Re: ที่แล้วไปไม่นับ กลับมาเริ่มใหม่
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน
24 เมษายน 2024, 12:44:AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

กด Link เพื่อร่วมกิจกรรม ผ่านFacebook (หรือกดปุ่มสมัครสมาชิกด้านบน)
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ที่แล้วไปไม่นับ กลับมาเริ่มใหม่  (อ่าน 103780 ครั้ง)
@free
Special Class LV2
นักกลอนผู้ก้าวสู่โลกอักษร

**

คะแนนกลอนของผู้นี้ 99
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 579



« เมื่อ: 03 ตุลาคม 2020, 03:10:PM »

     

         


ปฏิปทา 4 (แนวปฏิบัติ, ทางดำเนิน, การปฏิบัติแบบที่เป็นทางดำเนินให้ถึงจุดหมายคือความหลุดพ้นหรือความสิ้นอาสวะ — Paṭipadā: modes of practice; modes of progress to deliverance)
ทุกฺขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา (ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า เช่นผู้ปฏิบัติที่มีราคะ โทสะ โมหะแรงกล้า ต้องเสวยทุกข์โทมนัสเนื่องจากราคะ โทสะ โมหะนั้นอยู่เนืองๆ หรือเจริญกรรมฐานที่มีอารมณ์ไม่น่าชื่นใจ เช่น อสุภะ เป็นต้น อีกทั้งอินทรีย์ก็อ่อน จึงบรรลุโลกุตตรมรรคล่าช้า พระจักขุบาลอาจเป็นตัวอย่างในข้อนี้ได้ — Dukkhā paṭipadā dandhābhiññā: painful progress with slow insight)
ทุกฺขา ปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา (ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว เช่น ผู้ปฏิบัติที่มีราคะ โทสะ โมหะแรงกล้า ต้องเสวยทุกข์โทมนัสเนื่องจากราคะ โทสะ โมหะนั้นอยู่เนืองๆ หรือเจริญกรรมฐานที่มีอารมณ์ไม่น่าชื่นใจ เช่น อสุภะ เป็นต้น แต่มีอินทรีย์แก่กล้า จึงบรรลุโลกุตตรมรรคเร็วไว บาลียกพระมหาโมคคัลลานะเป็นตัวอย่าง — Dukkhā paṭipadā khippābhiññā: pleasant progress with slow insight)
สุขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา (ปฏิบัติสบาย แต่รู้ได้ช้า เช่น ผู้ปฏิบัติที่มีราคะ โทสะ โมหะไม่แรงกล้า ไม่ต้องเสวยทุกข์โทมนัสเนื่องจากราคะ โทสะ โมหะนั้นเนืองนิตย์ หรือเจริญสมาธิได้ฌาน 4 อันเป็นสุขประณีต แต่มีอินทรีย์อ่อน จึงบรรลุโลกุตตรมรรคล่าช้า — Sukhā paṭipadā dandhābhiññā: pleasant progress with slow insight)
สุขา ปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา (ปฏิบัติสบาย ทั้งรู้ได้ไว เช่น ผู้ปฏิบัติที่มีราคะ โทสะ โมหะไม่แรงกล้า ไม่ต้องเสวยทุกข์โทมนัสเนื่องจากราคะ โทสะ โมหะนั้นเนืองนิตย์ หรือเจริญสมาธิได้ฌาน 4 อันเป็นสุขประณีต อีกทั้งมีอินทรีย์แก่กล้า จึงบรรลุโลกุตตรมรรคเร็วไว บาลียกพระสารีบุตรเป็นตัวอย่าง — Sukhā paṭipadā khippābhiññā: pleasant progress with quick insight)
….
ที่มา: พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม — พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)


คำทีผสมด้วยสระ ำ บางกรณีอาจเป็นได้ ทั้งคำ ครุ และคำ ลหุ
แต่ผมบังเอิญได้อ่านพบว่าฉันทลักษณ์ คำลหุแบบเคร่งครัดที่ใช้ในการตัดสินประกวดแต่งร้อยกรอง  ไม่รับ สระ  ำ เป็นคำลหุ

ส่วนคำ"ก็" เป็นคำลหุ ผมก็บังเอิญอ่านพบเช่นกันว่า บางคนเลี่ยงไป ว่า ก็เป็นคำ ครุ ได้ โดยอ้างตามหลักการอ่านออกเสียงเป็นสระเสียงหนัก (ผมนี่ไงก็ด้วยคิดจะอ่านออกเสียง"ก็"เป็นสระเสียงยาวอ่านว่า ก้อ)
ภายหลังผมจำได้ว่าคุณ สุวัฒน์ ไวจรรยา บอกว่า ก็ เป็นสระเสียงสั้น คือ เก้าะ
ฉะนั้นจากนี้ผมจะวาง " ำ" ตรงตำแหน่ง ครุ และวาง "ก็" ตรงตำแหน่ง ลหุ เท่านั้น ในทุกกรณี


 




     

     
ชวนทุกวัยนับญาติชาติเดียวรา
….. 

ทุกคำถาม ก็จะนำ ก็จำ ปฏิปทา
ไม่รู้ก็ศึกษา   ก็ทำ

นำวิถีท่วงท้าย   สายกลาง
เกาะมั่นก็มิหมาง   หม่นไหม้
สุขทุกข์ถ่วงทิศทาง   ถึงเท่าหลงนา 
มีแต่มัชฌิมได้   เด่นด้วยพอพียง

เดินถูกทางห่างราคะละโมหา
ทุกข์สุขพายากง่ายคล้ายไม่เที่ยง
เดินถูกทนพ้นโทสาอย่าลำเอียง
ทุกข์สุขเพียงอคติสี่นี่มายา

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ :

Montree Pratoom, พี.พูนสุข, สุวรรณ

ข้อความนี้ มี 3 สมาชิก มาชื่นชม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 ตุลาคม 2020, 11:29:AM โดย @free » บันทึกการเข้า

Email:
Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
s s s s s