พิมพ์หน้านี้ - มาดูว่า นักกลอนเขาเขียนกลอนไปเพื่ออะไร

ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน

จิปาถะ => ห้องนั่งเล่น => ข้อความที่เริ่มโดย: ช่วงนี้ไม่ว่าง ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2012, 07:11:PM



หัวข้อ: มาดูว่า นักกลอนเขาเขียนกลอนไปเพื่ออะไร
เริ่มหัวข้อโดย: ช่วงนี้ไม่ว่าง ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2012, 07:11:PM


เรามาดูกันว่ากันว่า คนแต่งกลอนนั้นเขาเขียนกลอนไปเพื่ออะไรกัน
ซึ่งเป็นการจัดตามความคิดเห็นของผม  มีดังนี้

๑. เขียนเพื่อความสุขแห่งตน     ก็หมายความว่าเขียนไปตามที่ใจต้องการ  อาจจะดีมั่ง เลวมั่ง 
     บางทีก็เขียนกลอนสุภาพ  บางทีก็เขียนกลอนหยาบคาย  หวานมั่ง  ด่ามั่ง  กวนตีนคนอื่นมั่ง
    โดยไม่สนว่าใครจะว่าอะไร  กลอนจึงมาทั้งดี เลว คละเคล้ากันไป สุดแต่ใจของผู้แต่ง

๒. เขียนเพื่อหวังชื่อเสียง  ประมาณว่า สร้างผลงาน เพื่อให้คนยอมรับ  งานเขียนแบบนี้จึงต้องประณีต บรรจง
    เมื่อผิดต้องมีการแก้ไข  อาจเป็นสิบ  เป็นร้อย  เป็นพันครั้ง  หรืออาจต้องรื้อแล้วเขียนใหม่ทั้งหมด
    ทั้งนี้ก็เพื่อความโดดเด่น ดูดี  เป็นที่ยอมรับนั่นเอง  จะปล่อยออกมาชุ่ยๆไม่ได้ ไม่งั้นเสียชื่อเสียงแย่

๓. เขียนเพื่อการอนุรักษ์ศิลป และสร้างผลงานฝากไว้ให้ลูกหลาน คนรุ่นหลัง ตลอดจนถึงประเทศชาติ
    การเขียนชนิดนี้คือเขียนแบบเป็นการเป็นงาน  เขียนเป็นกิจลักษณณะ  เขียนเป็นเรื่องเป็นราว
    การเขียนต้องอาศัยการรวบรวม การค้นคว้าหาข้อมูล  ผลงานอาจจะดีประณีตบ้าง ไม่ประณีตบ้าง
    สุดแล้วแต่ความรอบรู้และความสมารถของผู้เขียน  แต่สรูปแล้วคือ เป็นการสร้างผลงาน
     เพื่อการอนุรักษณ์ หรือต้องการให้เป็นมรดกตกทอดไปสู่อนุชนรุ่นหลัง

อย่างไรก็ดีนี่เป็นเพียงข้อคิดเห็นส่วนตัว ถ้าใครยังมีข้อคิดดีๆจะช่วยเสริมก็ได้   ไปละ  emo_52





หัวข้อ: Re: มาดูว่า นักกลอนเขาเขียนกลอนไปเพื่ออะไร
เริ่มหัวข้อโดย: พิมพ์วาส ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2012, 07:27:PM
๔. เขียนเพื่อเอาชนะตนเอง เอาชนะความไม่รู้ของตนโดยหัดเขียนกลอนกระนั้นพอเราเขียนกลอนได้ก็จะมี โคลง,กาพย์,กลอน,ฉันท์ มาให้เรียนรู้อีก พิมพ์วาสขายหน้าเมื่อคราวันสุนทรภู่ตอนประถม ๕ เลยหันมาเขียนกลอนตอนนั้นเข้ามาในบ้านกลอนใหม่ๆ ครามาครั้งแรกก็โดนท่านสมาชิคติชมกลอนขอยอมรับนะคะว่าเขียนกลอนไม่ได้ไม่เป็นจริงๆในขณะนั้นขนาดผังก็ยังต้องเอามาดูเลยสัมผัสระหว่างบทก็ยังไม่รู้จัก หรือแม้แต่สัมผัสใน สัมผัสสระเป็นอย่างไร สัมผัสอักษรเป็นอย่างไรยังไม่ทราบเลค่ะ ถึงว่าไปย้อนอ่านกลอนตัวเองดูถึงรู้ว่าตลก หรือจะพูดได้ว่าเขียนไม่เป็นเลย เขียนไม่ได้เลยก็ว่าได้ค่ะ ประมาณกระทู้ที่ ๓๐๐ กว่าๆถึงจะรู้ตัวว่าเขียนไม่ได้เรื่องเลยข้อความแต่ละขอความที่ส่งมาพิมพ์วาสขอยอมรับนะคะว่าอ่วมใจเลยจนเต็มไปรอบหนึ่งแล้ว แต่ก็ต้องกราบขอบพระคุณค่ะ พิมพ์วาสว่า พิมพ์วาสไม่ได้เขียนเพื่อะไรทั้งนั้นหละคะเขียนเพราะมันติดมากกว่ากระมังคะ เพราะว่าพอเขียนบ่อยๆแล้วมันจะจำได้จากนั้นสิ่งที่เรารู้เราก็จะรู้มากขึ้นจากนั้นก็จะแผ่ขยายความรู้แตกออกไปอีก แล้วพอเราหยุดทำมันก็จะลืม ที่ว่าติดนี่หมายถึงว่าเมื่อคราไม่ได้เขียนแล้วมันจะ รู้สึกคันไม้คันมืออยากจะเขียนขึ้นมาเฉยๆก็ประมาณนี้ค่ะ เขียนเพราะว่าเราชอบค่ะเรามีความสุขกับมันก็เขียนไปเถอะค่ะ ประมาณนั้นกระมังคะ

กาพย์กลอนฉันลิลิตรวิจิตรบท
งามถ้อยรสพจน์คำแสนล้ำศิลป์
เจรียงความงามถ้อยนำร้อยสิ้น
ให้เป็นถิ่นรินกลอนอักษรไทย


หัวข้อ: Re: มาดูว่า นักกลอนเขาเขียนกลอนไปเพื่ออะไร
เริ่มหัวข้อโดย: เอ๊พ ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2012, 07:35:PM


เขียน แก้ความเหงา


หัวข้อ: Re: มาดูว่า นักกลอนเขาเขียนกลอนไปเพื่ออะไร
เริ่มหัวข้อโดย: เอ๊พ ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2012, 07:52:PM


เพิ่มเติมครับ

เขียนเพราะอ่านแล้ว อิน
หรือซาบซึ้งในบทกลอนของท่านนั้นๆ...เลยอยากเขียนตอบ



หัวข้อ: Re: มาดูว่า นักกลอนเขาเขียนกลอนไปเพื่ออะไร
เริ่มหัวข้อโดย: ยามพระอาทิตย์อัสดง ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2012, 08:01:PM


1. เหงาไม่มีอารัยทำ
2. หาความรู้ใหม่ๆฝึกภาษาไทยให้คล่องและดีกว่าที่เป็นอยู่
3. ได้รู้จักคนหลายแบบ และก็ได้เพื่อนใหม่ๆ
4. ได้ใช้สมองคิดในการแต่งกลอน (อยู่ว่างไปสมองฟ่อ)

พระอาทิตย์อัสดง


หัวข้อ: Re: มาดูว่า นักกลอนเขาเขียนกลอนไปเพื่ออะไร
เริ่มหัวข้อโดย: rit sriduang ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2012, 08:50:PM
เขียนเพราะ
๑.สร้างความสมดุลย์ของสมอง ปรกติใช้แต่สมองซีกซ้าย ด้านเหตุผล  พอเสริมด้านจินตนาการ ทำให้ประสิทธิภาพในงานดีขึ้น ช่วยเสริม EQ ด้วย
๒.ชอบเล่าเรื่อง เรื่องที่ข้อมูลน้อยๆ เล่าด้วยร้อยกรองจะสื่ออารมณ์ได้ดีกว่า
๓.เป็นความรื่นรมย์ และผ่อนคลาย


หัวข้อ: Re: มาดูว่า นักกลอนเขาเขียนกลอนไปเพื่ออะไร
เริ่มหัวข้อโดย: sunthornvit ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2012, 09:14:PM


เขียนเพราะรัก ลีลา ภาษาศิลป์
เขียนเพราะยิน เสียงกลอง ต้องรำป๋อ
เขียนเพราะอยาก มีมิตร สนิทคอ
เขียนเพื่อห่อ ความรู้ จากครูกลอน

เขียนเพื่อฝึก_ปรือเพิ่ม_เติมทักษะ
เขียนเพื่อจะ ดำรง คงอักษร
เขียนเพื่อหวัง ร้อยกรอง ผ่องถาวร
เขียนก่อนนอน โปรดปราน มานานปี

สุนทรวิทย์


หัวข้อ: Re: มาดูว่า นักกลอนเขาเขียนกลอนไปเพื่ออะไร
เริ่มหัวข้อโดย: ช่วงนี้ไม่ว่าง ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2012, 09:16:PM

๔. เขียนเพื่อเอาชนะตนเอง เอาชนะความไม่รู้ของตนโดยหัดเขียนกลอนกระนั้นพอเราเขียนกลอนได้ก็จะมี โคลง,กาพย์,กลอน,ฉันท์ มาให้เรียนรู้อีก พิมพ์วาสขายหน้าเมื่อคราวันสุนทรภู่ตอนประถม ๕ เลยหันมาเขียนกลอนตอนนั้นเข้ามาในบ้านกลอนใหม่ๆ ครามาครั้งแรกก็โดนท่านสมาชิคติชมกลอนขอยอมรับนะคะว่าเขียนกลอนไม่ได้ไม่เป็นจริงๆในขณะนั้นขนาดผังก็ยังต้องเอามาดูเลยสัมผัสระหว่างบทก็ยังไม่รู้จัก หรือแม้แต่สัมผัสใน สัมผัสสระเป็นอย่างไร สัมผัสอักษรเป็นอย่างไรยังไม่ทราบเลค่ะ ถึงว่าไปย้อนอ่านกลอนตัวเองดูถึงรู้ว่าตลก หรือจะพูดได้ว่าเขียนไม่เป็นเลย เขียนไม่ได้เลยก็ว่าได้ค่ะ ประมาณกระทู้ที่ ๓๐๐ กว่าๆถึงจะรู้ตัวว่าเขียนไม่ได้เรื่องเลยข้อความแต่ละขอความที่ส่งมาพิมพ์วาสขอยอมรับนะคะว่าอ่วมใจเลยจนเต็มไปรอบหนึ่งแล้ว แต่ก็ต้องกราบขอบพระคุณค่ะ พิมพ์วาสว่า พิมพ์วาสไม่ได้เขียนเพื่อะไรทั้งนั้นหละคะเขียนเพราะมันติดมากกว่ากระมังคะ เพราะว่าพอเขียนบ่อยๆแล้วมันจะจำได้จากนั้นสิ่งที่เรารู้เราก็จะรู้มากขึ้นจากนั้นก็จะแผ่ขยายความรู้แตกออกไปอีก แล้วพอเราหยุดทำมันก็จะลืม ที่ว่าติดนี่หมายถึงว่าเมื่อคราไม่ได้เขียนแล้วมันจะ รู้สึกคันไม้คันมืออยากจะเขียนขึ้นมาเฉยๆก็ประมาณนี้ค่ะ เขียนเพราะว่าเราชอบค่ะเรามีความสุขกับมันก็เขียนไปเถอะค่ะ ประมาณนั้นกระมังคะ

กาพย์กลอนฉันลิลิตรวิจิตรบท
งามถ้อยรสพจน์คำแสนล้ำศิลป์
เจรียงความงามถ้อยนำร้อยสิ้น
ให้เป็นถิ่นรินกลอนอักษรไทย

หนูพิมพ์วาสจ๋า  ช่วงหลังๆนี่อา  เอ๊ย  พี่สังเกตว่าฝีมือหนูพัฒนามากขึ้นทีเดียว  จะว่าไปมันเป็นสิ่งที่ดี ในการที่เราได้ครูหรือบุคคลที่มีความรู้มาเป็นผู้แนะนำนั้น
ตลอดถึงมีตัวอย่างหลากหลายให้ศึกษา ช่วยให้ฝีมือเราก้าวหน้าขึ้นเยอะ   ผิดกับอา อ๊ยพี่  สมัยที่แต่งกลอนใหม่ๆนั้น(นานมากแล้ว ราวยี่สิบปีเห็นจะได้)
การฝึกกลอนนั้นผงผัง หรือผู้แนะนำไม่มีหรอก ก็เราไม่ได้ศึกษามาทางนี้  ไม่ว่าจะผัง  คู่มือแนะนำการแต่ง  ล้วนไม่มีทั้งนั้น
แม้แต่กลอนที่จะหามาเป็นแบบอย่างสักบทมันช่างยากเย็นเต็มที  กลอนที่หาได้ก็อาจจะเป็นตามหนังสือธรรมะ ที่พระท่านแต่งเป็นคติธรรมคำกลอนแจกบ้าง
จากหนังสืองานศพ ที่เขาพิมพ์กลอนคติธรรมแจกบ้าง   แหล่งกลอนที่ถือว่ามีกลอนเยอะพอสมควรก็เห็นจะเป็นหนังสือ ศาลาคนเศร้า ซึ่งต้องเสียเงินซื้อ(ซึ่งถือว่ามีกลอนมากหน่อย)
กับอีกเล่มหนึ่งที่ลงกลอนระดับคุณภาพแต่ลงแค่ฉะบับละสองบท นั่นก็คือ วารสารตราไปรษณียากร
ฉะนั้นการแต่งโคลง กาพย์  กลอน  จึงเป็นอะไรที่นับคำ ชนิดเทียบกันแบบคำต่อต่อคำกันเลยทีเดียว กว่าจะจับแนวทางได้ก็นานพอดู
อีกอย่างสมัยก่อนแต่งเองอ่านเอง จึงไม่ได้แต่งบ่อยเหมือนเดี๋ยวนี้  นานๆถ้ามีอารมณ์แต่งถึงจะแต่งขึ้นมาสักครั้ง  
แล้วเวลาที่แต่งแล้วจะไปให้ใครอ่านเขาก็มองว่าเป็นพวกบ้ากลอน  นอกจากไม่ได้แสดงความชื่นชมยินดี แล้วหนำซ้ำยังจะดูถูกอีกต่างหาก
นี่มันเป็นชีวิตจริง  มันเหมือนกระทิงหลงฝูง หรือไผ่นอกกอ  ข้าวนอกนาอะไรประมาณนั้นแหละ
ฉะนั้นพูดได้เต็มปากเต็มคำว่า ไอ้ที่แต่งๆนี่ไม่ว่าจะเป็นกลอน  กาพย์ โคลง  แกะมาเองทั้งนั้นแหละ  คล้ายๆพวกนักโบราณแกะศิลาจารึกอะไรประมาณนั้น
หรือจะพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ครูกลอนที่แท้จริงของอา เอ๊ย พี่ ก็คือ บทกลอนที่ใช้ศึกษานั่นเอง หรือถ้าจะนับเป็นบุคคลก็ได้แก่ตัวผู้แต่งกลอนนั้นๆ
ฉะนั้นรุ่นหลังๆนี่จึงถือว่าโชคดีเป็นอย่างมาก ที่มีแหล่งกลอนให้ศึกษา  มีผู้รู้คอยให้คำแนะนำ  มีแผนผัง  มีกลอนตัวอย่างให้อ่านให้ศึกษากันอย่างมากมาย
อะไรที่ไม่เข้าใจ ถามอากู๋ เดี๋ยวเดียวก็ได้

เคล็ดลับสำคัญสำหรับการแต่งบทกลอนให้ดีนอกจากจะอาศัยแค่แผนผังกับวิธีการแต่งอย่างเดียวไม่ได้
จำเป็นจะต้องมีบทกลอนบทใดบทหนึ่งหรือหลายๆบท ที่แต่งดี แต่งถูกต้องตามฉันทลักษณ์มาเป็นแบบอย่างสำหรับท่องจำให้รู้จักท่วงทำนอง จังหวะจะโคนเสียก่อน
ถ้าอาศัยดูแต่แผนผังอย่างเดียวมักจะอยู่ไม่นาน  พอปล่อยแผนผังก็เป๋  การดูแค่แผนแล้วแต่งได้นั้นเป็นเรื่องของผู้ที่เชี่ยวชาญแล้วเท่านั้น
ฉะนั้น  กลอนตัวอย่างหรือบทครูนั้นจะสำคัญมาก  ถ้าได้ตัวอย่างที่ดี เราก็จะดีตามไปด้วย  ถ้าได้ตัวอย่างที่ไม่ดี เราก็จะพลอยแย่  คล้ายๆพ่อปูสอนลูกปูแบบนั้น

เสริมอีกข้อ เป็นข้อ ๕  คือ  แต่งเพื่อถ่ายทอดศิลปะ  การแต่งเพื่อถ่ายทอดศิลปะก็คือการแต่งกลอนด้วยใจรักในศิลปะนั่นเอง
ดังนั้น กลอนที่สื่อออกมาจึงเป็นบทกลอนที่มีคุณภาพ  มีความละเอียดอ่อน ตามความตั้งใจของผู้แต่ง





หัวข้อ: Re: มาดูว่า นักกลอนเขาเขียนกลอนไปเพื่ออะไร
เริ่มหัวข้อโดย: รัตนาวดี ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2012, 10:12:PM


รัตน์เหรอ...emo_09 เขียนแล้วมีความเป็นสุขใจ
เขียนเพื่อระบายจ่ะ!  แต่ไม่ได้หมายถึงระบายสีนะจ๊ะ emo_34

ปล.เขียนเพื่อตัวเองจะได้ไม่ลืมภาษาไทยจ้า emo_54
 emo_116


หัวข้อ: Re: มาดูว่า นักกลอนเขาเขียนกลอนไปเพื่ออะไร
เริ่มหัวข้อโดย: amika29 ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2012, 10:35:PM
1. เขียนเพราะอยากผ่อนคลายความเป็นระเบียบของชีวิต

บริษัทที่อยู่เป็นของญี่ปุ่นค่ะ...เจ้าระเบียบทุกกระเบียดนิ้ว

ชีวิตการทำงานจึงอยู่ในกรอบตลอดเวลาต้องรักษากฏ..เป็นตัวอย่างที่ดี

พอมีเวลาส่วนตัวจึงขอผ่อนคลายด้วยการเขียนสิ่งที่ตัวเองชอบค่ะ

..........เลยกลายเป็นกลอนประเภทแหกกฎอย่างที่เห็นค่ะ..หุหุ.... emo_26

2. เพื่อรักษามิตรภาพและประครองความผูกพันให้มันยาวนานและสม่ำเสมอค่ะ

..........พยายามที่จะรวมเพื่อน ๆ ทุกคนไว้ ใครหายไปก็จะพยายามตามกลับมา

ถ้าเป็นเพื่อนเรา...เค้าจะรู้เลยว่า....ถ้าเค้าหายไปนาน ๆ อย่างน้อยจะมีคนหนึ่ง

ที่ไม่เคยลืมเค้าและรอให้เค้ากลับมาเสมอค่ะ emo_50

3. สำคัญที่สุดคือ....การได้"กล้าและลงมือที่จะทำในสิ่งที่ตัวเองอยากทำ..."

......บางคนอยากเขียนแต่ได้แค่คิด...บางคนได้แต่คิดกลับไม่กล้าลงมือทำ...

คนที่กล้าลงมือทำตามความต้องการของตัวเอง ดีมั่ง พลาดมั่ง...น่าชื่นชมค่ะ

เพราะคนที่ไม่เคยทำผิดคือคนที่ไม่ลงมือทำอะไรเลย emo_45

น่าจะเป็นเหตุผลทำนองนี้ค่ะ


หัวข้อ: Re: มาดูว่า นักกลอนเขาเขียนกลอนไปเพื่ออะไร
เริ่มหัวข้อโดย: my smile ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2012, 10:53:PM


อยากแต่ง

ของแบบนี้มันอยู่ที่อารมณ์ว่าไหม.?? กิ้ว ๆ


emo_95

MY SMILE


หัวข้อ: Re: มาดูว่า นักกลอนเขาเขียนกลอนไปเพื่ออะไร
เริ่มหัวข้อโดย: Charlie ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2012, 11:02:PM


หนูแต่งกลอนเพราะใจชอบค่ะ  ตรงกับข้อ 1
แต่อนาคตก็อยากจะมีแบบข้อ 3
เพราะในส่วนลึกๆแล้วก็แอบหวังจะเป็นแบบข้อ 2 ค่ะ  emo_84





หัวข้อ: Re: มาดูว่า นักกลอนเขาเขียนกลอนไปเพื่ออะไร
เริ่มหัวข้อโดย: อริญชย์ ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2012, 11:06:PM
รักการแต่งกลอนเป็นชีวิตจิตใจ คิดอะไรก็เป็นกลอน แม้จะแต่งได้ไม่ดีนัก
แต่ก็พยายามทำให้คนอ่านบรรเทิงใจมีความสุขมากที่สุดฮะ หาความรู้เพิ่มเติมจากงานกลอนเก่า ๆ และความรู้รอบตัวอื่น ๆ ไปด้วย ก็สนุกดี มีความสุขที่ได้คิดกลอน 




 emo_60 emo_107 emo_60


หัวข้อ: Re: มาดูว่า นักกลอนเขาเขียนกลอนไปเพื่ออะไร
เริ่มหัวข้อโดย: ช่วงนี้ไม่ว่าง ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2012, 11:17:PM


หนูแต่งกลอนเพราะใจชอบค่ะ  ตรงกับข้อ 1
แต่อนาคตก็อยากจะมีแบบข้อ 3
เพราะในส่วนลึกๆแล้วก็แอบหวังจะเป็นแบบข้อ 2 ค่ะ  emo_84





โฮะๆๆๆๆ  หนูนิดหน่อยนี่คิดอะไรเหมือนกับป๋า เอ๊ย น้าเป๊ะ  แสดงว่าเราสองคนนี่ใจตรงกัน..... emo_08





หัวข้อ: Re: มาดูว่า นักกลอนเขาเขียนกลอนไปเพื่ออะไร
เริ่มหัวข้อโดย: สิงขร ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2012, 11:25:PM






สิงขรเขียนเพราะว่า

คนหนึ่งคน  ย่อมให้ ข้อคิดอะไรหลายอย่าง

ทักษะ  ย่อมแตกต่าง ความประสงค์ย่อมต่าง

เพราะนี่คือ  คน


หัวข้อ: Re: มาดูว่า นักกลอนเขาเขียนกลอนไปเพื่ออะไร
เริ่มหัวข้อโดย: Prapacarn ❀ ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2012, 11:32:PM
 
ลับสมอง...
ลองปัญญา (ของตัวเอง..)
แซมจากเมืองไทยไปนาน..เมื่อได้ทำอะไรที่..ไทยๆ..แล้ว จะภูมิใจมากค่ะ...
แซมจะไม่เขียนโพมภาษาอังกฤษ....ทั้งๆ ที่ไม่มีฉันทลักษณ์ที่เข้มงวดอย่างของเรา..
รู้สึกเหมือน...มันไม่ใช่สิ่งที่อยู่ในใจแซม....

ตั้งแต่แซมเริ่มเขียนกลอนนี่...ทำงานได้ดีขึ้นกว่าเก่า
คล้ายๆ ว่า จิตมีสมาธิขึ้น...

สิ่งที่สำคัญ..ดีใจจัง  ที่ได้อ่าน ได้เขียน ภาษาแม่ ที่แซมได้ยินได้ฟังมาแต่เกิด..
(ที่ชอบมากๆคือ..คราวนี้ได้เขียนเองอีกซะด้วย...)

ท้ายที่สุด  แซมขอขอบคุณเพื่อนๆ ทุกคนที่อ่านกลอนของแซมนะคะ...
นั่นคือแรงใจที่จะช่วยให้แซมมีงานเขียนต่อไปค่ะ...

และอย่าลืมติ..ตักเตือน..เมื่อแซมผิดพลาด...
ก็ในแต่ละวัน คุยภาษาไทยอยู่กับตัวเองคนเดียวนี่แหละ..

 emo_126 emo_126 emo_126
แซมค่ะ


หัวข้อ: Re: มาดูว่า นักกลอนเขาเขียนกลอนไปเพื่ออะไร
เริ่มหัวข้อโดย: พี.พูนสุข ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2012, 11:43:PM

                เขียนกลอนเพื่อ..

                                  1. ให้คนอื่นอ่าน  จะมีความสุขมาก

                                  2. แสดงความสามารถ ว่าแต่งได้หรือไม่ได้ ยอมเสียเวลาเพราะหลงใหลเสียแล้ว

                                  3. อ่านเองค่ะ  ไม่เคยอายตัวเอง แก้ไขไปเรื่อยๆ จนกว่าจะแก้ไม่ได้ emo_45

                                                     พี.พูนสุข  


หัวข้อ: Re: มาดูว่า นักกลอนเขาเขียนกลอนไปเพื่ออะไร
เริ่มหัวข้อโดย: TAKA ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2012, 05:12:AM
เขียนเพราะ

1.ผ่อนคลายปล่อยอารมณ์ไปกับจินตนาการ เขียนไม่ค่อยสู้ดีนักแต่รักที่จะเขียน
2.คลายเหงายามว่างเว้นจากงานประจำ ได้ทำอะไรอีกหนึ่งรูปแบบมีความสุขดีครับ

นายเล


หัวข้อ: Re: มาดูว่า นักกลอนเขาเขียนกลอนไปเพื่ออะไร
เริ่มหัวข้อโดย: --ณัชชา-- ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2012, 07:55:AM

๔. เขียนเพื่อเอาชนะตนเอง เอาชนะความไม่รู้ของตนโดยหัดเขียนกลอนกระนั้นพอเราเขียนกลอนได้ก็จะมี โคลง,กาพย์,กลอน,ฉันท์ มาให้เรียนรู้อีก พิมพ์วาสขายหน้าเมื่อคราวันสุนทรภู่ตอนประถม ๕ เลยหันมาเขียนกลอนตอนนั้นเข้ามาในบ้านกลอนใหม่ๆ ครามาครั้งแรกก็โดนท่านสมาชิคติชมกลอนขอยอมรับนะคะว่าเขียนกลอนไม่ได้ไม่เป็นจริงๆในขณะนั้นขนาดผังก็ยังต้องเอามาดูเลยสัมผัสระหว่างบทก็ยังไม่รู้จัก หรือแม้แต่สัมผัสใน สัมผัสสระเป็นอย่างไร สัมผัสอักษรเป็นอย่างไรยังไม่ทราบเลค่ะ ถึงว่าไปย้อนอ่านกลอนตัวเองดูถึงรู้ว่าตลก หรือจะพูดได้ว่าเขียนไม่เป็นเลย เขียนไม่ได้เลยก็ว่าได้ค่ะ ประมาณกระทู้ที่ ๓๐๐ กว่าๆถึงจะรู้ตัวว่าเขียนไม่ได้เรื่องเลยข้อความแต่ละขอความที่ส่งมาพิมพ์วาสขอยอมรับนะคะว่าอ่วมใจเลยจนเต็มไปรอบหนึ่งแล้ว แต่ก็ต้องกราบขอบพระคุณค่ะ พิมพ์วาสว่า พิมพ์วาสไม่ได้เขียนเพื่อะไรทั้งนั้นหละคะเขียนเพราะมันติดมากกว่ากระมังคะ เพราะว่าพอเขียนบ่อยๆแล้วมันจะจำได้จากนั้นสิ่งที่เรารู้เราก็จะรู้มากขึ้นจากนั้นก็จะแผ่ขยายความรู้แตกออกไปอีก แล้วพอเราหยุดทำมันก็จะลืม ที่ว่าติดนี่หมายถึงว่าเมื่อคราไม่ได้เขียนแล้วมันจะ รู้สึกคันไม้คันมืออยากจะเขียนขึ้นมาเฉยๆก็ประมาณนี้ค่ะ เขียนเพราะว่าเราชอบค่ะเรามีความสุขกับมันก็เขียนไปเถอะค่ะ ประมาณนั้นกระมังคะ

กาพย์กลอนฉันลิลิตรวิจิตรบท
งามถ้อยรสพจน์คำแสนล้ำศิลป์
เจรียงความงามถ้อยนำร้อยสิ้น
ให้เป็นถิ่นรินกลอนอักษรไทย

หนูพิมพ์วาสจ๋า  ช่วงหลังๆนี่อา  เอ๊ย  พี่สังเกตว่าฝีมือหนูพัฒนามากขึ้นทีเดียว  จะว่าไปมันเป็นสิ่งที่ดี ในการที่เราได้ครูหรือบุคคลที่มีความรู้มาเป็นผู้แนะนำนั้น
ตลอดถึงมีตัวอย่างหลากหลายให้ศึกษา ช่วยให้ฝีมือเราก้าวหน้าขึ้นเยอะ   ผิดกับอา อ๊ยพี่  สมัยที่แต่งกลอนใหม่ๆนั้น(นานมากแล้ว ราวยี่สิบปีเห็นจะได้)
การฝึกกลอนนั้นผงผัง หรือผู้แนะนำไม่มีหรอก ก็เราไม่ได้ศึกษามาทางนี้  ไม่ว่าจะผัง  คู่มือแนะนำการแต่ง  ล้วนไม่มีทั้งนั้น
แม้แต่กลอนที่จะหามาเป็นแบบอย่างสักบทมันช่างยากเย็นเต็มที  กลอนที่หาได้ก็อาจจะเป็นตามหนังสือธรรมะ ที่พระท่านแต่งเป็นคติธรรมคำกลอนแจกบ้าง
จากหนังสืองานศพ ที่เขาพิมพ์กลอนคติธรรมแจกบ้าง   แหล่งกลอนที่ถือว่ามีกลอนเยอะพอสมควรก็เห็นจะเป็นหนังสือ ศาลาคนเศร้า ซึ่งต้องเสียเงินซื้อ(ซึ่งถือว่ามีกลอนมากหน่อย)
กับอีกเล่มหนึ่งที่ลงกลอนระดับคุณภาพแต่ลงแค่ฉะบับละสองบท นั่นก็คือ วารสารตราไปรษณียากร
ฉะนั้นการแต่งโคลง กาพย์  กลอน  จึงเป็นอะไรที่นับคำ ชนิดเทียบกันแบบคำต่อต่อคำกันเลยทีเดียว กว่าจะจับแนวทางได้ก็นานพอดู
อีกอย่างสมัยก่อนแต่งเองอ่านเอง จึงไม่ได้แต่งบ่อยเหมือนเดี๋ยวนี้  นานๆถ้ามีอารมณ์แต่งถึงจะแต่งขึ้นมาสักครั้ง  
แล้วเวลาที่แต่งแล้วจะไปให้ใครอ่านเขาก็มองว่าเป็นพวกบ้ากลอน  นอกจากไม่ได้แสดงความชื่นชมยินดี แล้วหนำซ้ำยังจะดูถูกอีกต่างหาก
นี่มันเป็นชีวิตจริง  มันเหมือนกระทิงหลงฝูง หรือไผ่นอกกอ  ข้าวนอกนาอะไรประมาณนั้นแหละ
ฉะนั้นพูดได้เต็มปากเต็มคำว่า ไอ้ที่แต่งๆนี่ไม่ว่าจะเป็นกลอน  กาพย์ โคลง  แกะมาเองทั้งนั้นแหละ  คล้ายๆพวกนักโบราณแกะศิลาจารึกอะไรประมาณนั้น
หรือจะพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ครูกลอนที่แท้จริงของอา เอ๊ย พี่ ก็คือ บทกลอนที่ใช้ศึกษานั่นเอง หรือถ้าจะนับเป็นบุคคลก็ได้แก่ตัวผู้แต่งกลอนนั้นๆ
ฉะนั้นรุ่นหลังๆนี่จึงถือว่าโชคดีเป็นอย่างมาก ที่มีแหล่งกลอนให้ศึกษา  มีผู้รู้คอยให้คำแนะนำ  มีแผนผัง  มีกลอนตัวอย่างให้อ่านให้ศึกษากันอย่างมากมาย
อะไรที่ไม่เข้าใจ ถามอากู๋ เดี๋ยวเดียวก็ได้

เคล็ดลับสำคัญสำหรับการแต่งบทกลอนให้ดีนอกจากจะอาศัยแค่แผนผังกับวิธีการแต่งอย่างเดียวไม่ได้
จำเป็นจะต้องมีบทกลอนบทใดบทหนึ่งหรือหลายๆบท ที่แต่งดี แต่งถูกต้องตามฉันทลักษณ์มาเป็นแบบอย่างสำหรับท่องจำให้รู้จักท่วงทำนอง จังหวะจะโคนเสียก่อน
ถ้าอาศัยดูแต่แผนผังอย่างเดียวมักจะอยู่ไม่นาน  พอปล่อยแผนผังก็เป๋  การดูแค่แผนแล้วแต่งได้นั้นเป็นเรื่องของผู้ที่เชี่ยวชาญแล้วเท่านั้น
ฉะนั้น  กลอนตัวอย่างหรือบทครูนั้นจะสำคัญมาก  ถ้าได้ตัวอย่างที่ดี เราก็จะดีตามไปด้วย  ถ้าได้ตัวอย่างที่ไม่ดี เราก็จะพลอยแย่  คล้ายๆพ่อปูสอนลูกปูแบบนั้น

เสริมอีกข้อ เป็นข้อ ๕  คือ  แต่งเพื่อถ่ายทอดศิลปะ  การแต่งเพื่อถ่ายทอดศิลปะก็คือการแต่งกลอนด้วยใจรักในศิลปะนั่นเอง
ดังนั้น กลอนที่สื่อออกมาจึงเป็นบทกลอนที่มีคุณภาพ  มีความละเอียดอ่อน ตามความตั้งใจของผู้แต่ง



จะพี่หรือจะอา เอาให้แน่

สับสนทางวัยหรือไงลุง

--ณัชชา--


 emo_82


หัวข้อ: Re: มาดูว่า นักกลอนเขาเขียนกลอนไปเพื่ออะไร
เริ่มหัวข้อโดย: บูรพาท่าพระจันทร์ ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2012, 08:05:AM

๔. เขียนเพื่อเอาชนะตนเอง เอาชนะความไม่รู้ของตนโดยหัดเขียนกลอนกระนั้นพอเราเขียนกลอนได้ก็จะมี โคลง,กาพย์,กลอน,ฉันท์ มาให้เรียนรู้อีก พิมพ์วาสขายหน้าเมื่อคราวันสุนทรภู่ตอนประถม ๕ เลยหันมาเขียนกลอนตอนนั้นเข้ามาในบ้านกลอนใหม่ๆ ครามาครั้งแรกก็โดนท่านสมาชิคติชมกลอนขอยอมรับนะคะว่าเขียนกลอนไม่ได้ไม่เป็นจริงๆในขณะนั้นขนาดผังก็ยังต้องเอามาดูเลยสัมผัสระหว่างบทก็ยังไม่รู้จัก หรือแม้แต่สัมผัสใน สัมผัสสระเป็นอย่างไร สัมผัสอักษรเป็นอย่างไรยังไม่ทราบเลค่ะ ถึงว่าไปย้อนอ่านกลอนตัวเองดูถึงรู้ว่าตลก หรือจะพูดได้ว่าเขียนไม่เป็นเลย เขียนไม่ได้เลยก็ว่าได้ค่ะ ประมาณกระทู้ที่ ๓๐๐ กว่าๆถึงจะรู้ตัวว่าเขียนไม่ได้เรื่องเลยข้อความแต่ละขอความที่ส่งมาพิมพ์วาสขอยอมรับนะคะว่าอ่วมใจเลยจนเต็มไปรอบหนึ่งแล้ว แต่ก็ต้องกราบขอบพระคุณค่ะ พิมพ์วาสว่า พิมพ์วาสไม่ได้เขียนเพื่อะไรทั้งนั้นหละคะเขียนเพราะมันติดมากกว่ากระมังคะ เพราะว่าพอเขียนบ่อยๆแล้วมันจะจำได้จากนั้นสิ่งที่เรารู้เราก็จะรู้มากขึ้นจากนั้นก็จะแผ่ขยายความรู้แตกออกไปอีก แล้วพอเราหยุดทำมันก็จะลืม ที่ว่าติดนี่หมายถึงว่าเมื่อคราไม่ได้เขียนแล้วมันจะ รู้สึกคันไม้คันมืออยากจะเขียนขึ้นมาเฉยๆก็ประมาณนี้ค่ะ เขียนเพราะว่าเราชอบค่ะเรามีความสุขกับมันก็เขียนไปเถอะค่ะ ประมาณนั้นกระมังคะ

กาพย์กลอนฉันลิลิตรวิจิตรบท
งามถ้อยรสพจน์คำแสนล้ำศิลป์
เจรียงความงามถ้อยนำร้อยสิ้น
ให้เป็นถิ่นรินกลอนอักษรไทย

หนูพิมพ์วาสจ๋า  ช่วงหลังๆนี่อา  เอ๊ย  พี่สังเกตว่าฝีมือหนูพัฒนามากขึ้นทีเดียว  จะว่าไปมันเป็นสิ่งที่ดี ในการที่เราได้ครูหรือบุคคลที่มีความรู้มาเป็นผู้แนะนำนั้น
ตลอดถึงมีตัวอย่างหลากหลายให้ศึกษา ช่วยให้ฝีมือเราก้าวหน้าขึ้นเยอะ   ผิดกับอา อ๊ยพี่  สมัยที่แต่งกลอนใหม่ๆนั้น(นานมากแล้ว ราวยี่สิบปีเห็นจะได้)
การฝึกกลอนนั้นผงผัง หรือผู้แนะนำไม่มีหรอก ก็เราไม่ได้ศึกษามาทางนี้  ไม่ว่าจะผัง  คู่มือแนะนำการแต่ง  ล้วนไม่มีทั้งนั้น
แม้แต่กลอนที่จะหามาเป็นแบบอย่างสักบทมันช่างยากเย็นเต็มที  กลอนที่หาได้ก็อาจจะเป็นตามหนังสือธรรมะ ที่พระท่านแต่งเป็นคติธรรมคำกลอนแจกบ้าง
จากหนังสืองานศพ ที่เขาพิมพ์กลอนคติธรรมแจกบ้าง   แหล่งกลอนที่ถือว่ามีกลอนเยอะพอสมควรก็เห็นจะเป็นหนังสือ ศาลาคนเศร้า ซึ่งต้องเสียเงินซื้อ(ซึ่งถือว่ามีกลอนมากหน่อย)
กับอีกเล่มหนึ่งที่ลงกลอนระดับคุณภาพแต่ลงแค่ฉะบับละสองบท นั่นก็คือ วารสารตราไปรษณียากร
ฉะนั้นการแต่งโคลง กาพย์  กลอน  จึงเป็นอะไรที่นับคำ ชนิดเทียบกันแบบคำต่อต่อคำกันเลยทีเดียว กว่าจะจับแนวทางได้ก็นานพอดู
อีกอย่างสมัยก่อนแต่งเองอ่านเอง จึงไม่ได้แต่งบ่อยเหมือนเดี๋ยวนี้  นานๆถ้ามีอารมณ์แต่งถึงจะแต่งขึ้นมาสักครั้ง  
แล้วเวลาที่แต่งแล้วจะไปให้ใครอ่านเขาก็มองว่าเป็นพวกบ้ากลอน  นอกจากไม่ได้แสดงความชื่นชมยินดี แล้วหนำซ้ำยังจะดูถูกอีกต่างหาก
นี่มันเป็นชีวิตจริง  มันเหมือนกระทิงหลงฝูง หรือไผ่นอกกอ  ข้าวนอกนาอะไรประมาณนั้นแหละ
ฉะนั้นพูดได้เต็มปากเต็มคำว่า ไอ้ที่แต่งๆนี่ไม่ว่าจะเป็นกลอน  กาพย์ โคลง  แกะมาเองทั้งนั้นแหละ  คล้ายๆพวกนักโบราณแกะศิลาจารึกอะไรประมาณนั้น
หรือจะพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ครูกลอนที่แท้จริงของอา เอ๊ย พี่ ก็คือ บทกลอนที่ใช้ศึกษานั่นเอง หรือถ้าจะนับเป็นบุคคลก็ได้แก่ตัวผู้แต่งกลอนนั้นๆ
ฉะนั้นรุ่นหลังๆนี่จึงถือว่าโชคดีเป็นอย่างมาก ที่มีแหล่งกลอนให้ศึกษา  มีผู้รู้คอยให้คำแนะนำ  มีแผนผัง  มีกลอนตัวอย่างให้อ่านให้ศึกษากันอย่างมากมาย
อะไรที่ไม่เข้าใจ ถามอากู๋ เดี๋ยวเดียวก็ได้

เคล็ดลับสำคัญสำหรับการแต่งบทกลอนให้ดีนอกจากจะอาศัยแค่แผนผังกับวิธีการแต่งอย่างเดียวไม่ได้
จำเป็นจะต้องมีบทกลอนบทใดบทหนึ่งหรือหลายๆบท ที่แต่งดี แต่งถูกต้องตามฉันทลักษณ์มาเป็นแบบอย่างสำหรับท่องจำให้รู้จักท่วงทำนอง จังหวะจะโคนเสียก่อน
ถ้าอาศัยดูแต่แผนผังอย่างเดียวมักจะอยู่ไม่นาน  พอปล่อยแผนผังก็เป๋  การดูแค่แผนแล้วแต่งได้นั้นเป็นเรื่องของผู้ที่เชี่ยวชาญแล้วเท่านั้น
ฉะนั้น  กลอนตัวอย่างหรือบทครูนั้นจะสำคัญมาก  ถ้าได้ตัวอย่างที่ดี เราก็จะดีตามไปด้วย  ถ้าได้ตัวอย่างที่ไม่ดี เราก็จะพลอยแย่  คล้ายๆพ่อปูสอนลูกปูแบบนั้น

เสริมอีกข้อ เป็นข้อ ๕  คือ  แต่งเพื่อถ่ายทอดศิลปะ  การแต่งเพื่อถ่ายทอดศิลปะก็คือการแต่งกลอนด้วยใจรักในศิลปะนั่นเอง
ดังนั้น กลอนที่สื่อออกมาจึงเป็นบทกลอนที่มีคุณภาพ  มีความละเอียดอ่อน ตามความตั้งใจของผู้แต่ง



จะพี่หรือจะอา เอาให้แน่

สับสนทางวัยหรือไงลุง

--ณัชชา--


 emo_82


ไม่สับสนหรอกจ้าคุณหมอ...สับขามากกว่า..สับขาหลอกน่ะ..อิ..อิ. emo_20

รู้น่า..ว่าคิดอาราย? emo_45 (ล้อเล่นเน้อ)

บูรพาท่าพระจันทร์


หัวข้อ: Re: มาดูว่า นักกลอนเขาเขียนกลอนไปเพื่ออะไร
เริ่มหัวข้อโดย: ..กุสุมา.. ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2012, 08:25:AM
               ข้าพเจ้าเข้ามาในบ้านกลอนทำให้ได้รู้จักมิตรมากมาย
   >>..จากตัวอักษรที่ท่านทั้งหลายได้บันทึกลงบนกระดานบ้านกลอนไทยแห่งนี้
     ..ทำให้มองเห็นตัวตนที่อยู่ข้างในจิตใจของแต่ละคนได้ชัดเจน
      ว่านิสัยที่แท้จริงของคนนั้นเป็นเยี่ยงใด อารมณ์อยู่ ณ จุดไหน
      บางคน อาจจะหยาบ ละเอียด อ่อนไหว เยือกเย็น สนุกสนาน
      ทุกตัวอักษรที่วางลงบนกระดานนี้..
    ได้เขียนออกมาจากหัวใจ ..มิได้เขียนออกมาจากปาก บทกลอนที่เขียนจากหัวใจ
     จึงไพเราะทำนองจะเสนาะรับกันแบบลงตัวบน ๐ตัวอักษร๐
     สิ่งที่เขียนออกมา ตัวอักษรจะงดงามสามารถมองเห็นภาพบนตัวอักษรได้เลยทีเดียว
  >>..เมื่อวัยเยาว์คุณแม่ชอบให้ข้าพเจ้าอ่านหนังสือให้ท่านฟังร้อยแก้วร้อยกรอง
     กาพย์ โคลง ฉันท์ ให้อ่านเป็นทำนองเสนาะ เมื่อข้าพเจ้าอ่านผิดท่านก็จะสอน
     ให้อ่านให้ถูกต้อง เมื่อข้าพเจ้าเติบโต ก็ได้ห่างไป กระทั่งได้เข้ามาที่บ้านกลอน
     ไทยนี้ ทำให้นึกถึงคุณค่าของเอกลักษณ์ไทย ว่าเป็นสิ่งที่สวยงามควรอนุรักษ์
     ไว้ให้ชนรุ่นหลังต่อไปเจ้าค่ะ
              ด้วยความเคารพในมิตรทุกท่าน
                     ..กุสุมา.. emo_126


หัวข้อ: Re: มาดูว่า นักกลอนเขาเขียนกลอนไปเพื่ออะไร
เริ่มหัวข้อโดย: addy ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2012, 09:22:AM

 

ที่ผมเขียนเพราะเหตุว่า
  1.ต้องการรอยยิ้ม(ทุกครั้งที่เขียน ผมจะยิ้มตลอด)
  2.อยากหัวเราะ(อ่านกลอนเพื่อนๆ และ อ่านกลอนเราแล้วหัวเราะ)
  3.สบายใจ
  4.ให้ย้อนกลับไปอ่า ข้อ 1. 2. 3.
  5.................ช่วยบอกทีผมเพี้ยนมั้ย(เอิ๊กๆ)
         addy
    emo_45




หัวข้อ: Re: มาดูว่า นักกลอนเขาเขียนกลอนไปเพื่ออะไร
เริ่มหัวข้อโดย: D ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2012, 09:45:AM
emo_107

ดินยังหาเหตุผลที่แท้จริงไม่ได้เลย
ที่รู้ๆขออ่านเขียนไปเรื่อยก่อนนะคะ
(งงกับตัวเองอ่ะ) emo_47


หัวข้อ: Re: มาดูว่า นักกลอนเขาเขียนกลอนไปเพื่ออะไร
เริ่มหัวข้อโดย: ดาว อาชาไนย ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2012, 10:53:AM

๔. เขียนเพื่อเอาชนะตนเอง เอาชนะความไม่รู้ของตนโดยหัดเขียนกลอนกระนั้นพอเราเขียนกลอนได้ก็จะมี โคลง,กาพย์,กลอน,ฉันท์ มาให้เรียนรู้อีก พิมพ์วาสขายหน้าเมื่อคราวันสุนทรภู่ตอนประถม ๕ เลยหันมาเขียนกลอนตอนนั้นเข้ามาในบ้านกลอนใหม่ๆ ครามาครั้งแรกก็โดนท่านสมาชิคติชมกลอนขอยอมรับนะคะว่าเขียนกลอนไม่ได้ไม่เป็นจริงๆในขณะนั้นขนาดผังก็ยังต้องเอามาดูเลยสัมผัสระหว่างบทก็ยังไม่รู้จัก หรือแม้แต่สัมผัสใน สัมผัสสระเป็นอย่างไร สัมผัสอักษรเป็นอย่างไรยังไม่ทราบเลค่ะ ถึงว่าไปย้อนอ่านกลอนตัวเองดูถึงรู้ว่าตลก หรือจะพูดได้ว่าเขียนไม่เป็นเลย เขียนไม่ได้เลยก็ว่าได้ค่ะ ประมาณกระทู้ที่ ๓๐๐ กว่าๆถึงจะรู้ตัวว่าเขียนไม่ได้เรื่องเลยข้อความแต่ละขอความที่ส่งมาพิมพ์วาสขอยอมรับนะคะว่าอ่วมใจเลยจนเต็มไปรอบหนึ่งแล้ว แต่ก็ต้องกราบขอบพระคุณค่ะ พิมพ์วาสว่า พิมพ์วาสไม่ได้เขียนเพื่อะไรทั้งนั้นหละคะเขียนเพราะมันติดมากกว่ากระมังคะ เพราะว่าพอเขียนบ่อยๆแล้วมันจะจำได้จากนั้นสิ่งที่เรารู้เราก็จะรู้มากขึ้นจากนั้นก็จะแผ่ขยายความรู้แตกออกไปอีก แล้วพอเราหยุดทำมันก็จะลืม ที่ว่าติดนี่หมายถึงว่าเมื่อคราไม่ได้เขียนแล้วมันจะ รู้สึกคันไม้คันมืออยากจะเขียนขึ้นมาเฉยๆก็ประมาณนี้ค่ะ เขียนเพราะว่าเราชอบค่ะเรามีความสุขกับมันก็เขียนไปเถอะค่ะ ประมาณนั้นกระมังคะ

กาพย์กลอนฉันลิลิตรวิจิตรบท
งามถ้อยรสพจน์คำแสนล้ำศิลป์
เจรียงความงามถ้อยนำร้อยสิ้น
ให้เป็นถิ่นรินกลอนอักษรไทย

หนูพิมพ์วาสจ๋า  ช่วงหลังๆนี่อา  เอ๊ย  พี่สังเกตว่าฝีมือหนูพัฒนามากขึ้นทีเดียว  จะว่าไปมันเป็นสิ่งที่ดี ในการที่เราได้ครูหรือบุคคลที่มีความรู้มาเป็นผู้แนะนำนั้น
ตลอดถึงมีตัวอย่างหลากหลายให้ศึกษา ช่วยให้ฝีมือเราก้าวหน้าขึ้นเยอะ   ผิดกับอา อ๊ยพี่  สมัยที่แต่งกลอนใหม่ๆนั้น(นานมากแล้ว ราวยี่สิบปีเห็นจะได้)
การฝึกกลอนนั้นผงผัง หรือผู้แนะนำไม่มีหรอก ก็เราไม่ได้ศึกษามาทางนี้  ไม่ว่าจะผัง  คู่มือแนะนำการแต่ง  ล้วนไม่มีทั้งนั้น
แม้แต่กลอนที่จะหามาเป็นแบบอย่างสักบทมันช่างยากเย็นเต็มที  กลอนที่หาได้ก็อาจจะเป็นตามหนังสือธรรมะ ที่พระท่านแต่งเป็นคติธรรมคำกลอนแจกบ้าง
จากหนังสืองานศพ ที่เขาพิมพ์กลอนคติธรรมแจกบ้าง   แหล่งกลอนที่ถือว่ามีกลอนเยอะพอสมควรก็เห็นจะเป็นหนังสือ ศาลาคนเศร้า ซึ่งต้องเสียเงินซื้อ(ซึ่งถือว่ามีกลอนมากหน่อย)
กับอีกเล่มหนึ่งที่ลงกลอนระดับคุณภาพแต่ลงแค่ฉะบับละสองบท นั่นก็คือ วารสารตราไปรษณียากร
ฉะนั้นการแต่งโคลง กาพย์  กลอน  จึงเป็นอะไรที่นับคำ ชนิดเทียบกันแบบคำต่อต่อคำกันเลยทีเดียว กว่าจะจับแนวทางได้ก็นานพอดู
อีกอย่างสมัยก่อนแต่งเองอ่านเอง จึงไม่ได้แต่งบ่อยเหมือนเดี๋ยวนี้  นานๆถ้ามีอารมณ์แต่งถึงจะแต่งขึ้นมาสักครั้ง  
แล้วเวลาที่แต่งแล้วจะไปให้ใครอ่านเขาก็มองว่าเป็นพวกบ้ากลอน  นอกจากไม่ได้แสดงความชื่นชมยินดี แล้วหนำซ้ำยังจะดูถูกอีกต่างหาก
นี่มันเป็นชีวิตจริง  มันเหมือนกระทิงหลงฝูง หรือไผ่นอกกอ  ข้าวนอกนาอะไรประมาณนั้นแหละ
ฉะนั้นพูดได้เต็มปากเต็มคำว่า ไอ้ที่แต่งๆนี่ไม่ว่าจะเป็นกลอน  กาพย์ โคลง  แกะมาเองทั้งนั้นแหละ  คล้ายๆพวกนักโบราณแกะศิลาจารึกอะไรประมาณนั้น
หรือจะพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ครูกลอนที่แท้จริงของอา เอ๊ย พี่ ก็คือ บทกลอนที่ใช้ศึกษานั่นเอง หรือถ้าจะนับเป็นบุคคลก็ได้แก่ตัวผู้แต่งกลอนนั้นๆ
ฉะนั้นรุ่นหลังๆนี่จึงถือว่าโชคดีเป็นอย่างมาก ที่มีแหล่งกลอนให้ศึกษา  มีผู้รู้คอยให้คำแนะนำ  มีแผนผัง  มีกลอนตัวอย่างให้อ่านให้ศึกษากันอย่างมากมาย
อะไรที่ไม่เข้าใจ ถามอากู๋ เดี๋ยวเดียวก็ได้

เคล็ดลับสำคัญสำหรับการแต่งบทกลอนให้ดีนอกจากจะอาศัยแค่แผนผังกับวิธีการแต่งอย่างเดียวไม่ได้
จำเป็นจะต้องมีบทกลอนบทใดบทหนึ่งหรือหลายๆบท ที่แต่งดี แต่งถูกต้องตามฉันทลักษณ์มาเป็นแบบอย่างสำหรับท่องจำให้รู้จักท่วงทำนอง จังหวะจะโคนเสียก่อน
ถ้าอาศัยดูแต่แผนผังอย่างเดียวมักจะอยู่ไม่นาน  พอปล่อยแผนผังก็เป๋  การดูแค่แผนแล้วแต่งได้นั้นเป็นเรื่องของผู้ที่เชี่ยวชาญแล้วเท่านั้น
ฉะนั้น  กลอนตัวอย่างหรือบทครูนั้นจะสำคัญมาก  ถ้าได้ตัวอย่างที่ดี เราก็จะดีตามไปด้วย  ถ้าได้ตัวอย่างที่ไม่ดี เราก็จะพลอยแย่  คล้ายๆพ่อปูสอนลูกปูแบบนั้น

เสริมอีกข้อ เป็นข้อ ๕  คือ  แต่งเพื่อถ่ายทอดศิลปะ  การแต่งเพื่อถ่ายทอดศิลปะก็คือการแต่งกลอนด้วยใจรักในศิลปะนั่นเอง
ดังนั้น กลอนที่สื่อออกมาจึงเป็นบทกลอนที่มีคุณภาพ  มีความละเอียดอ่อน ตามความตั้งใจของผู้แต่ง






นักกลอนเพื่อน ๆ ของผมมีครูกันทั้งนั้น เป็นครูพักลักจำ  คือท่านสุนทรภู่  พวกเรานับถือท่านเป็นครูกันทุกคน
จึงศึกษาและสังเกตงานของท่าน และจดจำมาเป็นแบบอย่างเท่าที่จะทำได้  เพราะจะให้เหมือนครูเป๊ะ ๆ คงทำไม่ได้
ได้สังเกตการเล่นสัมผัสของท่าน  ท่านจะไม่มี"สัมผัสเลือน"เลย  ขอแนะนำว่าอย่าไปเรียนกับงานของคนอื่น
แม้แต่บางคนที่เขายกย่องกันว่าเป็น"กวี"  ยังเขียนผิดฉันทลักษณ์เลย


หัวข้อ: Re: มาดูว่า นักกลอนเขาเขียนกลอนไปเพื่ออะไร
เริ่มหัวข้อโดย: ..กุสุมา.. ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2012, 12:58:PM
                 บทกลอนของท่าน..บูรพา ท่าพระจันทร์ ส่วนมากที่ได้อ่านผ่านมา
                 เวลาอ่านเสียงเสนาะไพเราะมากเจ้าค่ะ
                 ข้าพเจ้ากำลังจะนำมาเป็นครูพักลักจำเจ้าเจ้าค่ะ ณ โอกาสนี้
                 ขอให้ท่านบูรพาท่าพระจันทร์อนุญาตด้วยน่ะเจ้าค่ะ
                 ตัวอย่าง.....บทกลอนท่านบูรพา ท่าพระจันทร์เจ้าค่ะ
                 บทเพลงแรก แปลกปร่า มาปลอบขวัญ
                 บทเพลงนั้น สรรค์สร้าง จากปางไหน
                 ช่างคุ้นหู หรูเสนาะ เพราะกระไร
                 แม่กล่อมให้ ได้ฟัง กระทั่งนอน

                 ตราบแม่สิ้น กลิ่นอาย มิหายจาก
                 ฦๅจะพราก ยากนัก ถ่ายรักถอน
                 ทุกวันคืน ตื่นมา ยังอาวรณ์
                 มิแคลนคลอน รอนรัก สักนิดเดียว.../
                      ด้วยความนับถือ                 
                               ..กุสุมา..


หัวข้อ: Re: มาดูว่า นักกลอนเขาเขียนกลอนไปเพื่ออะไร
เริ่มหัวข้อโดย: ...สียะตรา.. ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2012, 01:20:PM



 emo_47

......คงเป็นเพราะเป็นคนซึมซับรายละเอียดของสิ่งต่างๆรอบตัว..แล้ว...อยากสื่อสิ่งนั้นให้คนอื่นๆได้ร่วมรับรู้..ไม่ว่าดอกไม้เล็กๆบานแล้วสักดอก...น้องหมาตายแล้วหนึ่งตัว..บรา..บรา..บรา..อื่นๆอีกมากมาย...





หัวข้อ: Re: มาดูว่า นักกลอนเขาเขียนกลอนไปเพื่ออะไร
เริ่มหัวข้อโดย: บูรพาท่าพระจันทร์ ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2012, 03:42:PM
                 บทกลอนของท่าน..บูรพา ท่าพระจันทร์ ส่วนมากที่ได้อ่านผ่านมา
                 เวลาอ่านเสียงเสนาะไพเราะมากเจ้าค่ะ
                 ข้าพเจ้ากำลังจะนำมาเป็นครูพักลักจำเจ้าเจ้าค่ะ ณ โอกาสนี้
                 ขอให้ท่านบูรพาท่าพระจันทร์อนุญาตด้วยน่ะเจ้าค่ะ
                 ตัวอย่าง.....บทกลอนท่านบูรพา ท่าพระจันทร์เจ้าค่ะ
                 บทเพลงแรก แปลกปร่า มาปลอบขวัญ
                 บทเพลงนั้น สรรค์สร้าง จากปางไหน
                 ช่างคุ้นหู หรูเสนาะ เพราะกระไร
                 แม่กล่อมให้ ได้ฟัง กระทั่งนอน

                 ตราบแม่สิ้น กลิ่นอาย มิหายจาก
                 ฦๅจะพราก ยากนัก ถ่ายรักถอน
                 ทุกวันคืน ตื่นมา ยังอาวรณ์
                 มิแคลนคลอน รอนรัก สักนิดเดียว.../
                      ด้วยความนับถือ                 
                               ..กุสุมา..



จะว่าไปแล้วยังไม่อยู่ในฐานะที่จะเรียกกันว่า"ครู"ได้หรอกครับ เป็นเพียงผู้ที่มีความรักความชอบในเรื่องบทกลอนเสียมากกว่า คงจะไม่เชื่อ
ถ้าจะบอกว่า เพิ่งมาเขียนกลอนอย่างจริงจังเป็นเรื่องเป็นราวก็เมื่อมาสมัครเป็นสมาชิกบ้านกลอนไทยนี่แหละ ก่อนหน้านี้เคยเขียนที่ราชดำเนิน
มาก่อนเริ่มเขียนประมาณปี 50 ซึ่งก็ไม่จริงจังอะไรนัก จากนั้นก็หยุดไปนาน มาเริ่มที่บ้านกลอนไทยเป็นที่ฝึกฝน เนื่องจากเป็นแหล่งรวมของ
ผู้ที่มีรสนิยมตรงกัน


บ้านกลอนไทยนี่แหละคือที่ฝึกฝนอย่างแท้จริง เนื่องจากมีผู้ที่เป็นแบบอย่างในเรื่องโคลงกลอนอยู่มาก ก็ได้อาศัยท่านเหล่านี้เป็นครูมาตลอด
ตราบทุกวันนี้ ซึ่งก็ขอขอบคุณอยู่ในใจมาตลอดครับ


                                      emo_126

                                   บูรพาท่าพระจันทร์ 


หัวข้อ: Re: มาดูว่า นักกลอนเขาเขียนกลอนไปเพื่ออะไร
เริ่มหัวข้อโดย: somkan ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2012, 04:38:PM
*แก้นิสัยใจร้อนด้วยกลอนเกลา
แก้ความเหงาง่วงหงอยค่อยคลายหาย
แก้ยามโกรธกรองร้อยค่อยสบาย
มิเคยหมายมุ่งใดให้ไกลเกิน.

 emo_126... ได้ผลค่ะ..ใจเย็นขึ้นเยอะค่ะ


หัวข้อ: Re: มาดูว่า นักกลอนเขาเขียนกลอนไปเพื่ออะไร
เริ่มหัวข้อโดย: สะเลเต ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2012, 04:47:PM
ได้พักผ่อน(ทั้งในที่ทำงาน-บ้าน)...ได้พูดคุยหยอกล้อกับตัวหนังสือ...(ปกติไม่ค่อยมีใครคบ)

---สะเลเต---


หัวข้อ: Re: มาดูว่า นักกลอนเขาเขียนกลอนไปเพื่ออะไร
เริ่มหัวข้อโดย: ช่วงนี้ไม่ว่าง ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2012, 04:50:PM

๔. เขียนเพื่อเอาชนะตนเอง เอาชนะความไม่รู้ของตนโดยหัดเขียนกลอนกระนั้นพอเราเขียนกลอนได้ก็จะมี โคลง,กาพย์,กลอน,ฉันท์ มาให้เรียนรู้อีก พิมพ์วาสขายหน้าเมื่อคราวันสุนทรภู่ตอนประถม ๕ เลยหันมาเขียนกลอนตอนนั้นเข้ามาในบ้านกลอนใหม่ๆ ครามาครั้งแรกก็โดนท่านสมาชิคติชมกลอนขอยอมรับนะคะว่าเขียนกลอนไม่ได้ไม่เป็นจริงๆในขณะนั้นขนาดผังก็ยังต้องเอามาดูเลยสัมผัสระหว่างบทก็ยังไม่รู้จัก หรือแม้แต่สัมผัสใน สัมผัสสระเป็นอย่างไร สัมผัสอักษรเป็นอย่างไรยังไม่ทราบเลค่ะ ถึงว่าไปย้อนอ่านกลอนตัวเองดูถึงรู้ว่าตลก หรือจะพูดได้ว่าเขียนไม่เป็นเลย เขียนไม่ได้เลยก็ว่าได้ค่ะ ประมาณกระทู้ที่ ๓๐๐ กว่าๆถึงจะรู้ตัวว่าเขียนไม่ได้เรื่องเลยข้อความแต่ละขอความที่ส่งมาพิมพ์วาสขอยอมรับนะคะว่าอ่วมใจเลยจนเต็มไปรอบหนึ่งแล้ว แต่ก็ต้องกราบขอบพระคุณค่ะ พิมพ์วาสว่า พิมพ์วาสไม่ได้เขียนเพื่อะไรทั้งนั้นหละคะเขียนเพราะมันติดมากกว่ากระมังคะ เพราะว่าพอเขียนบ่อยๆแล้วมันจะจำได้จากนั้นสิ่งที่เรารู้เราก็จะรู้มากขึ้นจากนั้นก็จะแผ่ขยายความรู้แตกออกไปอีก แล้วพอเราหยุดทำมันก็จะลืม ที่ว่าติดนี่หมายถึงว่าเมื่อคราไม่ได้เขียนแล้วมันจะ รู้สึกคันไม้คันมืออยากจะเขียนขึ้นมาเฉยๆก็ประมาณนี้ค่ะ เขียนเพราะว่าเราชอบค่ะเรามีความสุขกับมันก็เขียนไปเถอะค่ะ ประมาณนั้นกระมังคะ

กาพย์กลอนฉันลิลิตรวิจิตรบท
งามถ้อยรสพจน์คำแสนล้ำศิลป์
เจรียงความงามถ้อยนำร้อยสิ้น
ให้เป็นถิ่นรินกลอนอักษรไทย

หนูพิมพ์วาสจ๋า  ช่วงหลังๆนี่อา  เอ๊ย  พี่สังเกตว่าฝีมือหนูพัฒนามากขึ้นทีเดียว  จะว่าไปมันเป็นสิ่งที่ดี ในการที่เราได้ครูหรือบุคคลที่มีความรู้มาเป็นผู้แนะนำนั้น
ตลอดถึงมีตัวอย่างหลากหลายให้ศึกษา ช่วยให้ฝีมือเราก้าวหน้าขึ้นเยอะ   ผิดกับอา อ๊ยพี่  สมัยที่แต่งกลอนใหม่ๆนั้น(นานมากแล้ว ราวยี่สิบปีเห็นจะได้)
การฝึกกลอนนั้นผงผัง หรือผู้แนะนำไม่มีหรอก ก็เราไม่ได้ศึกษามาทางนี้  ไม่ว่าจะผัง  คู่มือแนะนำการแต่ง  ล้วนไม่มีทั้งนั้น
แม้แต่กลอนที่จะหามาเป็นแบบอย่างสักบทมันช่างยากเย็นเต็มที  กลอนที่หาได้ก็อาจจะเป็นตามหนังสือธรรมะ ที่พระท่านแต่งเป็นคติธรรมคำกลอนแจกบ้าง
จากหนังสืองานศพ ที่เขาพิมพ์กลอนคติธรรมแจกบ้าง   แหล่งกลอนที่ถือว่ามีกลอนเยอะพอสมควรก็เห็นจะเป็นหนังสือ ศาลาคนเศร้า ซึ่งต้องเสียเงินซื้อ(ซึ่งถือว่ามีกลอนมากหน่อย)
กับอีกเล่มหนึ่งที่ลงกลอนระดับคุณภาพแต่ลงแค่ฉะบับละสองบท นั่นก็คือ วารสารตราไปรษณียากร
ฉะนั้นการแต่งโคลง กาพย์  กลอน  จึงเป็นอะไรที่นับคำ ชนิดเทียบกันแบบคำต่อต่อคำกันเลยทีเดียว กว่าจะจับแนวทางได้ก็นานพอดู
อีกอย่างสมัยก่อนแต่งเองอ่านเอง จึงไม่ได้แต่งบ่อยเหมือนเดี๋ยวนี้  นานๆถ้ามีอารมณ์แต่งถึงจะแต่งขึ้นมาสักครั้ง  
แล้วเวลาที่แต่งแล้วจะไปให้ใครอ่านเขาก็มองว่าเป็นพวกบ้ากลอน  นอกจากไม่ได้แสดงความชื่นชมยินดี แล้วหนำซ้ำยังจะดูถูกอีกต่างหาก
นี่มันเป็นชีวิตจริง  มันเหมือนกระทิงหลงฝูง หรือไผ่นอกกอ  ข้าวนอกนาอะไรประมาณนั้นแหละ
ฉะนั้นพูดได้เต็มปากเต็มคำว่า ไอ้ที่แต่งๆนี่ไม่ว่าจะเป็นกลอน  กาพย์ โคลง  แกะมาเองทั้งนั้นแหละ  คล้ายๆพวกนักโบราณแกะศิลาจารึกอะไรประมาณนั้น
หรือจะพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ครูกลอนที่แท้จริงของอา เอ๊ย พี่ ก็คือ บทกลอนที่ใช้ศึกษานั่นเอง หรือถ้าจะนับเป็นบุคคลก็ได้แก่ตัวผู้แต่งกลอนนั้นๆ
ฉะนั้นรุ่นหลังๆนี่จึงถือว่าโชคดีเป็นอย่างมาก ที่มีแหล่งกลอนให้ศึกษา  มีผู้รู้คอยให้คำแนะนำ  มีแผนผัง  มีกลอนตัวอย่างให้อ่านให้ศึกษากันอย่างมากมาย
อะไรที่ไม่เข้าใจ ถามอากู๋ เดี๋ยวเดียวก็ได้

เคล็ดลับสำคัญสำหรับการแต่งบทกลอนให้ดีนอกจากจะอาศัยแค่แผนผังกับวิธีการแต่งอย่างเดียวไม่ได้
จำเป็นจะต้องมีบทกลอนบทใดบทหนึ่งหรือหลายๆบท ที่แต่งดี แต่งถูกต้องตามฉันทลักษณ์มาเป็นแบบอย่างสำหรับท่องจำให้รู้จักท่วงทำนอง จังหวะจะโคนเสียก่อน
ถ้าอาศัยดูแต่แผนผังอย่างเดียวมักจะอยู่ไม่นาน  พอปล่อยแผนผังก็เป๋  การดูแค่แผนแล้วแต่งได้นั้นเป็นเรื่องของผู้ที่เชี่ยวชาญแล้วเท่านั้น
ฉะนั้น  กลอนตัวอย่างหรือบทครูนั้นจะสำคัญมาก  ถ้าได้ตัวอย่างที่ดี เราก็จะดีตามไปด้วย  ถ้าได้ตัวอย่างที่ไม่ดี เราก็จะพลอยแย่  คล้ายๆพ่อปูสอนลูกปูแบบนั้น

เสริมอีกข้อ เป็นข้อ ๕  คือ  แต่งเพื่อถ่ายทอดศิลปะ  การแต่งเพื่อถ่ายทอดศิลปะก็คือการแต่งกลอนด้วยใจรักในศิลปะนั่นเอง
ดังนั้น กลอนที่สื่อออกมาจึงเป็นบทกลอนที่มีคุณภาพ  มีความละเอียดอ่อน ตามความตั้งใจของผู้แต่ง



จะพี่หรือจะอา เอาให้แน่

สับสนทางวัยหรือไงลุง

--ณัชชา--


 emo_82


วัยของตัวเองไม่สับสน   แต่กำลังสับสนวัยของคนที่กำลังพูดด้วย  เลยไม่รู้ว่าจะวางตัวเองไว้ในฐานะอะไร  emo_32
(ยังสงสัยว่าแม่หนูนั้นอยู่ป.๖ดังเอ่ยอ้างจริงหรือ emo_51  )





หัวข้อ: Re: มาดูว่า นักกลอนเขาเขียนกลอนไปเพื่ออะไร
เริ่มหัวข้อโดย: ช่วงนี้ไม่ว่าง ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2012, 04:52:PM
ได้พักผ่อน(ทั้งในที่ทำงาน-บ้าน)...ได้พูดคุยหยอกล้อกับตัวหนังสือ...(ปกติไม่ค่อยมีใครคบ)

---สะเลเต---



หวัดดีพี่  ไม่มีใครคบ คบกับเพลิงสิ emo_45





หัวข้อ: Re: มาดูว่า นักกลอนเขาเขียนกลอนไปเพื่ออะไร
เริ่มหัวข้อโดย: กังวาน ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2012, 05:04:PM
เขียนกลอนไว้หลอกผู้หญิง แต่โดยมากจะโดนผู้หญิงหลอกครับ


หัวข้อ: Re: มาดูว่า นักกลอนเขาเขียนกลอนไปเพื่ออะไร
เริ่มหัวข้อโดย: พิมพ์วาส ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2012, 05:56:PM
วัยของตัวเองไม่สับสน   แต่กำลังสับสนวัยของคนที่กำลังพูดด้วย  เลยไม่รู้ว่าจะวางตัวเองไว้ในฐานะอะไร emo_32 
(ยังสงสัยว่าแม่หนูนั้นอยู่ป.๖ดังเอ่ยอ้างจริงหรือ emo_51)

พิมพ์วาสใกล้ขึ้น มัธยม ๑ แล้วนะคะ ตื่นเต้น ตื่นเต้น
ใกล้จะสอบ O-NET วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ นี้แล้วหละคะ ต้องอัดหนังสือ
ไว้ให้เต็มสมองก่อน กลอนเขียนบ้างเล่นบ้าง
ถ้าพิมพ์วาสท่อง สูตรเลขเป็นกลอนได้คงจะดีนะคะแต่คึงจะยุ่งยากน่าดู อิอิ..
emo_26


หัวข้อ: Re: มาดูว่า นักกลอนเขาเขียนกลอนไปเพื่ออะไร
เริ่มหัวข้อโดย: Thammada ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2012, 05:57:PM
เพราะเรามิใช่...อริยชน
ยังย่างเหยียบอยู่บนทางปรารถนา
ร้อยหลากมากมุ่งปรุงแต่งเติมทางอย่างมายา
และ ค้นหาค่าบางสิ่งวิ่งตามลมร้ายมาหายใจ
มวลมิตรสิทธิ์เสรีที่สรรค์สร้างอย่างยิ่งใหญ่ในอักษร
สู่สะท้อนทุกทำนองของชีวิตความคิดฝันวันวาดไว้
ด้วยรู้สึกนึกน้อมพร้อมแบ่งปันแห่งวันวัย
ศาสตร์ศิลป์ใส่หัวใจตนบนความกล้าพยายาม

เขียนเพราะ อยาก จะเขียนนะครับ
ไม่อยาก เขียนก็ไม่เขียนครับ แค่นั้น
เรามองความหวังเป็นกำไร???
หรือความตั้งใจบนความจริง
 emo_126


หัวข้อ: Re: มาดูว่า นักกลอนเขาเขียนกลอนไปเพื่ออะไร
เริ่มหัวข้อโดย: ลมหนาว ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2012, 10:40:PM
ความรู้สึกลึกลึกนึกสรรสร้าง
ไม่แตกต่างเพื่อนพ้องน้องพี่ท่าน
เขียนไปตามงามศิลป์จินตนาการ
สุขสำราญยามว่างพลางผ่อนคลาย
เพิ่งฝึกเรียนเขียนกลอนตอนสมัคร
ชักหลงรักลานวจีที่เฉิดฉาย
แม้ไม่เก่งเจ๋งแจ๋วแนวแต่งร่าย
เฝ้าเวียนว่ายเขียนไปตามใจตน
ยินปี่กลองก้องดังได้ฟังแล้ว
ต้องออกแนวรำป๋อจ้อทุกหน
ว่างเมื่อไรใฝ่หาสาละวน
คอยคิดค้นถักถ้อยร้อยบทกลอน


emo_116


หัวข้อ: Re: มาดูว่า นักกลอนเขาเขียนกลอนไปเพื่ออะไร
เริ่มหัวข้อโดย: รพีกาญจน์ ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2012, 11:34:AM

ชอบตีเคาะ เพราะมือ ไม่อยู่สุข
ชอบสนุก เฮฮา ประสาเถื่อน
ชอบทำตรม ขมเขรอะ แสร้งเลอะเลือน
ชอบแหย่เพื่อน นินทา ด่าเจ้านาย

เพราัะเสบย เคยได้ รับใช้วัด
เพราะถนัด รับจ้าง ร่างจดหมาย
เพราะใจซื่อ มืออ่อน รำฟ้อนฟาย
เพราะเดินสาย แบกกลอง ร้องรำวง

จึงรู้คำ นำคล้อง-จองสัมผัส
จึงรู้จัด ข้อความ ตามประสงค์
จึงรู้รับ ขับถอย ลอยขึ้นลง
จึงเขียนโคลง ชงกานท์ อ่านทุกวัน

 emo_100

รพีกาญจน์ 59