~คดโกงทรัพย์สินของผู้อื่น..คือการสะสมกรรมชั่ว แบบไม่รู้จบ~
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน
19 เมษายน 2024, 03:28:PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

กด Link เพื่อร่วมกิจกรรม ผ่านFacebook (หรือกดปุ่มสมัครสมาชิกด้านบน)
 
หน้า: [1]
  ชุมชน  |  ส่งหัวข้อนี้  |  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ~คดโกงทรัพย์สินของผู้อื่น..คือการสะสมกรรมชั่ว แบบไม่รู้จบ~  (อ่าน 51367 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
25 สิงหาคม 2012, 11:03:PM
ระนาดเอก
webmaster
*

คะแนนกลอนของผู้นี้ 780
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,732


~พลิ้วไหว..ดั่งสายน้ำ~


profile.php?id=100024533527747
เว็บไซต์
« เมื่อ: 25 สิงหาคม 2012, 11:03:PM »
ชุมชนชุมชน

~คดโกงทรัพย์สินของผู้อื่น..คือการสะสมกรรมชั่ว แบบไม่รู้จบ~
 
โทษของการเป็นขโมย

๑)    ทุกข์ทางใจจิต ที่เป็นปกติสุขไม่อาจคิดลงมือขโมย การจะถือเอาทรัพย์สินของใครมาเป็นของตนโดยไม่ได้รับอนุญาตต้องใช้จิตที่เป็น ทุกข์เท่านั้น
เพราะส่วนลึกรู้อยู่ว่าเป็นเรื่องผิด เป็นเรื่องน่าเศร้าใจ แม้แต่เศษเงินสักบาทก็เป็นประโยชน์กับเจ้าของได้ การฉกฉวยประโยชน์ของผู้อื่นมาเป็นของตนจึงนับเป็นเรื่องน่าอาย
แสดงถึงความไร้ศักดิ์ศรี ต้องมีชีวิตอยู่ด้วยวิธีแอบขอคนอื่นกินโดยไม่ให้เขารู้ตัว   ของที่หาย ไปย่อมเป็นทุกข์แห่งเจ้าของ ถ้าเราเป็นผู้ทำให้ของของเขาหาย
ใจเราจะเป็นสุขไปได้อย่างไร การสังเกตเข้ามาในตนเองจะทำให้เห็นทุกข์เป็นขณะ ๆ อย่างชัดเจน

ทุกข์ เริ่มต้นตั้งแต่เมื่ออยากขโมย สังเกตเข้ามาในตนเอง จะเห็นเป็นความตื่นเต้นแบบมีพิรุธ เหมือนตัวเราที่หน้าไม่อายพยายามโผล่ขึ้นมาเอาชนะตัวเราที่ยังรักศักดิ์ศรี อยู่

ทุกข์จะทวีตัวขึ้นเมื่อตัดสินใจคิดขโมยจริง สังเกตเข้ามาในตนเอง จะเห็นเป็นความทึบตัน ไม่อาจปลอดโปร่งสบายใจไปได้

ในเมื่อรู้อยู่แก่ใจว่ากำลังจะปล้นน้ำพักน้ำแรงที่มีศักดิ์ศรีของผู้อื่น ด้วยน้ำพักน้ำแรงที่ไร้ศักดิ์ศรีของตน
ทุกข์จะทวีตัวขึ้นอีกเมื่อมี การพยายามขโมย สังเกตเข้ามาในตนเอง จะเห็นเป็นการฝืนใจ เค้นเอาความโลภขึ้นมาพยายามเอาชนะความกลัวถูกจับได้
ต่อให้เป็นมืออาชีพมากี่สิบปีก็ต้องกำเกร็งด้วยความระแวงระวัง ตัวลีบเล็กลงทุกคราวไป

ทุกข์จะทวีตัวขึ้นถึงขีดสุดเมื่อลงมือขโมย สังเกตเข้ามาในตนเอง จะเห็นความรู้สึกฝืดฝืน ราวกับถูกต่อต้านจากตัววัตถุ ซึ่งกระแสต่อต้านนั้นก็คือสิทธิ์แห่งเจ้าของที่แฝงอยู่ในตัววัตถุนั่นเอง

ทุกข์ จะไม่จบโดยง่ายแม้เมื่อขโมยสำเร็จ สังเกตเข้ามาในตนเอง จะเห็นเป็นความรู้อยู่แก่ใจว่าข้าวของที่ได้มาไม่ใช่ของของเรา
ต่อให้พยายามใช้ของอย่างเป็นสุขเพียงใด ก็ขาดความภาคภูมิใจที่สุจริตชนทั้งโลกเขามีกัน

ถ้าทรัพย์ที่ขโมยมามี ค่าน้อย ก็อาจไม่ต้องอาศัยกำลังใจในการขโมยมากนัก ทุกข์ในขณะต่าง ๆ จึงอาจปรากฏเป็นของเล็กเกินกว่าจะจับสังเกตได้

หรือในอีกทางหนึ่ง แม้จะเป็นทรัพย์มีค่าควรแก่ความไม่สบายใจ แต่ทว่าความมีค่าของทรัพย์นั้นเองก็อาจท่วมทับความไม่สบายใจได้มิดชิด
เพราะมัวเพ่งคิดอยู่แต่ว่าเราได้ทรัพย์มามาก เราจะนำทรัพย์ไปใช้ให้หนำใจ

ความ ไม่รู้จักเห็นใจผู้อื่นที่ต้องสูญเสียทรัพย์สิน กับความโสมนัสที่ได้ของสมประสงค์ จึงเปรียบเหมือนม่านอำพรางทุกข์ทางใจของเราได้
แต่ขอเพียงเราใส่ใจสังเกต ก็จะพบว่าทุกข์ทางใจอันเกิดจากการขโมย ยังคงเป็นความจริงอยู่เสมอ

๒) การสั่งสมบาป

เมื่อ ทราบแล้วว่าความมืดเป็นเครื่องหมายของบาป เราก็สามารถสำรวจใจตนเองแล้วทราบได้ว่าการขโมยเป็นบาป เพราะไม่มีการขโมยครั้งใดที่ทำให้จิตของเราสว่างขึ้น
มีแต่จะหม่นหมองลง กับทั้งไม่มีแก่ใจคิดอะไรในทางดี ในทางที่เจริญเอาเลย   แรงผลักดันให้ ปล้นทรัพย์ของผู้อื่นได้คือโลภะ โลภะต้องชนะศักดิ์ศรีของมนุษย์ที่มีสองขาไว้ยืนด้วยตนเอง
จึงขับให้เราก่อบาปด้วยการขโมยได้ และโดยเหตุนี้เอง ทุกครั้งที่เราขโมยได้แบบไม่ต้องคิดมาก จิตของเราจึงอ่อนแอลง คิดพึ่งพาตนเองน้อยลง กับทั้งรู้สึกว่าเกียรติภูมิของความเป็นคนน้อยลงทุกที
ที่น่ากลัวก็คือบาปสามารถสั่งสมตัวได้ นั่นหมายความว่ายิ่งขโมยสำเร็จมากขึ้นเท่าไร ใจก็ยิ่งปวกเปียกมากขึ้นเท่านั้น มองไปทางไหนอะไรต่ออะไรน่าคว้ามาครองเกินห้ามใจแทบทั้งสิ้น
ขอให้ต้องตานิดเดียว ใจเราจะนึกวางแผนหาทางลักมาครองโดยไม่สนใจความเดือดร้อนของใครทั้งสิ้น

แม้ขโมยเงินสักบาท มือของเราก็ได้ชื่อว่าเป็นเครื่องชิงทรัพย์แล้ว และใจของเราก็นับว่าเปื้อนบาปแห่งการขโมยแล้ว
ฉะนั้น ยิ่งขโมยเศษสตางค์บ่อย เราก็ยิ่งโลภมาก อยากได้นั่นอยากได้นี่ จนกระทั่งทรัพย์ของผู้อื่นกลายเป็นเครื่องหมายเตือนให้นึกถึงการแย่งชิงมา ท่าเดียว

ความคิดในทางขโมยจะลดความฉลาดในการหากินเยี่ยงสุจริตชนลง เราจะไม่รู้สึกผิด และย้ำบอกตัวเองว่าก็โลกอยุติธรรมเอง ไม่ให้โอกาสเราเท่าคนอื่นเอง
หรือต่อให้มีโอกาสมากกว่าคนอื่น บาปก็ทำให้เราไพล่เห็นไปว่างานสุจริตดูไม่ค่อยท้าทาย ต้องเป็นงานทุจริตที่ใช้เล่ห์กลถึงค่อยน่าสนุก
กระทั่งบาปพอกพูนขึ้นจนหนา รู้สึกด้านชากับการขโมยทรัพย์ราคาต่ำ ถึงจุดนั้น เราจะพร้อมขโมยทรัพย์ราคาสูงขึ้น ด้วยความรู้สึกว่าเป็นการยุติธรรมกับตนแล้วในทางใดทางหนึ่งเข้าไปอีก

ฉะนั้น เพียงไม่ตั้งใจไว้ก่อนว่าจะเว้นขาดจากการขโมย ก็นับว่ามีโทษแล้ว เพราะเมื่อถูกกระตุ้นให้เกิดโลภะอย่างแรงกล้า ศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ย่อมลดระดับแทบไม่เหลือ
ยังผลให้สติพร่าเลือนลง เปิดช่องให้โลภะเข้าครอบงำจนโง่เขลา หลงนึกว่าบาปแห่งการขโมยเป็นสิ่งสมควรทำยิ่งกว่าบุญแห่งการระงับความโลภผิด ๆ
ไม่รู้สึกอยากอดใจรอ ไม่รู้สึกอยากทำงานหาเงินมาซื้อสิ่งที่ต้องการด้วยตนเอง

(มีต่อ)
 
 อายแบบน่ารัก

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : ชลนา ทิชากร, Prapacarn ❀, ลมหนาว, รพีกาญจน์, บูรพาท่าพระจันทร์

ข้อความนี้ มี 7 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า

25 สิงหาคม 2012, 11:04:PM
ระนาดเอก
webmaster
*

คะแนนกลอนของผู้นี้ 780
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,732


~พลิ้วไหว..ดั่งสายน้ำ~


profile.php?id=100024533527747
เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 25 สิงหาคม 2012, 11:04:PM »
ชุมชนชุมชน

๓) ความเป็นอยู่ที่เลวร้าย

ไม่มีความรู้สึกด้อยค่าอันใดย่ำแย่ไปกว่าความรู้สึกด้อยค่าอันเกิดจากการเป็น หัวขโมย เพราะบาปข้ออื่นยังพอรักษาศักดิ์ศรีกันได้ เช่น เราอาจฆ่าศัตรูด้วยศักดิ์ศรีของนักรบในสมรภูมิ
เราอาจได้เสียกับลูกสาวใจแตกของใครด้วยความรักจริงหวังรับผิดชอบ เราอาจโกหกเพื่อผลประโยชน์ของมหาชน เราอาจกินเหล้าเพื่อให้เกียรติเจ้าภาพที่ต้อนรับขับสู้
แต่ถ้าใจกล้าหน้าด้านไปปล้นใครเขามา จะอ้างอย่างไรนอกจากต้องยอมรับว่าไม่มีปัญญาหาเอง จึงต้องหันไปลักเอาจากคนอื่น

ถ้าเสียศักดิ์ศรีแล้วนึกเสียดาย ความรู้สึกเสียดายนั้นมักรบกวนจิตใจให้นึกสังเวชตนเอง คอยแต่จะรู้สึกว่าตนเป็นคนโกง เป็นโจร เป็นพวกไม่ซื่อ
เหมือนกับว่าแค่จะดีให้ได้เท่ามาตรฐานมนุษย์ใจสะอาดสักคนก็ทำไม่ได้

เมื่อ บาปจากการขโมยถูกสั่งสมมากแล้ว ผู้ขโมยย่อมเลื่อนฐานะเป็นหัวขโมย ดูเผิน ๆ เหมือนมือนิ่งไม่สั่นไหว แต่ที่แท้บาปหนาจนใจแข็งกว่าใคร ๆ ต่างหาก
ความมือไวใจเร็วของหัวขโมยย่อมก่อให้เกิดกระแสในตัวที่น่าระแวง ชวนให้รู้สึกถึงความไม่น่าไว้ใจ ไม่ต่างจากสุนัขลอบกัด แค่เห็นก็นึกอยากระวังตัวขึ้นมาทันที
ทั้งที่ยังไม่ทันอวดเขี้ยวเล็บให้เห็นเลยด้วยซ้ำ

การขโมยแต่ละครั้ง คือการลดความสามารถในการครอบครองสมบัติอย่างถูกต้อง จึงไม่น่าสงสัยเลยว่าเหตุใดหัวขโมยทั้งหลายจึงไม่อาจรักษาสมบัติอันเป็นที่รักไว้ได้นาน
มีอันต้องเสียไปให้กับเรื่องไม่เป็นเรื่อง บางทีอยู่ดีไม่ว่าดีก็สร้างเหตุให้ทรัพย์วิบัติเสียเอง

จิตของหัว ขโมยมักเล็งโลภเอาแต่ได้ จึงตระหนี่ถี่เหนียวและมีจิตใจคับแคบ แม้อาบน้ำเนื้อตัวสะอาดแล้ว ก็รู้สึกราวกับเปื้อนเปรอะยางเหนียวเหนอะหนะ
แบบเดียวกับคนที่ไม่อาบน้ำทีละสามวันเจ็ดวันได้

จิตที่คับแคบย่อม เหมาะกับภพใหม่ที่แคบจำกัด อัตคัดขัดสน แม้มีวาสนาพอจะเกิดใหม่ในโลกมนุษย์อีก กรรมที่เคยทำให้คนอื่นเดือดร้อนเรื่องของหาย
ก็อาจส่งไปเกิดในที่ที่แทบไม่มีของให้หาย หรือถึงมีก็ติดมือไม่นาน ต้องประสบเหตุให้หายไปจากมือ อาจเพราะถูกลักขโมย หรืออาจวิบัติด้วยภัยทางธรรมชาติตั้งแต่ยังไม่ทันใช้ให้คุ้ม

หากตาย เยี่ยงหัวขโมยผู้ยังไม่อิ่มไม่พอกับการลักทรัพย์ แต่ยังพอมีบุญพยุงไม่ให้ร่วงหล่นถึงนรก ก็อาจไปเสวยภพของหัวขโมยระดับเดรัจฉานภูมิ เช่น แมวขโมย สุนัขจิ้งจอก
ที่ล้วนมีเล่ห์เหลี่ยมกลโกงติดมาในกมลสันดาน   แต่หากตายเยี่ยงโจรโฉด ปล้นไม่เว้นแม้พระสงฆ์องคเจ้า ไม่มีความเมตตาเป็นบุญเก่าพอช่วยพยุงเลย
ก็จัดว่ามีความเหมาะกับสภาพความเป็นอยู่อันลำบากลำบน ไร้สมบัติติดตัว ดังเช่นนรกภูมิสถานเดียว!


ผิดศีลข้อที่ 2 (ลักทรัพย์ ขโมย ฉ้อโกง ยักยอก ทำลายทรัพย์) ผลกรรมคือ

1. ธุรกิจไม่เจริญก้าวหน้า เจ๊ง ขาดทุน ฝืดเคือง โดนโกง
2. มีแต่อุบัติเหตุให้เสียทรัพย์สิน ต้องชดใช้ให้คนอื่นอย่างไร้เหตุผล
3. ทรัพย์หายบ่อยๆหลงลืมทรัพย์วางไว้ไม่เป็นที่ หาก็ไม่เจอ
4. มีคนมาผลาญทรัพย์เรื่อยๆ ทั้งคนใกล้ตัวและคนทั่วไป
5. ลูกหลานแย่งชิงมรดก โดนลักขโมยบ่อยๆ
6. ตระกูลอับจนไม่มีที่สิ้นสุด มีแต่คนมาทำลายทรัพย์


ผิดศีลข้อ 4  (โกหก ปลิ้นปล้อน กลับคำ ไม่มีสัจจะ หลอกลวงผู้อื่น ใส่ร้ายผู้อื่น ยุแยงให้คนแตกกัน ใช้วาจาดูหมิ่น
พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ ขี้โม้ นินทา ด่าทอ ด่าพ่อล้อแม่ ด่าและเถียงผู้มีพระคุณ ผิดสัญญา สาบานแล้วไม่ทำตาม ) ผลกรรมคือ

1.ปากไม่สวย ฟันไม่สวย มีกลิ่นปาก มีปัญหาเรื่องปากเรื่องฟันอยู่เนืองนิจ
2.มีแต่คนพูดให้เสียหาย มีคนซุบซิบนินทาเรื่องของเรา มีคนคอยใส่ร้ายดูหมิ่นและส่อเสียดเราอยู่เสมอ
3.ไม่มีใครจริงใจด้วย มีแต่คนมาพูดจาหลอกลวง ผิดสัญญาต่อเรา
4.เกิดในสังคมที่พูดแต่คำหยาบคำส่อเสียดปลิ้นปล้อน นินทาอยู่เนืองนิจ เพียงตื่นมาก็พบเจอความไม่เป็นมงคล (สังคมที่ปากไม่เป็นมงคล)
5.หลงเชื่อคนอื่นได้ง่าย โดนหลอกได้ง่าย ไม่มีความระวังเวลาโดนโกหก
6.ไม่มีใครเชื่อถือในคำพูดของเรา, เป็นคนที่พูดอะไรแล้วคนเมิน,พูดติดๆขัดๆ, นึกจะพูดอะไรก็ไม่ได้ดั่งใจ


กรรม คือ การกระทำ
ทำกรรมเช่นไรไว้  ย่อมได้รับผลกรรมเช่นนั้น 
กรรมดีย่อมให้ผลดี กรรมชั่วย่อมให้ผลชั่ว ตามอิทธิพลของมัน เที่ยงตรงที่สุดไม่เลือกที่รัก ผลักที่ชัง

ผลกรรมหรือเรียกว่า วิบากกรรม ประเภทไหนแรงกว่าก็ออกผลก่อน วิบากกรรมที่ยังไม่ได้โอกาสออกผลก็ยังรอคิวอยู่
ถ้ายังไม่ได้โอกาสออกผลในชาตินี้ก็จะต้องรอคิวไปถึงชาติหน้าหรือชาติถัดไปอย่างแน่นอน 
กฏแห่งกรรมยุติธรรมและเที่ยงตรงเสมอ..

ปล.หากเป็นการคดโกงในเรื่องพระเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ วิบากกรรมจะกลายเป็นร้อยเท่าพันเท่าทวีคูณ เครดิตจากอินเตอร์เน็ตครับ!

ระนาดเอก

 อายแบบน่ารัก

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : Prapacarn ❀, ลมหนาว, รพีกาญจน์, บูรพาท่าพระจันทร์

ข้อความนี้ มี 7 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]
  ชุมชน  |  ส่งหัวข้อนี้  |  พิมพ์  
 

Email:
Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
s s s s s