พิมพ์หน้านี้ - ประเพณี ตานข้าวใหม่

ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน

บทประพันธ์กลอนและบทกวีเพราะๆ => กลอนธรรมะ+กลอนสอนใจ+กลอนธรรมชาติ+กลอนปรัชญา => ข้อความที่เริ่มโดย: รพีกาญจน์ ที่ 19 มกราคม 2011, 06:49:PM



หัวข้อ: ประเพณี ตานข้าวใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: รพีกาญจน์ ที่ 19 มกราคม 2011, 06:49:PM
ขึ้นสิบห้าค่ำเยือนกลางเดือนนี้
บ้านฉันมีงานบุญที่ยิ่งใหญ่
มีแต่เดิมเริ่มเห็นก่อนเช่นใด
ตานข้าวใหม่ ประเพณีเดือนสี่เป็ง
สิบสี่ค่ำนำของตกแต่งดา
นำข้าวปลาสารพัดจัดรีบเร่ง
นำข้าวใหม่ทำขนมประสมเอง
ความครื้นเครงสุดขีดติดตามมา

ทำเป็นแผ่นกลมแบนข้าวแตนทอด
สีแดงคล้ำน้ำอ้อยหยอดลอยหน้า
จับกระบอกกรอกข้าวใหม่ใส่ถั่วงา
พิงบนขาตั้งบนเตาเผาข้าวหลาม
ข้าวต้มมัดตัดใบตองรองข้าวใหม่
มีข้างในผ่าครึ่งลูกกล้วยสุกห่าม
มะพร้าวขูดฉูดน้ำตาลหว่านเกลือตาม
ไฟลามคั่วอั่วข้าวแป้งแต่งขนมเทียน
เพื่อขอบคุณข้าวใหม่ให้ชีวิต
เพื่อบูชิตแม่โพสพน้อมนบเศียร
เพื่อรำลึกคุณชาวนามาจำเนียร
เพื่อได้เรียนรู้จริงสิ่งดีๆ

ขึ้นสิบห้าค่ำย่ำมาเพลาสาง
รีบเดินทางสักการะพุทธศรี
รับศีลพรก่อนขาน บ้านฉันมี
ประเพณี ตานข้าวใหม่ สุขใจเอย/size]

(ปีนี้ตรงกับวันที่ 19 มกราคม 2554)


หัวข้อ: Re: ประเพณี ตานข้าวใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: รพีกาญจน์ ที่ 20 มกราคม 2011, 05:59:PM
ประเพณี ตานข้าวใหม่ หรือ ทานข้าวใหม่

๐การนำเอาข้าวใหม่ที่ได้จากการเก็บเกี่ยวเสร็จแล้วไปทำบุญที่วัด จะจัดให้มีขึ้นใน
วันขึ้น 15 ค่ำ ราวกลางเดือนมกราคม หรือเดือนพื้นเมืองเรียกว่า เดือนสี่เป็ง
สำหรับข้าวที่จะตานข้าวใหม่ ประกอบด้วย ข้าวเหนียวนึ่งสุก  อาหารตามความนิยม
ของท้องถิ่น มีแกงฮินเล ห่อนึ่งเนื้อหมูเนื้อปลา ปลาจี่ เนื้อปิ้ง
สำหรับขนมที่จะนำไปตาน ทำจากข้าวใหม่ มีข้าวแตน ข้าวต้มมัด ขนมเทียน เป็นต้น
รุ่งขึ้นเช้าวันขึ้น 15 ค่ำ ชาวบ้านพากันไปทำบุญตักบาตรที่วัด เพื่อบูชาพระรัตนตรัย
บูชาพระแม่โพสพ เทวีแห่งพืชพันธุ์ธัญญาหารทั้งปวง และรำลึกถึงบุญคุณของชาวนา


หัวข้อ: Re: ประเพณี ตานข้าวใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: รพีกาญจน์ ที่ 08 มกราคม 2012, 05:58:AM
                               ปีนี้ตรงกับวันที่ 8 มกราคม 2555

                     ใบตอง รองกระจาด          ขนมถาด ปาดใส่ห่อ
                  ข้าวต้มมัด จัดถักทอ            ข้าวเกรียบหม้อ กรอนวลเนียน

                      ข้าวแตน แผ่นเรียบลาน    ขนมตาล หวานจนเลี่ยน
                  ข้าวเหนียวแดง แจงใส่เบียน   ขนมเทียน เวียนรอบจาน   (เบียน-กระด้ง)

                      ข้าวจี่ ที่เสียบร่าง            ข้าวหลามย่าง วางเตาถ่าน
                  ข้าวก่ำ ดำน่าทาน               ข้าวกล้องราน งานครก(มอง)

                      นำนึ่ง คลึงเมื่อสุก           ปั้นเป็นลูก หยูกใส่กล่อง
                  น้ำอ้อยดี ก้อนสีทอง             รวมมากอง ผึ้งถั่วงา

                      กวนข้าวกระยาสารท         ข้าวปายาส ก็อาจว่า
                  เทชาม ดูงามตา                  เพื่อบูชา พุทธาคุณ

                      แกงอ่อม พร้อมฮินเล         หมู่เฮาเต(แกะ)ห่อนึ่งอุ่น
                  เลิศล้ำ การทำบุญ                ช่วยเจือจุน ข้าวใหม่เอย

                             emo_126 emo_126 emo_126

                                    รพีกาญจน์ 59

                     
                   


หัวข้อ: Re: ประเพณี ตานข้าวใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: ..กุสุมา.. ที่ 08 มกราคม 2012, 10:39:AM
ประเพณี ตานข้าวใหม่ หรือ ทานข้าวใหม่

๐การนำเอาข้าวใหม่ที่ได้จากการเก็บเกี่ยวเสร็จแล้วไปทำบุญที่วัด จะจัดให้มีขึ้นใน
วันขึ้น 15 ค่ำ ราวกลางเดือนมกราคม หรือเดือนพื้นเมืองเรียกว่า เดือนสี่เป็ง
สำหรับข้าวที่จะตานข้าวใหม่ ประกอบด้วย ข้าวเหนียวนึ่งสุก  อาหารตามความนิยม
ของท้องถิ่น มีแกงฮินเล ห่อนึ่งเนื้อหมูเนื้อปลา ปลาจี่ เนื้อปิ้ง
สำหรับขนมที่จะนำไปตาน ทำจากข้าวใหม่ มีข้าวแตน ข้าวต้มมัด ขนมเทียน เป็นต้น
รุ่งขึ้นเช้าวันขึ้น 15 ค่ำ ชาวบ้านพากันไปทำบุญตักบาตรที่วัด เพื่อบูชาพระรัตนตรัย
บูชาพระแม่โพสพ เทวีแห่งพืชพันธุ์ธัญญาหารทั้งปวง และรำลึกถึงบุญคุณของชาวนา
อาหารตี้ทำบุญ..ข้าเจ้าชอบทำ..ข้าวปาด..ขนมเส้นน้ำเงี้ยว..ข้าวหนุกงา..จ้าว
ข้าเจ้าฝากฮอมบุญ..จ้าวรพีฯ โตยน้อ จ้าว
         ..กุสุมา.. emo_79


หัวข้อ: Re: ประเพณี ตานข้าวใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: รพีกาญจน์ ที่ 15 มกราคม 2014, 10:17:AM


ปลาเจ่า ข้าวสาร อาหารแห้ง
จัดแจง จุใส่ ในถุงย่าม
สะพาย ออกบ้าน ก่อนฟ้าฮ่าม
เพื่อนสาม คนเดิน สู่เนินดอน

เข้าป่า หาไผ่ ใกล้ร่องห้วย
ลำสวย ตรงคัด ตัดเป็นท่อน
ผ่าซีก ปลีกย่อย ยาวแนวนอน
วางซ้อน กองมัด รัดรวมทับ

ค่ำคืน ขึ้นห้าง นอนหว่างไม้
สุมไฟ ตลอด มิมอดดับ
ผีสาง นางไพร ว่องไววับ
กลัวจับ เสือสาก ลากเรากิน

เช้าส่อง ล่องไม้ ไหลตามน้ำ
หัวค่ำ มืดจับ กลับถึงถิ่น
ลูกน้อย คอยท่า หน้ายลยิน
หายสิ้น เหน็ดเหนื่อย เมื่อยขบกาย

ผ่าแบน แผ่นบาง วางขัดสาน
กลมก้าน กั้นกรอบ ขอบด้วยหวาย
กระบุง สูงศอก ตอกลวดลาย
จบท้าย ก่อก้น กันเอียงล้ม

ลงรัก ตักตวง รวงเม็ดข้าว
หาบสาว ใส่ยุ้ง สีหุงต้ม
ประเพณี ดีงาม ตามนิยม
ชื่นชม ยอกราน ตานข้าวใหม่ เอย

คนในชุมชนที่ข้าพเจ้ากำเนิดก่อนปี 2525
ฐานะยากจนไม่มีที่ดินทำนาต้องเข้าป่าตัดไม้ไผ่
สานกระบุงเอากระบุงไปแลกข้าวเปลือกไว้กิน
1 กระบุงเปล่า แลกข้าวเปลือกได้ 1 กระบุง