๐ท่องแดนอินโดนีเซีย๐
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน
25 เมษายน 2024, 07:04:AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

กด Link เพื่อร่วมกิจกรรม ผ่านFacebook (หรือกดปุ่มสมัครสมาชิกด้านบน)
 
หน้า: [1]
  ชุมชน  |  ส่งหัวข้อนี้  |  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ๐ท่องแดนอินโดนีเซีย๐  (อ่าน 3545 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
17 มีนาคม 2012, 08:48:PM
อริญชย์
Special Class LV6
นักกลอนเอกแห่งวังหลวง

******

คะแนนกลอนของผู้นี้ 1154
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,568


ให้สุขแก่ท่าน สุขนั้นถึงตัว


« เมื่อ: 17 มีนาคม 2012, 08:48:PM »
ชุมชนชุมชน



ภาพเจดีย์บุโรพุทโธ ประเทศอินโดนีเซีย (จาก Google.com)


    ๐ท่องแดนอินโดนีเซีย๐
(บทกลอนเชิงสารคดีและจินตนาการ)

แดนอินโดนีเซียมีเจดีย์ใหญ่
ที่พึ่งใจชาวพุทธอันสุดเด่น
บุโรพุทโธล้ำเลิศธรรมเย็น
เดี๋ยวนี้เป็นมรดก โลกตราตรึง

อัญมณีมหาสมุทรงามสุดแสน
คือดินแดนบาหลีงามที่หนึ่ง
นักท่องเที่ยวชื่นฉ่ำห้วงคำนึง
ก่อรักซึ้งในบาหลีนี้ประจำ

หมู่เกาะก็มีมาก สัตว์หลากหลาย
เสือโคร่งลายสุมาตราสง่าล้ำ
มังกรคอมมานโดตัวโตดำ
ช้างป่านำ หมู่ป่าเขี้ยวน่ากลัว

นกโนรีครามเขียวเดินเที่ยวป่า
ค้างคาวหาอาหารกินโบยบินทั่ว
อุรังอุตังตัวโตโตเดินโชว์ตัว
ลิงเต้นรัวต่างวิ่งกรูเมื่องูมา

อีกหลายสัตว์หากินบนถิ่นนี้
คนป่ามีมากแท้ เดินแก้ผ้า
สร้างบ้านบนต้นไม้กลัวใครมา
ดูแปลกตาแต่เห็นแล้วเด่นดี

แดนอินโดฯไพรสณฑ์เปี่ยมมนต์ขลัง
หลายแห่งยังค้นพบไปอยู่หลายที่
นักสำรวจพบสิ่งใหม่แห่งไพรมี
ล้วนต่างชี้ยังไม่เคยพบเลยเออ

เกาะอินโดนีเซียหลากสีสัน
อัศจรรย์ใจคนมาเที่ยวเสมอ
ภูเขาไฟคุกรุ่นควันฝุ่นเบลอ
อินโดนีเซียเจอเสมอเอย! ฯ
      
                 อริญชย์
            ๑๗/๓/๒๕๕๕



พุทธสถาน ‘บุโรพุทโธ’
หนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ของโลก


‘บุโรพุทโธ’ หรือ ‘โบโรบูดูร์’ (borobodur) พุทธสถานอันงามสง่า หนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ตั้งอยู่ใจกลางเกาะชวา อยู่ห่างจากเมืองยอกยาการ์ตา (Yogyakata) หรือยอกยา ของอินโดนีเซีย ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 40 กิโลเมตร สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 14 ในสมัยของ กษัตริย์ราชวงศ์ไศเลนทร์ แห่งอาณาจักรศรีวิชัย ซึ่งสมัยนั้นหมู่เกาะต่างๆ ของอินโดนีเซียมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอินเดีย ทั้งด้านการค้าและวัฒนธรรม ทำให้ได้รับอิทธิพลทางด้านความเชื่อของฮินดูและพุทธเป็นอย่างมาก แต่กษัตริย์ของศรีวิชัยซึ่งเป็นชาวฮินดู เกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และชนชาวศรีวิชัยส่วนใหญ่ก็นับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ทำให้เกาะชวาเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาอันยิ่งใหญ่ของอาณาจักรศรีวิชัยนี้

มหาสถูปบุโรพุทโธ อันงดงามนั้นรังสรรค์ขึ้นด้วยความรักความศรัทธาอย่างเปี่ยมล้นต่อพระพุทธศาสนาของชนชาวศรีวิชัย ประติมากรรมแต่ละชิ้นได้รับการจัดวางอย่างงดงามลงตัวและมีความหมายอันมีนัยถึงธรรม ธรรมชาติ หรือจักรวาล โดยสร้างขึ้นจากหินลาวา มีพื้นที่โดยรวมประมาณ 55,000 ตารางเมตร รูปทรงด้านฐานเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างยาวด้านละ 123 เมตร แต่ละด้านมีบันไดและซุ้มประตูขึ้นสู่มหาเจดีย์ ซึ่งมีทั้งหมด 10 ชั้น ชั้น 1-6 มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม ส่วนชั้นที่ 7-10 มีลักษณะเป็นรูปทรงกลม

ส่วนฐานของบุโรพุทโธ ประกอบด้วยขั้นบันไดใหญ่ 4 ขั้น กำแพงรอบฐานมีภาพสลักประมาณ 160 ภาพ เป็นภาพที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นมนุษย์ที่ยังข้องอยู่ในกาม ผูกพันกับความสุข สนุกสนาน ความปรารถนาทางโลกอันไม่รู้จบ ส่วนนี้จัดอยู่ในขั้นกามภูมิ

ในส่วนที่สอง คือส่วนบนของฐานนั้น ผนังทั้งด้านนอกด้านในมีรูปสลักเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติและชาดกต่างๆ ประมาณ 1,460 ภาพ ในส่วนนี้ถือเป็นขั้นรูปภูมิ คือขั้นตอนที่มนุษย์หลุดพ้นจากกิเลสทางโลกมาได้บางส่วน

 
พุทธศาสนิกชนร่วมเจริญพระพุทธมนต์ และเวียนเทียนที่พุทธสถานบุโรพุทโธ


ส่วนที่สาม คือส่วนของฐานกลมที่มีเจดีย์ทรงระฆังคว่ำ จำนวน 72 องค์ แต่ละองค์บรรจุด้วยพระพุทธรูป ตั้งเรียงรายอยู่ 3 ระดับ โอบล้อมพระเจดีย์องค์ใหญ่ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สุดยอดของบุโรพุทโธ จำนวน 72 นั้น หากพิจารณาในทางธรรมแล้วหมายถึง รูป 18 เจตสิก 52 จิต 1 นิพพาน 1 และฐานพระเจดีย์ที่เป็นรูปบัวผลิบานนั้นบ่งบอกถึงการรู้ตื่นและเบิกบาน ส่วนพระเจดีย์องค์ใหญ่นั้นภายในไม่ได้บรรจุสิ่งใดไว้ อาจสื่อให้เห็นถึงความว่าง อันถึงที่สุดของนิพพานแล้ว ย่อมไร้ลักษณ์ ไร้รูปรอยใดๆ ในส่วนนี้ถือเป็นขั้นอรูปภูมิ ที่มนุษย์ไม่ผูกพันกับทางโลกอีกต่อไป

บุโรพุทโธคงความยิ่งใหญ่ยึดเหนี่ยวจิตใจผู้คน ผ่านกาลผ่านสมัยจวบจนเข้าต้นพุทธศตวรรษที่ 18 ซึ่งใกล้สิ้นยุคของศรีวิชัย ซึ่งในเวลานั้นชาวโปรตุเกสได้เริ่มเข้ามายึดครองหมู่เกาะต่างๆ และอิทธิพลของศาสนาอิสลามได้เข้ามาแทนที่ บุโรพุทโธได้ถูกลืมเลือนไปและถูกทิ้งร้างท่ามกลางป่าเขาเป็นเวลานับร้อยๆ ปี จนกระทั่งพุทธศตวรรษที่ 24 เซอร์โทมัส แสตนฟอร์ด ราฟเฟิล ชาวดัทซ์ ได้ค้นพบบุโรพุทโธขึ้นอีกครั้งในสภาพที่เต็มไปด้วยซากปรักหักพัง และมีการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งแรก ในระหว่าง พ.ศ.2448-2453

ต่อมาใน พ.ศ.2516 รัฐบาลอินโดนีเซียได้เริ่มต้นโครงการปฏิสังขรณ์ใหญ่อีกครั้งโดยมีองค์การยูเนสโก ของสหประชาชาติ ได้ให้ทุนสนับสนุน รวมทั้งเงินทุนอุดหนุนจากบางประเทศที่นับถือพุทธศาสนา ซึ่งประเทศไทยก็มีส่วนร่วมด้วย (ขอเพิ่มเติมว่า ท่ารำของระบำศรีวิชัยในบ้านเรานั้น ได้ค้นคว้ามาจากภาพจำหลักที่บุโรพุทโธนี่เอง)

แล้ว...ความสง่างามของบุโรพุทโธก็ปรากฏขึ้นอีกครั้ง เฉกเช่นในอดีต !!

 
‘บุโรพุทโธ’ พุทธสถานอันงามสง่า


ไม่อาจจะสรรหาคำใดมาอธิบายความยิ่งใหญ่ ของบุโรพุทโธได้ แต่เผอิญได้มีโอกาสอ่านหนังสือของ ท่านเขมานันทะ เรื่อง ‘บุรีแห่งบรมพุทโธ’ ซึ่งท่านเขียนได้ลึกซึ้งกินใจมาก เลยขอถือโอกาสนำบางส่วนมาถ่ายทอดความรู้สึกปิดท้ายกันตรงนี้

“...โบโร คือพลังสร้างสรรค์บริสุทธิ์...คือพลังแรงแห่งน้ำใจและน้ำมือมนุษย์เดินดิน ด้วยรักและตระหนักรู้ต่อพุทธธรรมว่าจะเกื้อกูลค้ำจุนโลกได้แท้จริง...

ถ้าว่าความรัก ความงาม ความจริง และความดีมีอยู่จริง โบโรบูดัวหรือบรมพุทโธเป็นอันนั้นคือ การุณยธรรมอันสำแดงออกในงานศิลปะชั้นสูงส่งเท่าที่มนุษย์เคยสร้างสรรค์แล้วในโลกพิภพ...

บรมพุทโธ คือ สื่อสืบสานมโนคติ หากได้สัมผัสคงเป็นบุญแห่งขันธ์และการจาริกมาก็เป็นบุญกิริยา และแม้ไม่มา เพียงรู้ล้วนๆ ในช่วงขณะใดขณะหนึ่ง ล่วงพ้นนิมิตต่างๆ ก็ชื่อว่ามาถึงบุรีแห่งพุทโธ และถ้ามันกลายเป็นวาสนาบารมีไปแล้ว การเข้าผ่านประตูกาลมุขนั้น ก็คือการเข้าถึงไวโรจนพุทธะ สภาพตื่นผลิบานอันรุ่งเรือง คือ พระสถูปมหาสุญญตา แต่การภาวนาที่โน้มทั้งกาย วาจา และใจ เข้าทางธรรมนั้นนับว่างดงาม...”



......................................................................

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 29 พฤษภาคม 2546 11:57 น. 
   


   



http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=9099

 อายจัง สาวน้อยเซย์ ฮาโหล อายจัง




<a href="http://www.youtube.com/v/wrjDdBxQDOk&amp;rel=0&amp;fs=1" target="_blank">http://www.youtube.com/v/wrjDdBxQDOk&amp;rel=0&amp;fs=1</a>

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : sunthornvit, ..กุสุมา.., รัตนาวดี, พี.พูนสุข, รพีกาญจน์, พยัญเสมอ, MASAPAER, ไพร พนาวัลย์, บูรพาท่าพระจันทร์

ข้อความนี้ มี 9 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า

เกื้อกูลต่อมวลมิตร ลิขิตเพื่อสังคม
เพาะบ่มเพื่อพงไพร ก้าวไปเคียงผองชน
หน้า: [1]
  ชุมชน  |  ส่งหัวข้อนี้  |  พิมพ์  
 

Email:
Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
s s s s s