หัวข้อ กลอนสุภาพ (กลอน ๘)
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน
18 เมษายน 2024, 07:15:AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

กด Link เพื่อร่วมกิจกรรม ผ่านFacebook (หรือกดปุ่มสมัครสมาชิกด้านบน)
 
ผู้เขียน หัวข้อ: หัวข้อ กลอนสุภาพ (กลอน ๘)  (อ่าน 127789 ครั้ง)
webmaster
  ผู้ดูแลระบบ
*

คะแนนกลอนของผู้นี้ 174
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,435



« เมื่อ: 06 ธันวาคม 2009, 09:02:AM »

ห้องแต่งกลอนตามฉันทลักษณ์มีกติกาไม่เหมือนห้องอื่น...รบกวนอ่านก่อนนะครับ โดยคลิ๊กที่นี่

กลอนสุภาพ
       เป็นคำประพันธ์อีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมกันทั่วไป เพราะเป็นร้อยกรองชนิดที่มีความเรียบเรียงง่ายต่อการสื่อความหมาย และสามารถสื่อได้อย่างไพเราะ ซึ่งกลอนแปดมีการกำหนดพยางค์และสัมผัส มีหลายชนิดแต่ที่นิยมคือ กลอนสุภาพ

        กลอนสุภาพนับเป็นกลอนหลักของก่อนทุกชนิด ซึ่งจำแนกเป็นกลอน ๖ กลอน ๗ กลอน ๘ และกลอน ๙ ซึ่งมีหลักของการแต่งคล้ายคลึงกัน ในที่นี้จะกล่าวถึงหลักการแต่งกลอน ๘ ซึ่งเป็นกลอนที่นิยม ดังนี้

1. จำนวนคำของกลอนแต่ละวรรคมี 8 คำ หรือ 9 คำ , 2 วรรคเป็นหนึ่งบาท , สองบาทเป็นหนึ่งบท
2. คำสุดท้ายของวรรคหน้า (วรรคที่ 1) ต้องสัมผัสกับ คำที่ 3 หรือคำที่ 5 ของวรรคหลัง(วรรคที่2)
3. คำสุดท้ายของวรรคที่ 2 ต้องสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 3
4. คำสุดท้ายของวรรคที่ 3 ต้องสัมผัสกับ คำที่3 หรือคำที่ 5 ของ วรรคที่ 4 ( แต่งครบ 4 วรรค หรือ สองบาท เป็น หนึ่งบท )
ถ้าจะขึ้นบทใหม่ ต้องให้คำสุดท้ายของวรรคที่ 4 ของบทที่หนึ่ง สัมผัสกับคำสุดท้ายของ วรรคที่ 2 ของบทใหม่ คล้องจองอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ ดังแผนผังข้างล่าง



สัมผัสในกลอนแปด
กลอนแปดจะมีลักษณะการสัมผัส 4 ลักษณะ ดังนี้
1. สัมผัสสระ
เป็นสัมผัสระหว่างคำที่ใช้สระเสียงเดียวกัน ถ้าเป็นคำที่มีตัวสะกดก็ต้องอยู่ในมาตราเดียวกันด้วย เช่น รบ พบ จบ คบ แต่มีข้อควรระวัง คือ ห้ามใช้สระเสียงสั้นกับสระเสียงยาวมาสัมผัสกัน เช่น คำ กับ คร้าม เป็นต้น
2. สัมผัสอักษร (สัมผัสพยัญชนะ) 
เป็นสัมผัสระหว่างคำที่ใช้พยัญชนะต้นตัวเดียวกันหรือเสียงพยัญชนะพ้องกัน โดยไม่จำกัดสระและวรรณยุกต์ เช่น กก กอ กิ่ง แก้ว เป็นต้น
3. สัมผัสนอก 
เป็นสัมผัสบังคับที่ส่งและรับสัมผัสจากวรรคหนึ่งไปยังอีกวรรคหนึ่งในบทเดียวกัน รวมทั้งสัมผัสระหว่างบทด้วยกัน ถือว่าเป็นสัมผัสบังคับของร้อยกรองทุกประเภท แต่ต้องจำให้ดีว่าสัมผัสนอกจะใช้สัมผัสสระเท่านั้น
ภาพความหลัง ยังตราตรึง คะนึงคิด ในดวงจิต เปี่ยมรัก แม่หนักหนา
สุดซาบซึ้ง ถึงความรัก ความเมตตา ดวงอุรา ที่งดงาม มิเคยเลือน …………จบบทที่ 1
เฝ้าถนอม กล่อมเกลี้ยง เลี้ยงดูบุตร ลออสุด น้ำใจ หาใครเหมือน
เฝ้าอบรม บ่มนิสัย เฝ้าตักเตือน แม่เหมือนเพื่อน เฝ้าปลอบใจ ยามลูกตรม………….จบบทที่ 2
4. สัมผัสใน 
เป็นสัมผัสที่ส่งและรับภายในวรรค ใช้ได้ทั้งสัมผัสสระและสัมผัสอักษร เพราะสัมผัสในไม่ใช่สัมผัสบังคับ แต่เป็นสัมผัสที่ช่วยให้ร้อยกรองมีความไพเราะมากยิ่งขึ้น และเป็นการแสดงฝีมือของผู้แต่งด้วย
ภาพความหลัง ยังตราตรึง คะนึงคิด ในดวงจิต เปี่ยมรัก แม่หนักหนา
สุดซาบซึ้ง ถึงความรัก ความเมตตา ดวงอุรา ที่งดงาม มิเคยเลือน …………จบบทที่ 1
เฝ้าถนอม กล่อมเกลี้ยง เลี้ยงดูบุตร ลออสุด น้ำใจ หาใครเหมือน
เฝ้าอบรม บ่มนิสัย เฝ้าตักเตือน แม่เหมือนเพื่อน เฝ้าปลอบใจ ยามลูกตรม………….จบบทที่ 2

แหล่งที่มา : www.panyathai.or.th]

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ :

จอมขวัญ, จารุทัส

ข้อความนี้ มี 2 สมาชิก มาชื่นชม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08 ธันวาคม 2009, 12:18:PM โดย webmaster » บันทึกการเข้า

Email:
Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
s s s s s