พิมพ์หน้านี้ - ♥ บั ณ ฑิ ต ฯ . . . ♪♫ . . . ติ ด โ ค ล ง ♥

ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน

บทประพันธ์กลอนและบทกวีเพราะๆ => กลอนเพื่อน => ข้อความที่เริ่มโดย: บัณฑิตเมืองสิงห์ ที่ 26 มีนาคม 2012, 02:44:AM



หัวข้อ: ♥ บั ณ ฑิ ต ฯ . . . ♪♫ . . . ติ ด โ ค ล ง ♥
เริ่มหัวข้อโดย: บัณฑิตเมืองสิงห์ ที่ 26 มีนาคม 2012, 02:44:AM
บัณฑิตฯ . . . ติดโคลง

ร้อย คำนำเล่นริ้ว     ทิวโคลง
กรอง กลั่นบทจรรโลง     จิตไซร้
ตรอง พจน์จึ่งค่อยโยง     ลำดับ
ศิลป์ แต่งโคลงคำให้     จึ่งรู้ครูโคลง ฯ

ร้อยโคลง ประดับอ้า     อุรา
โยงเล่น บทรจนา     นั่งร้อย
เป็นคำ งดงามตา     นัยน์เนตร
ล้ำค่า คำความถ้อย     เฉกเพี้ยงเรียงผสาน ฯ

รักบ้านกลอน อู่แก้ว     เก็จกลอน
ก่อนนั่งเขียน อักษร     คิดสร้าง
เพียรการอ่าน กำจร     ดวงจิต
รจน์ซ่านทรวง สมอ้าง     ศิษย์ได้เจียระไน ฯ

ใจเคลียคลอต่อ เจ้า     อย่างเคย
จดจ่อเขียนถึง เอย     อย่างนั้น
ร้อยลักษณ์ตรึกตรึง เผย     ผองเพื่อน
เพียงหนึ่งหัวใจ ดั้น     ประดิษฐ์ถ้อยร้อยกระบวน ฯ

เชิญชวนมวลเพื่อนพ้อง     สลักความ
เปิดช่องให้เขียนตาม     แต่ได้
ว่าทุกเมื่อเชื่อยาม     ลองเล่น
จารลักษณ์อร่ามไว้     ร่วมด้วยประพันธ์เอย ๚ะ๛

(http://www.klonthaiclub.com/pic/bar_017.gif)

บัณฑิตเมืองสิงห์


หัวข้อ: Re: ♥ บั ณ ฑิ ต ฯ . . . ♪♫ . . . ติ ด โ ค ล ง ♥
เริ่มหัวข้อโดย: กามนิต ที่ 26 มีนาคม 2012, 05:01:PM

    อ่านโคลงเก่าเก่าแล้ว              ตะแคงดู
คงยากเกินหนูหนู                       แต่งได้
คงฝืดฝืดโคลงครู                       บุร่ำ   บุราณเนอ
ยิ่งบ่จี๊ดกับไม้-                           เอกไม้โทมึน ฯ

    ขึ้นต้นใหม่ว่าโอ้                      โคลงเอ๋ย
เขียนง่ายง่ายงอกเงย                 สื่อถ้อย
อย่างที่พูดที่เคย                         คันโสต
สูงศัพท์ให้น้อยน้อย                   หน่อมแหน้มจะได้ไหม ฯ

     ได้ยินครูว่า เฮ้ย                     หอกหัก
ใครว่าโคลงสารจัก                     ขนาดน้าน
เขียนไปเถอะตามหลัก                การสื่อ-  สารแล
คนอ่านเขารู้จ้าน                        จับเนื้อความใน ฯ

    ไหนไหนแต่งแล้วก็                  แต่งเลย
แต่งแบบลมรำเพย                     พร่ำเพ้อ
ขออภัยนะท่านเอ๋ย                     ที่เอ่ย
มาแอบวางโคลง เอ้อ                  อ่า แห้ แฮ่ ฮา  (ฮิฮิ) ฯ


มาทักทายครับ

กามนิต
๒๖ มี.ค.๕๕


หัวข้อ: Re: ♥ บั ณ ฑิ ต ฯ . . . ♪♫ . . . ติ ด โ ค ล ง ♥
เริ่มหัวข้อโดย: ไร้นวล^^ ที่ 26 มีนาคม 2012, 10:14:PM
(http://www.qzub.com/bar_052.gif) (http://www.qzub.com)
ขอชูชมชื่นด้วย         โคลงดี
กามนิตท่านมี           ท่วมท้น
ขอน้อมฝากชีวี         เป็นศิษย์ ท่านนา
คงอาจแต่งโคลงข้น       สืบซ้อง ทำนองสยาม


ความอันใดใคร่รู้      ครูนำ
จะเชื่อฟังถ้อยคำ      ค่ำเช้า
หากศิษย์ส่อถลำ      ออกนอก ลู่ทาง
โปรดหน่วงน้อมศิษย์เข้า     สู่เส้น ควรจร

(http://www.qzub.com/bar_052.gif) (http://www.qzub.com)


หัวข้อ: Re: ♥ บั ณ ฑิ ต ฯ . . . ♪♫ . . . ติ ด โ ค ล ง ♥
เริ่มหัวข้อโดย: ไร้นวล^^ ที่ 26 มีนาคม 2012, 11:17:PM

(http://www.qzub.com/bar_052.gif) (http://www.qzub.com)
ย้อนคำโคลงบัณฑิตฯด้วย    เป็นครู

แบบอย่างเอาไว้ดู       ฝึกใช้

ครวญโคลงอย่างพรั่งพรู   ดังเสก  มนตรา

บังอาจขอแต่ได้     ศิษย์ซ้ำ อีกคน



ทนสอนคนอ่อนอึ้ง    ปัญญา

คำศัพท์ควบกล้ำพา    ผิดถ้อย

การุณศิษย์สักครา    คอยบอก  คลองโคลง

ครูครอบหัวใจน้อย     ขุ่นข้อง คงหาย

(http://www.qzub.com/bar_052.gif) (http://www.qzub.com)


หัวข้อ: Re: ♥ บั ณ ฑิ ต ฯ . . . ♪♫ . . . ติ ด โ ค ล ง ♥
เริ่มหัวข้อโดย: บัณฑิตเมืองสิงห์ ที่ 26 มีนาคม 2012, 11:54:PM
บัณฑิตเขลาไป่รู้     ขออภัย
หากแต่งผิดฉันใด     ด่าบ้าง
จักปรับเปลี่ยนเวียนไป     จนถูก
หากแต่โอกาสสร้าง     รับไว้คำครู ฯ

ดูดูคำหากเพี้ยน     ฉันทลักษณ์
ขอโทษจากใจรัก     ขีดถ้อย
จักฝึกแต่งให้หนัก     โคลงสี่
จนถูกแบบบรรพ์ร้อย     อย่างนั้นคำโคลง ๚ะ๛

 emo_126

(http://www.klonthaiclub.com/pic/bar_017.gif)

บัณฑิตเมืองสิงห์


หัวข้อ: Re: ♥ บั ณ ฑิ ต ฯ . . . ♪♫ . . . ติ ด โ ค ล ง ♥
เริ่มหัวข้อโดย: ช่วงนี้ไม่ว่าง ที่ 27 มีนาคม 2012, 08:12:AM


สงสัยตำแหน่งอ้าง   วางโคลง
วางเอกวางโทโยง    ยุ่งแล้ว
หรือผังผิดจนโผลง   นาพ่อ
เลยกลับกลายจากแก้ว   แต่แล้วเป็นทราย

อธิบายหายขุ่นข้อง   แคลงใจ
เชิญพ่อผิดตรงใด     บอกด้วย
คนฟังยิ่งสงสัย        ไหนผิด กันนา
หาไม่คงมอดม้วย    ไม่รู้เนานาน


งง  งง  งง   ที่ว่าผิดฉันทลักษณ์นั้นผิดยังไงครับ
เพราะเท่าที่เห็นแต่งๆกันก็แต่งกันแบบนี้   แล้วที่ผมแต่งนี่ไม่ทราบผิดถูกประการใด
 วานคุณดอกรักเร่ช่วยอธิบายว่ามันผิดตรงที่ใดก็จะเป็นพระคุณอย่างสูงครับ

 emo_100 emo_126 emo_94







หัวข้อ: Re: ♥ บั ณ ฑิ ต ฯ . . . ♪♫ . . . ติ ด โ ค ล ง ♥
เริ่มหัวข้อโดย: ช่วงนี้ไม่ว่าง ที่ 27 มีนาคม 2012, 08:44:AM




งาสารฤาห่อนเหี้ยน   หดคืน
คำกล่าวสาธุชนยืน    อย่างนั้น
ทุรชนกล่าวคำฝืน     คำเล่า
หัวเต่ายาวแล้วสั้น      เล่ห์ลิ้นทรชนฯ

พระสมุทรสุดลึกล้น    คณนา
สายดิ่งทิ้งทอดมา      หยั่งได้
เขาสูงอาจวัดวา       กำหนด
จิตมนุษย์นี้ไซร้         ยากแท้หยั่งถึงฯ

แม้ทำคุณท่านได้      ถึงพัน
ครั้นโทษมีแต่อัน      หนึ่งไซร้
ติฉินหมิ่นคำหยัน     เยาะกล่าว
กลบลบคุณหลังได้   ยิ่งด้วยพันทวีฯ

นาคีมีพิษเพี้ยง       สุริโย
เลื้อยบ่ทำเดโช       แช่มช้า
พิษน้อยหยิ่งโยโส   แมลงป่อง
ชูแต่หางเองอ้า       อวดอ้างฤทธีฯ

รักกันอยู่ขอบฟ้า     เขาเขียว
เสมออยู่หอแห่งเดียว  ร่วมห้อง
ชังกันบ่แลเหลียว    ตาต่อ  กันนา
เหมือนขอบฟ้ามาป้อง  ป่าไม้มาบังฯ

ความรู้ผู้ปราชญ์นั้น   นักเรียน
ฝนทั่งเท่าเข็มเพียร    ผ่ายหน้า
คนเกียจเกลียดหน่ายเวียน   วนจิต
กลอุทกในตะกร้า       เปียมล้นฤามีฯ

กละออมเพ็ญเพียบน้ำ   ฤาติง
โอ่งอ่างพร่องชลชิง      เฟื่องหม้อ
ผู้ปราชญ์ห่อนสุงสิง      เยียใหญ่
คนโฉดรู้น้อยก้อ          พลอดนั้นประมาณฯ
       ---โคลงโลกนิติ-----

นานาประเทศล้วน     นับถือ
คนที่รู้หนังสือ           แต่งได้
ใครเกลียดอักษรคือ    คนป่า
ใครเยาะกวีไซร้         แน่แท้คนดงฯ

ฝูงชนกำเนิดคล้าย    คลึงกัน
ใหญ่ย่อมเพศผิวพรรณ  แผกบ้าง
ความรู้อาจเรียนทัน     กันหมด
ยกแต่ชั่วดีกระด้าง      อ่อนแก้ฤาไหวฯ
      ---รัชกาลที่ ๕ ----


ยกเอาโคลงของเก่าเท่าที่พอจำได้มาเปรียบเทียบดูครับ







หัวข้อ: Re: ♥ บั ณ ฑิ ต ฯ . . . ♪♫ . . . ติ ด โ ค ล ง ♥
เริ่มหัวข้อโดย: ♥หทัยกาญจน์♥ ที่ 27 มีนาคม 2012, 09:36:AM


เรียนคุณดอกรักเร่เห่คำ
โคลงบัณฑิตฯนำ
ผิดแผกแปลกผังอย่างไร

ควรชี้แสดงแจ้งไซร้
ผิดพลาด,ประการใด
ได้รีบแก้ไขในความ

ฉันทลักษณ์ถักทอพ่องาม
เขียนโคลงโยงยาม
กาพย์ร้อยถ้อยตามถามหา

ผิดถูกผูกสาส์นกานท์มา
โคลง,กาพย์,กลอนหนา
ตัวอย่างอ้างว่าพาดี

คนเขียนเรียนรู้ครูมี
ยามอ่านผ่านที
ที่ถูกที่ผิดติดใจ...

 emo_126

หทัยกาญจน์
๒๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๕




หัวข้อ: Re: ♥ บั ณ ฑิ ต ฯ . . . ♪♫ . . . ติ ด โ ค ล ง ♥
เริ่มหัวข้อโดย: ไร้นวล^^ ที่ 27 มีนาคม 2012, 10:02:AM
(http://www.qzub.com/bar_112.jpg) (http://www.qzub.com)
อ่านละเมียดละเอียดแจ้ง   จึงชม
โทเอกวางเหมาะสม        ห่างเพี้ยน
โคลงท่านใช่ลอยลม       ตรองเถิด
ไม่กระมิดกระเมี้ยน         ชอบด้วย ใจจริง


ติติงสิ่งต่างได้             ผมฟัง
เหตุย่างเพียงลำพัง       เสี่ยงล้ม
คราหน้าจะระวัง           การแต่ง
น้อมรับและกราบก้ม       นบไหว้  คำเตือน

(http://www.qzub.com/bar_112.jpg) (http://www.qzub.com)


หัวข้อ: Re: ♥ บั ณ ฑิ ต ฯ . . . ♪♫ . . . ติ ด โ ค ล ง ♥
เริ่มหัวข้อโดย: ...สียะตรา.. ที่ 27 มีนาคม 2012, 10:30:AM






......ถ้าผิดพลาดตรงไหนกรุณาแนะนำด้วยนะคะ...









หัวข้อ: Re: ♥ บั ณ ฑิ ต ฯ . . . ♪♫ . . . ติ ด โ ค ล ง ♥
เริ่มหัวข้อโดย: กามนิต ที่ 27 มีนาคม 2012, 11:47:AM
        บัณฑิตฯ แต่งได้เด่น          โคลงดี
ฉันทลักษณ์แลวิถี                       ถูกแท้
ฉันเองที่เมาศรี                            เมาศักดิ์  ฮะฮา
ออกทะเล, แฮ่แห้                       ฮ่าห้าอย่าถือ ฯ

       ดอกรักเร่ร่ำรู้                        ฉันทลักษณ์
ไฉนใส่เจตนังหนัก                     หน่วงสร้อย
เอกโทถูกที่สลัก                         ตามกฎ   ใดพ่อ
เชิญแจกแจงสักน้อย                 แก่ผู้ศึกษา ฯ

        ไร้นาม ครวญใคร่ให้          จงหนัก
อยากจะเป็นศิษย์รัก                  อย่าเบี้ยว
ครูนี้โหดและจัก                        หน้าดุ
ชำแหละโรยเกลือเถี้ยว             กระหน่ำแส้แสบเสมอ ฯ

         ข้อแรกอย่าใส่สร้อย-           เจตนัง   เลยนา
(ลู่ทาง) อ่านเสียงดัง                    สะดุดสร้อย
ข้อสองอย่าผิดผัง                        วรรคสุด-  ท้ายนา
ลิขิตสี่คำต้อย                               ติดไว้อย่าเผลอ ฯ
                       
        ติดโคลงต้อยต่อเต้า            แต่งโคลง
ยิ่งกว่าติดยาโขมง                       เขม่นบ้า
นารีติดเป็นโขยง                         พอขยับ  ได้แฮ 
นี่ติดหนึบเหนียวหน้า                 นึกได้แต่โคลง ฯ
 emo_68           

กามนิต - ๒๗ มี.ค.๕๕


หัวข้อ: Re: ♥ บั ณ ฑิ ต ฯ . . . ♪♫ . . . ติ ด โ ค ล ง ♥
เริ่มหัวข้อโดย: บัณฑิตเมืองสิงห์ ที่ 27 มีนาคม 2012, 12:04:PM
ขอบคุณครับเรื่องสร้อย     ควรระวัง
เสียงหนักพาโคลงพัง     ดั่งชี้
กำหนดสี่คำหลัง     เพี้ยนพลาด โคลงเอย
จักเปลี่ยนจากบัดนี้    กราบเท้าอาจารย์ ฯ

ผ่านพลาดไปหนึ่งครั้ง     ประสบการณ์
ชื่นชอบเหล่าคณาจารย์     บ่งด้อย
ผิดแก้ผิดเปลี่ยนสาส์น     เสียใหม่
ตั้งมั่นฝึกเขียนถ้อย     จดไว้พลาดจำ ๚ะ๛

 emo_126

เข้าใจแล้วครับท่านกามนิต

(http://www.klonthaiclub.com/pic/bar_017.gif)

บัณฑิตเมืองสิงห์


หัวข้อ: Re: ♥ บั ณ ฑิ ต ฯ . . . ♪♫ . . . ติ ด โ ค ล ง ♥
เริ่มหัวข้อโดย: ไร้นวล^^ ที่ 27 มีนาคม 2012, 01:21:PM
(http://www.qzub.com/bar_014.gif) (http://www.qzub.com)

คำสอนพรเลิศหล้า     อาจารย์

ศิษย์จดจำให้นาน           กว่าม้วย

วรรคสามพล่ามเพลินการ    พาลผิด  ได้ฤา

ครูเฆี่่ยนเตือนศิษย์ด้วย    อยากรู้คลองครู



เพราะรู้น้อยค่อยคล้อย     แปลงโคลง

ระเบียบระบบโยง          มั่วแท้

ช่วยชี้ผ่านอุโมงค์        ทางสว่าง

ศิษย์เคร่งครัดหัดแก้      ต่ำต้อยตามเสมอ       


(http://www.qzub.com/bar_014.gif) (http://www.qzub.com)


หัวข้อ: Re: ♥ บั ณ ฑิ ต ฯ . . . ♪♫ . . . ติ ด โ ค ล ง ♥
เริ่มหัวข้อโดย: แงซาย ที่ 27 มีนาคม 2012, 09:02:PM
   อยากเจอจารท่านแจ้ง              เจียรไน
   วานสื่อถ้อยถักไข                    ปลดข้อง
   เรียบเรียงค่อยโยงใย                สานส่ง   ความเนอ
   ก้อยเกี่ยวพันเพื่อนพ้อง             ต่างจ้องคำแถลง ฯ

    สำแดงส่งส่วนเพี้ยน               แบบผัง
   ตรงที่ผิดพลาดพัง                  อ่อนถ้อย
   เพื่อมวลมิตรมากกัง-               ขาอยู่   นาพ่อ
   คิดเก็บแก้ก่อนร้อย                  เพื่อพร้อมนำเสนอ ฯ

(http://www.qzub.com/bar_007.gif) (http://www.qzub.com)


หัวข้อ: Re: ♥ บั ณ ฑิ ต ฯ . . . ♪♫ . . . ติ ด โ ค ล ง ♥
เริ่มหัวข้อโดย: เพรางาย ที่ 28 มีนาคม 2012, 06:48:AM


คิดเขียนโคลงสี่ให้         เห็นงาม เพื่อนเอย
เจ็ดแห่งเอกวางตาม         แต่กี้
เลือกโทสี่คำยาม              ยกใส่  ตรองแฮ
หากสื่อนัยเฉกชี้            อ่านรู้ควรชม

   คำสมครรลองบรรพ์      แพรวรำพันคล่องใช้
เลือกส่งวรรณยุกต์ได้         ใช่แก้ววงกวี

   วิถีโคลงเลี่ยงคล้าย      เอกล่มเลือกโทย้าย
แห่งนั้นแปลงเป็น

   เห็นคำตายโผล่เต้น      ยึดเสียงเอกแก้เร้น
ย่อมแทน

   แผกแผนรูปเอกวาง      เอกโทษลางอย่างพ้อง
แผลงเล่นผันคล้อยคล้อง         รื่นเริง

   บันเทิงกลเก่งชั้น         ยกโทโทษเข้าขั้น
เชี่ยวชาญ

   โลกคำหลากเพื่อนสร้าง      กรองคำ  กันนา
พิศก่องพจน์ละลาน         เร่งเร้า
กฎเกณฑ์ย่อยแนะนำ         สืบเนิ่น  สนุกเอย
ขออย่ายกเจ้าล้ำ            ข่มใคร

   ผิดถูกหากเอ่ยอ้าง         จงแจง
เหยียบย่ำยามเผชิญ         สู่เหย้า
อวดตนเก่งกำแหง            แมลงป่อง
หางหั่นนับร้อยเคล้า         คั่วเกลือ


หัวข้อ: Re: ♥ บั ณ ฑิ ต ฯ . . . ♪♫ . . . ติ ด โ ค ล ง ♥
เริ่มหัวข้อโดย: แงซาย ที่ 28 มีนาคม 2012, 12:27:PM
...ไขความถี่ถ่องถ้วน            แบบครบ    กระบวนแฮ
โคลงสี่ดั้นเก่งเหลือ              กล่าวอ้าง
อาจารย์จัดจนจบ                เจนท่า     จริงนา
ศิษย์ใคร่ลองบ้างไว้              เผื่อเป็น

...รู้ใช่ใส่บ่าให้                     แบกหาม    หาบนา
หัดแต่งตามแบบเห็น            ห่างชั้น
ติดโคลงต่อต้องตาม            ติดท่าน     เลยแฮ
อาจไขว่คว้าขั้นข้าม             อย่าถือ


               ...โคลงดั้นบาทกุญชร...

(http://www.qzub.com/bar_008.gif) (http://www.qzub.com)


หัวข้อ: Re: ♥ บั ณ ฑิ ต ฯ . . . ♪♫ . . . ติ ด โ ค ล ง ♥
เริ่มหัวข้อโดย: ช่วงนี้ไม่ว่าง ที่ 28 มีนาคม 2012, 12:44:PM


เรื่องนี้ผมได้คิดทบทวนมาตลอดสองวันเต็มว่ามันมีผิดตรงไหน เหตุใดเราไม่เห็น แล้วหลายๆคนที่คิดว่าน่าจะเป็นผู้รู้ก็ยกมือให้ผ่าน
แต่ดูเหมือนจะมีอยู่จุดหนึ่งที่หลายคนมองข้ามไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่  แต่น่าจะเป็นข้อผิดพลาดในสายตาผู้รู้ได้

๐ ๐ ๐ อ่ อ้      ๐ ๐ (๐๐)
๐ อ่ ๐ ๐ ๐     อ่ อ้
๐ ๐ อ่ ๐ ๐    ๐ อ่  (๐๐)
๐ อ่ ๐ ๐ ๐   อ่ อ้ ๐ ๐


ตามหลักของโคลงสีแล้ว  บริเวณหางของบาทที่ ๑  ซึ่งเป็นคำที่ ๖-๗ (ไม่นับสร้อย) นั้น
ที่ถูกต้องควรจะเป็นเสียงทีฆะ สามัญ  ไม่ควรจะมีไม่เอกไม้โทไปปรากฎบริเวณนี้  หรือแม้แต่คำตายสระเสียงสั้นก็ควรเลี่ยงๆไว้
ฉะนั้นเมื่อบริเวณตำแหน่งที่ควรจะเป็นเสียงสามัญไปปรากฎรูปวรรณยุกต์เข้า จึงถูกผู้รู้ตำหนิว่าได้


เอกโทกำหนดไว้   อย่าหลง
ในที่สามัญคง      น่าห้าม
ฝ่าฝืนจักพางง     กันใหญ่
ดูท่าไม่ครั่นคร้าม  ผิดเพี้ยนคำครูฯ


(ตรงบริเวณสีแดงนั้นไม่ควรจะมีรูปวรรณยุกต์ เอก โท ไปปรากฎอยู่)


เร่งรู้ควรปรับแก้    จึงควร
สมเหตุสมผลทวน  มั่นไว้
เคยชินจักพารวน   ไปหมด
เขาติเพื่อก่อไซร้    ใช่ขึ้งจึงฉินฯ


      อันที่จริงเมื่อย้อนกลับไปดูประวัติตนเองก็รู้สึกว่าชักเริ่มจะติดๆจนกลายเป็นความเคยชินไปแล้วเหมือนกัน(เมื่อก่อนไม่)
พักหลังนี่เริ่มหนักข้อขึ้น มีการใช้ไม่เอกไม้โท ในที่ๆไม่ควรจะใช้
อีกเรื่องหนึ่งที่พอจะนึกได้ก็คือเรื่องการใช้คำ  ถึงแม้ว่าการแต่งโคลงจะนับเป็นคำ และคำในภาษาไทย ไม่จำเป็นต้องมีแค่พยางค์เดียวก็จริง
แต่การใช้คำที่มีหลายๆพยางค์  เช่นบางคำมีถึงสามพยางค์  สองคำก็รวมกันเป็นหกพยางค์เข้าไปแล้ว
การใช้คำที่มีพยางค์มากกว่าที่กำหนดมากจนเกินไปหรือโดยไม่จำเป็นอาจถูกมองว่า เล่นจนเกินเหตุหรือเกินขอบเขต
อันนี้คิดว่าเป็นสิ่งที่ผู้แต่งโคลงฉันท์กาพย์กลอนจะต้องตระหนักให้ดี  การใช้คำก็ควรต้องนึกถึงจำนวนพยางค์เอาไว้ด้วย
ไม่ควรจะตะบี้ตะบันใช้โดยถือเอาแต่จำนวนคำเข้าว่า โดยไม่สนใจว่าคำๆนั้นนับรวมแล้วปาเข้าไปกี่พยางค์เพราะถือว่าไม่ผิดกฎ
แต่ก็อาจทำให้ฉันทลักษณ์เสียหายไปเลยก็ได้
     ทั้งหมดนี้เป็นแค่ข้อคิดเห็นส่วนตัวนะครับ  ส่วนข้อห้ามอื่นๆดูเหมือนท่านอื่นๆจะได้พูดไปหมดแล้ว








หัวข้อ: Re: ♥ บั ณ ฑิ ต ฯ . . . ♪♫ . . . ติ ด โ ค ล ง ♥
เริ่มหัวข้อโดย: ไร้นวล^^ ที่ 28 มีนาคม 2012, 12:50:PM
(http://www.qzub.com/bar_054.gif) (http://www.qzub.com)
ฯซายร่ายหลังศิษย์น้อง    คงยอม
พี่ฝากตัวฝากจอม            ก่อนหน้า
แซวเล่นหรอกรอมชอม      งดด่า  เพื่อนนา emo_85
ประดับศิลป์ระย้า          คู่ฟ้าเมืองไทย


ถ้าโคลงไม่เพริศแพร้ว       เตือนกัน ได้นา
ศิษย์ร่วมสำนักปัน           แบ่งบ้าง
ร่วมแรงอาจประชัน         การแต่ง
ให้ท่านครูตาค้าง          ศิษย์ล้ำโลกา

(http://www.qzub.com/bar_054.gif) (http://www.qzub.com)

(เพราะกระทู้นี้นะครับ ทำให้เราได้เห็นครูโคลงมาสั่งสอนหลายท่าน
ด้วยความคารวะจากใจ)



หัวข้อ: Re: ♥ บั ณ ฑิ ต ฯ . . . ♪♫ . . . ติ ด โ ค ล ง ♥
เริ่มหัวข้อโดย: บัณฑิตเมืองสิงห์ ที่ 28 มีนาคม 2012, 01:27:PM
ขอบคุณ คุณบุคคลทั่วไปมากนะครับที่ให้ความรู้
แต่เรื่องคำที่หกและเจ็ดของหางบาทที่หนึ่ง ผมยังสงสัยอยู่ครับ

ส่วนนี้เป็นตัวอย่างโคลงที่มีวรรณยุกต์ คำตาย และสระเสียงสั้นปรากฏ จึงทำให้ผมสับสนครับ

ปางสมเด็จพระเจ้า     จักรพรรดิ
องค์พระหงษานัด     พรั่งพร้อม
เสด็จสถิตย์พลับพลาวัด     เมรุ ราชเฮย
ต่างอาศน์มวญมาตย์น้อม     นอบไท้สองเสมอ ฯ
(หม่อมเจ้าวัชรินทร์)

ยี่หวุ่นแม่ทัพช้าง     ภุกาม
คุมทัพเรือรอญสยาม     ฝ่ายใต้
ตะกั่วทุ่งก็แตกตาม     ตะกั่วป่า เล่านา
เข้าประชิดติดใกล้     รอบล้อมเมืองถลาง ฯ
(กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา)

ขุนวรวงศเจ้าแม่     อยู่หัว
ศรีสุดาจันท์ตัว     บุตรได้
ฆ่าเสียมอดหมดครัว     สามศพ
ไปเสียบประจานไว้     วัดแร้งแขวงกรุง ฯ
(เจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช เวก บัณยรัตพันธุ์)

ไม่ทราบว่า ไม่สมควรมี หรือ อนุโลมได้ครับ
จึงอยากให้ผู้รู้มาไขข้อสงสัย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ตัวผมเอง และผู้ที่สนใจการแต่งโคลงครับ

นับถือเป็นอย่างสูง

บัณฑิตเมืองสิงห์


หัวข้อ: Re: ♥ บั ณ ฑิ ต ฯ . . . ♪♫ . . . ติ ด โ ค ล ง ♥
เริ่มหัวข้อโดย: ช่วงนี้ไม่ว่าง ที่ 28 มีนาคม 2012, 03:36:PM



ถามทางหน้ากระดานก็ตอบทางหน้ากระดานนะครับ
ถ้าถามความเห็นของผม  เท่าที่ทราบมา  ท้ายบาทที่๑ ตรงคำที่ ๖-๗  ไม้เอกไม้โท  ไม่ควรจะมีครับ  ที่ถูกต้องที่สุดคือ เสียงสามัญ
ส่วนเรื่องคำตายต่างๆนั้นผมใช้คำว่า ก็ควรเลี่ยงๆไว้  คุณคงเข้าใจความหมายคำว่า ควรเลี่ยงๆไว้นะครับ
ส่วนเรื่องว่าควรอนุโลมได้แค่ไหนนั้นคุณอย่ามาถามผมเลย  เพราะผมน่ะหนักกว่าคุณอีกเยอะ(ไปเปิดอ่านประวัติดูได้)
ที่ผมแต่งผิดไม้เอกเป็นไม้โทผิดตลอดทั้งบท  ผมแต่งแกล้งยั่วให้คนโมโห emo_52
และเท่าที่พูดที่บอกมาทั้งหมดนั้นไม่ได้เจตนาจับผิดอะไรคุณหรือใครนะครับ  เพียงแต่ต้องการหาคำตอบว่า
ทำไมบุคคลผู้นั้น(คุณดอกรักเร่)จึงได้บอกว่ามันผิดฉันทลักษณ์  แล้วตกลงมันผิดตรงไหนกันแน่
ก็ถามเค้าแล้วเค้าไม่ตอบเราก็ต้องหาคำตอบเอาเอง จริงมั้ยครับ
ส่วนเรื่องไม้เอกไม้โทนั้น  คุณจะยังแต่งต่อไปหรือเลิกเป็นเรื่องที่คุณจะต้องตัดสินใจเลือกเอาเองครับผมหรือใครก็บังคับคุณไม่ได้
สำหรับผมๆจะแต่งตามความพอใจของผมครับ  เพราะเท่าที่ผ่านมาผมก็แต่งตามความพอใจของผมอยู่แล้ว
แต่ถ้าอันไหนเราต้องการการยอมรับจากผู้อื่นเราก็ต้องปฏิบัติตามกฎครับ emo_47
   เพราะฉะนั้นคุณอย่ามาเอาสาระอะไรกับคนอย่างผมเลย emo_26





หัวข้อ: Re: ♥ บั ณ ฑิ ต ฯ . . . ♪♫ . . . ติ ด โ ค ล ง ♥
เริ่มหัวข้อโดย: บัณฑิตเมืองสิงห์ ที่ 28 มีนาคม 2012, 03:50:PM
รับฟังทุกความคิดเห็นครับ

 emo_126 emo_126 emo_126


หัวข้อ: Re: ♥ บั ณ ฑิ ต ฯ . . . ♪♫ . . . ติ ด โ ค ล ง ♥
เริ่มหัวข้อโดย: แงซาย ที่ 28 มีนาคม 2012, 06:31:PM

               รู้รอบชอบยิ่งแล้ว           คำเตือน
           รู้หลักมักลืมเลือน             เมื่อพลั้ง
           รู้ลึกฝึกทำเบือน               สูญเปล่า
           รักเพื่อนเตือนเพียงครั้ง      เหตุด้วยเป็นสหาย ฯ

               อายจริงยิ่งแต่งได้          งูปลา
            โคลงสี่ที่หัดมา                 อ่อนซ้อม
            พลั้งได้ใช่ใครพา               พลาดผิด
            เก็บเกี่ยวเหนี่ยวนำน้อม      แนบไว้กันหลง ฯ


(http://www.qzub.com/bar_010.gif) (http://www.qzub.com)



หัวข้อ: Re: ♥ บั ณ ฑิ ต ฯ . . . ♪♫ . . . ติ ด โ ค ล ง ♥
เริ่มหัวข้อโดย: อริญชย์ ที่ 28 มีนาคม 2012, 07:03:PM
ขอแสดงความเห็นหน่อยทุกท่าน (ขออภัยผู้รู้ไว้ก่อนล่วงหน้านะฮะ)

เท่าที่สังเกตโคลงสี่สุภาพ บางที่เป็นเสียงไม้เอก แต่ท่านไม่ใช้คำที่ลงไม้เอก อย่างนั้นหรือเปล่าฮะ


ให้ท่านท่านจักให้........ตอบสนอง   
นบท่านท่านจักปอง.....นอบไหว้ 
รักท่านท่านควรครอง....ความรัก เรานา
สามสิ่งนี้เว้นไว้...........แต่ผู้ทรชน๚ะ๛

โคลงบทนี้สอนให้คนรู้จักกตัญญู การเป็นผู้ให้ซึ่งกันและกัน ตรงกับสำนวน
หมูไปไก่มา

(ต๊อบ ตอบ ต้อบ ต๋อบ ต๊อบ) (ตอบเป็นเสียงเอก แต่ไม่มีไม้เอก/ไม่ใส่ไม้เอก/คำตาย)



๏ แม้นมีความรู้ดั่ง......สัพพัญญู 
ผิบ่มีคนชู...............ห่อนขึ้น 
หัวแหวนค่าเมืองตรู....ตาโลก
ทองบ่รองรับพื้น........ห่อนแก้วมีศรี๚ะ๛

สอนให้คนที่มีความรู้ความสามารถตระหนัก ไม่เย่อหยิ่งจองหอง
เพราะแม้นว่ามีความสามารถปานใดก็ตามหากขาดคนสนับสนุน
ส่งเสริม ก็ยากที่จะมีใครเห็น เฉกเช่นเดียวกับ เพชรพลอย งดงาม
เมื่อมีแหวนทองรองรับ 


 (ซัพ สัพ สั้พ สั๊พ สั๊พ) (สัพ เป็นเสียงเอก แต่ไม่มีไม้เอก/ไม่ใส่ไม้เอก/คำตาย)





ปล.ไม่ค่อยมีความรู้เรื่องนี้เท่าไหร่  ผู้รู้โปรดช่วยคิดวิจารณ์ อีกที  ผิดพลาดประการใด ขอทุกท่านโปรดให้อภัยด้วยฮะ

คุณดอกรักเร่ ควรให้ความกระจ่างในเรื่องนี้ฮะ เพื่อเป็นวิทยาทาน


http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=0e9640fd15dd4409 (http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=0e9640fd15dd4409)





หัวข้อ: Re: ♥ บั ณ ฑิ ต ฯ . . . ♪♫ . . . ติ ด โ ค ล ง ♥
เริ่มหัวข้อโดย: ช่วงนี้ไม่ว่าง ที่ 28 มีนาคม 2012, 08:56:PM



คนไม่มีอารมณ์ขันจริงผันเสียงไม่ได้นะเนี่ยะ  emo_26(ตอบ ต่อบ ต้อบ ต๊อบ ต๋อบ)
             จริงๆจะว่าไป(เท่าที่รู้มา-แบบน้อยนิด) พวกคำตายต่างๆนี้ก็ไม่ได้ห้ามไว้นะครับ  เว้นแต่คำที่เจ็ดในบาทแรกที่ไม่นิยมเรื่องคำตาย
เพราะมันจะทำให้คำสัมผัสคำที่ ๕ ของบาทที่ ๒-๓  เป็นคำตายทั้งหมดซึ่งไม่นิยม แต่ใครจะแต่งก็ได้
คล้ายกลอนแปดนั่นแหละครับที่ส่วนมากไม่นิยมลงท้ายด้วยคำตาย(แต่ก็แต่งได้)
             ส่วนที่ผมบอกว่าควรเลี่ยงๆไว้(คำตาย)นั่นเป็นความคิดเห็นส่วนตัวครับ เพราะถ้าฝึกลงด้วยคำตายเรื่อยๆ
ในคำที่ ๖ ของบาทแรก  นานๆเข้าก็จะเกิดเป็นความเคยชิน  แล้วมันจะพาไปสู่คำที่มีรูปวรรณยุกต์ เอก โท ดังว่า(ก็เคยเป็นมาแล้วไง)
แต่ถ้าใครจะแต่งผมก็ไม่ขัดศรัทธาอยู่แล้ว
              แล้วก็เรื่องนี้ที่จริงก็ไม่อยากจะทำลายบรรยากาศหรอกนะครับ  แต่เห็นว่ามีผู้ติติง
มันก็เลยสงสัย เพราะอ่านทีแรกก็ให้ผ่านฉลุยนั่นแหละครับ  แต่เมื่อถามเจ้าตัวแล้ว เขาไม่ยอมอธิบาย ก็เลยต้องหาคำตอบเอาเองว่าผิดที่ใด
            เรื่องนี้จะเห็นได้ว่า ทีแรกเขาติคุณบัณฑิตเมืองสิงห์เพียงผู้เดียวนะครับ
แต่พอท่านไร้ชื่อไร้นามบอกว่าจะรับเอาท่าน กาม กับท่านบัณฑิต เป็นครูด้วย เขาถึงกับบอกว่า เมื่อจะถือผิดเป็นครูก็ไม่รู้จะว่าอย่างไร(รายละเอียดไปอ่าน
ในข้อความที่เขาโพสต์ได้)  ซึ่งแสดงว่า สองคนนี้จะต้องมีจุดใดที่ผิดเหมือนๆกัน
           ดังนั้นผมก็เลยใช้เวลานั่งทบทวนดูว่าระหว่างสองคนนี้มีอะไรมั่งที่เหมือนกันทั้งคู่  ก็พบว่าสองคนนี้มีการใส่คำที่มีรูปวรรณยุกต์ลงใน
คำที่ ๖ ของบาทแรก  ซึ่งตามปกติส่วนมากแล้วเขาไม่นิยมใช้กัน  ผมก็เลยสรูปเอาว่านี่น่าจะเป็นสาเหตุที่มาแห่งคำติเตียนว่า ผิดฉันทลักษณ์-
ฉันทลักษณ์ผุผุพังพังดังกล่าว  เพราะพิจารณาแล้วตรงส่วนอื่นก็ไม่เห็นมีผิดที่ใด  เรื่องมันก็มีแค่นี้แหละครับท่านผู้ชม
ส่วนมันจะตรงหรือไม่ผมก็ไม่อาจทราบได้
           เรื่องการติเตียนคอยจับผิดผู้อื่นนี่ใครๆก็ทราบว่าไม่ใช่ผมแน่  เพราะโดยปกติผมก็เป็นที่ชอบทำอะไรแหกกฎเสมออยู่แล้ว
การจะทักใครสักคน ก็คงเพราะปรารถนาดีกับคนๆนั้นจริงครับท่าน  emo_45





หัวข้อ: Re: ♥ บั ณ ฑิ ต ฯ . . . ♪♫ . . . ติ ด โ ค ล ง ♥
เริ่มหัวข้อโดย: ไร้นวล^^ ที่ 28 มีนาคม 2012, 11:18:PM
(http://www.qzub.com/bar_019.gif) (http://www.qzub.com)
นอบครูตอบต่อข้อ   กังขา
(สา)มัญออกจัตวา   จัดจ้าน
เสียงสูงกลับได้มา    ตามกฎ
เกรงอักขระด้าน     จึ่งท้าวถามถึง

อีกหนึ่งคำห่อนนี้   ครวญแปล
อ่านบทกวีแล       บ่อยครั้ง
วานครูอย่าเชือนแช  คอยบอก
คำเก่าบุราณตั้ง    แต่งแล้วโคลงสวย

อวยชัยครูสู่หิ้ง     อัมพร
ศิษย์สะสมคำสอน  อ่านซ้ำ
ร่ายพจน์แม่แฮตอน  โคลงจบ สามเฮย
องค์ปราชญ์อยากกล่าวย้ำ เนื่องด้วยเหตุใด

ขุ่นใจข้องท่อนท้าย    เพียงกัน
จัตวาหรือสามัญ        จบถ้อย
คำสามเอกโทผัน      จึงจบ ท้ายเฮย
จะร่ายโคลงเศร้าสร้อย  กฎเกลี้ยงเพียงงง

หวังครูยงอยู่ถ้วน        พรวสา
คุณยิ่งกว่านภา          อาจอ้าง
อื่นใดเทียบปัญญา      ครูเสก ศิษย์เฮย
ทุกสิ่งที่สมสร้าง        จากน้ำใจครู

(http://www.qzub.com/bar_019.gif) (http://www.qzub.com)


หัวข้อ: Re: ♥ บั ณ ฑิ ต ฯ . . . ♪♫ . . . ติ ด โ ค ล ง ♥
เริ่มหัวข้อโดย: กามนิต ที่ 29 มีนาคม 2012, 12:14:AM
ระหว่างรอมือวางระเบิด (คุณดอกรักเร่) มาไขปัญหา กระผมก็ขอร่วมแจมประเด็นย่อย สั้น ๆ ดังนี้นะครับ

เปิดลิลิตตะเลงพ่าย พระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส อ่านอีกรอบ ดูแค่โคลงสองสามบทต้น ๆ ก็ตอบได้ตั้งหลายคำถามนะครับ

โคลง ๔
๏ บุญเจ้าจอมภพพื้น        แผ่นสยาม
แสยงพระยศยินขาม         ขาดแกล้ว
พระฤทธิ์ดังฤทธิ์ราม         รอนราพณ์
แลฤๅ ราญอริราชแผ้ว     แผกแพ้ทุกภาย ฯ

๏ ไพรินทรนาศเพี้ยง         พลมาร
พระดั่งองค์อวตาร            แต่กี้
แสนเศิกห่อนหาญราญ      รอฤทธิ์ พระฤๅ
ดาลตระดกเดชลี้             ประหลาดเหล้าแหล่งสถาน ฯ
...
๏ จงเจริญชเยศด้วย        เดชะ
ชาวอยุธย์อย่าพะ            พ่อได้
จงแพ้พินาศพระ             วิริยภาพ พ่อนา
ชนะแด่สองท่านไท้          ธิราชเจ้าจอมสยาม ฯ
....

จะเห็นว่า

๑. ไม่มีการห้ามวรรณยุกต์เอกในคำที่ ๖
๒. คำที่ ๗ เป็นไปได้ทั้งเสียงจัตวา, สามัญ และคำตาย

อีกตัวอย่างของการใช้คำตาย

๏ สงครามครานี้หนัก            ใจเจ็บ ใจนา
เรียมเร่งแหนงหนาวเหน็บ       อกโอ้
ลูกตายฤใครเก็บ                 ผีฝาก พระเอย
ผีจัดเท้งที่โพล้                   ที่เพล้ใครเผา ฯ
(ตะเลงพ่าย)

๓. การใช้คำตายในตำแหน่งคำเอก มีอยู่ทั่วไป มากกว่าคำที่มีรูปวรรณยุกต์เอกด้วยซ้ำ
๔. การใช้คำที่มากกว่า ๑ พยางค์ มีอยู่ทั่วไป แต่ต้องเข้าใจให้ถูกต้องนะครับ ว่ากรณีไหนได้ กรณีไหนไม่ได้ (ใครไม่รู้ถามมาจะบอกให้ ถ้าไม่ถามก็จะอุบไต๋ไว้ก่อน ห้าห้าห้า)


ความเห็นเพิ่มเติม

๑. คำว่า สุภาพ ในโคลงสี่สุภาพ หมายถึงว่า คำที่ ๗ ในบาทที่ ๑, คำที่ ๕ ในบาทที่ ๒ และบาทที่ ๓, และคำที่ ๙ ของบาทที่ ๔ ต้องไม่มีรูปวรรณยุกต์ (ไม่ได้หมายถึงว่าห้ามมีวรรณยุกต์ทุกคำที่ไม่บังคับเอกโทอย่างที่หลายคนเข้าใจ เพราะจริงๆแล้วมีได้ แต่อย่าให้มากจนรกนัยนา นะจ๊ะ)

        เสียงฦาเสียงเล่าอ้าง    อันใด พี่เอย
เสียงย่อมยอยศใคร                ทั่วหล้า
สองเขือพี่หลับไหล                ลืมตื่น ฤๅพี่
สองพี่คิดเองอ้า                     อย่าได้ถามเผือ ฯ
(ลิลิตพระลอ)

๒. ที่คุณ "บุคคลทั่วไป" ว่าคำที่ ๗ ในบาทแรกควรเป็นเสียงสามัญดีที่สุดนั้น ต้องขอเรียนว่า ไม่จริงครับ !

ในลิลิตพระลอ บทที่ถือกันว่าไพเราะที่สุดนั้นลงด้วยเสียงจัตวาครับ

        เสียงโหยเสียงไห้มี่       เรือนหลวง
ขุนหมื่นมนตรีปวง                 ป่วยซ้ำ
เรือนราษฎร์ร่ำตีทรวง             ทุกข์ทั่ว กันนา
เมืองจะเย็นเปนน้ำ                ย่อมน้ำตาครวญ

และเช่นเดียวกันในลิลิตตะเลงพ่าย ก็ลงด้วยจัตวาครับ

๏ สายหยุดหยุดกลิ่นฟุ้ง       ยามสาย
สายบ่หยุดเสน่ห์หาย         ห่างเศร้า
กี่คืนกี่วันวาย                   วางเทวษ ราแม่
ถวิลทุกขวบค่ำเช้า             หยุดได้ฉันใด ฯ

(ไม่ใช่สูตรตายตัว เพียงแต่ยกมาประกอบการพิจารณาเท่านั้น)

๓. แนะนำว่า  ควรหาวรรณคดีที่แต่งด้วยโคลงมาอ่านบ้าง เช่น โองการแช่งน้ำ ทวาทศมาส พระลอ ตะเลงพ่าย นิราศนรินทร์ ฯลฯ จะได้ซึมซับรสชาติโคลงที่แท้จริง จะจับเคล็ดแห่งโคลงได้ดีกว่าอ่านโคลงเพี้ยน ๆ ของกามนิต ที่มุ่งเอามันมากกว่าสาระครับ ๕๕๕)





 emo_85



หัวข้อ: Re: ♥ บั ณ ฑิ ต ฯ . . . ♪♫ . . . ติ ด โ ค ล ง ♥
เริ่มหัวข้อโดย: ช่วงนี้ไม่ว่าง ที่ 29 มีนาคม 2012, 12:58:AM
แหม...ลองยกมาซะขนาดนี้ผมก็คงไม่มีอะไรจะพูด emo_85
ว่าแต่ถ้าจะต้องยึดถือเอาเป็นแบบแผนทั้งหมด  แล้วแบบนี้จะต้องเอาตามด้วยหรือเปล่าล่ะ  emo_52

โคลง ๔
๏ บุญเจ้าจอมภพพื้น        แผ่นสยาม
แสยงพระยศยินขาม         ขาดแกล้ว
พระฤทธิ์ดังฤทธิ์ราม         รอนราพณ์
แลฤๅ ราญอริราชแผ้ว     แผกแพ้ทุกภาย ฯ

๏ ไพรินทรนาศเพี้ยง         พลมาร
พระดั่งองค์อวตาร            แต่กี้
แสนเศิกห่อนหาญราญ      รอฤทธิ์ พระฤๅ
ดาลตระดกเดชลี้             ประหลาดเหล้าแหล่งสถาน ฯ
...
๏ จงเจริญชเยศด้วย        เดชะ
ชาวอยุธย์อย่าพะ            พ่อได้
จงแพ้พินาศพระ             วิริยภาพ พ่อนา
ชนะแด่สองท่านไท้          ธิราชเจ้าจอมสยาม ฯ





หัวข้อ: Re: ♥ บั ณ ฑิ ต ฯ . . . ♪♫ . . . ติ ด โ ค ล ง ♥
เริ่มหัวข้อโดย: สายใย ที่ 29 มีนาคม 2012, 01:32:AM
แหม...ลองยกมาซะขนาดนี้ผมก็คงไม่มีอะไรจะพูด emo_85
ว่าแต่ถ้าจะต้องยึดถือเอาเป็นแบบแผนทั้งหมด  แล้วแบบนี้จะต้องเอาตามด้วยหรือเปล่าล่ะ  emo_52

โคลง ๔


๏ บุญเจ้าจอมภพพื้น        แผ่นสยาม
แสยงพระยศยินขาม         ขาดแกล้ว
พระฤทธิ์ดังฤทธิ์ราม         รอนราพณ์
แลฤๅ ราญอริราชแผ้ว     แผกแพ้ทุกภาย ฯ

๏ ไพรินทรนาศเพี้ยง         พลมาร
พระดั่งองค์อวตาร            แต่กี้
แสนเศิกห่อนหาญราญ      รอฤทธิ์ พระฤๅ
ดาลตระดกเดชลี้             ประหลาดเหล้าแหล่งสถาน ฯ
...
๏ จงเจริญชเยศด้วย        เดชะ
ชาวอยุธย์อย่าพะ            พ่อได้
จงแพ้พินาศพระ             วิริยภาพ พ่อนา
ชนะแด่สองท่านไท้          ธิราชเจ้าจอมสยาม ฯ




หรือเนื่องเพราะในสมัยนั้น .....
 - ท่านมิได้เคร่งครัดในจุดที่เรากระทำกัน  .... (คล้าย ๆ แฟชั่นตามยุคตามสมัย ...)
 - ท่านมีการอนุโลมในสิ่งที่เราไม่ล่วงรู้ (เกิดไม่ทัน)

- กาลเวลาทำให้ต้นฉบับ และ สิ่งพิมพ์คลาดเคลื่อนไป ...บ้าง

....ทีจริง ก้ไม่รู้น่ะแหละครับ อิ อิ...


หัวข้อ: Re: ♥ บั ณ ฑิ ต ฯ . . . ♪♫ . . . ติ ด โ ค ล ง ♥(จะเป็นประเด็นใหม่บ่ไหมเนี๊ยะ)
เริ่มหัวข้อโดย: อริญชย์ ที่ 29 มีนาคม 2012, 05:57:AM
โคลง ๔

อ้าศรีเสาวภาคย์เพี้ยง………..เพญแข
เรียมแต่ร้างรศแห…………...ห่างเคล้า
ฤาลืมสมรแล………………..อื่นชื่น ไปเลย
ถวิลทุกข์ยามเย็นเช้า…………ชอกช้ำก่ำทรวง ฯ

แม้วดวงกมลาศได้…………..มาดล
โดยสถานแถวสถล………….ที่นี้
จักชวนแม่ชมบน……………บรรพตร  โพ้นแฮ
พลางแม่ชมเรียมชี้………….แม่ชี้เรียมชม ฯ

ชมพนมพนาเวศห้วย…………เหวหิน
ทุกเซราะทรอกศิขรินทร์……..ร่องน้ำ
จักชวนแม่สรงสินธุ์………….แสนสนุกนิ์
สนานอุทกท่าถ้ำ……………...เถื่อนท้องแถวธาร ฯ

ทุกสถานธาเรศแม้น………..แมนผจง ไว้ฤา
หวังจักไว้ให้สรง…………….เซราะน้ำ
ปางร้างอรอนงค์……………..แหนงโศก
สรงบสร่างใจช้ำ……………..เช่นน้ำสระสมร ฯ

                             “ลลิตตะเลงพ่าย”
พระราชนิพนธ์ “สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส” (หน้า ๓๓)

ปล.ท่านใช้คำแบบเก่า เช่น “เพญแข รศแห  บรรพตร เซราะทรอก สนุกนิ์”   ท่านใดมีข้อมูลที่พิมพ์ภาษาไทยสมัยใหม่  หรือมีความรู้เรื่องนี้ ลงเทียบเคียงเพื่อเป็นวิทยาทานหน่อยก็ดีนะฮะ ขอบคุณล่วงหน้า
อีกคำ "แม้วดวงกมลาศได้…………..มาดล" ท่านก็พิมพ์มาอย่างนี้จริง ๆ นะ "แม้วดวงกมลาศได้" ไม่ใช่ "แม้"
       


 emo_107 emo_60 emo_107


หัวข้อ: Re: ♥ บั ณ ฑิ ต ฯ . . . ♪♫ . . . ติ ด โ ค ล ง ♥(จะเป็นประเด็นใหม่บ่ไหมเนี๊ยะ)
เริ่มหัวข้อโดย: น.ปฎิพน ที่ 29 มีนาคม 2012, 07:41:AM
โคลง ๔

อ้าศรีเสาวภาคย์เพี้ยง………..เพญแข
เรียมแต่ร้างรศแห…………...ห่างเคล้า
ฤาลืมสมรแล………………..อื่นชื่น ไปเลย
ถวิลทุกข์ยามเย็นเช้า…………ชอกช้ำก่ำทรวง ฯ

แม้วดวงกมลาศได้…………..มาดล
โดยสถานแถวสถล………….ที่นี้
จักชวนแม่ชมบน……………บรรพตร  โพ้นแฮ
พลางแม่ชมเรียมชี้………….แม่ชี้เรียมชม ฯ

ชมพนมพนาเวศห้วย…………เหวหิน
ทุกเซราะทรอกศิขรินทร์……..ร่องน้ำ
จักชวนแม่สรงสินธุ์………….แสนสนุกนิ์
สนานอุทกท่าถ้ำ……………...เถื่อนท้องแถวธาร ฯ

ทุกสถานธาเรศแม้น………..แมนผจง ไว้ฤา
หวังจักไว้ให้สรง…………….เซราะน้ำ
ปางร้างอรอนงค์……………..แหนงโศก
สรงบสร่างใจช้ำ……………..เช่นน้ำสระสมร ฯ

                             “ลลิตตะเลงพ่าย”
พระราชนิพนธ์ “สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส” (หน้า ๓๓)

ปล.ท่านใช้คำแบบเก่า เช่น “เพญแข รศแห  บรรพตร เซราะทรอก สนุกนิ์”   ท่านใดมีข้อมูลที่พิมพ์ภาษาไทยสมัยใหม่  หรือมีความรู้เรื่องนี้ ลงเทียบเคียงเพื่อเป็นวิทยาทานหน่อยก็ดีนะฮะ ขอบคุณล่วงหน้า
อีกคำ "แม้วดวงกมลาศได้…………..มาดล" ท่านก็พิมพ์มาอย่างนี้จริง ๆ นะ "แม้วดวงกมลาศได้" ไม่ใช่ "แม้"
       


 emo_107 emo_60 emo_107

พอจะเดาออกได้สองคำครับ

- เพญแข = เพ็ญแข แปลว่าพระจันทร์ในวันเพ็ญ

- บรรพตร = อันนี้น่าจะมาจากคำว่า บรรพตร์ กระมังครับ ถ้าเป็นแบบนั้น ก็แปลว่าภูเขา ซึ่งเนื้อหาก็เข้าได้กับโคลงพอดี

เคยเห็นครับว่าคนสมัยก่อน จะสะกดไม่เหมือนสมัยนี้ (ถ้าเป็นสมัยนี้ต้องเรียกว่า เขียนผิด ภาษาวิบัติ บลาๆ) ขนาดภาษา "วัธนธัม" บรรณารักษ์ที่หอสมุดแห่งชาติยังสะดุ้งเลยครับ ว่าเขียนผิดหรือเปล่า ซึ่งผมก็ยืนยันว่า เขียนแบบนี้แหละจริงๆ

เมื่อกี้ไปลอง search หาๆมาครับ เลยนึกขึ้นได้ เคยมีเรื่อง สนุกนิ์นึก ของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร (ที่เป็นนิทาน และยังพระนิพนธ์ไม่เสร็จ) อะครับ เลยสงสัยว่า เป็นการเขียนคำว่า สนุก ของคนสมัย ร.5 หรือเปล่าน่ะครับ ถ้าใช่ ก็แปลว่าเรามีเค้าของความหมายที่ท่านอริญชย์สงสัยแล้ว สามคำ ขาดแต่ "เซราะทรอก" ซึ่งฟังดูเหมือนคำเขมรครับ (แต่ไม่รู้ว่าแปลว่ากระไร?)
 




หัวข้อ: Re: ♥ บั ณ ฑิ ต ฯ . . . ♪♫ . . . ติ ด โ ค ล ง ♥
เริ่มหัวข้อโดย: ...สียะตรา.. ที่ 29 มีนาคม 2012, 08:09:AM




ทุกเซราะทรอกศิขรินทร์……..ร่องน้ำ



......เซราะทรอก..........น่าเป็น...........เซาะซอก...ศิขรินทร์








หัวข้อ: Re: ♥ บั ณ ฑิ ต ฯ . . . ♪♫ . . . ติ ด โ ค ล ง ♥
เริ่มหัวข้อโดย: กามนิต ที่ 29 มีนาคม 2012, 08:47:AM
แหม...ลองยกมาซะขนาดนี้ผมก็คงไม่มีอะไรจะพูด emo_85
ว่าแต่ถ้าจะต้องยึดถือเอาเป็นแบบแผนทั้งหมด  แล้วแบบนี้จะต้องเอาตามด้วยหรือเปล่าล่ะ  emo_52

โคลง ๔
๏ บุญเจ้าจอมภพพื้น        แผ่นสยาม
แสยงพระยศยินขาม         ขาดแกล้ว
พระฤทธิ์ดังฤทธิ์ราม         รอนราพณ์
แลฤๅ ราญอริราชแผ้ว     แผกแพ้ทุกภาย ฯ

๏ ไพรินทรนาศเพี้ยง         พลมาร
พระดั่งองค์อวตาร            แต่กี้
แสนเศิกห่อนหาญราญ      รอฤทธิ์ พระฤๅ
ดาลตระดกเดชลี้             ประหลาดเหล้าแหล่งสถาน ฯ
...
๏ จงเจริญชเยศด้วย        เดชะ
ชาวอยุธย์อย่าพะ            พ่อได้
จงแพ้พินาศพระ             วิริยภาพ พ่อนา
ชนะแด่สองท่านไท้          ธิราชเจ้าจอมสยาม ฯ






อะจ๊ากกกกก... ผมผิดเองแหละครับ

ต้นฉบับ (พิมพ์โดยกรมศิลปากร) ที่ถูกต้องคือ

    ๏ บุญเจ้าจอมภพพื้น        แผ่นสยาม
แสยงพระยศยินขาม         ขาดแกล้ว
พระฤทธิดั่งฤทธิราม         รอญราพณ์    แลฤๅ
ราญอริราชแผ้ว              แผกแพ้ทุกพาย ฯ


ถ่ายรูปมาเป็นพยาน

(http://image.ohozaa.com/i/c06/hR6O0d.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/vYIuKPmJgfcJk5uU)

คัดจากเล่มนี้ครับ

(http://image.ohozaa.com/i/dd6/zsKwqx.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/vYIBK1o7Ma0zYIDe)

 emo_85


หัวข้อ: Re: ♥ บั ณ ฑิ ต ฯ . . . ♪♫ . . . ติ ด โ ค ล ง ♥
เริ่มหัวข้อโดย: อริญชย์ ที่ 29 มีนาคม 2012, 09:11:AM
ของผมใช้เป็นฉบับนี้


Last updated  2007-4-25 0:00:00 
Author  สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส 
Title  ลิลิตตะเลงพ่าย / พระนิพนธ์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส 
Imprint  2549 
Physical Description  209 หน้า 
Note  จัดพิมพ์ประกาศพระเกียรติคุณ "วันอดีตเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพน และดิถีคล้ายวันสิ้นพระชนม์สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ปุ่น ปุณณสิริมหาเถร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก 
Subject  วรรณคดีไทย 
 ลิลิตตะเลงพ่าย 
ISBN  9743444548 
Call Number  PN45 ส-ล 2549 

http://202.28.4.2:8080/opac/browseBibAction.do?reqBib=1194709&state=r&call= (http://202.28.4.2:8080/opac/browseBibAction.do?reqBib=1194709&state=r&call=)


หัวข้อ: Re: ♥ บั ณ ฑิ ต ฯ . . . ♪♫ . . . ติ ด โ ค ล ง ♥
เริ่มหัวข้อโดย: แงซาย ที่ 29 มีนาคม 2012, 09:37:AM
๔. การใช้คำที่มากกว่า ๑ พยางค์ มีอยู่ทั่วไป แต่ต้องเข้าใจให้ถูกต้องนะครับ ว่ากรณีไหนได้ กรณีไหนไม่ได้ (ใครไม่รู้ถามมาจะบอกให้ ถ้าไม่ถามก็จะอุบไต๋ไว้ก่อน ห้าห้าห้า)

...รักเล่นจึงเร่งรู้                   ความหมาย
ถามท่านผู้บรรยาย               ก่อนนั้น
เรื่องพยางค์เดี่ยวหรือหลาย    มีอยู่
ควรจักตบแต่งปั้น                ว่าใช้การไหน ฯ


         emo_82 emo_85


หัวข้อ: Re: ♥ บั ณ ฑิ ต ฯ . . . ♪♫ . . . ติ ด โ ค ล ง ♥
เริ่มหัวข้อโดย: บูรพาท่าพระจันทร์ ที่ 29 มีนาคม 2012, 09:47:AM





เป็นกระทู้ที่น่าชื่นชมมากเลยครับ  โดยเฉพาะบรรดาความเห็นที่หลากหลาย ให้แง่คิดที่มีประโยชน์มาก

สมบูรณ์ด้วยเหตุผลรองรับในแต่ละความเห็น  โดยเฉพาะผู้ที่สนใจในเรื่องโคลงได้ความรู้อย่างคาดไม่ถึง

โดยไม่ต้องเสียเวลาค้นหาด้วยตนเองอีก  สมเป็นเวทีแห่งปัญญาครับ. emo_28



                                              emo_126


หัวข้อ: Re: ♥ บั ณ ฑิ ต ฯ . . . ♪♫ . . . ติ ด โ ค ล ง ♥
เริ่มหัวข้อโดย: กามนิต ที่ 29 มีนาคม 2012, 11:08:AM
๔. การใช้คำที่มากกว่า ๑ พยางค์ มีอยู่ทั่วไป แต่ต้องเข้าใจให้ถูกต้องนะครับ ว่ากรณีไหนได้ กรณีไหนไม่ได้ (ใครไม่รู้ถามมาจะบอกให้ ถ้าไม่ถามก็จะอุบไต๋ไว้ก่อน ห้าห้าห้า)

...รักเล่นจึงเร่งรู้                   ความหมาย
ถามท่านผู้บรรยาย               ก่อนนั้น
เรื่องพยางค์เดี่ยวหรือหลาย    มีอยู่
ควรจักตบแต่งปั้น                ว่าใช้การไหน ฯ


         emo_82 emo_85

        จะว่าไปก็ย้าว              ยาวเชียว
เห็นจะตอบทีเดียว              ไม่สิ้น
เอาสั้นแค่เสียวเสียว            ไปก่อน   นะพ่อ
วันพรุ่งจะมาดิ้น                   กระโดดให้ขังขึง ฯ

        หนึ่งถือคำเด่นแจ้ง          จึงนับ   นั้นนอ
คำที่เบาเบามิจับ                    ทุกถ้อย
สนุกสนานสละสลวยสลับ          คะเนคณะ   ก็ได้แฮ
แต่จะยืดยาวย้อย                    บ่สู้จะนิยม ฯ

         สลักคมเสนาะข้อ           พอประมาณ
ไม่ยืดย้วยเกินการ                   สลับไว้
จังหวะจะโคนสาน                    พอเหมาะ
ย่อมส่งลีลาให้                         สะดุดเบ้าตาคน ฯ

กามนิต - ๒๙ มี.ค.๕๕
 emo_85


หัวข้อ: Re: ♥ บั ณ ฑิ ต ฯ . . . ♪♫ . . . ติ ด โ ค ล ง ♥
เริ่มหัวข้อโดย: ช่วงนี้ไม่ว่าง ที่ 29 มีนาคม 2012, 12:00:PM


กามนิตท่านเลิศล้ำ  เก่งโคลง
หาหลักฐานเชื่อมโยง  ชอบแล้ว
มายันผสมโรง          เราพ่าย แพ้นอ
ลิลิตตะเลงพ่ายแผ้ว    จากเบื้องโบราณ

คารวะหนึ่งครั้ง       ท่านเอย
เชิญเถิดเราท่านเอ๋ย   อย่าช้า
ผู้ปราชญ์ท่านภิเปรย   ในหลัก การแล
ขจัดโง่งมงายข้า            ห่างพ้นภัยเขลา

ตัวข้ารู้หลักน้อย       ต้องลา
เขาดั่งหงส์เรากา       แน่แท้
ควรอยู่เยี่ยงอย่างสา-   มัญนะ  เรานา
ยอมรับว่าพ่ายแพ้       อับด้วยเหตุผล

อภัยข้าเถิดเน้อท่าน     ปราชญ์ศรี
เรื่องหลักการข้ามี         แต่น้อย
ผิดแล้วที่ราวี               ท้าต่อ ท่านนา
ดังกบตัวกระจ้อย         อาจท้าทายสิงห์

ษมาพ่อแม่พี่น้อง          บ้านกลอน
ขอโทษอย่าตัดรอน       เคียดขึ้ง
ผิดนั้นเยี่ยงอุทาหรณ์     ควรจด จำนอ
เป็นบทเรียนให้ซึ้ง        สู่ห้วงมานนิรันดร์

ขอขอบคุณทุกผู้-          อ่านฟัง
มาถกมาแจงบัง-            เกิดรู้
ใดเขลาขจัดฝัง              จากจิต
ใดผิดจงคิดสู้                สืบค้นครรลองฯ


ด้วยจิตคารวะ

 emo_85    emo_126    emo_87




หัวข้อ: Re: ♥ บั ณ ฑิ ต ฯ . . . ♪♫ . . . ติ ด โ ค ล ง ♥
เริ่มหัวข้อโดย: แงซาย ที่ 29 มีนาคม 2012, 12:01:PM

๔. การใช้คำที่มากกว่า ๑ พยางค์ มีอยู่ทั่วไป แต่ต้องเข้าใจให้ถูกต้องนะครับ ว่ากรณีไหนได้ กรณีไหนไม่ได้ (ใครไม่รู้ถามมาจะบอกให้ ถ้าไม่ถามก็จะอุบไต๋ไว้ก่อน ห้าห้าห้า)

...รักเล่นจึงเร่งรู้                   ความหมาย
ถามท่านผู้บรรยาย               ก่อนนั้น
เรื่องพยางค์เดี่ยวหรือหลาย    มีอยู่
ควรจักตบแต่งปั้น                ว่าใช้การไหน ฯ


         emo_82 emo_85

        จะว่าไปก็ย้าว              ยาวเชียว
เห็นจะตอบทีเดียว              ไม่สิ้น
เอาสั้นแค่เสียวเสียว            ไปก่อน   นะพ่อ
วันพรุ่งจะมาดิ้น                   กระโดดให้ขังขึง ฯ

        หนึ่งถือคำเด่นแจ้ง          จึงนับ   นั้นนอ
คำที่เบาเบามิจับ                    ทุกถ้อย
สนุกสนานสละสลวยสลับ          คะเนคณะ   ก็ได้แฮ
แต่จะยืดยาวย้อย                    บ่สู้จะนิยม ฯ

         สลักคมเสนาะข้อ           พอประมาณ
ไม่ยืดย้วยเกินการ                   สลับไว้
จังหวะจะโคนสาน                    พอเหมาะ
ย่อมส่งลีลาให้                         สะดุดเบ้าตาคน ฯ

กามนิต - ๒๙ มี.ค.๕๕
 emo_85


...สนใจไม่ว่าสั้น                หรือยาว
เพียงแต่ได้เรื่องราว           เท่านั้น
ความรู้ท่านแพรวพราว      เป็นหนึ่ง   จริงพ่อ
รอพรุ่งคงอัดอั้น               แต่ต้องจำรอ ฯ

    ขอความกระจ่างแจ้ง      แจงเชียว
เข้าเรื่องแบบเพียวเพียว      อย่าช้า
ใจวัยรุ่นมันเปรียว             ขอบอก
คลุ้มคลั่งอย่าสั่งล้า            โปรดให้คำเฉลย ฯ


 emo_82 emo_126


หัวข้อ: Re: ♥ บั ณ ฑิ ต ฯ . . . ♪♫ . . . ติ ด โ ค ล ง ♥
เริ่มหัวข้อโดย: น.ปฎิพน ที่ 29 มีนาคม 2012, 12:20:PM
เคยอ่านในอีกที่หนึ่งอะครับ ว่า การแต่งโคลงให้ดีนั้น ควรจะต้องผูกโทให้ดีก่อน...

จริงๆก็รู้บ้างนะครับ แต่อยากฟังท่านกามนิต และหลายๆท่านมาขยายความอะครับ

จะได้ประเทืองปัญญามากขึ้นกว่าเดิม

"๐ ขอขอบคุณทุกผู้-          อ่านฟัง
มาถกมาแจงบัง-            เกิดรู้
ใดเขลาขจัดฝัง              จากจิต
ใดผิดจงคิดสู้                สืบค้นครรลองฯ"

ก็อปมาจากคุณ บุกคคลทั่วไป นะครับ ไม่ได้แต่งเอง



หัวข้อ: Re: ♥ บั ณ ฑิ ต ฯ . . . ♪♫ . . . ติ ด โ ค ล ง ♥
เริ่มหัวข้อโดย: ไร้นวล^^ ที่ 29 มีนาคม 2012, 12:42:PM
  
(http://www.qzub.com/bar_182.gif) (http://www.qzub.com)
ฟังคำเอ่ยตอบด้วย   อีกคน

  การก่อกฏกลบกล      กลับกร้าน
  
  จึงน้อมกล่าวกลัวตน   อลหม่าน

  ตึงเต่งติดต่อต้าน     ขาดขึ้งขมโคลง

(http://www.qzub.com/bar_182.gif) (http://www.qzub.com)


หัวข้อ: Re: ♥ บั ณ ฑิ ต ฯ . . . ♪♫ . . . ติ ด โ ค ล ง ♥
เริ่มหัวข้อโดย: บัณฑิตเมืองสิงห์ ที่ 29 มีนาคม 2012, 03:56:PM
วิทยาโคลงท่วมท้น     ทวีคูณ
มีเหล่าวิญญูกูล     ก่อเกื้อ
งานเขียนจึ่งจำรูญ     เพียงท่าน สอนแฮ
ขจัดความรกเรื้อ     ไป่ได้งามงอน ฯ

นอนวิเคราะห์อ่านแล้ว     ตรึกตรอง
ใดเด่นคือครรลอง     จดไว้
ใดพลาดผิดคือทอง     มีค่า อยู่เฮย
หากพากเพียรเรียนไซร้     จักรู้วิชา ฯ

เอ่ยหาชื่อกระทู้     เราติด โคลงเอย
ใช่ว่าดัดจริต     จักรั้น
แค่เพียงอยากประดิษฐ์     เพี้ยนแผก บ้างนา
คือชื่อโคลงกระทู้นั้น     แบบเบื้องบุราณเอย ฯ

เลยอยากชวนเพื่อนพ้อง     ประพันธ์
โคลงกระทู้รู้กัน     ถักถ้อย
ตามแบบท่านสร้างสรรค์     นาพ่อ- แม่เอย
เชิญร่วมเรียนเรียงร้อย     บัดนี้สืบไป ๚ะ๛

(http://www.klonthaiclub.com/pic/bar_017.gif)

บัณฑิตเมืองสิงห์


หัวข้อ: Re: ♥ บั ณ ฑิ ต ฯ . . . ♪♫ . . . ติ ด โ ค ล ง ♥
เริ่มหัวข้อโดย: อริญชย์ ที่ 29 มีนาคม 2012, 04:07:PM

เขียนโคลงยากยิ่งแท้..........ฉันทลักษณ์
หลายอย่างเพียรจารสลัก......หนักอึ้ง
อมความเยี่ยมยากนัก...........ชนชอบ
เพียงแต่ทนเครียดบึ้ง..........แต่ขึ้งเครียดทน ฯ




ขออภัยมือใหม่หัดมึนนนนน

 emo_84 emo_107 emo_84


หัวข้อ: Re: ♥ บั ณ ฑิ ต ฯ . . . ♪♫ . . . ติ ด โ ค ล ง ♥
เริ่มหัวข้อโดย: กามนิต ที่ 30 มีนาคม 2012, 08:13:AM
การนับคำทางฉันทลักษณ์

ก่อนอื่นต้องทราบก่อนว่า คำประพันธ์ประเภทที่บังคับครุ-ลหุ  นับหนึ่งพยางค์เป็นหนึ่งคำ

ส่วนคำประพันธ์ประเภทที่ไม่บังคับครุ-ลหุ นับหลายพยางค์เป็นหนึ่งคำได้ โดยถือเสียงดังเด่นเป็นสำคัญ เช่น วิทยาลัย อาจนับได้ตั้งแต่ ๑-๔ คำตามแต่ลักษณะการออกเสียง ถ้าออกเสียงเบารวมกลุ่มนับเป็น ๑ คำ ถ้าลงท้ายหนักที่พยางค์ วิทยา-ลัย หรือ วิท-ทยาลัย นับเป็น ๒ คำ ถ้าลงท้ายหนักที่พยางค์ วิท-ทยา-ลัย นับเป็น ๓ คำ ถ้าออกเสียงหนักเสมอกันทุกพยางค์ วิด-ทะ-ยา-ลัย นับเป็น ๔ คำ

การนับคำทางฉันทลักษณ์ถือการออกเสียงเป็นเกณฑ์ เมื่ออ่านคำประพันธ์ ผู้อ่านจึงต้องทราบฉันทลักษณ์คำประพันธ์ชนิดนั้น เพื่อจะได้แบ่งเสียงอ่านได้ครบถ้วนฉันทลักษณ์ ไม่ทำให้จังหวะลีลาของคำประพันธ์บกพร่องไป

จังหวะเสริมและลูกเก็บ

ในโคลงมีจังหวะปลีกย่อยเป็นกรอบอีกชั้นหนึ่ง เป็นกลเม็ดที่กวีแต่ละคนจะใช้หรือไม่ใช้ก็ได้ เพื่อให้โคลงมีความไพเราะยิ่งขึ้น จึงมีการเพิ่มลหุเข้าไปในโคลงโดยไม่ให้จังหวะของกรอบเดิมเสียไป

เวลาอ่านจะต้องมีลูกเก็บเหมือนตีระนาด ถ้าตีเทิ่ง ๆ ไปไม่ไพเราะฉันใด การอ่านโคลงมีจังหวะเสริมที่มีลูกเก็บก็ไม่ไพเราะฉันนั้น มิหนำซ้ำอาจคิดไปว่ากวีแต่งโคลงไม่เป็น ตรงกันข้ามคือกวีแต่งโคลงเพราะแล้วแต่คนอ่านไม่เป็นจึงไม่เพราะ ทำให้โคลงเสียไปหมด ดังพระนิพนธ์เจ้าฟ้ากุ้งที่ว่า

            ๏ อักษรเรียบร้อยถ้อย            คำเพราะ
    ผู้รู้อ่านสารเสนาะ                        เรื่อยหรี้
    บ่รู้อ่านไม่เหมาะ                          ตรงเทิ่ง    ไปนา
    ทำให้โคลงทั้งนี้                          ชั่วช้าเสียไป ฯ

            ๏ อักษรสรรค์สร้างช่าง          ชุบจาน
    โคลงก็เพราะเสนาะสาร                 แต่งไว้
    ผู้รู้อ่านกลอนการ                         พาชื่น    ใจนา
    ผู้บ่รู้อ่านให้                               ขัดข้องเสียโคลง ฯ

ท่าน น.ม.ส.ได้ยกตัวอย่างโคลงให้ดู คือ

             ๏ กรุงเทพมหานครนี้            นามระบิล
    อมรรัตนโกสินทร์                          ต่อสร้อย

โคลงสองบาทนี้ ถ้าคนอ่านไม่เป็น ก็อ่านเทิ่ง ๆ ว่า กรุง-เทบ-มหา-นคร-นี้    นาม-รบิล    อะ-มอน-รัด-โก-สินทร์     ต่อ-สร้อย   นี่คืออ่านอย่างไม่มีลูกเก็บ (แถมอาจคิดว่าโคลงนี้ผิดฉันทลักษณ์ไปเสีย) ถ้าอ่านให้ไพเราะควรให้มีลูกเก็บว่า  กรุง-เทบพะ-มหา-นะคะระ-นี้    นาม-รบิล    อะมอน-รัด-ตะนะ-โก-สินทร์    ต่อสร้อย  จึงฟังดูไม่ห้วน (และไม่ผิดฉันทลักษณ์)

แต่มิได้หมายความว่าโคลงทุกบาทต้องอ่านมีลูกเก็บเสียหมด บางบทก็อ่านมีลูกเก็บไม่ได้ เช่น "ข่ายเขตเหตุให้ไห้    เหือดแห้งแรงโหย" เป็นต้น

จังหวะเสริมนี้เป็นเคล็ดอย่างหนึ่งของกวีบางคนที่นิยมกัน เช่น กรมพระปรมานุชิตฯ, น.ม.ส. และกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ตัวอย่าง

            ๏ พระอนุชาข้าแกล้วกล่าว         กลอนถวาย
    พยัญชนะคลาสบาทกลายหลาย          แห่งพลั้ง
    ผิดอรรถะขจัดขจายปลาย                 สลายสล่ำ
    แม้พลาดประมาทประมาณยั้ง              โทษะร้ายขจายเสีย
                                                                  (กรมพระปรมานุชิตฯ)

            ๏ งามผงาดราชะพ่าหะเพี้ยง       พรหมทรง
    พระธินั่งศรีสุพรรณหงษ์                    รเห็จห้วง
    หงษ์ทองล่องลอยลง                       รองบาท    พระฤๅ
    กลอนเกริ่นเพลินพายจ้วง                  พากย์แจ้วจำเรียง
                                                                 (น.ม.ส., กาพย์เห่เรือ)

            ๏ หวือวิเวกการะเวกร้อง           รงมสวรรค์
    เสนาะมิเหมือนเสนาะฉันท์                เสนาะซึ้ง
    ประกายฟ้าสุริยาจันทร์                    แจร่มโลก
    เมฆพยับอับแสงสอึ้ง                       อร่ามแท้ประพนธ์เฉลย
                                                                (กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์, ลิลิตมหามกุฎราชคุณานุสรณ์)

บทสุดท้ายนี้ หากจะลองนับนิ้วดูจะเห็นว่า บาทแรก ๑๑ พยางค์ บาทสอง ๑๐ พยางค์ บาทสาม ๑๐ พยางค์ บาทสุดท้าย ๑๔ พยางค์ รวมแล้ว ๔๕ พยางค์ บางคนอาจจะโวยวายว่าใช้คำเกิน แท้จริงแล้วไม่เกิน ๓๐ คำตามบังคับ แต่เป็นจังหวะเสริม คือแทรกลหุเข้าไป ๑๕ แห่งต่างหาก

พ.ณ.ประมวลมารค ให้ความเห็นไว้ว่า ผู้ที่อ่านจังหวะเสริมไม่เป็นมักติพระนิพนธ์ในกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ว่า " สบัดสบิ้ง " บ้าง ว่าไม่ใช่โคลงบ้าง เพราะนับแล้วเกิน ๓๐ คำตามตำรา เรื่องมันไม่มีกวีไหนเขานับนิ้วกัน เขาใช้หูเป็นเครื่องวัดทั้งนั้น แล้วของท่านก็ไม่เห็นมีครุเกินที่ไหนซักแห่งเดียว ท่านเสริมก็เสริมด้วยลหุ ไม่เปลี่ยนกรอบลีลาเดิมเลย

นอกจากนี้ ให้สังเกตว่ากวีเก่าบางท่านประวิสรรชนีไม่เหมือนในพจนานุกรม ที่ท่านจำเป็นต้องทำเช่นนั้นก็เพราะไม่ต้องการให้คนอ่านจังหวะเสริมของท่านผิด

ต่อนี้ไปใครเคยนับนิ้วนับพยางค์ในโคลง ให้เข้าใจเสียใหม่ว่า การนับคำเขาถือเสียงเด่นเป็นสำคัญ ไม่ใช่นับ ๑ พยางค์เป็น ๑ คำ การแทรกจังหวะเสริมด้วยลหุอันเป็นคำเบา ไม่ได้ทำให้กรอบลีลาเดิมของโคลงเสียไปเลย

แต่การนำไปใช้ต้องให้พอเหมาะ เมื่อต้องการให้อ่านเนิบ ๆ ช้า ๆ ก็มักไม่จำเป็นต้องมีลูกเก็บ เช่น บทชมดงในตะเลงพ่าย

            ๏ อบเชยอบชื่นชี้                   เฌอสม    ยาฤๅ
    อบว่าอรอบรม                                รื่นเร้า
    อบเชยพี่เชยชม                             กลิ่นอบ    เฌอนา
    อบอั่งอบองค์เจ้า                            จักให้เรียมเชยฯ

การรบพุ่ง มีจังหวะดุดัน สง่า เร่งเร้า ว่องไว มีไดนามิก

            ๏ สองโจมสองจู่จ้วง               บำรู
    สองขัติยสองขอชู                         เชอดด้ำ
    กระลึงกระหลอกดู                         ไวว่อง    นักนา
    ควาญขับคชแข่งค้ำ                       เข่นเขี้ยวในสนาม ฯ

ส่วนบทเฉลิมพระเกียรติ นึกภาพพราหมณ์ทำพิธีสวดเสียงสูงรัวลิ้น ให้อารมณ์ขรึมขลัง

            ๏ บุญเจ้าจอมภพพื้น                แผ่นสยาม
   แสยงพระยศยินขาม                          ขาดแกล้ว
    พระฤทธิดั่งฤทธิราม                         รอญราพณ์    แลฤๅ
    ราญอริราชแผ้ว                               แผกแพ้ทุกภาย ฯ

==================

ป.ล. ๑  เรียนท่านบุคคลทั่วไป

        ขอเรียนว่าไม่ค่อยสบายใจที่ท่านใช้คำว่าแพ้-ชนะ  กา-หงส์ ณ ที่นี้ ขออย่าได้คิดไปไกลขนาดนั้นเลย พวกเราต่างก็คนหลงใหลร้อยกรอง มีที่มาต่างกัน ชอบแนวทางต่าง ๆ กันไป ตรงนี้แค่การแสดงความเห็นเพียงบางเสี้ยว แลกเปลี่ยนความรู้กัน ได้ประโยชน์หลายฝ่าย ผมอาจจะผิด หากมีผู้ท้วง ผู้ช่วยแก้ ก็จะเป็นประโยชน์แก่ผม ท่านก็เช่นกัน ดังนั้นจึงไม่มีใครชนะใคนแพ้ ณ ที่นี้ ขอให้ถือว่าคนที่ทักที่ท้วงคือกัลยาณมิตร อันจะให้คุณแก่มิตรทุกคน หากมีอันใดล่วงเกินท่าน ก็ต้องขออภัยเป็นอย่างสูง หวังว่าคงเข้าใจนะครับ

ป.ล.๒  วันนี้เวลาน้อย ต้องขออภัยที่ได้ได้แจมกลอนกับท่านใดเลย พิมพ์ตกพิมพ์ผิดต้องขออภัย ดึก  ๆ หากมีเวลาจะแวะมาอีกครั้งครับ


 emo_126



หัวข้อ: Re: ♥ บั ณ ฑิ ต ฯ . . . ♪♫ . . . ติ ด โ ค ล ง ♥
เริ่มหัวข้อโดย: แงซาย ที่ 30 มีนาคม 2012, 09:54:AM


    ขอบคุณครับท่านกามนิต   ที่มาให้ความกระจ่างตามสัญญา
              บ้านกลอนไทยมีสมาชิกมากมายที่ชื่นชอบบทกวี  มีทั้งผู้รู้และผู้ที่อยากรู้ (อย่างผม)
(ความเห็นส่วนตัวนะครับ) โคลงเป็นบทกวีที่มี กฏ กติกา ที่เรียกว่าฉันทลักษณ์ค่อยข้างเยอะอยู่
 ซึ่งก็มีมาแต่ครั้งโบร่ำโบราณ ผ่านยุคสมัยมาจนถึงปัจจุบัน  ควรที่จะมีผู้อนุรักษ์สืบต่อไป
              ภาษาที่ใช้ประพันธ์ ถ้าหากนำคำเก่าๆโบราณๆ มาใช้ก็ดูรู้สึกว่าขลังและงดงามดี
(แต่ต้องแปลไทยเป็นไทยอีกที)  สำหรับผู้มาใหม่ (อย่างผม)ก็หัดแต่งหัดเล่น  เริ่มจากกติกาพื้นฐาน
คือ เอก ๗ โท ๔ วางตำแหน่งให้ถูก ศึกษาคำเป็น คำตาย บ้าง แล้วก็ลองแต่งดู เสร็จก็ส่งการบ้าน
ถ้าถูกก็ผ่านไป  แต่ถ้าผิดแล้วผ่านไป ไม่มีใครท้วงติง  เราก็จะสำคัญผิดคิดเป็นถูกได้
               ฉะนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยท่านผู้รู้คอยชี้แนะ ติติง เพื่อกระชับที่ความถูกต้อง
ให้มากขึ้น  เพราะความถูกต้องตามกฏเกณฑ์ และค่าความนิยมมักจะเดินคู่กันไปเสมอ  เพื่อประโยชน์
แก่ผู้เสพโคลงจนติด ได้เดินทางอย่างถูกต้อง
              ขอขอบคุณท่านผู้รู้ทุกท่านที่มาให้ความกระจ่าง คนบ้านเดียวกัน ถือเสมือนเป็นกัลยาณมิตรครับ


หัวข้อ: Re: ♥ บั ณ ฑิ ต ฯ . . . ♪♫ . . . ติ ด โ ค ล ง ♥
เริ่มหัวข้อโดย: น.ปฎิพน ที่ 30 มีนาคม 2012, 10:39:AM

ที่ท่านกามนิตเขียนไว้ว่า...

"นอกจากนี้ ให้สังเกตว่ากวีเก่าบางท่านประวิสรรชนีไม่เหมือนในพจนานุกรม ที่ท่านจำเป็นต้องทำเช่นนั้นก็เพราะไม่ต้องการให้คนอ่านจังหวะเสริมของท่านผิด"

อันนี้จริงเลยครับ... ยิ่งถ้าเป็นฉันท์ ก็จะยิ่งเห็นมากขึ้น

ท่านชิต บุรทัต จะประวิสรรชนีย์ในตำแหน่งที่ต้องการให้ผู้อ่าน อ่านคำลหุ มิฉะนั้นแล้ว จะไม่ลงฉันทลักษณ์ ทำนองจะออกมาแปลกๆ ความไพเราะก็จะหายไป...

อย่างเช่น:

อินทรวิเชียรฉันท์ 11

๏ หวังเทอญมิต้องสง-....สัยะคงประสบพลัน
ซึ่งสุขเกษมสันต์...........หิตะกอบทวีการ

(บทสรุปสามัคคีเภทคำฉันท์)

จะเห็นว่า คำว่า สัย นั้น ถ้าไม่ประวิสรรชนีย์ จะอ่านเฉยๆว่า ไส ซึ่งเป็นครุ... เมื่อประวิสรรชนีย์แล้ว จะให้อ่านว่า สะยะ จะได้ลงลหุสองพยางค์ตามต้องการ

หิต ก็เหมือนกันครับ



หัวข้อ: Re: ♥ บั ณ ฑิ ต ฯ . . . ♪♫ . . . ติ ด โ ค ล ง ♥
เริ่มหัวข้อโดย: ช่วงนี้ไม่ว่าง ที่ 30 มีนาคม 2012, 11:38:AM



ตอบ คุณกามนิต

               มารับรู้และรับทราบครับ  แล้วก็ไม่ได้คิดขัดเคืองหรือติดใจอะไร    เหตุผลก็บอกไปแล้วข้างบนนะครับว่าไม่ได้มีความคิดจับผิดอะไร
แต่ที่ต้องพูดก็เพราะมีผู้ทักท้วง  แต่ถามแล้วเขาไม่ยอมตอบมันก็เป็นเรื่องที่เราต้องมาหาคำตอบเอาเอง  คิดว่าคงเข้าใจนะครับ
                 ส่วนเรื่องบทโคลงก่าๆตามที่คุณกามนิตได้ยกตัวอย่างมาให้ดูนั้นก็รับทราบครับ  และก็พอจะทราบอยู่บ้างว่าโคลงกลอนเก่าๆนั้น
ก็อาจจะมีบ้างบางบทที่ไม่ค่อยตรงกับฉันลักษณ์ที่ยึดถืออยู่ในปัจจุบันนี่นัก และก็เฉพาะบางบทและเป็นส่วนน้อยเท่านั้นซึ่งต้องยกให้เป็นกรณีพิเศษ
เราคนรุ่นหลังก็เพียงแต่รับรู้รับทราบและถือเป็นกรณีศึกษาเป็นเรื่องที่ควรรู้ไว้ประดับสติปัญญาเท่านั้น
ส่วนเมื่อรู้แล้วจะปฏิบัติอย่างไรต่อนั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง  เรื่องบางอย่างแม้ท่านเคยทำไว้แต่เราก็ไม่จำเป็นต้องถือตามเสมอ  คิดว่าเรื่องนี้หลายคนคงเข้าใจ
เป็นอย่างดี
                 การศึกษากฎเกณฑ์ในเบื้องต้น เพื่อให้เรารู้จำแนกผิดถูก ไหนถูกเราถือเอาปฏิบัติตาม  ไหนผิดเราก็ละไว้โดยไม่ต้องไปวิจารณ์หรือติติง
เพราะนั่นเท่ากับเป็นการจาบจ้วงละเมิดครูบาอาจารย์ซึ่งเป็นสิ่งไม่สมควร
             สุดท้ายนี้หวังว่าเราคงเข้าใจกันดีแล้ว  ต้องขออภัยคุณบัณฑิตเมืองสิงห์ด้วย ที่ทำให้กระทู้ท่านปั่นป่วนวุ่นวายทั้งๆที่มันน่าจะเป็นบรรยากาศแห่งการ
ต่อโคลงกันแท้ๆ  ท่านอุตส่าประดิษฐ์ถ้อยร้อยคำแทนที่จะได้รับคำชมกลายเป็นว่าต้องเป็นที่โต้เถียงกันไปมา 


                                                                                            บุคคลทั่วไป

                                                                                            emo_126





หัวข้อ: Re: ♥ บั ณ ฑิ ต ฯ . . . ♪♫ . . . ติ ด โ ค ล ง ♥
เริ่มหัวข้อโดย: ไร้นวล^^ ที่ 30 มีนาคม 2012, 04:01:PM
(http://www.qzub.com/bar_075.gif) (http://www.qzub.com)
บัณฑิตฯท่านนั่งครึ้ม   ครวญโคลง

เพื่่อนพจน์ผสมโรง    หลั่นล้า

กระทู้คึกควันโขมง    คงแอบ ยิ้มเฮย

ยิ่งร่ำเร่งเพลงพร้า    ถอดด้ามสาดสาร์น

(http://www.qzub.com/bar_075.gif) (http://www.qzub.com)


หัวข้อ: Re: ♥ บั ณ ฑิ ต ฯ . . . ♪♫ . . . ติ ด โ ค ล ง ♥
เริ่มหัวข้อโดย: บัณฑิตเมืองสิงห์ ที่ 30 มีนาคม 2012, 04:29:PM
ท่านเอยเราเร่าเร้า     สนใจ
ประโยชน์ใด๋ใด่ใด     น่ารู้
บัณฑิตฯชื่นชอบใจ     ใจใจ่ ใจ้นา
เพียงติดโคลงกระทู้     ทู่ทู้ทูทู ๚ะ๛

ผมได้ความรู้จากกระทู้นี้เยอะแยะเลยครับ ขอบคุณความคิดเห็นของทุกๆท่านนะครับ
เรื่องไหนที่ผมไม่เคยรู้ผมก็รู้ เรื่องไหนที่ผมเคยอ่านมาบ้าง ก็มีความรู้มากขึ้นครับ
ยิ้มกับความรู้ที่ได้มากกว่าครับพี่ไร้นาม  emo_47


หัวข้อ: Re: ♥ บั ณ ฑิ ต ฯ . . . ♪♫ . . . ติ ด โ ค ล ง ♥
เริ่มหัวข้อโดย: ไพร พนาวัลย์ ที่ 30 มีนาคม 2012, 04:59:PM

บัณฑิตจิตมุ่งเอื้อ             เจือจาน
บ่มิทำรำคาญ                   แต่น้อย
เพื่อต่อเพื่อสืบสาน          กานท์ก่อ ไทยเฮย
ทุกท่านจึ่งเรียงร้อย          ร่วมสร้างทางนิพนธ์

ดั่งมนต์มัดจิตให้           วนเวียน
ทุกท่านต่างนำเทียน       ส่องหล้า
ด้วยใจรักสมัครเพียร      มีต่อ กันแฮ
ยิ้มย่องผ่องใสหน้า         อย่างผู้มีชัย

“ไพร พนาวัลย์”


นี่แหละคือความงดงามแห่งน้ำใจเหล่าท่านที่นำมาฝากพวกเราล่ะ
ขอขอบคุณและคารวะด้วยความจริงใจ
 emo_126   emo_126   emo_126


หัวข้อ: Re: ♥ บั ณ ฑิ ต ฯ . . . ♪♫ . . . ติ ด โ ค ล ง ♥
เริ่มหัวข้อโดย: ไร้นวล^^ ที่ 30 มีนาคม 2012, 06:13:PM
(http://www.qzub.com/bar_029.gif) (http://www.qzub.com)

สดใสแสงส่องซ้อง    สยาม

เปล่งปลั่งช่างงดงาม   อร่ามรุ้ง

กวีวาดวับวาม         ระยิบระยับ

ดารดาษฟ่องฟุ้ง     เฟื่องฟ้าสวรรค์




ครั้นคราวเกิดก่อเนื้อ  กายมา

วิบากกรรมพัดพา     พบพ้อง

กุศลส่งโสภา       ยังฝั่ง  เฟื้องแฮ

ประดับประดาคล้อง   กาพย์เพี้ยงโกสุมฯ   


(http://www.qzub.com/bar_029.gif) (http://www.qzub.com)


หัวข้อ: Re: ♥ บั ณ ฑิ ต ฯ . . . ♪♫ . . . ติ ด โ ค ล ง ♥
เริ่มหัวข้อโดย: กามนิต ที่ 30 มีนาคม 2012, 11:51:PM
        กัลยาณมิตรชี้                 ทางสวรรค์
บัณฑิตชี้ทางสรรค์                 สุขให้
บ้านกลอนร่วมแบ่งปัน           กลอนกาพย์
เสริมส่งทางกวีไว้                    คู่หล้าอย่าเลือน ฯ

กามนิต - ๓๐ มี.ค.๕๕


หัวข้อ: Re: ♥ บั ณ ฑิ ต ฯ . . . ♪♫ . . . ติ ด โ ค ล ง ♥
เริ่มหัวข้อโดย: แงซาย ที่ 31 มีนาคม 2012, 08:15:AM
...เหมือนมนต์สะกดแม้น            หมายเมิน
ถอยห่างหว่างทางเดิน             เลี่ยงแล้ว
กลัวกานท์ขัดกัณณ์เกิน           จึงกริ่ง   เกรงนา
เดินดุ่มโดนบ่วงแก้ว               บ่แคล้วติดหลง ฯ
            
                ...แงซาย..

(http://www.qzub.com/bar_073.gif) (http://www.qzub.com)


หัวข้อ: Re: ♥ บั ณ ฑิ ต ฯ . . . ♪♫ . . . ติ ด โ ค ล ง ♥
เริ่มหัวข้อโดย: กามนิต ที่ 01 เมษายน 2012, 12:28:AM

        มะพร้าว  งามลูกน้อย             น้ำหอม
ห้าว  แต่วานลืมถนอม                    เนิ่นช้า
ขาย  ใคร บ่ ขายออม                      มาอวด สวนแฮ
สวน  ระงมฮิฮ้า                              ฮ่าห้าน่าอาย ฯ

มาอ่านดูความเห็นตัวเองอีกรอบก็รู้สึกขำ ๆ ครับ หลายคนคงรู้ดีอยู่แล้ว

ระหว่างรอเลยเอาสิ่งที่หลายคนรู้อยู่แล้วมาบอกซ้ำ ผู้รู้อยู่แล้วก็อย่าพึ่งขำนะครับ  emo_85

ผมกำลังรอคำอธิบายจากคุณดอกรักเร่ด้วยใจระทึก

กามนิต - ๓๑ มี.ค.๕๕


หัวข้อ: Re: ♥ บั ณ ฑิ ต ฯ . . . ♪♫ . . . ติ ด โ ค ล ง ♥
เริ่มหัวข้อโดย: สุวรรณ ที่ 01 เมษายน 2012, 02:17:AM
กราบมิตรลิขิตถ้อย                    นาเฮย
เราบ่ชินโคลงเลย                     อ่อนด้อย
เขียนคำไป่งามเอย                   โอแม่ ลองแล
จึงส่งมาบทน้อย                       หนึ่งนี้คำโคลง

 emo_85


หัวข้อ: Re: ♥ บั ณ ฑิ ต ฯ . . . ♪♫ . . . ติ ด โ ค ล ง ♥
เริ่มหัวข้อโดย: กามนิต ที่ 19 เมษายน 2012, 12:50:PM
        "ดอกรักเร่" เร่แล้ว                 อย่าเลือน
โปรดกลับมาเยี่ยมเยือน              หน่อยเน้อ
วางระเบิดร่วมจะเดือน                ผันผ่าน  แล้วพ่อ
อย่าปล่อยให้รอเก้อ                     กับร้อนเมษาฯ


คุณดอกรักเร่ หายไปเลย ไม่ยอมกลับมากู้ระเบิดเลยนิ

กามนิต - ๑๙ เม.ย.๕๕

 emo_85


หัวข้อ: Re: ♥ บั ณ ฑิ ต ฯ . . . ♪♫ . . . ติ ด โ ค ล ง ♥
เริ่มหัวข้อโดย: เมฆสีรุ้ง ที่ 02 พฤษภาคม 2012, 06:04:PM
       สนุกนักใช่มั้ย       คนดี
วางระเบิดแล้วหนี      หลบหน้า
ทำปั่นป่วนยวนยี       สีเสียด
รีบตอบอย่าชักช้า      หากแม้นเป็นชาย


ผมคืออีกคนที่ยังรอคำตอบอยู่นะครับ  ท่านดอกรักเร่


หัวข้อ: Re: ♥ บั ณ ฑิ ต ฯ . . . ♪♫ . . . ติ ด โ ค ล ง ♥
เริ่มหัวข้อโดย: กามนิต ที่ 22 พฤษภาคม 2012, 10:09:AM

        ดอกรักเร่เร่แล้ว                              เร่หาย
เย้านิดมิตรพึงหมาย                              หมั่นแจ้ง
สนทนาอย่าเสียดาย                              ใดบ่น    อะไรเฮย
ชมหน่อยหรือคอยแย้ง                           อย่าร้างไมตรี ฯ

กามนิต, ๒๒ พ.ค.๕๕
 emo_85


หัวข้อ: Re: ♥ บั ณ ฑิ ต ฯ . . . ♪♫ . . . ติ ด โ ค ล ง ♥
เริ่มหัวข้อโดย: สายใย ที่ 22 พฤษภาคม 2012, 10:32:AM
รักเร่เล่ห์รักแล้ว            ฤาลวง
กลหลอกรักปักทรวง       ป่นซ้ำ
เคยนะที่มอบดวง-          ใจพี่
รักเร่มาหมายย้ำ             ยั่วเย้าฤๅไฉน