สัมผัสระหว่างบท (กลอนสุภาพ)

สัมผัสระหว่างบท (กลอนสุภาพ)

<< < (5/6) > >>

aasdang:
การเขียนกลอนมีข้อกำหนดหลักมากอยู่
ข้อกำหนดรองที่ไม่จำเป็นนักก็เยอะแยะ
แต่ที่เห็นกันเป็นประจำและมีส่วนทำลายร้อยกรองโดยตรงคือ เท่าที่พอรวบรวมได้มี

1. "สัมผัสเลือน" .. เอาเสียงสระที่ใกล้กันมารับสัมผัส เช่น
กรรม กับ กาม
งำ กับ งาม
กฎ กับ โกศ
ใส กับ สาย
ขุด กับ ขูด
สัมผัสเลือนห้ามใช้กับสัมผัสนอกที่เป็นสัมผัสบังคับ .. แต่ใช้ได้กับสัมผัสในวรรคที่ไม่บังคับ


2. "คำกลับหน้ากลับหลัง" .. ส่วนมากจะเป็นคำควบคู่ที่พูดกันติดปาก ที่บางคำกลับได้ และหลายคำกลับไม่ได้
ที่กลับหน้าหลัง"ได้" มี ..

พอเพียง .. เพียงพอ
เคืองแค้น .. แค้นเคือง
รื่นรมย์ .. รมย์รื่น
คร่ำครวญ .. ครวญคร่ำ
ร้องร่ำ .. ร่ำร้อง
เรรวน .. รวนเร
องค์เอว .. เอวองค์
ออดอ้อน .. อ้อนออด
พร่ำพลอด .. พลอดพร่ำ
เนิ่นนาน .. นานเนิ่น
ชมเชย .. เชยชม
ครบครัน .. ครันครบ
สั่นไหว .. ไหวสั่น
หวั่นไหว .. ไหวหวั่น
เหลียวแล .. แลเหลียว
คิดนึก .. นึกคิด
ก้าวย่าง .. ย่างก้าว
แฝงเร้น .. เร้นแฝง
เรื่องราว .. ราวเรื่อง
เนื่องหนุน .. หนุนเนื่อง
เย้ยหยัน .. หยันเย้ย
แปลบปลาบ .. ปลาบแปลบ
ซ่อนเร้น .. เร้นซ่อน
พิศเพ่ง .. เพ่งพิศ
รุดเร่ง .. เร่งรุด


ส่วนที่กลับหน้ากลับหลัง"ไม่ได้" .. หากเขียนไปก็ออกทะเล มี ..

ขัดเขิน .. เขินขัด
ขวยเขิน .. เขินขวย
รูปลักษณ์ .. ลักษณ์รูป
กลับกลอก .. กลอกกลับ
ปลายทาง .. ทางปลาย
กลั่นแกล้ง .. แกล้งกลั่น
วังเวง .. เวงวัง
อบอุ่น .. อุ่นอบ
อ้อมแขน .. แขนอ้อม
ผ่อนพิง .. พิงผ่อน
เส้นทาง .. ทางเส้น
ตื่นเต้น .. เต้นตื่น
อึดอัด .. อัดอึด
ตื้นเขิน .. เขินตื้น
วาบหวาม .. หวามวาบ

ตรงนี้แม้จนระดับกวีซีไรต์ก็ยังเจอ



ส่วนเสียงท้ายวรรคของกาพย์กับฉันท์ จะไปทางเดียวกันคือ
ท้ายวรรค 2 จะเป็นเสียงสามัญส่วนท้ายวรรค 3 วรรค 4 จะเป็นเสียงจัตวาดีที่สุด
เรากำหนดเสียงที่เหมาะสมจากการอ่านทำนองเสนาะเป็นเกณฑ์

พยัญเสมอ:



กลอนฉันแต่งจากใจฉันใคร่แต่ง
ตามแต่แรงบันดาลใจจะใฝ่ฝัน
ไม่ว่าเรื่องอะไรที่ต้องการ
ก็เขียนสารอันนั้นใส่บทกลอน

เพราะไม่เพราะช่างมันฉันไม่ถือ
ที่สำคัญคือสื่อในอักษร
นึกเรื่องใดได้แล้วเป็นต้องลอง
แม้นใครมองว่ายังหย่อนอ่อนกฏเกณฑ์

ใครจะชอบจะชังก็ชั่งเขา
ถ้าตัวเรามีดีมีคนเห็น
ดีจะฉายแววประจักษ์อย่างชัดเจน
แม้ไม่เด่นไม่เป็นไรไม่เคยแคร์   emo_47



พยัญเสมอ:


ร่ายบรรเลงเพลงษรอักว่ารักยิ่ง
ไม่มีสิ่งใดเทียบเปรียบจอมขวัญ
รักที่มีไม่ปลอมแปลกแต่แรกวัน
เธอสำคัญดั่งตาดวงห้วงฤดี

เธอเหมือนลมใจหายเลี้ยงกายร่าง
เธอเหมือนอย่างใสน้ำกำมะหยี่
เธอเหมือนดังสว่างแสงแห่งชีวี
เพราะเธอมีฉันจึงอยู่โปรดรู้พลัน



ปล.พูดถึงคำที่สลับกันไม่ได้นั้นมีหลายคำ มากมาย   มายมาก

เช่น
แม่น้ำ   น้ำแม่
อาทิตย์  ทิตย์อา
ทะเล  เลทะ
สงสัย  สัยสง
โรงเรียน  เรียนโรง
ปากกา  กาปาก
สมุด    หมุดสะ
ถนน    หนนถะ
ฝนตก  ตกฝน
พายุ   ยุพา(ความหมายเปลี่ยน)
ชั่วโมง  โมงชั่ว
ได้ยิน   ยินได้
เอ้อ....นึกไม่ออก(ออกไม่นึก)


 emo_85




สมนึก นพ:

สัมผัสเลือนคือเลื่อนจากตำแหน่ง
กำหนดแจ้งฉันทลักษณ์ยึดหลักมั่น
คำที่สาม หรือ ห้า สัมผัสกัน
ผิดจากนั้นน่าเลื่อนคลาดเคลื่อนไป

*ฉันรักเธอเท่าฟ้าบอกมานี้
หลายสิบล้านปีนะรู้บ้างไหม
นอกจากคุณแล้วนิมิมีใคร
มอบใจรักต่อกันนิรันดร

สารภาพร้อยครั้งหวังเจ้าเชื่อ
ขออย่าเพิ่งนึกคิดเบื่อในคำอ้อน
ปี ใจ เบื่อ ผิดที่สัมผัสกลอน
ตำแหน่งหลอนแจ้งชัดสัมผัสเลือน.

นพ
15มี.ค.57
...

ป้าโย:


แม้นร้อยคำ ทำประพันธ์ ฉันทลักษณ์
ต้องตระหนัก ตำแหน่งคำ เสียงต่ำสูง
คำยาวสั้น ผันครุ ลหุจูง
กลอนจึงฟุ้ง เลืองล้ำ คำจำนรร

สัมผัสใน ก็สำคัญ อันเป็นเหตุ
ให้วิเศษ เขตปัญญา อักษาสวรรค์
คำต่างถ้อย ร้อยอักษร ตอนประพันธ์
ย่อมต่างชั้น พันวิถี วิธีปรุง








กะ ขะ คะ ฆะ งะ
จะ ฉะ ชะ ซะ ยะ
ปะ ผะ พะ ภะ มะ
ตะ ถะ ทะ ฑะ นะ
(ฏะ ฐะ ฑะ ธะ ณะ)


เทวนาครี



นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว