Re: ที่แล้วไปไม่นับ กลับมาเริ่มใหม่
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน
25 เมษายน 2024, 01:46:PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

กด Link เพื่อร่วมกิจกรรม ผ่านFacebook (หรือกดปุ่มสมัครสมาชิกด้านบน)
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ที่แล้วไปไม่นับ กลับมาเริ่มใหม่  (อ่าน 103970 ครั้ง)
@free
Special Class LV2
นักกลอนผู้ก้าวสู่โลกอักษร

**

คะแนนกลอนของผู้นี้ 99
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 579



« เมื่อ: 20 เมษายน 2021, 02:05:PM »

     
     
ไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ใช่หมายความว่าไม่มี

       

หลังจากวันก่อนได้รู้จักโคลงหนึ่งสุภาพ
วีนนี้จึงเพิ่งรู้ว่ามี โคลงห้า

ลักษณะการแต่ง    โคลงห้า (โคลงมณฑกคติ)  เป็นคำประพันธ์ที่ปรากฏอยู่ในวรรณกรรมไทยเพียงเรื่องเดียวคือ
                             ลิลิตโองการแช่งน้ำ พระโหราธิบดีได้กล่าวถึงลักษณะของชนิดโคลงนี้ไว้ในหนังสือจินดามณีว่า
                             ประกอบด้วย วรรคหรือบาทละ ๕ คำ บังคับเอกโท เช่นเดียวกับโคลงทั่วไป  แต่ไม่อาจกำหนดจำนวนได้
                             และบอกไม่ได้ว่ามีการวางรูปแบบเป็นอย่างไร
   แผนผัง               ไม่มี  เนื่องจากไม่สามารถบอกได้ว่ามีการวางรูปแบบอย่างไร


ลักษณะโคลงห้าพัฒนา
พัฒนาโดย  จิตร ภูมิศักดิ์

กรุงเทพฯคลุ้ง                          คาวหืน
ควันกามกลืน                           กลบไหม้
คาวกลางคืน                             คลุมทาบ
เมืองร้องไห้                              เหือดขวัญ

น้ำฟ้าฟาด                               ฟองหาว
คือกามฉาว                               ชุ่มฟ้า
กลิ่นสาบสาว                            กำซาบ
กามย้อมหล้า                            แหล่งสยามตลาด

คณะ หนึ่งบทมีสี่บาท  หนึ่งบาทมีห้าคำ  แบ่งเป็นวรรคหน้าสามคำ วรรคหลังสองคำ

เอกโท หนึ่งบทมีเอกสี่ โทสี่ (ดูตำแหน่งตามแผนผังต่อไป)

สัมผัส เหมือนโคลงสี่สุภาพ

สร้อย เหมือนสร้อยโคลงดั้น

แผนผังโคลงห้าพัฒนา

O O่ O้                                  O O

O O O                                       O่ O้

O O O                                       O O่

O O้ O้                                   O่ O

หมายเหตุ

1)  เอกและโทในบาทที่หนึ่งสับที่กันได้เหมือนโคลงอื่นๆทั่วไป

2)  โทคู่ในบาทสี่   อาจอยู่แยกกันได้ดังนี้

O้ O O้                                              O่ O

เช่น  “ ฟ้าโรจน์ร้อง ร่ำหา “

3) สร้อยของบาทที่หนึ่งและที่สาม เหมือนสร้อยโคลงทั่วไป  แต่เฉพาะสร้อยของบาท ที่สี่   จะต้องเป็นสร้อยแบบโคลงดั้น กล่าวคือ เป็นคำสุภาพ (ไม่มีเอกโท, ไม่เป็นคำตาย) และต้องซ้ำพยัญชนะกับสองคำสุดท้ายของบาทที่สี่ โดยเฉพาะคำสุดท้ายจะต้องเป็นคำเดียวกัน ดังตัวอย่าง “ฟ้าโรจน์ร้อง  ร่ำหา  รนหา” หรือ  “กามร้อนไล้   ลูบเมือง  โลมเมือง”

และยังมีโคลงที่คล้ายโคลงสี่ ที่ต่่างสัมผัส ต่างเอกโท อีกนับสิบซึ่งข้าพเจ้าเพิ่งรู้ เพิ่งเหฺ็น

         
   

        


โคลงหนึ่ง-สอง-สาม-สี่สุภาพ...โคลงห้าพัฒนา


มนลมุลอุ่นเอื้อ   เจือใจ

สานสายใยสื่อสร้าง   เสริมศิลป์

วิจิตรจินต์ฝ่ายฟ้อน   รำร่ายอายออดอ้อน
นี่แท้ไทยหรู   เลิศแล

นาฏบรมครูฝ่ายเจ้า   แบบอย่างวางโครงเค้า
เพื่อสร้างสถาน ศิลป์นอ

ปรมาจารย์กำหนด   แบบเกณฑ์กฏท่านสร้าง
รำแม่บทอวดอ้าง   แม่ไม้รำไทย

ขานไขใจประจักษ์   ราชสำนักหนึ่งผู้
สืบถ่ายทุกคนรู้   แจ่มแจ้งแสดงผล

เหลือกมลล้นค่า   คนาคุณ
นามท่านครู"ลมุล"   แม่-ละม้าย
"ยมะคุปต์"ชื่อสกุล   กาลก่อกำเนิดนอ
คำ"แม่" เสมือนคล้าย   เครื่องคล้องปองใจ
       
 ใครหนึ่งผู้   ปูชนีย์ 
ควรสดุดี    เด่นเหย้า
เสริมศักดิ์ศรี   ศิลป์สง่า
ดังแก้วเก้า   ก่องกมล


ก่อง   หมายถึง    ใส, สว่าง, งาม

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ :

เนิน จำราย

ข้อความนี้ มี 1 สมาชิก มาชื่นชม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 เมษายน 2021, 09:39:AM โดย @free » บันทึกการเข้า

Email:
Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
s s s s s