Re: ที่แล้วไปไม่นับ กลับมาเริ่มใหม่
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน
20 เมษายน 2024, 07:50:AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

กด Link เพื่อร่วมกิจกรรม ผ่านFacebook (หรือกดปุ่มสมัครสมาชิกด้านบน)
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ที่แล้วไปไม่นับ กลับมาเริ่มใหม่  (อ่าน 103283 ครั้ง)
@free
Special Class LV2
นักกลอนผู้ก้าวสู่โลกอักษร

**

คะแนนกลอนของผู้นี้ 99
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 579



« เมื่อ: 29 พฤษภาคม 2020, 12:31:PM »

   

 
ฆ้องมอญจากเมาะตะมะ สู่ สยามประเทศ

ศิลปะการดนตรีที่มีอยู่เดิมในเมืองมอญสมัยที่มอญเรืองอำนาจนั้นเป็นเครื่องบ่งบอกในความเจริญทางวัฒนธรรมอารยธรรมเป็นอย่างมาก ต่อมาภายหลังได้มีศึกสงครามกับพม่าหลายครั้ง และในครั้งสุดท้ายไม่สามารถต้านทานพม่าได้จึงได้อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในสยามประเทศซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบามสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย. รัชกาลที่ 2

นายสี ชาวมอญอพยพเมืองเมาะตะมะ ผู้ที่หวงแหนสมบัติทางดนตรีแม้จะอพยพมาเมืองสยาม ก็มิวายที่แบกฆ้องมอญประจำตระกูลมาด้วย ฆ้องมอญเก่าแก่มีชื่อว่า "จุว่าง" ฆ้องมอญวงนี้สามารถถอดออกได้เป็น 3 ท่อน ท่อนตัว ท่อนกลาง ท่อนหาง ส่วนลูกฆ้องก็ใส่กระบุงแบกเข้ามา. ครอบครัวชาวมอญตระกูลของนายสีเมื่อมาถึงสยามประเทศแล้ว ได้พำนักพักพิงที่เมืองปทุมธานี
 
นายสี ชื่อเดิมของท่านมีชื่อเป็นภาษามอญ แต่เมื่อมาอยู่เมืองไทย ชาวบ้านละแวกนั้นเรียกว่า "สี "นายสี มีบุคนตรชื่อ นายเจิ้น (เจิ้น ภาษามอญแปลว่า ช้าง ) ตระกูลนายสีเป็นตระกูลนักดนตรีตั้งแต่อยู่เมาะตะมะ ทำให้นายเจิ้น เป็นนักดนตรีเหมือนกับบิดา
…..
ขอบคุณข้อมูลจาก รามัญคดี  https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=877368382338015&id=612365295504993

ฟ้อนม่านมงคล สมบูรณ์แบบ เนื้อร้อง ทำรองโดย ครูมนตรี ตราโมท  ไพเราะ  ท่ารำสวยงาม  น่าจะเป็นไปได้ที่ไทยประดิษฐ์ท่ารำขึ้น  โดยอาศัยท่ารำของภาคเหนือ  และมีท่ารำของภาคกลางปนด้วย  โดยอาศัยเค้าโครงเรื่องราชาธิราช
…..
บ้างว่า ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทยและศิลปินแห่งชาติ นางลมุล ยมะคุปต์ ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย และนางมัลลี คงประภัสร์ เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ
อันนี้ก็แปลกอยู่ ทั้งสามท่าน ล้วนเป็นสุดยอดบรมครู ผู้ประดิษฐ์ท่ารำทั้งสิ้น เพียงท่านใดท่านหนึ่งก็สามารถเพียงพอ หากเป็นผลงานร่วมของทั้งสามม่าน ต้องว่ายิ่งใหญ่เป็นพิเศษ
อย่างไรก็ดี ไม่ทราบว่าจะอ้างอิงจากที่ใด

   


ในตอนมอญแพ้พม่า  ผวาพราก
มอญใหม่อกตกยาก  ย่างย้าย
ชวนชาวหมู่มวลมาก  เมาะตะมะแล
นึกรี่หนีภัยร้าย  หลั่งเข้าแดนสยาม

มอญแปลงไทยไม่ห้าม  นามสี
มอญกลุ่มปทุมธานี  นั่นพ้อง
ตระกูลเก่าดนตรี  ตราแต่  เดิมนา
อุตส่าห์แบกขนฆ้อง  เขื่องเข้าเอามา

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ :

เนิน จำราย, โซ...เซอะเซอ, พี.พูนสุข

ข้อความนี้ มี 3 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า

Email:
Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
s s s s s