พิมพ์หน้านี้ - คำขวัญห้องสมุด

ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน

จิปาถะ => ขอให้เพื่อนช่วยแต่งกลอนให้ => ข้อความที่เริ่มโดย: chadaporn khueankaeo ที่ 13 มกราคม 2013, 01:24:PM



หัวข้อ: คำขวัญห้องสมุด
เริ่มหัวข้อโดย: chadaporn khueankaeo ที่ 13 มกราคม 2013, 01:24:PM
ช่วยแต่งคำขวัญให้หนูหน่อยนะคะ คำขวัญที่เกี่ยวกับห้องสมุด หนูแต่งได้แค่ 2บทครูให้แต่งคนละ5บท  ช่วยหน่อยนะคะ emo_126


หัวข้อ: Re: คำขวัญห้องสมุด
เริ่มหัวข้อโดย: khuadkao ที่ 13 มกราคม 2013, 01:50:PM

เรียกว่าห้องสมุดกระนั้นหรือ
เห็นมีแต่หนังสือเต็มไปหมด
สมุดอาจมีบ้างวางประชด
ใช่โป้ปดเชิญพิสูจญ์พูดเรื่องจริง


หัวข้อ: Re: คำขวัญห้องสมุด
เริ่มหัวข้อโดย: toshare ที่ 13 มกราคม 2013, 08:55:PM
๑. ขอ ๕ บท นี่เรียกว่า "คำขวัญ" หรือครับ ผมไม่เข้าใจจริง ๆ นะ   สงสัยต้องกลับไปเรียนใหม่แฮะ 555

๒. ขออภัยนะครับ ขอพูดตรง ๆ   ขอดู ๒ บทก่อนได้ไหมครับ เห็นหลายครั้งที่อ้างแบบนี้

ถ้ายังไม่มี ก็ให้เขียนเนื้อความร้อยแก้ว มา ๕x๔ = ๒๐ วรรค   ถ้าขอ ๓ บทก็ ๑๒ วรรค



หัวข้อ: Re: คำขวัญห้องสมุด
เริ่มหัวข้อโดย: toshare ที่ 20 มกราคม 2013, 07:56:AM
อย่างที่เคยได้พูดไว้

พวกเขาเข้ามาเขียนขอ บรรทัดสองบรรทัด ได้ก็ดี ยังไม่ได้ก็ไม่ติดตาม เฮ่อ

นี่ก็เป็นเรื่อง ห้องสมุด ที่แต่งไว้ นำเสนอเพื่อแบ่งปัน ถกประเด็นถ้าเห็นควร


....ห้องสมุดพึงแนะให้...............รู้รอบ
กอปรกิจโดยรอบคอบ..............ถี่ถ้วน
ทุกผู้ร่วมส่วนประกอบ...............ปันแบ่ง
เคารพสิทธิ์เสมอล้วน.................เพื่อนผู้แสวงหา

....บรรณารักษ์กระตุ้นแหล่ง.......สนใจ
สืบเสาะ สำเนาไว.....................น่าใช้
แนะ ลอง ฝึก แก้ไข...................ประเด็นติด- ขัดนา
วงแวดล้อมพึงไร้.......................พิษเร้นแอบแฝง

....แต่ละแห่งจัดให้....................เหมาะสม
สภาพ เพศ วัย แหลมคม............ระดับใช้
อำนวยสิ่งแก้ปม.......................แห่งเหตุ
ปรับเปลี่ยนอย่าหยุดไว้............โลกนี้เร็วจี๋

กอปร  [กอบ] ก. ประกอบ.
ประกอบ  ก. เอาชิ้นส่วนต่าง ๆ มารวมหรือคุมกันเข้าเป็นรูปร่างตามที่ต้องการ
  เช่น ประกอบรถยนต์; ทํา เช่น ประกอบอาชีพ ประกอบธุรกิจ; ประสม
  หรือปรุงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น ประกอบยา; เสริม, เพิ่มเติม, เช่น
  อธิบายประกอบ.
สภาพ  น. ความเป็นเองตามธรรมดาหรือตามธรรมชาติ เช่น สภาพ
  ความเป็นอยู่ สภาพดินฟ้าอากาศ, ลักษณะในตัวเอง; ภาวะ,
  ธรรมชาติ. (ป. สภาว; ส. สฺวภาว).


หัวข้อ: Re: คำขวัญห้องสมุด
เริ่มหัวข้อโดย: ดาว อาชาไนย ที่ 20 มกราคม 2013, 10:33:AM

เรียกว่าห้องสมุดกระนั้นหรือ
เห็นมีแต่หนังสือเต็มไปหมด
สมุดอาจมีบ้างวางประชด
ใช่โป้ปดเชิญพิสูจญ์พูดเรื่องจริง





น่าเรียกให้ถูกต้องห้องหนังสือ
ตรงตามชื่อมาใช้ได้ทุกสิ่ง
เข้าค้นคว้าหาทางไว้อ้างอิง
หรือหาห้องสงบนิ่งนั่งคำนึง

ดาว อาชาไนย


หัวข้อ: Re: คำขวัญห้องสมุด
เริ่มหัวข้อโดย: toshare ที่ 21 มกราคม 2013, 09:31:AM
ขออนุญาตเพิ่มเติมครับ

....ห้องสมุดพึงแนะให้..............รู้รอบ
กอปรกิจโดยรอบคอบ...............ถี่ถ้วน
ทุกผู้ร่วมส่วนประกอบ...............ปันแบ่ง
เคารพสิทธิ์เสมอล้วน................เพื่อนผู้แสวงหา

- ห้องสมุดควรเน้นให้บริการแบบหลากหลายรูปแบบ ในความรู้ทุกๆ ด้าน ด้วยคนเรานั้นรสนิยมไม่เหมือนกัน
- การให้บริการต้องกระทำโดยรอบคอบ อะไรควรให้ผู้ใดได้รู้ หรือใครยังไม่สมควรรู้ ต้องให้เหมาะกับวุฒิภาวะ
เช่น การจะให้รู้ถึงแหล่งจัดหาอาวุธ ยาเสพติด โดยทั่วไป ย่อมไม่สมควร
- ควรให้ผู้เข้าใช้บริการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ร่วมจัดบอร์ดถามตอบ (รวมแบบ web board) มีมุมสอนศิลปะ มุมนิทาน
- การให้บริการ ควรยึดหลักเท่าเทียมกัน ถ้าจะมีพิเศษ (เช่น เป็นอาจารย์ให้ยืมได้นานหน่อย) ก็อย่าได้ต่างจากปกติจนเกินไป

....บรรณารักษ์กระตุ้นแหล่ง.........สนใจ
สืบเสาะ สำเนาไว.....................น่าใช้
แนะ ลอง ฝึก แก้ไข.................ประเด็นติด- ขัดนา
วงแวดล้อมพึงไร้......................พิษเร้นแอบแฝง

- บรรณารักษ์ควรเสนอแนะสิ่งน่าสนใจ หรือเรื่องอันบันดาลใจ โดยตั้งคำถามให้ค้นคว้า (อาจมีตัวช่วยเป็นระยะ ๆ)
เช่น บทประพันธ์ ของนักเขียนไทยคนใดที่ได้นำไปสร้างเป็นภาพยนต์ (เขียนเมื่ออายุน้อยกว่า ๑๕ ปี)
- เอกสารที่ค้นคว้า (ควรสืบค้นได้ลึกกว่าระดับ ชื่อหนังสือหรือผู้แต่ง) ควรพิมพ์สำเนาได้ (หากต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ ค่าบริการ ก็แจ้งให้ชัดเจน)
- จัดให้มีมุมทดลอง ฝึกฝน หากมีปัญหาติดขัดก็ทิ้งคำถามไว้ได้ แล้วจัดให้มีผู้ตอบหรือผู้ถก
- การเปิดให้บุคคลภายนอกมีส่วนร่วมแบ่งปัน แลกเปลี่ยนความรู้ ความสามารถ แม้เป็นสิ่งดี
แต่บรรณารักษ์ก็ต้องถี่ถ้วน สังเกตตรวจสอบ ระวังอย่าให้เกิดการหาประโยชน์โดยมิชอบ

....แต่ละแห่งจัดให้.................เหมาะสม
สภาพ เพศ วัย แหลมคม............ระดับใช้
อำนวยสิ่งแก้ปม......................แห่งเหตุ
ปรับเปลี่ยนอย่าหยุดไว้...............โลกนี้เร็วจี๋

- การจัดห้องสมุดต้องคำนึงถึงผู้เข้าใช้บริการเป็นสำคัญ ต้องจัดให้สอดคล้องเหมาะแก่สภาพ (ลักษณะในตัวเอง) ของแต่ละบุคคล
เช่น ผู้พิการ เด็กเล็ก (ซึ่งอาจทำเสียงดัง)
และต้องเหมาะแก่ระดับและประเภทผู้ใช้ เช่น ผู้ใช้ส่วนใหญ่เป็นผู้ใฝ่รู้วิชาการ อาชีพ ศาสนา
ก็มีเอกสารด้านนั้น ๆ ให้ลุ่มลึก
- การตบแต่ง เปลี่ยนบรรยากาศควรอย่าให้ดูจำเจ
การแลกเปลี่ยน หนังสือ วัตถุ เอกสารระหว่างห้องสมุดด้วยกันก็ควรทำเป็นระยะ ๆ


หัวข้อ: Re: คำขวัญห้องสมุด
เริ่มหัวข้อโดย: อริญชย์ ที่ 08 กุมภาพันธ์ 2013, 09:45:AM
เชิญทุกท่านแวะนั่งอ่านหนังสือ
เพราะนี่คือแหล่งศึกษาวิชาสาร
ห้องสมุดเปี่ยมล้นด้วยผลงาน
หลากหลายด้านเฉิดฉันทางปัญญา!ฯ

                           อริญชย์
                        ๘/๒/๒๕๕๖


ที่มาของคำว่า “ห้องสมุด” ตามลิงค์นี้เน้อ

http://km.lib.kmutt.ac.th/index.php/chic-in-library/383-qq (http://km.lib.kmutt.ac.th/index.php/chic-in-library/383-qq)

เคยสงสัยกันบ้างหรือเปล่าว่าทำไมห้องสมุดถึงเรียกว่าห้องสมุด
 ทำไมถึงเรียกว่าห้องสมุดทั้งที่มีแต่หนังสือ???        ก็เพราะห้องสมุดเคยเก็บสมุดมาก่อนจริงๆ

คนในสมัยโบราณจดบันทึกเรื่องราวและความรู้ต่างๆ ด้วยมือลงในสมุดไทยแล้วนำมาเก็บรวบรวมไว้เป็นห้องๆจึงเรียกว่าห้องสมุด

เมื่อเวลาผ่านไปมเทคโนโลยีกับความทันสมัยเข้ามา วิธีการทำบันทึกก็เปลี่ยนไป มีการนำการพิมพ์เข้ามา ความรู้ทั้งหลายได้จัดพิมพ์
เป็นหนังสือแทนการเขียนลงสมุดไทย และเก็บไว้ในห้องสมุดเช่นกัน หนังสือจึงเข้ามาแทนที่สมุด
และยังคง เรียกว่า " ห้องสมุด " เหมือน เดิม

สมุดไทยเป็นสมุดโบราณเล่มสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาวๆ ทำด้วยกระดาษข่อยพับทางขวางกลับไปกลับมา สมุดไทยมี ๒ ชนิด

๑.กระดาษขาว เรียก สมุดขาว

๒.กระดาษดำ เรียก สมุดดำ

ห้องสมุดแห่งแรกของโลกนั้น ตั้งอยู่ที่ เมืองอเล็กซานเดรีย ในประเทศอียิปต์ ก่อตั้งมาแล้วกว่า 2,000 กว่าปีเลยทีเดียว นานมากๆ
ห้องสมุดแห่งนี้มีกฎว่าทุกคน ที่เข้ามาใช้บริการต้องบริจาคหนังสือให้ห้องสมุดด้วย 1 เล่ม ที่นี้จึงมีหนังสือมากถึง 7 แสนเล่ม ก่อนจะ
ล่มสลายไป ส่วนห้องสมุดแห่งแรกของไทยในสมัยกรุงรัตนโดสินทร์ คือ “หอพระมณเทียรธรรม” ตังอยู่ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
หรือ วัดพระแก้ว

ส่วนหนังสือเล่มแรกของไทยคือ   จินดามณี  ของศรีปราชญ์  กับพระโหราธิบดี อยู่ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
แห่งกรุงศรีอยุธยา จินดามณี (มีความหมายว่า แก้วสารพัดนึก)เป็นแบบเรียนภาษาไทย เนื้อหาครอบคลุมเรื่องการใช้สระ พยัญชนะ
วรรณยุกต์ การผันอักษร อักษรศัพท์ อักษรเลข การสะกดการันต์ การแต่งคำประพันธ์  และกลบท มีอยู่ 60 ชนิด  มีทั้ง กลอักษร
กลแบบ
จินดามณี แต่งขึ้นในสมัยอยุธยาตอนกลาง โดยพระโหราธิบดี ในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  เป็นแบบเรียนเล่มแรกของ
ไทยด้วย  จนทำให้หนังสือแบบเรียนไทยในยุคต่อมาหลายเล่มใช้ชื่อตามว่า จินดามณี เช่น จินดามณีครั้งแผ่นดินพระเจ้าบรมโกศ
เป็นต้น




 emo_107