หัวข้อ: มาฆบูชา เริ่มหัวข้อโดย: toshare ที่ 07 กุมภาพันธ์ 2014, 09:40:AM ....มาฆะตถาคตตรัสให้..........โอวาท
ปาฏิโมกข์พึงฉลาด................เร่งรู้ นำปฏิบัติมิหย่อนขาด.............ละเลิก สันติสงบได้แด่ผู้..................มั่นแท้เพียรเสมอ โอวาทปาติโมกข์มักถูกกล่าวถึงในแง่หลักธรรม 3 อย่างเดียวว่าเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา อย่างไรก็ตามพระพุทธพจน์ 3 คาถากึ่ง อาจสรุปใจความได้เป็นสามส่วน คือ หลักการ 3 อุดมการณ์ 4 และวิธีการ 6 จากวิกิพีเดีย หัวข้อ: Re: มาฆบูชา เริ่มหัวข้อโดย: toshare ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2014, 12:59:PM ....มาฆะตถาคตตรัสให้..........โอวาท
ปาฏิโมกข์พึงฉลาด................เร่งรู้ นำปฏิบัติมิหย่อนขาด.............ละเลิก สันติสงบได้แด่ผู้...................มั่นแท้เพียรเสมอ ....เธอพึงสามหลักค้ำ............มั่นประจำ อีกสี่หมายหมุดนำ.................ตระหนักแจ้ง วิธีหกให้กระทำ.....................แบบอย่าง วจนะไป่ปล่อยแล้ง................"ตื่นรู้"กระจ่างไสว ....๑ ไป่เปิดโอกาสให้............บาปใด ปวงบาปหนักเบาไว................หลีกเว้น ๒ กายจิตพิสิฐพิสุทธิ์ใส..........ปฏิบัติ ๓ กุศลกิจมิเฉื่อยเร้น..............รับใช้ช่วยเหลือ โอวาทปาติโมกข์ พระพุทธพจน์คาถาแรก ทรงกล่าวถึงอุดมการณ์อันสูงสุดของพระภิกษุและบรรพชิตในพระพุทธศาสนานี้ อันมีลักษณะที่แตกต่างจากศาสนาอื่น อันอาจเรียกได้ว่า อุดมการณ์ 4 ของพระพุทธศาสนา ได้แก่ 1.ความอดทนอดกลั้นเป็นสิ่งที่นักบวชในศาสนานี้พึงยึดถือและเป็นสิ่งที่ต้องใช้เมื่อประสบกับสิ่งที่ไม่ชอบใจทุกอย่างที่ต้องเจอ ในชีวิตนักบวช เช่น ประสงค์ร้อนได้เย็น ประสงค์เย็นได้ร้อน 2.การมุ่งให้ถึงพระนิพพานเป็นเป้าหมายหลักของผู้ออกบวช มิใช่สิ่งอื่นนอกจากพระนิพพาน 3.พระภิกษุและบรรพชิตในพระธรรมวินัยนี้(เช่นภิกษุณี สามเณร สามเณรี สิกขมานา)ไม่พึงทำผู้อื่นให้ลำบากด้วยการเบียดเบียน ทำความทุกข์กายหรือทุกข์ทางใจไม่ว่าจะในกรณีใดๆ 4.พึงเป็นผู้มีจิตใจสงบจากอกุศลวิตกทั้งหลายมีความโลภ โกรธ หลง เป็นต้น พระพุทธพจน์คาถาที่สอง ทรงกล่าวถึง "หลักการอันเป็นหัวใจสำคัญเพื่อเข้าถึงจุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนาแก่พุทธบริษัททั้งปวงโดยย่อ" หรือ หลักการ 3 กล่าวกันเป็น เป็นการสรุปรวบยอดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาอันเป็นแนวทางที่พุทธบริษัทพึงปฏิบัติ ได้แก่ 1.การไม่ทำบาปทั้งปวง 2.การทำกุศลให้ถึงพร้อม 3.การทำจิตใจให้บริสุทธิ์ มีผู้อธิบายว่าทั้งสามข้อนี้อาจอนุมานเข้ากับ ศีล สมาธิ และปัญญา [2] พระพุทธพจน์คาถาที่สาม หมายถึงวิธีการที่ธรรมทูตผู้เผยแผ่พระพุทธศาสนาถือเป็นกลยุทธ พระภิกษุที่ออกเผยแผ่พระพุทธศาสนาซึ่งมีเป็นจำนวนมากให้ใช้วิธีการเหมือนกันเพื่อจะได้เป็นไปในแนวทางเดียวกันและถูกต้องเป็นธรรม ได้แก่ วิธีการทั้ง 6 1.การไม่กล่าวร้าย (เผยแผ่ศาสนาด้วยการไม่กล่าวร้ายโจมตีดูถูกความเชื่อผู้อื่น) 2.การไม่ทำร้าย (เผยแผ่ศาสนาด้วยการไม่ใช้กำลังบังคับข่มขู่ด้วยวิธีการต่างๆ) 3.ความสำรวมในปาติโมกข์ (รักษาความประพฤติให้น่าเลื่อมใส) 4.ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร (เสพปัจจัยสี่อย่างรู้ประมาณพอเพียง) 5.ที่นั่งนอนอันสงัด (สันโดษไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ) 6.ความเพียรในอธิจิต (พัฒนาจิตใจเสมอมิใช่ว่าเอาแต่สอนแต่ตนเองไม่กระทำตามที่สอน) จากวิกิพีเดีย |