจะเลิกเบิกบ่ามตามกระนั้น     คืดจงกลั้นใหม่เก่าไหนเข้าตา

รักเผื่อลองน้องพี่มึคน ครึ่ง        หลังครั้งหนี่งแน่สองต้องตามหา
รักเพื่อเล่นเน้นหนักรักแล้วลา    หลังครั้งหน้าเรื่อยนานส้นดานแล













   






 



ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : ระนาดเอก

ข้อความนี้ มี 1 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
22 มีนาคม 2023, 07:21:PM
@free
Special Class LV2
นักกลอนผู้ก้าวสู่โลกอักษร

**

คะแนนกลอนของผู้นี้ 99
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 570



« ตอบ #162 เมื่อ: 22 มีนาคม 2023, 07:21:PM »
ชุมชนชุมชน

       

             
           อะไรของล้านนา ผมค่อนเว้น
นาฏศิลป์ คีตศิลป์ จะว่าไม่สวย ไม่เพราะก็ไม่จริง ล้านนานะ คือ ถิ่นไทยงาม ใครก็ยอมรับ
ครั้งนี้ เป็นการ เทิดพระเกียรติ พระราชชายาเจ้าดาราร้ศมี

                    ม่านแม่เล้

                   

                   


        ม่าน=ชาวพม่า   
        แม่เล้=คำเรียกตัวเองของหญิงสาวชาวพม่า


        กลบทสร้อยสลับคู่สะคราญ

จบกลอนเจ็ดสัมผัสถอยหลังเข้าโคลงสึ่สุภาพสุนทรภู่   แหะ ทุกคนคง เฮ้อ โล่งใจ จะได้เลิก(...เครียดกะมึ.จิ๊ง…) ซะที สรุป ได้เคล็ดการแต่งให้ได้ตามฉันทลักษณ์ เพียงสำนวนความ ยัง ไม่สละสลวยสมบูรณ์

กลบท สำหรับผม เป็นสิ่ง ที่น่าชื่นชม เพียงแต่ไม่ใช่ว่า ผมจะชื่นชอบทั้งหมด ส่วนมาก คำประพันธ์ ที่มากข้อบังครับ ฉันท์ลักษณ์ยาก สลับซับซ้อน ก็ยากที่จะแต่งได้ ความ สมบูรณ์ อย่างเช่นคำกล่าว กลอนพาไป
 จึงขอ ชื่นชมอัจฉริยภาพทางฉันทลักษณ์กวี
แต่ที่ทั้งชื่นชม ชื่นชอบตลอดกาลก็มี หนึ่งก็คือ 1,สร้อยสลับคู่สะคราญ ผมค้นไม่เจอว่าใครคือผู้ประพันธ์ต้นแบบ ซี่งน่าจะปรับแปลงจาก 2,สร้อยคู่สะคราญ ของ
                         (คุณชาญชนะ ฆังคะโชติ) ผู้ประพันธ์ต้นแบบ

                         เมื่อกายแกร่งแข็งจิต ใฝ่คิดฝาก
                         ผลงานจากชีวิต ใฝ่คิดฝัน
                         เรียบเรียงถ้อยร้อยพจน์ บทรำพัน
                         ร่วมสร้างสรรค์ภาพพจน์ บทรำพึง

                         ด้วย สร้อยคู่สะคราญ ผลงานนี้
                         ฝากไว้ที่วงการ ผลงานหนึ่ง
                         มิอาจหวังจะให้ ใครติดตรึง
                         ขอเพียงครึ่งหัวใจ ใครติดตาม

                         ปีสองสี่คิดได้ ไม่คิดหวง
                         ใครตักตวงเล่นได้ ไม่คิดห้าม
                         สร้อยคู่สะคราญเห็น เป็นนิยาม
                         อย่ามองข้ามความเห็น เป็นนิยาย

                         ขอปลอบขวัญคนที่ มีความหมอง
                         ยินร้อยกรองกลนี้ มีความหมาย
                         คนรักเคยเคียงคู่ อาจดูดาย
                         เล่นลวดลายให้รู้ อาจดูดี

                         นักเลงกลอนร้อนใจ ไม่หลบหน้า
                         ร่วมศรัทธาคว้าไว้ ไม่หลบหนี
                         เล่นกลกลอนสนุก ทุกท่าที
                         เสริมศักดิ์ศรีมีสุข ทุกท่าทาง

                         นำเน้นมาอย่าเห็น เป็นตัวยุ่ง
                         เพียรมั่นมุ่งให้เห็น เป็นตัวอย่าง
                         งาม สร้อยคู่สะคราญ สวย ด้วยสื่อกลาง
                         เชิญชวนสร้างสรรค์ชื่อ ด้วยสื่อกลอน

                        .....-๐ ชาญชนะ ฆังคะโชติ ๐-.....
                           จาก หนังสือ ลีลา อารมณ์

(เครดิต และ ขอบคุณ )

              ผิดพลาดประการใดขออภัยไว้ ณ ที่นี้ครับผม
               ...-๐  Black Sword (หมู มยุรธุชบูรพา)
….แห่งเว็บ บ้านกลอนน้อย
       …………..


กลบทประสม

คนคำย้ำเยี่ยงพลาดบาดแผล
แย้งแหย่ยลยินเอือมเสื่อมเสีย
พล่อยเพียงพลพรรคแค่แฉเชียร์
ละห้อยละเหี่ยแห้งระแหงหัวทั่วธาร

                     

     หลังครั้งหน้าเรื่อยนานส้นดานแล


แผลบาดพลาดเยี่ยงย้ำ     คำคน
เสียเสื่อมเอือมยินยล         แหย่แย้ง
เชียร์แฉแค่พรรคพล         เพียงพล่อย ถอยรา
ธารทั่วหัวระแหแห้ง       ละเหี่ยละห้อยถอยหรือ

รักเธอมากจากใจเยื่อใยจิต     เพราะรักคิดปกป้องย่องเทิดถือ
รักเธอหมายจ่ายจองทองทุ่มซื้อ   พราะรักคือตรงตรองไม่หมองตรม

แน่ะไม้นั่นผันผกนกนี่หว่า     คำมีค่าเทียบทองกองทับถม
แน่ะไม้นกผกผินลิ้นคารม     คำมีคมสะบั้นบาดขาดเยื่อใย

มอบด้วยรักพรักพลีไม่หนีหน่าบ   จักมิหายพร้อมพร่ำคำเฝ้าใฝ่
มอยด้วยรับจับแจกแลกจากใจ     จักมิให้หน้าน้องนองน้ำตา

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : ระนาดเอก

ข้อความนี้ มี 1 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
28 มีนาคม 2023, 07:38:PM
@free
Special Class LV2
นักกลอนผู้ก้าวสู่โลกอักษร

**

คะแนนกลอนของผู้นี้ 99
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 570



« ตอบ #163 เมื่อ: 28 มีนาคม 2023, 07:38:PM »
ชุมชนชุมชน

     

     

      โคลงสี่สุภาพ

ผม ระดับ นักกลอนสมัครเล่นเคยบอกว่า เพิ่งรู้ว่า โคลงต่างๆมีจำนวนมาก จนท้อว่าถ้าจะฝึกทั้งหมดคงต้องใช้เวลาทั้งชีวิต
วันนี้ ได้ข้อสรุปว่า ถ้าฝึกโคลงสี่สุภาพได้ โคลงที่เหลือทั้งหมดก็คือ ประวัติศาตร์เพื่อศีกษา ของกวีระดับครู  ระดับผมแต่งได้ แต่งไม่ได้  ได้แต่ง ไม่ได้แต่ง ก็ ไม่จำเป็นแล้ว เพราะ โคลงสี่สุภาพ คือหลอม เจียรไน โคลงอื่นทั้งหมดขึ้นมาใหม่ได้ สุดยอด สง่างาม สูงศักดิ์ ล้ำลึก ไพเราะ สุดยอดแล้ว ผมเองยกว่าเป็นราชา คำประพันธ์ร้อยกรองไทย เบียดแซง ฉันท์ เป็นราชินี แล้ว
   ผมชื่นชอบโคลงสุนทรภู่ แต่ ถ้าจะชื่นชม ก็ต้องโคลงสี่สุภาพคลาสสิคมาตรฐาน เป็นที่สุด
    เพิ่งมารับรู้ความสุดยอดนี้ ไม่กี่ วัน มานี่เอง พร้อมรู้สึกตัวเอง ระดับ ยัง ต่ำชั้นมากสำหรับโคลง ห่าง มาก

   กลบทสร้อยสลับคู่สะคราญ
   กลอนหวานที่ผมแต่งไม่ได้ แต่งได้แค่เพียงสนุกๆ

ผมพบเห็น สร้อยสลับคู่สะคราญ ก่อนที่จะพย   กลบทสร้อยคู่สะคราญ ของ
                         (คุณชาญชนะ ฆังคะโชติ) ผู้ประพันธ์ต้นแบบ
     เห็นแล้วคิดเอาเอง ว่า นักกลอน หลานท่านต่าง แปลง สร้อยคู่สะคราญ ไปหลายแบบ หลายฉันทลักษณ์ ต่างไปกัน แล้วตั้งชื่อใหม่ ไม่พบว่าใครเป็นคนต้นแบบ
    แต่พบว่า ครูพี พูนสุข จากบ้านกลอนเรา แต่งได้ไหเราะ หวานมาก


     
     ชมแขคิดใช่หน้า                นวลนาง
     เดือนตำหนิวงกลาง            ต่ายแต้ม
     พิมพ์พักตร์แม่เพ็ญปราง     จักเปรียบ ใดเลย
     ขำกว่าแขไขแย้ม               ยิ่งยิ้มอัปสร

       
    โคลงนิราศนรินทร์
ประวัตินายนรินทร์ธิเบศร์ (อิน)
นิราศนรินทร์
สรุปเส้นทางเดินของนายนรินทร์ (อิน)
อธิบายศัพท์
ประวัตินายนรินทร์ธิเบศร์ (อิน)
นิราศนรินทร์ เป็นวรรณคดีที่มีชื่อเสียงเรื่องหนึ่ง ของกรุงรัตนโกสินทร์ ด้วยมีความไพเราะเป็นเยี่ยม ผู้แต่งไม่บอกไว้ชัดเจน นอกจากปรากฏอยู่ในโคลงบาทสุดท้ายของเรื่องว่า “โคลงเรื่องนิราศนี้ นรินทร์อิน รองบาทบวรหวังถวิล ว่าไว้”


     


จักมิให้หน้าน้องนองน้ำตา



นารีดีเด่นด้วย          สวยสม
รสกลิ่นระรินรมย์     อร่อยลิ้ม
รูปบางร่างขำคม     ขอคู่ ดููรา
นางน่านักลักยิ้ม     ย้่วเย้ยเชยชิม


ขอพี่หยิบยื่นนาอย่ากระซิก     เพียงน้องหยิกเจ็บง้ำจำจะหงิม
ขอพี่หยอกบอกรักพร้อมพักตรพริ้ม     เพียงน้องยิ้มแน่ะนับรับสัญญา

อย่าลักยิ้มพิมพ์หน้าตาจะปิด      เพราะชีวิตสูญขวัญที่ฝันหา
อย่าลักย้ายถ่ายแย้มแก้มแก้วตา   เพราะชีวามือาจขาดแก้มเธอ

ไม่ลืมวันจันทราคราคืนค่ำ    เมื่อแรกจำแรกนัดบัตรคิวเสนอ
ไม่ลืมวารผ่านไวไม่เยิ่นเย้อ   เมื่อแรกเจอครั้งแรกแทรกบัตรคิว

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : ระนาดเอก

ข้อความนี้ มี 1 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
11 เมษายน 2023, 02:06:PM
@free
Special Class LV2
นักกลอนผู้ก้าวสู่โลกอักษร

**

คะแนนกลอนของผู้นี้ 99
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 570



« ตอบ #164 เมื่อ: 11 เมษายน 2023, 02:06:PM »
ชุมชนชุมชน

     

              ดำเนินพราห์ม
         


พรรณ พันธุ์

          พรรณ หมายความว่า ชนิด ใช้กับคำว่าพืช เป็น พืชพรรณ เพราะไม่ปรากฏเป็นวงศ์ญาติ เช่น พรรณข้าว พรรณปลา

           พันธุ์ หมายความว่า เผ่าพงศ์ ใช้กับคำว่า เผ่า เป็นเผ่าพันธุ์ กับคำว่า พงศ์ เป็นพงศ์พันธุ์
         พรรณ” คือ วรรณ หมายถึง ผิว สี รูป เพศ เช่น ผิวพรรณ สีสันวรรณ รูปพรรณ

เรไร    ผมแปลเองว่า    ชื่อ (พรรณ)จักจั่น(วรรณ) สีน้ำตาลหลายชนิดใน(พันธ์)สกุล Pomponia, Tosena, Cryptotympana และ Platylomia วงศ์ Cicadidae
ตัวผู้มีอวัยวะสำหรับทำเสียงให้เกิดเสียงสูงต่ำมีกังวานสลับกันไปเป็นจังหวะ



“นมามิ” รูปคำกริยาสามัญ เป็น “นมติ” (นะ-มะ-ติ)

อภิปรายขยายความ :

ประมวลความหมายตามรากศัพท์ในบาลีแล้วจะเห็นได้ว่า อภิวาเทมิ – นมสฺสามิ – นมามิ ไม่ได้มีความแตกต่างกันในสาระสำคัญ แต่ในคำแปลภาษาไทย รสภาษาอาจชวนให้เกิดจินตนาการที่ต่างกัน





  เมื่อแรกเจอครั้งแรกแทรกบัตรคิว
…….


       ทิวแนวแถวป่าป้อง     ผองพรรณ
แดนถิ่นดืนพงพันธ์     พรั่งพร้อม   
ศิลทอส่อแวววรรณ     วัฒน์ว่า พลาแล
นะโมว่านะมานอบน้อม     หนึ่งนั้นธรรมา

ใครหนอคนวนเวียนเพียรจะพบ     ลับเมื่อหลบเยือกเย็นเห็นเมื่อหา
ใครหนอคอยสร้อยเศร้าหมายเขามา   ลับเมื่อลาร่างเร้นเว้นหรือวาย

ร้อยสร้อยเรียงเคียงคำเนียนสำนวน
คนใจรวนโปรดปรับห่อนลับหาย
ร้อยสร้อยรักยักย้อนเชิงกลอนชาย
คนใจร้ายเหือดแห้งเหมือนแล้งมาลย์

เสียงลมร้อนอ้อนอ้าวลืมหนาวแล้ว     สิ้นคำแว่วเรไรคู่ไขขาน
เสียงลมแล้งแสร้งสร้อยคู่คอยสะคราญ    สิ้นคำหวานสูญสร้อยเจ้ากลอยใจ



ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : ระนาดเอก, โซ...เซอะเซอ

ข้อความนี้ มี 2 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
09 พฤษภาคม 2023, 06:41:PM
@free
Special Class LV2
นักกลอนผู้ก้าวสู่โลกอักษร

**

คะแนนกลอนของผู้นี้ 99
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 570



« ตอบ #165 เมื่อ: 09 พฤษภาคม 2023, 06:41:PM »
ชุมชนชุมชน

       

     ขัตติยมานะ
        น. การถือตัวว่าเป็นกษัตริย์หรือเชื้อสายกษัตริย์.

          นาฏศิลป์ราชสำนักเป็นราชูปโภค
          อย่าว่าแต่จะเลียนแบบใคร จับมือสอนก็ใช่วาใครจะเรียนจะเป็นได้ เขมรเคยขอให้ไทยสอน



คลิป แห่งความถาคภูมิใจ ราชสำนักไทย
                อิสระไทย


       
       
 เราขัดคำวอนท่านมิได้ ไม่มีแก่ใจจะโต้เถียง
เราขอปฏิญาณไม่เอนเอียง จะตั้งจิตให้เที่ยงในทางธรรม์
เราจะบำรุงกรุงไกร ให้ทวยไทยอิสระเกษมสันต์
ขอองค์ไตรรัตน์คุณอนันต์ ทั้งเทวัญเป็นพยานวาจา


     เขมรชมดง                 
   

     

ร่วง     คำวิเศษณ์ 
=  รุ่ง, เรือง.
"พระร่วง โรจนฤทธิ์

เรืองไร
ว. มีแสงสุกสว่างเหมือนทอง ไรเรือง ก็ว่า

ล่วง
ก. ผ่านจากะจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง เช่น เดินล่วงเข้าไปในเขตหวงห้าม เวลาล่วงไปหลายปี.
(ผมหมายถึงล่วงมา มิใช่ล่วงไป)

เนียง
น. นาง (ออกเสียงตามเขมรที่เขียนว่า นาง).

รำ น.
จวนๆ, เกือบๆ, ขยับ, ลำลำ ก็ใช้.
ช้า ลีลา มัวรำ ติดรำ รำคาญ





โคลงกลอนในภาวะ สติกระเจิดกระเจืงต่อกระแสหาเสียงเลือกตั้ง  พูดเท่าไม่พูด





  สิ้นคำหวานสูญสร้อยเจ้ากลอยใจ

   
ใครปองครองทั่วทั้ง     ไทยทอง   
รัฐร่วงโรจน์เรืองรอง     ล่วงแล้ว
เหวยวาอย่าเผยอเผยอง     ยลเยี่ยง เนียงนอ
เพียรร่ำเรียนคลาดแคล้ว    ครึ่งคล้ายขมายขโมย

ไกลอย่ารอพอพรากยากจะพบ
ใกล้อย่ารบเมืองไหม้ไห้จะโหย
ไกลอย่ารักชักช้าท้าขโมย
ใกล้อย่าโรยเหหอกออกทิ่มแทง

แอบรักนางข้างบ้านปานคลุ้มคลั่ง
ไม่ระวังพื้นเพคนเสรแสร้ง
แอบรักเนียงเมียงมองน้องแสดง
ไม่ระแวงจีบเธอเจอจีบรำ

ชอบเสมอเซ่อซ่ารำน่ารัก     ไม่รู้จักเท็จเที่ยงขอเพียงขำ
ชอบเสมือนเพื่อนพ่อยังจัอย้ำ    ไม่รู้จำวันไหว้ถึง ไม่ทัน


ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : โซ...เซอะเซอ

ข้อความนี้ มี 1 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
21 พฤษภาคม 2023, 11:08:AM
@free
Special Class LV2
นักกลอนผู้ก้าวสู่โลกอักษร

**

คะแนนกลอนของผู้นี้ 99
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 570



« ตอบ #166 เมื่อ: 21 พฤษภาคม 2023, 11:08:AM »
ชุมชนชุมชน

         
[
             
ผมเชิาใจเอาเองว่า กลบท"สร้อยสลับคู่สคราญ" คือ กวีได้ดัดแปลง ต่อยอด กลบท "สร้อยคู่สคราญ" ของ (คุณชาญชนะ ฆังคะโชติ) ผู้ประพันธ์ต้นแบบ

ถ้าจะพูดว่า ผมก็ ครึ่งหนึ่ง ได้ทำการ ครึ่งหนึ่ง ไม่ได้ทำการแัดแปลง กลบทสร้อยคู่สคราญ ด้วยเช่นกัน
ก็คือ พูดถูกทั้งสองครึ่ง



            อัปสรา อินเดีย   
           

จากตำนานดังกล่าว ชาวฮินดูเชื่อว่า เมืองจิดัมทรัม  เป็นสถานที่ที่พระอิศวรเสด็จลงมาแสดงการฟ้อนรำบนโลกมนุษย์เป็นครั้งแรก จึงคิดสร้างเทวรูปของพระองค์ ปางฟ้อนรำ เรียกว่า “นาฏราช” หรือ  “ศิวนาฏราช” และช่วยกันจำหลักท่ารำ ๑๐๘ ท่าของพระอิศวรไว้ที่เสาไม้ทางตะวันออกที่ทางเข้ามหาวิหาร ท่ารำเหล่านี้ตรงกับที่กล่าวไว้ในตำรา “นาฏยศาสตร์” ซึ่งรจนาโดยพระภรตมุนี ท่าฟ้อนรำเหล่านี้ถือเป็นแบบฉบับของนาฏศิลป์อินเดีย ซึ่งต่อมาได้แพร่หลายไปทั่วประเทศ และแพร่กระจายมาสู่ดินแดนไทย
……..
จากตำนานข้างต้น กล่าวได้ว่าไทยรับอิทธิพลรูปแบบการฟ้อนรำมาจากตำนานพระอิศวร    พิสูจน์ได้จากท่ารำแม่บทของนาฏศิลป์ไทยนั้นมี ๑๐๘ ท่า ซึ่งมีเค้ามาจากท่า “นาฏราช” ตามตำนาน     ศิวนาฏราช อีกทั้งเทวรูปที่คนในวงการนาฏศิลป์เคารพนับถือคือเทวรูปศิวนาฏราช
……เครดิต    https://www.google.com/url?sa=t&source=web&rct=j&url=https://www.gotoknow.org/posts/387211&ved=2ahUKEwjqlOyC14L_AhU48DgGHXvUB3oQFnoECBUQAQ&usg=AOvVaw3ADCeXYqXuGPvw8eNf4gx_

แต่….นักวิ สายเขมร บอกว่า
…..

“นาฏศิลป์และดนตรีของไทยได้แบบแผนจากอินเดีย” เป็นสิ่งที่ครูบาอาจารย์ทางนาฏศิลป์ไทยอ้างนิทานอินเดียเรื่องศิวนาฏราช (พระศิวะฟ้อนรำ) ใช้ครอบงำการศึกษาไทยนานมากแล้ว (ขณะนี้ยังไม่เปลี่ยนแปลง)

 

แต่เรื่องของศิวนาฏราชเริ่มมีบทบาทสำคัญในอินเดียภาคเหนือแล้วตั้งแต่ราวหลัง พ.ศ.1000 จากนั้นจึงแพร่หลายเข้าสู่ดินแดนกัมพูชาในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน (สมัยก่อนเมืองพระนคร)

ท่าฟ้อนรำศิวนาฏราชที่หน้าบันปราสาทพนมรุ้ง (จ.บุรีรัมย์) และที่ปราสาทอื่นๆ ทั้งที่อยู่ในดินแดนไทยและในดินแดนกัมพูชา เป็นท่าฟ้อนรำของท้องถิ่น (ดังที่พบในท่าฟ้อนรำของบรรดานางอัปสรทั้งที่ปราสาทนครวัดและปราสาทบายน) ล้วนแสดงลีลาแตกต่างจากท่ารำของอินเดีย
…….



          นาฏศิลป์ อินเดีย ไทย
               



    ไม่รู้จำวันไหว้ถึง ไม่ทัน

…หมองหมาย เป็นเสน่ห์ของคำโคลงคลาสสิค  ถ้าเป็นคำกลอนจะพูดว่า หมองเมื่อหมาย




วันวารการเริ่มล้วน     ควรคน
หลอกเปลี่ยนเลียนแกมกล     เกี่ยงแก้
แปลงปรับเปลี่ยนวกวน     วอนว่า ระอาเอย
วันพ่าย วายพวกแพ้     เพื่อนพ้องหมองหมาย

สุขที่ใจใคร่มักรักกำเรืบ   เจ็บต่อเติบโตตามรู้ความหมาย
สุขที่จำคำแน่ไม่แก้กลาย   เจ็บต่อตายขำขื่นคนคืนคำ

เมื่อเจ้ามาคร่าคล้อยร้อยห้าสิบ   หากขยิบถูกหักยักลงต่ำ
เมื่อเจ้ามีสีส้มอมแอบอำ   หากขยำรุนแรงแดงล่องลอย

            วันวารคลาลาเลือนเตือนเรรวน
            ใครก็ควรรู้รักสู้ศักดิ์สร้อย
            วันวารเคลื่อนเลือนลาปริบตาปรอย
             ใครก็คอยผู้ภักดิ์รักราชเรา

size]
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 7 8 [9]
  ชุมชน  |  ส่งหัวข้อนี้  |  พิมพ์  
 

Email:
Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
s s s s s