พิมพ์หน้านี้ - …ลอง “แคนโต้” ดูบ้างจะเป็นไร…

ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน

บทประพันธ์กลอนและบทกวีเพราะๆ => กลอนเปล่า => ข้อความที่เริ่มโดย: โซ...เซอะเซอ ที่ 03 ธันวาคม 2023, 12:49:PM



หัวข้อ: …ลอง “แคนโต้” ดูบ้างจะเป็นไร…
เริ่มหัวข้อโดย: โซ...เซอะเซอ ที่ 03 ธันวาคม 2023, 12:49:PM


…ลอง “แคนโต้” ดูบ้างจะเป็นไร…

                    (๑)
   อยุติธรรม…อยุติธรรม…อยุติธรรม
   สะท้านก้องซ้ำซ้ำ อยู่เพียงในใจ
   ใบหน้าเรียบเฉยไร้ซึ่งความรู้สึก

                    (๒)
   แหงนมองเรียวหนวดเหนือริมฝีปากบางขยับขึ้นลงไปมา
   น้ำเสียงเข้มขึงขังจริงจัง พรูพรั่งหลักการสวยหรู
ย้อนแย้งกับการกระทำ
   ความประดักประเดิดแพร่กระจายจนผ่าวร้อนไปทั้งใบหน้า
ด้วยความรู้สึกละอายแทน

                    (๓)
   เหตุผล ไม่อยู่ในสมการ
   ตรรกะ ไม่ถูกนำมาใช้
   คำว่าเมตตา กรุณา บัญญัติความหมายที่แตกต่าง
ไปจากที่เคยเข้าใจ

                    (๔)
   ความหวาดกลัว ความเห็นแก่ตัว และผลประโยชน์
เป็นตัวกำหนดผลลัพธ์
   ความคุกรุ่นก่อตัวเพิ่มขึ้น ท่ามกลางความเมินเฉยของผู้คน
   ชนวนระเบิดกองโต…รอวันที่บรรยากาศร้อนระอุ


     อำนาจฤาอยู่ยั้ง................ยืนยง
     หน้ามืดมัวเมาหลง............ย่ามใช้
     ย่อมลดถดถอยลง.............ทรามเสื่อม
     เย่อหยิ่งทะนงไซร้.............กว่ารู้คงสาย

          “...ขุนเขาไม่อาจขวาง
          สายทางเที่ยงธรรมได้
          ความหวังยังพริ้มพราย
          เก่าตายมีใหม่เสริม
          ชีวิตที่ผ่านพบ
          มีลบย่อมมีเพิ่ม
          ขอเพียงให้เหมือนเดิม...กำลังใจ…“

[กำลังใจ-คำร้อง/ทำนอง:  วิสา คัญทัพ]



kApSDK7eprE

โซ…เซอะเซอ
3 ธันวาคม 2566


หมายเหตุ :

 
“… แคนโต้ เป็นร้อยกรองร่วมสมัยของไทยประเภทหนึ่ง
เป็นกลอนเปล่าไม่มีสัมผัส มี ๓ บาท บาทละ ๑ วรรค
ในแต่ละวรรคไม่กำหนดจำนวนพยางค์
ลักษณะเด่นของแคนโต้คือใช้คำน้อย
แต่ให้ความหมายลึกซึ้ง คล้ายโคลงไฮกุของญี่ปุ่น…”

[ขอบคุณ ข้อมูลจาก Wikipedia]



หัวข้อ: Re: …ลอง “แคนโต้” ดูบ้างจะเป็นไร…
เริ่มหัวข้อโดย: toshare ที่ 22 ธันวาคม 2023, 07:59:AM
@ รักพระ
เหนือยิ่ง
สิ่งใด

@ สรรเสริญ
ด้วยเมตตา
รักรับใช้

@ เป็นแสงไสว
ส่องสว่าง
สรรพสิ่ง

@ เป็นเกลือ
เป็น ดินดียิ่ง
ด้วยศักดิ์ศรี ศรัทธา



Canto is a principal form of division in a long poem,
especially the epic.
The word comes from Italian,
meaning "song" or singing.

Famous poems that employ the canto division are
Luís de Camões' Os Lusíadas (10 cantos),
Lord Byron's Don Juan, Valmiki's Ramayana (500 cantos[1]),
Dante's The Divine Comedy (100 cantos[2]),
and Ezra Pound's The Cantos (120 cantos).

Wikipedia