มาแต่งกลอนกันให้ถูกกันเถอะ

มาแต่งกลอนกันให้ถูกกันเถอะ

<< < (3/3)

ขวด:
โคลงห้า เป็นโคลงโบราณ มีสี่บาท มีวรรคสองวรรคแบ่งเป็น วรรคบังคับ และ วรรคสร้อย ดังตัวอย่าง
 
   นานาอเนกน้าว               เดิมกัลป์
จักรร่ำจักราพาฬ               เมื่อไหม้
กล่าวถึงตระวันเจ็ด            อันพลุ่ง
น้ำแล้งไข้ขอดหาย
   เจ็ดปลามันพุ่งหล้า          เป็นไฟ
วาบจตุรบาย                      แผ่นขว้ำ
ชักไตรตรึงษ์เป็นเผ้า
แลบ่ล้ำสีลอง
                                 (ลิลิตโองการแช่งน้ำ)
 บาทหนึ่งมีห้าคำ บทหนึ่งมียี่สิบคำ มีคำสร้อยสองคำ ในทุกบาท คำสร้อยลงด้วยถ้อยคำธรรมดา
สัมผัสอยู่ท้ายบาทถ้ามีสร้อยอยู่ท้ายสร้อย
บาทสุดท้ายของบาทที่หนึ่งหรือถ้ามีสร้อยให้ใช้สรอยสุดท้ายของบาทที่หนึ่ง สัมผัสกับคำที่ หนึ่งหรือสองหรือสามหรือสี่ ของบาทที่สาม
บาทที่สองก็เช่เดียวกับบาทที่หนึ่งแต่สัมผัสกับบาทที่สี่
ถ้าจะมีอีกบทให้คำสุดท้ายของบาทที่สาม หรือถ้ามีคำสร้อยให้ใช้คำสร้อยสุดท้าย สัมผัสกับคำที่หนึ่งหรือสองหรือสามหรือสี่ของบาทที่หนึ่งในบทต่อไป
และให้บาทที่สี่เช่นเดียวกับบาทที่สามแต่สัมผัสในบาทที่สองของบทถัดไป

บังคับให้มีเสียงโทแต่ไม่มีเสียงเอก คำโทที่บังคับนั้นมีสองตัวคือ   ท้ายบาทที่สองแต่ถ้ามีคำสร้อยของบาทที่สองให้ใช้คำสุดท้ายของคำสร้อย
และคำที่สามของบาทที่สี่

อนึ่ง วรรณคดีที่ใช้โคลงห้ามีปรากฎแต่ในลิลิตโองการแช่งน้ำที่แต่งกันตั้งแต่สมัยสุโขทัยเท่านั้น นอกนั้นไม่มีใครนิยมแต่งกัน
โคลงห้ามีอีกชื่อหนึ่งคือ มณฑกคติ

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[*] หน้าที่แล้ว