การประชุม ร่วมกัน ที่บาหลี
มติมี ออกมา เอกฉันท์
เจ็ดอาชีพ รีบเรียน เพียรเร็วพลัน
ที่ว่านั้น มีดังนี้ นะพี่น้อง
วิศวกร ก่อนใคร ในอาเซี่ยน
มุ่งมั่นเรียน เข้าเถิด ยังเปิดช่อง
พยาบาล งานหนัก รักเป็นรอง
เวลาทอง กอบโกย อย่าโวยวาย
สถาปนิค คลิกด่วน หากจวนจบ
การเงินครบ พบพาน งานหาง่าย
เร่งฝึกปรือ มือเข้า อย่าเมามาย
งานสบาย ได้สตังค์ หวังแต่งเมีย
ช่างสำรวจ กวดขัน ขยันหน่อย
เอื้อมมือสอย คอยท่า อย่าระเหี่ย
หลากหลายมุม มองเมียง เสียงคนเชียร์
โอ้มายเดียร์ เคลียให้ ใจภิรมย์
นักบัญชี รี่เลย เชยที่ไหน
อาเซี่ยนได้ จำเพาะ ว่าเหมาะสม
เชิญหญิงชาย ไทยหนอ อย่าท้อตรม
ลับให้คม สมอง ต้องขุดคุ้ย
ทันตแพทย์ แน่นอน ตอนนี้ขาด
อีกแททย์ศาสตร์ ก็ด้วย ช่วยกันดุ่ย
ร่วมเดินหน้า ให้ไว ไทยต้องลุย
อย่ามัวคุย ชาติอื่นหนอ รอต่อคิว
พันทอง
๒๐/๒/๕๗
ผลจากการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 ณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ได้กำหนดให้จัดทำข้อตกลงยอมรับร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangements : MRAs) ด้านคุณสมบัติในสาขาวิชาชีพหลัก เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายนักวิชาชีพ หรือแรงงานเชี่ยวชาญ หรือผู้มีความสามารถพิเศษของอาเซียนได้อย่างเสรี ด้านคุณสมบัติในสาขาอาชีพหลัก เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้าย นักวิชาชีพ แรงงานเชี่ยวชาญ หรือผู้มีความสามารถพิเศษได้อย่างเสรีข้อตกลงเรื่องการเคลื่อนย้ายแรงงาน ฝีมือไปทำงานในประเทศกลุ่มอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ได้อย่างเสรี ได้กำหนดครอบคลุม 7 อาชีพ และก็มีข่าวว่าอาจจะมีการเพิ่มจำนวนอาชีพขึ้นมาอีกในลำดับถัดไป สำหรับ 7 อาชีพที่มีข้อตกลงกันแล้วให้สามารถเคลื่อนย้ายไปทำงานได้อย่างเสรี ได้แก่
อาชีพวิศวกร( Engineering Services)
อาชีพพยาบาล (Nursing Services)
อาชีพสถาปนิก(Architectural Services)
อาชีพการสำรวจ (Surveying Qualifications)
อาชีพนักบัญชี (Accountancy Services)
อาชีพทันตแพทย์ (Dental Practitioners)
อาชีพแพทย์ (Medical Practitioners)
และการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือเสรีในกลุ่ม 7 อาชีพนั้น มีผลดีต่อไทยไม่น้อย เพราะในภาพรวม สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในไทยมีศักยภาพในด้านการผลิตบุคลากรในสาย วิชาชีพทั้ง 7 ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง ซึ่งทำให้ผู้จบการศึกษาในสายวิชาชีพทั้ง 7 ตั้งแต่ระดับปริญญาตรีจนถึงปริญญาเอกมีตลาดงานที่เปิดกว้างมากขึ้น