Re: ซาบซึ้งตรึงตรา..อักษรารังสรรค์
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน
25 เมษายน 2024, 10:36:AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

กด Link เพื่อร่วมกิจกรรม ผ่านFacebook (หรือกดปุ่มสมัครสมาชิกด้านบน)
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ซาบซึ้งตรึงตรา..อักษรารังสรรค์  (อ่าน 152473 ครั้ง)
พี.พูนสุข
กิตติมศักดิ์
*

คะแนนกลอนของผู้นี้ 1269
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 1,104


ทิวาฉาย ณ ปลายผา


« เมื่อ: 17 สิงหาคม 2018, 10:51:AM »

 ซึ้งจัง ซึ้งจัง

จากตัวอย่างฉันท์ ๒ ชนิดที่ยกมาให้อ่านข้างต้นนี้
คือ ภุชงคประยาตฉันท์ ๑๒  และ วิชชุมมาลาฉันท์ ๘
ได้ข้อสังเกตวิธีการใช้คำครุ คำลหุ ของกวี ๒ อย่าง
และควรจะยึดถือเป็นหลักการแต่งฉันท์ชนิดอื่น ๆ ต่อไปได้

๑. การใช้เสียงสระ อำ ในการแต่งฉันท์

โดยทั่วไป เสียง /อำ/ เป็นเสียง สระ /อะ/ มีเสียงพยัญชนะสะกด /ม/  ใช้ในรูป  -ำ
เช่น กำ  กรำ  กล้ำ, ขำ, คำ  ค่ำ  ค้ำ  คล้ำ, งำ  ง้ำ, จำ  จ้ำ, ฉ่ำ ชำ ช้ำ, ดำ  ด่ำ,
ทำ, ตำ  ต่ำ, นำ  หนำ, พรำ  พร่ำ,  ยำ  ย่ำ, รำ  ร่ำ  ส่ำ, อำ  อ้ำ ฯลฯ
คำเหล่านี้เป็นคำที่มีพยางค์เดียวและมีความหมายสมบูรณ์
จัดเป็นคำที่มีเสียงหนัก คือ คำครุ
หรือใช้ประกอบกับคำอื่น ทำให้มีความหมายชัดเจนขึ้น กว้างขึ้น
เช่น  กำมือ  กล้ำกลืน  คร่ำครวญ  จำความ  ต่ำเตี้ย ทำกิน  นำผล   พร่ำเพ้อ  ฯลฯ

คำเหล่านี้ จัดเป็นคำ ครุ/ครุ  ทั้ง ๒ คำ/พยางค์
ถ้าแยก คำ/พยางค์ แล้ว ยังมีความหมายทั้ง ๒ คำ/พยางค์
***********
เสียงสระ อำ  อนุโลมให้เป็น คำลหุ ได้
เสียง /อำ/ จะใช้เป็นเสียง ลหุ ในการแต่งฉันท์ได้อย่างไร

จะใช้ได้เมื่อ เสียง อำ ประสมในคำมูล
        เป็นคำที่มีมาแต่ดั้งเดิมและมีความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง
        อาจเป็นคำไทยหรือเป็นคำที่มาจากภาษาอื่นก็ได้
แต่มีความหมายเดียว ถ้าแยกกัน ความหมายจะไม่สมบูรณ์หรือเปลี่ยนไป

ส่วนใหญ่เป็นคำที่มี ๒ พยางค์   เช่น
สำแดง ดำรู บำเรอ อำรุง บำเพ็ญ บำรุง สำราญ (จากตัวอย่าง ภุชงประยาตฉันท์ ๑๒)
กวีใช้เป็นเสียง  ลหุ/ครุ  ทั้งหมด
คำอื่น ๆ เช่น
กำจาย    คำนึง  จำนง  จำนรรจ์  จำเนียร  จำเริญ
ดำบล    ดำรัส  ตำนาน  ตำรวจ  ทำนอง  ธำรง  บำนาญ
 บำรุง  บำราศ  บำเรอ รำคาญ  รำเพย  รำไพ  ลำเค็ญ  ลำเนา
สำคัญ   สำนวน  สำรวม   สำรวล    สำเร็จ อำนวย  อำพน  ฯลฯ
กวีหลายท่าน จะใช้คำลักษณะนี้เท่านั้นเป็นคำลหุ ตรงตำแหน่งที่บังคับ
ตามฉันทลักษณ์  และจะยกตัวอย่างของกวีท่านอื่นในโอกาสต่อไป

๒. การใช้เสียงสระ อะ ลดรูป

เสียง /อะ/ ใช้ในรูป  - ะ  ออกเสียง อะ เต็มเสียง เช่น กะ  กระ  จะ  คะ  คละ  ปะ  ประ
สระลดรูป ออกเสียง อะ ไม่เต็มเสียง เช่น  กวี (กะ-วี)  ฉวี (ฉะ-หฺวี)  รัฐบาล (รัด-ถะ-บาน) สมาน (สะ-หฺมาน)

กวีใช้แต่งในวิชชุมมาลาฉันท์ที่บังคับคำครุล้วนได้
แสดงว่า คำที่ผสมด้วยสระอะ ลดรูป ออกเสียง อะ ไม่เต็มเสียง
ใช้เป็น คำครุ ได้เมื่อจำเป็นนั่นเอง

คำอื่น ๆ เช่น  วลี   ทวี  นที  พสก  สถิต  สราญ  สรีร์  สวัสดิ์
คำที่เป็นอักษรนำ เช่น  ขยัน  ขยับ  ขยาย  สลัว สวาท  สวิง สวาย ฯลฯ
นับเป็นคำครุ  ๑ พยางค์  หรือเป็น ลหุ กับ ครุ  ๒ พยางค์ ก็ได้ค่ะ

ขอให้สนุกในการอ่านฉันท์และแต่งฉันท์ หรือผู้ที่คิดจะแต่งฉันท์เป็นครั้งแรกนะคะ  โชคดีค่ะ

 เธอนั่นแหละจ้ะ

..พี.พูนสุข..



ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ :

รพีกาญจน์, @free, ลายเมฆ

ข้อความนี้ มี 3 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า

Email:
Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
s s s s s