มาแต่งกลอนกันให้ถูกกันเถอะ

มาแต่งกลอนกันให้ถูกกันเถอะ

(1/3) > >>

นายขี้เหร่ดำปืด:
สวัสดีคับวันนี้ผมมีสาระมาฝาก(แต่ก่อนไม่มีเลยคิคิ) ก็ไม่รู้ว่ามีใครโพสไปหรือยังนะครับถ้ามีแล้วก้ขออภัยด้วย

วันนีผมมีแผ่นพังของกลอนไทยมาฝากหลายๆคนอาจจะแต่งกลอนไม่ถูก(มีหรือเปล่า)หรือว่าไม่ตรงตาม อย่างที่เป็นนะคับ(คงเข้าใจที่พูดนะผมอธิบายม่ะค่อยถูก)
มาเริ่มเลยละกัน
มาแต่งกลอนกันให้ถูกกันเถอะ

                                 
กลอน 1 บท จะมี 2 บาท หรือ 2 คำกลอน บาทแรกเรียก บาทเอก ประกอบด้วย วรรคสดับ กับ วรรครับ บาทที่ 2 เรียก บาทโท ประกอบด้วย วรรครอง กับ วรรคส่ง  ดังรูป                             
                               


                                 
โคลงสี่สุภาพ 1 บท จะมี 4 บาท วรรคหน้าของทุกบาทจะมี 5 คำ วรรคหลังของบาทที่ 1 2 และ 3 มี 2 คำ แต่เพิ่มสร้อยในวรรคที่ 2 ของบาทที่ 1 และ 3 ได้อีกบาทละ 2 คำ วรรคหลังของบาทที่ 4 มี 4 คำ บังคับเอก 7 แห่ง คำโท 4 แห่ง และกำหนดสัมผัสดังนี้
                               

คำแนะนำในการแต่งโคลง
1. คำที่ 4 และ 5 ในบาทที่ 1 สับตำแหน่งคำเอกและโทกันได้ เช่น ออกจากปาก น้ำน่าน หนองพราย
2. ให้ใช้คำตายแทนตำแหน่งบังคับคำเอกได้
3. ในตำแหน่งบังคับคำเอก คำโท ให้ใช้เอกโทษ และ โทโทษ แทนได้ตามลำดับ เช่น ใช้ ฟ่า แทน ฝ้า เป็นเอกโทษ ใช้ เฉ้น แทน เช่น เป็นโทโทษ แต่พึงใช้เท่าที่จำเป็นจริงๆเท่านั้น
4. คำสุดท้ายของบาทที่ 1 (ไม่นับคำสร้อย) นิยมเสียงจัตวา และ สามัญ ห้ามคำที่ใช้รูปวรรณยุกต์เอก โท ตรี เสียงเอก โท ตรี ในคำตายใช้ได้
5. คำสุดท้ายของวรรคหน้าในบาทที่ 2 และ 3 ใช้แบบเดียวกับคำสุดท้ายของบาทที่ 1
6. คำสุดท้ายของบทนิยมเสียงจัตวาและสามัญ ห้าม เสียงเอก โท และ ตรี

กล่าวก่อนเรื่องกาพย์
คำว่า "กาพย์" มีทั้งความหมายกว้างและแคบ ในความหมายกว้างซึ่งเป็นความหมายเดิม หมายถึง บทประพันธ์ที่ได้ร้อยกรองขึ้น ไม่จำกัดว่าเป็นคำประพันธ์ชนิดใด เช่น โคลง ฉันท์ กาพย์ หรือ ร่าย ฯลฯ นับว่าเป็นกาพย์ทั้งสิ้น แต่มักใช้ในความหมายที่แคบ คือ หมายถึง คำประพันธ์ชนิดหนึ่งที่คล้ายฉันท์มักใช้แต่งปนกับคำประพันธ์ประเภทฉันท์ แต่ไม่กำหนด ครุ ลหุ อย่างฉันท์ จริงๆแล้วกาพย์มีอยู่หลายชนิด แต่เราจะกล่าวถึงเพียง 3 กาพย์ในที่นี้คือ กาพย์ยานี 11 กาพย์ฉบัง 16 และ กาพย์สุรางคนางค์


                                           








ที่มา...http://www.kbyala.ac.th   

มั่น แซลี้:
หูย...ผมไม่ชอบของถูกอ่ะ ผมชอบของแพงอ่ะ
อิอิอิ ล้อเล่นน่ะครับ

ได้ความรู้มากเลยครับ ผมแต่งกาพยานี 11 ผิดมาตลอดเลย
เพิ่งรู้ก็จากตรงนี้แหละครับ

แต่โคลงสี่สุภาพเนี้ย ลองแต่งทีหนึ่งโครตยากเลย
แต่แค่ทีเดียวเอง

หรือเพื่อนๆมีตัวอย่างเป็นกลอนเป็น กาพมะพร้าว เอ้ย!!!ไม่ใช่ๆ
กาพย์เอามาโพสให้ดูก็ดีน่ะครับ

 emo_28 emo_28 emo_28 emo_28 





เพลงผ้า:
อ้างจาก: มั่นในรัก ที่ 08 พฤศจิกายน 2008, 04:07:PM

หูย...ผมไม่ชอบของถูกอ่ะ ผมชอบของแพงอ่ะ
อิอิอิ ล้อเล่นน่ะครับ

ได้ความรู้มากเลยครับ ผมแต่งกาพยานี 11 ผิดมาตลอดเลย
เพิ่งรู้ก็จากตรงนี้แหละครับ

แต่โคลงสี่สุภาพเนี้ย ลองแต่งทีหนึ่งโครตยากเลย
แต่แค่ทีเดียวเอง

หรือเพื่อนๆมีตัวอย่างเป็นกลอนเป็น กาพมะพร้าว เอ้ย!!!ไม่ใช่ๆ
กาพย์เอามาโพสให้ดูก็ดีน่ะครับ

 emo_28 emo_28 emo_28 emo_28 







+55555 กาพมะพร้าว  คิดได้อีกแย้ววพี่มั่น   เชื่อเค้าเล้ยย
ซะดีมั๊ยเนี๊ยย....emo_32

webmaster:
ได้ความรู้ดีเอาไป +3 เล๊ย น้องชาย  emo_28 emo_28

Alpha:
แนะนำเพิ่มเติมสำหรับกาพย์นะคะ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://thaiarc.tu.ac.th/poetry/kaap/index.html

กาพย์ยานี11
กาพย์ยานีลำนำ....................สิบเอ็ดคำจำอย่าคลาย
วรรคหน้าห้าคำหมาย............วรรคหลังหกยกแสดง

ครุลหุนั้น................................ไม่สำคัญอย่าระแวง
สัมผัสต้องจัดแจง.................ให้ถูกต้องตามวิธี

กาพย์ฉบัง16
ฉบังสิบหกควร.......................ถ้อยคำสำนวน
พึงเลือกให้เพราะเหมาะกัน
วรรคหน้าวรรคหลังรำพัน......วรรคหนึ่งพึงสรร
ใส่วรรคละหกคำเทอญ
วรรคสองต้องสี่คำเชิญ.........แต่งเสนาะเพราะเพลิน
ใครได้สดับจับใจ

กาพย์สุรางคนางค์28
...............................................สุรางคนางค์
กำหนดบทวาง......................ยี่สิบแปดคำ
บทหนึ่งเจ็ดวรรค..................เป็นหลักพึงจำ
วรรคหนึ่งสี่คำ.......................แนะนำวิธี

...............................................หากแต่งหลายบท
จำต้องกำหนด......................บัญญัติจัดมี
คำท้ายวรรคสาม..................ต้องตามวิถี
สัมผัสกันดี...........................ท้ายบทต้นแล

กาพย์สุรางคนางค์32
กาพย์หนึ่งนามอ้าง..............สุรางคนางค์
กำหนดบทวาง.....................สามสิบสองคำ
บทหนึ่งแปดวรรค................เป็นหลักพึงจำ
วรรคหนึ่งสี่คำ......................แนะนำวิธี

โบราณวางกฎ.....................หากแต่งหลายบท
จะต้องกำหนด....................บัญญัติจัดมี
วรรคสี่คำท้าย.....................ต้องให้ถูกที่
สัมผัสกันดี..........................ท้ายบทต้นแล

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป