ปฐมบรมราชจักรีวงศ์
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน
18 เมษายน 2024, 02:51:PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

กด Link เพื่อร่วมกิจกรรม ผ่านFacebook (หรือกดปุ่มสมัครสมาชิกด้านบน)
 
หน้า: [1]
  ชุมชน  |  ส่งหัวข้อนี้  |  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ปฐมบรมราชจักรีวงศ์  (อ่าน 8114 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
05 เมษายน 2014, 10:02:PM
ดาว อาชาไนย
กิตติมศักดิ์
*

คะแนนกลอนของผู้นี้ 394
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,472



poem.archanai?fref=ts
« เมื่อ: 05 เมษายน 2014, 10:02:PM »
ชุมชนชุมชน


๐๐ ปฐมบรมราชจักรีวงศ์ ๐๐
เทิดพระเกียรติ์ปฐมกษัตริย์องค์ฉัตรแก้ว
ทรงพระคุณเลิศแล้วยิ่งในหล้า
ต้นสันตติวงศ์องค์ราชา
เป็นมหามงคลชนร่มเย็น
ทรงบำรุงอาณาประชาราษฎร์
รอยพระบาทประทับดับความเข็ญ
พระบารมีที่พระองค์ทรงบำเพ็ญ
ปกแผ่เป็นร่มเกล้าของชาวไทย
ทศพิธราชธรรมอันล้ำเลิศ
สุขก่อเกิดแก่ประชาหน้าสดใส
บรมราชจักรีวงศ์องค์หลักชัย
ศัตรูใดขืนกล้ามาย่ำยี
สมเด็จพระพุทธยอดฟ้ามหาราช
ทรงรบหนักรักษาชาติอย่างเต็มที่
ศึกทุกครั้งพระองค์ทรงราวี
ปฐพีแทนพระแท่นที่ผทม
เขตขุนเขาโขดเขินเนินแนวป่า
คือมรรคาบาทบงสุ์องค์ปฐม
แทนปราสาทราชฐานสราญรมย์
เสียงระงมหอกดาบปืนคาบศิลา
แทนเสียงสังข์มโหรีระรี่เรื่อย
ทรงเหน็ดเหนื่อยศึกหนักเป็นนักหนา
รักษากรุงรุ่งเรืองราวเมืองฟ้า
สืบทอดมาสืบทอดตลอดไป
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า
ดาว อาชาไนย
แห่งเสี้ยวอารมณ์กลอน
░░(¯`♥´¯)░░░░░░(¯`♥´¯)░░░░░░(¯`♥´¯)


add complete
by Klonthaiclub fb
ข้อความนี้ มี 10 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า

เสี้ยวอารมณ์จากใจใครคนหนึ่ง
คงไม่ซึ้งจับใจใครทั้งหลาย
แค่มีใครคนหนึ่งซึ้งไม่คลาย
ก็สมหมายใครคนหนึ่งซึ่งรักกลอน
06 เมษายน 2014, 12:34:AM
รัตนาวดี
Special Class LV6
นักกลอนเอกแห่งวังหลวง

******

คะแนนกลอนของผู้นี้ 977
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 3,130


❤ ลองล้มลงดูบ้าง แล้วจะรู้ว่าใครยังอยู่ข้างๆเรา*¨♥


bai.bun.1
« ตอบ #1 เมื่อ: 06 เมษายน 2014, 12:34:AM »
ชุมชนชุมชน


ตราราชวงศ์จักรี และพระราชลัญจกร ประจำพระมหากษัตริย์


ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจากการค้นหาใน Google


          ประวัติการตั้งชื่อวันจักรีมีว่า เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จปราบดาภิเษก ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์เป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และทรงสร้างกรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงของไทย มาจนทุกวันนี้

          ด้วยพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว ในปี พ.ศ. ๒๔๑๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้า ฯ ให้หล่อพระบรมรูป พระเจ้าอยู่หัวทั้ง ๔ พระองค์ ( ร.๑ - ๔ ) เพื่อประดิษฐานไว้ให้พระมหากษัตริย์องค์ต่อมา พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และประชาชนได้ถวายบังคมระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ เป็นธรรมเนียมปีละครั้ง และโปรดเกล้าให้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้บนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และมีการย้ายที่หลายครั้ง เช่นพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ปราสาท และพระที่นั่งศิวาลัยปราสาทเป็นต้น

          ในรัชกาลที่ ๖ โปรดให้ย้ายพระบรมรูปทั้ง ๔ ( ร.๑ - ๔ ) มาไว้ ณ ปราสาทพระเทพบิดร ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พร้อมกับพระบรมรูปของรัชกาลที่ ๕ พระชนกนาถ พระที่นั่งองค์นี้ รัชกาลที่ ๖ โปรดให้ซ่อมจากพุทธปรางค์ปราสาทเพื่อเรื่องนี้โดยเฉพาะ และได้พระราชทานนามดังกล่าว การซ่อมแซมก่อสร้างและประดิษฐานพระบรมรูปทั้ง ๕ รัชกาล สำเร็จลุล่วงในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๖๑ จึงได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศตั้งพระราชพิธีถวายบังคมพระบรมรูป ในวันที่ ๖ เมษายนปีนั้น และต่อมา โปรด ฯ ให้เรียกวันที่ ๖ เมษายนว่า “วันจักรี”
          วันที่ระลึกมหาจักรี หรือที่เรียกกันโดยย่อว่าวันจักรี นั้น สืบเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชดำริว่าพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีทรงหล่อพระบรมรูปลักษณะเหมือนพระองค์จริงฉลองพระองค์แบบไทย ณ โรงหล่อหลังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (บริเวณศาลาสหทัยสมาคมในปัจจุบัน) เพื่อสนองพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระปฐมบรมราชบุพการี แล้วโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาทขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เชิญพระบรมรูปทั้ง ๔ รัชกาลนั้น ประดิษฐานเพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์ สำหรับถวายบังคมสักการะในงานพระราชพิธีฉัตรมงคลและพระราชพิธีพระชนมพรรษา ครั้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสืบราชสันติวงศ์ ได้โปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบรมชนกนาถ จากต่างประเทศ แล้วอัญเชิญขึ้นประดิษฐานร่วมกับพระบรมรูปทั้ง ๔ รัชกาลนั้น ต่อมาทรงพระราชดำริว่าพระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาทยังไม่เหมาะสมที่จะมีงานถวายบังคมสักการะพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมแปลงพระพุทธปรางค์ปราสาทในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อประดิษฐานพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชทั้ง ๕ รัชกาล พระราชทานนามใหม่ว่า ปราสาทพระเทพบิดร โดยทรงพระอนุสรณ์คำนึงถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ซึ่งได้ประดิษฐานพระบรมราชวงศ์จักรี ทรงมีพระเดชพระคุณต่อประเทศ เมื่อมีโอกาสก็ควรแสดงความเชิดชูและระลึกถึง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีเชิญพระบรมรูปจากพระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาทมาประดิษฐานที่ปราสาทพระเทพบิดร เมื่อวันที่ ๖ เมษายน๒๔๖๑ อันเป็นดิถีคล้ายวันที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเสด็จกรีธาทัพถึงพระนคร ได้รับอันเชิญขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงบรรจุพระกรัณฑ์ทองคำลงยาราชาวดีซึ่งบรรจุพระบรมทนต์(ฟัน) พระสุพรรณบัฏจารึกพระปรมาภิไธย พระดวงพระบรมราชสมภพ พระดวงบรมราชาภิเษก พระดวงสวรรคต ลง ณ เบื้องสูงของพระเศียรพระบรมรูปทั้ง ๕ รัชกาลครั้นถึงวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๑ (สมัยนั้นขึ้นปีใหม่วันที่ ๑ เมษายน)           
           พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี(ม.ร.ว. ปุ้ม มาลากุล) เสนาบดีกระทรวงวัง ประกาศพระบรมราชโองการให้มีการกราบ ถวายบังคมพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเป็นการ ประจำปีกำหนดใน วันที่ ๖ เมษายน เป็นประเพณีสืบไป ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีทรงหล่อพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวณ โรงหล่อกรมศิลปากร ครั้นตกแต่งพระบรมรูปเรียบร้อยแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ กำหนดการพระราชพิธีประดิษฐาน พระบรมรูปที่ปราสาทพระเทพบิดร โดยเสด็จพระราชดำเนินมาทรงบรรจุพระบรมทนต์พระสุพรรณบัฎจารึกพระปรมาภิไธยและดวงพระบรมราชสมภพ พระดวงบรมราชาภิเษก พระดวงสวรรคต ในพระกรัณฑ์ทองคำลงยา แล้วทรงบรรจุที่เบื้องสูงของพระเศียรพระบรมรูป เมื่อวันที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๐           
            ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชปรารภว่า ในปี ๒๔๗๕ อายุพระนครจะบรรจบครบ ๑๕๐ ปี สมควรมีการสมโภชและสร้างสิ่งสำคัญ เป็นอนุสรณ์ขึ้นไว้ให้ปรากฎแก่อารยชนในนานาประเทศว่าชาวไทยมีความกตัญญูรู้คุณบรรพบุรุษที่ได้สร้างกรุงเทพฯเป็นราชธานี แล้วบำรุงรักษาประเทศ ให้เป็นอิสระสืบมาทรงปรึกษาพระราชปรารภ แก่อภิรัฐมนตรีและเสนาบดี ซึ่งเห็นชอบด้วยพระราชดำริว่า ควรสร้างปฐมบรมราชานุสรณ์มี ๒ สิ่งประกอบกัน คือ พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก องค์ปฐมกษัตริย์ และสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเชื่อมพระนครธนบุรี พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงออกแบบ ให้ศาสตรจารย์ศิลปพีระศรี ปั้นหุ่นหล่อ ส่วนสะพานทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยากำแพงเพชรอัครโยธินอำนวยการสร้าง และพระราชทานนามว่า สะพานพระพุทธยอดฟ้า เงินที่ใช้ในการก่อสร้างปฐมบรมราชานุสรณ์นี้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว บริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ส่วน ๑ รัฐบาลจ่ายเงินแผ่นดินส่วน ๑ อีกส่วน ๑ ทรงพระราชดำริให้บอกบุญเรี่ยไรชาวไทยทุกคน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดปฐมบรมราชานุสรณ์ โดยกระบวนพยุหยาตรา เมื่อ วันที่ ๖ เมษายน ๒๔๗๕ ซึ่งเป็นวันครบ ๑๕๐ ปี และมีการพระราชพิธี เฉลิมฉลองกรุงเทพมหานคร

ขอขอบคุณภาพซึ่งจัดทำโดยกรมประชาสัมพันธ์และเทคโนโลยีสารสนเทศ กองทัพภาคที่ ๓

ข้อความนี้ มี 10 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า

..อสงไขย..ใน..ใจ..คุณ...❤... สาวน้อยเซย์ ฮาโหล.....
☆★*•.¸All You Need Is  ℒƠѵℯ ✫*¸.•*¨♥¸.•*★☆
06 เมษายน 2014, 11:07:AM
panthong.kh
Special Class LV6
นักกลอนเอกแห่งวังหลวง

******

คะแนนกลอนของผู้นี้ 2989
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 8,676



« ตอบ #2 เมื่อ: 06 เมษายน 2014, 11:07:AM »
ชุมชนชุมชน



เอกกษัตริย์ เอกองค์ พระทรงศรี
เอกจักรี ที่ไทย ในสยาม
ระลึกถึง ตรึงจิต คิดทุกยาม
ระบือนาม เกียรติประวัติ วัฒนา

รัชกาล ที่หนึ่ง พึงก่อตั้ง
ในเมื่อครั้ง ครองราชย์ ปรารถนา
ให้ชาวไทย ร่มเย็น เน้นเมตตา
ย้ายกรุงมา สร้างใหม่ ให้รุ่งเรือง

ทรงพิฆาต ไพรี มีชื่อนับ
เรียกสงคราม เก้าทัพ รับเป็นเรื่อง
ปราบกบฏ หมดสิ้น ถิ่นหัวเมือง
ไร้ขุ่นเคือง เมืองฟ้า มาช้านาน

ทรงทำนุ บำรุง ศาสนา
สร้างวัดวา ประสงค์ คงสืบสาน
เหนือออกตก ใต้ร่ม โพธิสมภาร
ปรีชาชาญ การศึก ฝึกยุทธวิธี

วัดพระศรี ศาสดาราม ที่งามผ่อง
เรื่อเรืองรอง ผองชน บนวิถี
ได้กราบไหว้ ตราบเท่า ทุกวันนี้
ล้วนเป็นฝี พระหัต ใครทัดเทียม

โปรดให้ย้าย พระแก้ว มรกต
ทรงกำหนด เครื่องทรง องค์แลเลี่ยม
สามฤดู รู้รอบ ขอบธรรมเนียม
พระทัยเปี่ยม เยี่ยมยุทธ์ สุดคณา

เสาชิงช้า ที่เห็น เป็นอนุสรณ์
บทละคร กลอนเลิศ ประเสริฐค่า
อุณรุท รามเกียรติ์ เพียรศรัทธา
นิราศท่า ดินแดง แต่งตามพลัน

หกเมษา ราชา มหาราช
อภิวาท บาทบง บังคมฉัน
จริยวัฒน์ หัตเอื้อ ทุกเชื่อวัน
จงเสวย สวรรค์ บนชั้นฟ้า

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า  นามปากกา  พันทอง

๖/๔/๕๗


add complete
by Klonthaiclub fb
ข้อความนี้ มี 11 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  ชุมชน  |  ส่งหัวข้อนี้  |  พิมพ์  
 

Email:
Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
s s s s s