Re: 3x8=23 จริงหรือ?
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน
01 พฤษภาคม 2024, 07:30:PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

กด Link เพื่อร่วมกิจกรรม ผ่านFacebook (หรือกดปุ่มสมัครสมาชิกด้านบน)
 
ผู้เขียน หัวข้อ: 3x8=23 จริงหรือ?  (อ่าน 8976 ครั้ง)
ช่วงนี้ไม่ว่าง
Special Class LV5
นักกลอนแห่งเมืองหลวง

*****

คะแนนกลอนของผู้นี้ 358
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 792



« เมื่อ: 03 มีนาคม 2012, 05:43:PM »

นิทานเรื่องนี้นั้นสอนให้รู้ว่า  อีตาขงจื้อนั้นแกทำไม่ถูก เพราะแกอาจจะถูกชาวบ้านคนนั้นกลับมาถอนหงอกเอาก็ได้เหตุเพราะแกตัดสินไม่ถูกต้อง

ข้อคิดจากเรื่องนี้
-บัณฑิต อย่างไรก็ยังเป็นบัณฑิต  ข้อแตกต่างระหว่างพาลกับบัณฑิตก็คือ  คนพาลมักจะทำอะไรโดยไม่ยั้งคิด  ส่วนบัณฑิตนั้นมักจะทำอะไรโดยรอบคอบเสมอ
  เอี๋ยนหุยนั้น  อย่างไรก็ยังนับว่าเป็นบัณฑิต ด้วยเหตุนั้นเขาจึงไม่ยอมเอาชีวิตตนไปเป็นเดิมพันเพียงเพื่อเอาชนะคะคานกับชาวบ้านผู้นั้น ทั้งๆที่รู้อยู่ว่าตนเองต้องชนะ
  (มันผิดกับบางคนเมื่อรู้ว่าตัวเองต้องชนะมักจะทุ่มแบบไม่ยั้ง)

-ผู้ยึดหลักความถูกต้องนั้นไม่จำเป็นต้องให้ใครมาช่วยเหลือหรือเข้าข้างเพราะยังไงก็เป็นฝ่ายถูกต้อง  ผิดกับชาวบ้านผู้นั้นซึ่งยึดหลักความไม่ถูกต้อง
  ดังนั้นเขาจึงผิดพลาด  ถ้าไม่ได้ขงจื้อตัดสินความเข้าข้างเขาเพราะเห็นแก่คุณธรรมเขาจะต้องตายแน่นอน(กรณีแบบนี้ถ้าผู้ตัดสินไม่ใช่ขงจื้อชาวบ้านคนนั้นคงต้องตายสถานเดียว)

-ขงจื้อ แม้ช่วยชาวบ้านผู้นั้นให้รอดชีวิตก็จริงแต่ก็ไม่ได้พูดหรืออธิบายด้วยเหตุด้วยผลว่า อันไหนผิดอันไหนถูก
  แต่กลับพูดกับ เอี๋ยนหุย ซึ่งเป็นศิษย์ของตนด้วยเหตุด้วยผล  ทั้งนี้เพราะชาวบ้านผู้นั้นไม่ใช่ผู้ที่ฝากตัวเป็นศิษย์จึงไม่ใช่ผู้ที่จะไปสั่งสอนเขาได้
  ส่วน เอี๋ยนหุย นั้นคือผู้ที่ฝากตัวเป็นศิษย์ เป็นผู้ที่ขงจื้อควรจะสั่งสอนได้(การฝากตัวเป็นศิษย์เท่ากับยินยอมรับฟังคำสั่งสอน)
  ข้อนี้น่าจะเป็นเครื่องเตือนใจสำหรับคนทีจะเป็นครูทั้งหลายว่า ก่อนจะไปแนะนำพร่ำสอนใครนั้นต้องดูให้ดีว่าเขายินยอมที่จะให้เราสอนหรือไม่
   ไม่ใช่เดินไปตามถนนหนทาง พบใครนึกอยากจะสอนก็สอน ถ้าเขาไม่ฟังย้อนศอกกลับเข้ามา ตัวเองก็จะมีแต่เสียกับเสีย
  ฉะนั้นก่อนที่จะให้คำแนะหรือสั่งสอนแก่ใครเป็นการเฉพาะเจาะจง ควรที่จะให้เขายินยอมเสียก่อน
    เรื่องทำนองนี้มีตัวอย่างให้เห็นหลายอย่าง
     อาทิเช่น  หมอ  จะรักษา หรือเยียวยาแก่ใครก็จำต้องให้คนไข้หรือญาติคนไข้ยินยอมเสียก่อน
    ศาล  จะตัดสินเรื่องใด  ก็จำต้องมีโจทก์ และจำเลยเสียก่อน ซึ่งทั้งสองฝ่ายจำเป็นต้องยินยอมรับฟังคำตัดสินของศาล
     แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะทรงเทศน์สั่งสอนผู้ใด ก็จำเป็นต้องพิจารณาดูว่าเขาเป็นผู้ที่ควรรับฟังคำสอนหรือไม่

-อย่าไว้ใจทาง  อย่าวางใจในตัวบุคคลมากเกินไป  เรื่องที่เราคิดว่าถูกและคนอื่นๆจะต้องเห็นเช่นนั้นอาจไม่เป็นอย่างที่คิดเสมอไป
  ตัวอย่าง  แม้แต่ขงจื้อ ยังยอมผิดหลักการ เพียงเพราะเห็นแก่ชีวิตคนๆหนึ่ง   การยึดถือในตัวบุคคลมากเกินไป  เมื่อเขาไม่ได้เป็นไปตามที่หวัง
  ก็จะทำให้เสียใจได้  ดังเช่น เอี๋ยนหุย  ที่หวังว่าอาจารย์จะต้องตัดสินตามความเป็นจริง แต่แล้วก็ต้องผิดหวัง(ซึ่ง ขงจื้อ เขาก็มีเหตุผลของเขา)
  การไปหวังว่าคนๆนี้เป็นคนดี เขาจะต้องทำแต่ในสิ่งที่ถูกต้องดีงามเสมอไป  เมื่อภายหลังพบว่าเขาไม่ได้เป็นอย่างคิดก็จะทำให้ผิดหวังไปเปล่าๆ

-คนที่รู้ตัวว่าเหนือกว่านั้นไม่จำเป็นต้องพยายามเพื่อเอาชนะ  มีแต่คนที่คิดว่าตัวเองด้อยกว่าเท่านั้นถึงอยากจะเอาชนะ




ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ :

panthong.kh, Thammada, ไพร พนาวัลย์, อริญชย์, บูรพาท่าพระจันทร์, ยามพระอาทิตย์อัสดง, พี.พูนสุข, รพีกาญจน์, yaguza

ข้อความนี้ มี 9 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า

Email:
Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
s s s s s