พิมพ์หน้านี้ - อาจารย์ครับ...เซนริว...ไฮกุ...เป็นยังไง

ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน

บทประพันธ์กลอนและบทกวีเพราะๆ => ห้องฝึกเขียนกลอนตามฉันทลักษณ์ => ข้อความที่เริ่มโดย: @free ที่ 29 มีนาคม 2013, 12:05:AM



หัวข้อ: อาจารย์ครับ...เซนริว...ไฮกุ...เป็นยังไง
เริ่มหัวข้อโดย: @free ที่ 29 มีนาคม 2013, 12:05:AM
อันนี้เป็น ไฮกุ หรือ เซนริว
หรือไม่เป็นทั้งสองอย่าง(มั่ว)


...


...

คำพูดมักมากไป
ร้อนนี่ปีหน้ากว่านี้ไหม
บอกตัวเองในใจ



...

วอนท่านผู้รู้
ด้วยความนับถือ


หัวข้อ: Re: อาจารย์ครับ...เซนริว...ไฮกุ...เป็นยังไง
เริ่มหัวข้อโดย: ♥ กานต์ฑิตา ♥ ที่ 29 มีนาคม 2013, 06:34:AM

ไฮกุ (Haiku) เป็นบทกวีญี่ปุ่น เป็นสุดยอดของบทกวีทั้งหลาย ซึ่งบทกวีอื่นมีความยาวมากน้อยต่างกัน
และมีบังคับสัมผัสตามหลักฉันทลักษณ์ ทำให้บทกวีดังกล่าวไม่เหมาะกับการแสดงออกถึงปรากฏการณ์
ทางจิต-วิญญาณและความลึกซึ้งออกมาได้ เนื่องจากบทกวีได้ถูกบังคับยึดติดกับรูปแบบและข้อจำกัดตายตัว
แต่บทกวีไฮกุได้ตัดทอนลงให้เหลือเพียงตัวอักษร ๓ วรรค ยาว ๕ - ๗ - ๕ รวมเป็นตัวอักษรเพียง ๑๗ ตัวเท่านั้น
ไฮกุ มีพื้นฐานคือ เรียบง่าย และ ดั้งเดิม จึงไม่ยึดติดกับแบบแผน ไม่มีข้อจำกัด ไหลเรื่อยตามธรรมชาติ
สั้นกระชับที่สุด ตรงที่สุด และเป็นไปอย่างฉับพลัน ตามสภาวะสัจจะล้วน ๆ เรียบง่ายและตรงความรู้สึก
ออกมาจากใจของกวี โดยปราศจากอุปสรรคขวางกั้น แสดงความงาม ความเศร้า ความสงบ ความปิติ
ความเก่าแก่ เปลือยเปล่าอยู่ภายใต้แสงแดดอันอบอุ่น ในวินาทีแห่งการสร้างสรรค์สิ่งอัศจรรย์ที่ไฮกุได้ถือกำเนิดขึ้น


กลอนเซนริว คือ กลอนของญี่ปุ่นอย่างหนึ่ง พัฒนามาจากกลอนไฮกุ
โครงสร้างในการแต่งกลอนเซนริวจะใช้คำวรรคละ 5 คำ 7 คำ และ 5 คำ
เนื้อหา อาจจะเป็นเรื่องธรรมชาติ เรื่องใกล้ๆ ตัว หรือ เรื่องราวเกี่ยวกับความรัก


***ยากที่แยกว่าคือ ไฮกุ หรือ เซนริว***





หัวข้อ: Re: อาจารย์ครับ...เซนริว...ไฮกุ...เป็นยังไง
เริ่มหัวข้อโดย: ข้าพเจ้า ที่ 29 มีนาคม 2013, 06:57:AM

 
วรรคสุดท้ายหักมุม
วรรคสองเกี่ยวพันกับวรรคแรก
ธรรมชาติกับมนุษย์
 
ก้านกล้วย


หัวข้อ: Re: อาจารย์ครับ...เซนริว...ไฮกุ...เป็นยังไง
เริ่มหัวข้อโดย: @free ที่ 29 มีนาคม 2013, 11:43:PM

ไฮกุ (Haiku) เป็นบทกวีญี่ปุ่น เป็นสุดยอดของบทกวีทั้งหลาย ซึ่งบทกวีอื่นมีความยาวมากน้อยต่างกัน
และมีบังคับสัมผัสตามหลักฉันทลักษณ์ ทำให้บทกวีดังกล่าวไม่เหมาะกับการแสดงออกถึงปรากฏการณ์
ทางจิต-วิญญาณและความลึกซึ้งออกมาได้ เนื่องจากบทกวีได้ถูกบังคับยึดติดกับรูปแบบและข้อจำกัดตายตัว
แต่บทกวีไฮกุได้ตัดทอนลงให้เหลือเพียงตัวอักษร ๓ วรรค ยาว ๕ - ๗ - ๕ รวมเป็นตัวอักษรเพียง ๑๗ ตัวเท่านั้น
ไฮกุ มีพื้นฐานคือ เรียบง่าย และ ดั้งเดิม จึงไม่ยึดติดกับแบบแผน ไม่มีข้อจำกัด ไหลเรื่อยตามธรรมชาติ
สั้นกระชับที่สุด ตรงที่สุด และเป็นไปอย่างฉับพลัน ตามสภาวะสัจจะล้วน ๆ เรียบง่ายและตรงความรู้สึก
ออกมาจากใจของกวี โดยปราศจากอุปสรรคขวางกั้น แสดงความงาม ความเศร้า ความสงบ ความปิติ
ความเก่าแก่ เปลือยเปล่าอยู่ภายใต้แสงแดดอันอบอุ่น ในวินาทีแห่งการสร้างสรรค์สิ่งอัศจรรย์ที่ไฮกุได้ถือกำเนิดขึ้น


กลอนเซนริว คือ กลอนของญี่ปุ่นอย่างหนึ่ง พัฒนามาจากกลอนไฮกุ
โครงสร้างในการแต่งกลอนเซนริวจะใช้คำวรรคละ 5 คำ 7 คำ และ 5 คำ
เนื้อหา อาจจะเป็นเรื่องธรรมชาติ เรื่องใกล้ๆ ตัว หรือ เรื่องราวเกี่ยวกับความรัก


***ยากที่แยกว่าคือ ไฮกุ หรือ เซนริว***





...


ลมร้อนโชยเหมือนเรียบ
ใบสดใบแห้งต่างไหวง่าย
เหมือนกันอย่างลึกลับ


...


กลอนยังเข้าใจยาก
คนแ่ต่งจะแปลกก็คงไม่แปลก

ขอบคุณครับ คุณ ♥ กานต์ฑิตา ♥...


หัวข้อ: Re: อาจารย์ครับ...เซนริว...ไฮกุ...เป็นยังไง
เริ่มหัวข้อโดย: @free ที่ 30 มีนาคม 2013, 12:03:AM

 
วรรคสุดท้ายหักมุม
วรรคสองเกี่ยวพันกับวรรคแรก
ธรรมชาติกับมนุษย์
 
ก้านกล้วย


...


ก็อกแก็ก...ฟังแต่เสียง
กลางดึกแสงไฟลอดประตู
ไม่เห็นแต่ไม่หลับ


...

โอ้...ง่ายจัง
ช่างเข้าใจยาก

...



ขอบคุณ...คุณก้านกล้วย
อธิบายมาก คงเข้าใจยาก
อย่าต่อ หักดีกว่า



...



หัวข้อ: Re: อาจารย์ครับ...เซนริว...ไฮกุ...เป็นยังไง(ประวัติ)
เริ่มหัวข้อโดย: ข้าพเจ้า ที่ 30 มีนาคม 2013, 05:21:PM

ประวัติกลอนไฮไก เซ็นริว
๑.ไฮไกย่อมาจากคำว่า ไฮไกโนะ เร็งงะ โดยเป็นกลอนที่พัฒนามาจากเร็งงะ กลอนเร็งงะจะมีจำนวนพยางค์เป็น ๕๗๕๗๗ แต่ไฮไก จะตัดเหลือแค่ ๕๗๕ โดยจะเน้นความสนุกสนานบันเทิงเป็นหลัก ในช่วงแรกของสมัยเอโดะ กวีชื่อมะท์ซุนนะงะ เทะอิโตะกุ ได้เป็นผู้พัฒนาแยกกลอนไฮไกออกมาจากเร็งงะ เพื่อให้เป็นวรรณคดีของชาวบ้าน ต่อมาไฮไกสายดันริว ซึ่งนำโดยนิฌิยะมะ โซอิน ได้ทำให้เกิดไฮไก ในลักษณะที่เน้นความเป็นอิสระไม่ยึดติดกับกฎเกณฑ์ พอเข้าสู่ยุคเก็นโระกุ (ช่วง ค.ศ.๑๖๘๘-๑๗๐๔) มะท์ซุโอะ บะโฌ ได้พัฒนาศิลปะกลอนไฮไกจนสมบูรณ์แบบ แต่หลังจากที่บะโฌเสียชีวิตไป ศิลปะการแต่งกลอนไฮไกก็เข้าสู่ยุคที่ตกต่ำลง มีกวีหลายคนที่พยายามจะรักษาศิลปะการแต่งกลอนไฮไกเอาไว้เช่น โยะซะ บุซน ซึ่งเป็นกวียุคเท็มเมะอิ (ช่วง ค.ศ.๑๗๘๑-๑๗๘๙)
      กลอนไฮไกนี้เมื่อเข้าสู่สมัยเมจิ กวีชื่อ มะซะโอะ กะฌิกิ ได้เปลี่ยนคำเรียกชื่อกลอนไฮไกใหม่เป็นกลอนไฮกุ ซึ่งยังเป็นคำเรียกที่ใช้กันมา จนถึงปัจจุบัน

๒.กลอนเซ็นริว
 เซ็นริวเป็นกลอนสั้นๆที่มีแค่ ๑๗ พยางค์(๗๕๗) เหมือนกับกลอนไฮไก แต่จะไม่ใช้กฎเกณฑ์ข้อบังคับแบบไฮไก ไม่ต้องมีคำแสดงฤดูกาล เน้นความรู้สึกสนุกสนานสามารถแสดงความคิดความรู้สึกได้อย่างอิสระ จึงมักมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเสียดสีหรือวิพากษ์วิจารณ์สังคม หรือใช้กล่าวถึงเรื่องทั่วไปในชีวิตประจำวัน ผู้ที่เป็นต้นคิดแต่งกลอนเซ็นริวก็คือ คะระอิ เซ็นริว ซึ่งชื่อของเขาก็ถูกนำมาใช้เรียกชื่อกลอนประเภทนี้ หนังสือรวมกลอนที่สำคัญของเขาได้แก่ ยะงะนิดะรุ ใน ค.ศ.๑๗๖๕

         จากหนังสือประวัติวรรณคดีญี่ปุ่น
         โดย อรรถยา สุวรรณดา
                                 สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 
ป.ล.บังเอิญจำได้ว่า วันที่ ๒๕/๐๓/๒๕๕๖ เข้าห้องสมุดแล้วเจอหนังสือที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ วันนี้ไปค้นเลยจดมาให้อ่าน


หัวข้อ: Re: อาจารย์ครับ...เซนริว...ไฮกุ...เป็นยังไง
เริ่มหัวข้อโดย: ข้าพเจ้า ที่ 30 มีนาคม 2013, 05:31:PM

บทกลอนสื่อความรู้สึก
พื้นฐานวิถีชีวิตแต่ละชาติ
ฉันชอบแต่งกลอนแปด

ก้านกล้วย
 emo_54


หัวข้อ: Re: อาจารย์ครับ...เซนริว...ไฮกุ...เป็นยังไง
เริ่มหัวข้อโดย: รัตนาวดี ที่ 30 มีนาคม 2013, 06:12:PM

บทกลอนสื่อความรู้สึก
พื้นฐานวิถีชีวิตแต่ละชาติ
ฉันชอบแต่งกลอนแปด

ก้านกล้วย
 emo_54

รัตนาวดีก็ชอบแต่งกลอนแปดมากเหมือนกันค่ะ   emo_116 emo_126 


หัวข้อ: Re: อาจารย์ครับ...เซนริว...ไฮกุ...เป็นยังไง
เริ่มหัวข้อโดย: ข้าพเจ้า ที่ 30 มีนาคม 2013, 07:24:PM

บทกลอนสื่อความรู้สึก
พื้นฐานวิถีชีวิตแต่ละชาติ
ฉันชอบแต่งกลอนแปด

ก้านกล้วย
 emo_54

รัตนาวดีก็ชอบแต่งกลอนแปดมากเหมือนกันค่ะ   emo_116 emo_126 

ฉันชอบแต่งกลอนแปด
ส่วนเธอก็ชอบแต่งกลอนแปด
ฉันชอบเธอมากกว่า

ก้านกล้วย
 emo_26


หัวข้อ: Re: อาจารย์ครับ...เซนริว...ไฮกุ...เป็นยังไง
เริ่มหัวข้อโดย: @free ที่ 30 มีนาคม 2013, 11:36:PM
...


โลกนี้มีต้นกล้วย
เราโชคดีจึงมีก้านกล้วย
ชิวิตดีขึ้นนะ


...


ขอบคุณมากๆ อึดอัดมานาน วันนี้ดีขึ้นจริงๆ


หัวข้อ: Re: อาจารย์ครับ...เซนริว...ไฮกุ...เป็นยังไง
เริ่มหัวข้อโดย: รัตนาวดี ที่ 04 เมษายน 2013, 03:22:AM


บทกลอนสื่อความรู้สึก
พื้นฐานวิถีชีวิตแต่ละชาติ
ฉันชอบแต่งกลอนแปด

ก้านกล้วย
 emo_54


รัตนาวดีก็ชอบแต่งกลอนแปดมากเหมือนกันค่ะ   emo_116 emo_126 


ฉันชอบแต่งกลอนแปด
ส่วนเธอก็ชอบแต่งกลอนแปด
ฉันชอบเธอมากกว่า

ก้านกล้วย
 emo_26



...ขอบคุณน้ำใจท่าน
นึกกล่าวชื่นชอบตอบวาจา
เกี้ยวพาใจอ่อนไหว

รัตนาวดี
 emo_60

(http://www.klonthaiclub.com/pic/bar_179.gif) (http://www.klonthaiclub.com)