......เหลือเพียงดาบลงอักขระ..ชย....ฉมัง
...พร้อมจักหลั่งเลือดทาทุ่งของกรุงศรี
...แม้นทัพหลวงพ่ายระย่อต่อไพรี
...ข้าขอพลีด้วยสองแขนแหนแผ่นดิน
......ห่วง..ข้า........ห่วง พ่อแม่แลสายสวาท
...เกินสื่อวาทย์ปลอบประโลมเจ้าโฉมฉิน
...หากสองเราแหลกเป็นทรากพรากชีวิน
...ก็ให้ยิน...ยล...สบภพต่อไป
ขอแก้ให้นิดนึงนะฮะ
คำว่า "ทราก" ไม่แน่ใจว่า พี่ชายเขียนผิดหรือเปล่า แต่คำว่า "ทราก" ต้องใช้ "ซาก" นี้น่ะครับ
ด้วยความหวังดี ไม่ตรีกระรอกขาว^___________^
ซาก กับคำว่า ทราก ใช้อย่างไร
มักพบว่าเขียนคำนี้ผิดเป็น " ทราก " เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะคำไทยที่ออกเสียง "ซ โซ่ "
บางที่เราก็ใช้ " ซ " ตรงรูป แต่บางทีเราก็ใช้ " ทร " จึงทำให้เกิดความสับสน
ไม่รู้ว่าตรงไหนจะใช้ " ซ " และตรงไหนจะใช้ " ทร "
ไม่เพียงแต่เท่านี้ บางทีเราใช้คำคู่กัน เช่น ใช้ " ทร " คู่กันคือ ทรุดโทรม
และทีก็ใช้ " ซ " คู่กัน เช่น ซ่อมแซม และทั้งสองคำคู่กันก็มี เช่น แทรกแซง
ทีนี้เป็นปัญหาว่าจะใช้หลักอะไรเพื่อให้รู้ว่า ตรงไหนจะใช้อะไรคู่กับอะไร
นักปราชญ์โบราณท่านเห็นความลำบากในเรื่องนี้ จึงหาวิธีช่วยจำด้วยกลอนง่ายๆ ว่า
" ทรวดทรงทราบทรามทราย ทรุดโทรมหมายนกอินทรี
มัทรีอินทรีย์มี เทริดนนทรี พุทราเพรา
ทรวงไทรทรัพย์แทรกวัด โทรมมนัสฉะเชิงเทรา
ตัว "ทร " เหล่านี้เรา ออกสำเนียงเป็นเสียง " ซ "
คำว่า " ทราก " ไม่มีในพจนานุกรม คงมีแต่คำว่า " ซาก " ซึ่งพจนานุกรมฉบับ
ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 เก็บความไว้ว่า
ซาก 1 เป็นคำนาม หมายถึง ร่างของคนหรือสัตว์ ที่ตายจนโทรมเหลือแต่เค้า
หรือหมายถึง สิ่งก่อสร้างที่ปรักหักพังแล้วเหลือแต่เค้า แล้วมีลูกคำ เช่น
ซากดึกดำบรรพ์ เป็นคำนาม หมายถึง ซากของพืชหรือสัตว์ดึกดำบรรพ์
ที่ฝังอยู่เป็นเวลานาน จนกระทั่งกลายเป็นหิน มีลูกคำอีกคำหนึ่ง คือ ซากศพ เป็นคำนาม
หมายถึง ร่างของคนที่ตายแล้ว
ซาก 2 เป็นคำนาม ใช้เรียกต้นไม้ขนาดใหญ่ ขึ้นในป่าเบญจพรรณ เนื้อแข็งและหนัก
ใช้เผาถ่านได้ดี ทุกส่วนมีพิษ กินตาย ทางอีสานเรียก ซาด หรือ พันซาด.