หัวข้อ กลอนสุภาพ (กลอน ๘)

หัวข้อ กลอนสุภาพ (กลอน ๘)

<< < (4/17) > >>

ตะวันฉาย:

หางนกยูงปลิดไป.. หัวใจหล่นตาม


หางนกยูงสีส้มโน้มกิ่งลู่
กลีบ,ละอองเรณูพรูไหวสั่น
สะบัดช่อพลิ้วลมพัดโรมรัน
ริ้วตะวันหลุบย้อมพร้อมกลีบเคว้ง (กชนันท์)

๐ ดอกสีส้มชูชันบานสลวย
ล่อภู่ผึ้งรื่นรวยด้วยสีเก่ง
พิศเกสรไกวก้านขานบทเพลง
วอนรวีอย่าเร่งเปล่งเดชา.. (ระนาดเอก)

ใจระรัวแอบพ้อเพราะหวาดหวั่น
มาศตะวันส่องระยับจับเกศา
หางนกยูงเบ่งบานเต็มม่านฟ้า
แล้วรักเราโรยราหรืออย่างไร? (กชนันท์)

ปลิดกลีบส้มพรมพื้นยืนอดสู
รักที่ดูเจิดจ้าฟ้าสดใส
ชั่วพริบตาขั้วโยกโลกคว่ำใบ
เท้าของใครย่ำกดบดแหลกเลือน(เพรางาย)

แตะเพียงแผ่วแว่นกลีบยับลีบปรุ
พลันทะลุย่อยแหลกเยิ้มยางเฝื่อน
ฝากสีสันแสดแสบไว้แนบเตือน
เซ่นคนเถื่อน เปื้อนตมก่อนจมลับ (กชนันท์)


เหลือหลายดอกแย้มเยือนเรือนใบยอด
รอวันทอดพรมส้มลมขยับ
เล่ห์ลมหวานหว่านลูบจูบประทับ
ตะวันดับร่วงรายตายตามกัน (เพรางาย)

ลู่ลมแรงแข่งขยับวับวาวไหว
ดอกก้านใบร่วงหล่นยลเพียงฉัน
ยืนต้นตายรายเรียงเคียงตะวัน
ถูกฝนพลัน ชูช่อดอก ออกเชยชม  (ตะวันฉาย)

แงซาย:
อ้างจาก: ตะวันฉาย ที่ 29 ธันวาคม 2009, 10:47:AM


หางนกยูงปลิดไป.. หัวใจหล่นตาม


หางนกยูงสีส้มโน้มกิ่งลู่
กลีบ,ละอองเรณูพรูไหวสั่น
สะบัดช่อพลิ้วลมพัดโรมรัน
ริ้วตะวันหลุบย้อมพร้อมกลีบเคว้ง (กชนันท์)

๐ ดอกสีส้มชูชันบานสลวย
ล่อภู่ผึ้งรื่นรวยด้วยสีเก่ง
พิศเกสรไกวก้านขานบทเพลง
วอนรวีอย่าเร่งเปล่งเดชา.. (ระนาดเอก)

ใจระรัวแอบพ้อเพราะหวาดหวั่น
มาศตะวันส่องระยับจับเกศา
หางนกยูงเบ่งบานเต็มม่านฟ้า
แล้วรักเราโรยราหรืออย่างไร? (กชนันท์)

ปลิดกลีบส้มพรมพื้นยืนอดสู
รักที่ดูเจิดจ้าฟ้าสดใส
ชั่วพริบตาขั้วโยกโลกคว่ำใบ
เท้าของใครย่ำกดบดแหลกเลือน(เพรางาย)

แตะเพียงแผ่วแว่นกลีบยับลีบปรุ
พลันทะลุย่อยแหลกเยิ้มยางเฝื่อน
ฝากสีสันแสดแสบไว้แนบเตือน
เซ่นคนเถื่อน เปื้อนตมก่อนจมลับ (กชนันท์)


เหลือหลายดอกแย้มเยือนเรือนใบยอด
รอวันทอดพรมส้มลมขยับ
เล่ห์ลมหวานหว่านลูบจูบประทับ
ตะวันดับร่วงรายตายตามกัน (เพรางาย)

ลู่ลมแรงแข่งขยับวับวาวไหว
ดอกก้านใบร่วงหล่นยลเพียงฉัน
ยืนต้นตายรายเรียงเคียงตะวัน
ถูกฝนพลัน ชูช่อดอก ออกเชยชม  (ตะวันฉาย)

สะบัดพริ้วปลิวว่อนตอนลมพัด
ผลิดอกผลัดใบหล่นปนแสดส้ม
ลอยละลิ่วปลิวคว้างตามทางลม
สีแสดส้มพรมพื้นดื่นดาษตา (แงซาย)

วฤก:
อ้างจาก: nontawit ที่ 16 ธันวาคม 2009, 08:15:PM



  อยากให้คุณ  Webmaster  มาบอกวิธีการเล่นอักษร หรือที่เรียกว่า "กลบท-กลอักษร"น่ะครับ เพราะอยากรู้ว่าเป็นอย่างไรบ้าง และอีกอย่าง
  ผมไปหาแล้วมันมีแค่นิดเดียวเอง  ถ้าหาได้ก็ขอบคุณมากครับ แต่ไม่ได้ก็ไม่เป็นไรครับ

  ด.ช.นนท์
   emo_54





กลอนกลบทสะบัดสะบิ้ง

กำหนดให้คำท้ายวรรคเปลี่ยนเป็นคำซ้ำอักษรสองคู่

ตัวอย่างเช่นกลอนแปดเดิมนิยมแบ่งคำเป็น 000 00 000

เมื่อจะเขียนแบบกลบทสะบัดสะบิ้งสามคำหลังจะต้องเปลี่ยนเป็นคำซ้ำอักษรสองคู่ดังนี้ 000 00 XYXY
นั่นคือซ้ำอักษร X กับ Y

เมื่อขยายสามคำหลังเป็นคำซ้ำสองคู่แล้ว สามคำนี้จะอ่านได้ 4 พยางค์ ซึ่งอาจทำให้เสียงของวรรคกลอนเยิ่นเย้อไปได้
ดังนั้นท่านจึงนิยมให้ X เป็นลหุ หรือคำเสียงสั้น ส่วน Y ให้เป็นคำเสียงหนัก
เมื่อเขียนอย่างนี้แล้ว จังหวะการอ่านกลอนก็จะไม่ยืดยาดจนเกินไป

ระนาดเอก:
อ้างจาก: แงซาย ที่ 29 ธันวาคม 2009, 10:46:PM

อ้างจาก: ตะวันฉาย ที่ 29 ธันวาคม 2009, 10:47:AM


หางนกยูงปลิดไป.. หัวใจหล่นตาม


หางนกยูงสีส้มโน้มกิ่งลู่
กลีบ,ละอองเรณูพรูไหวสั่น
สะบัดช่อพลิ้วลมพัดโรมรัน
ริ้วตะวันหลุบย้อมพร้อมกลีบเคว้ง (กชนันท์)

๐ ดอกสีส้มชูชันบานสลวย
ล่อภู่ผึ้งรื่นรวยด้วยสีเก่ง
พิศเกสรไกวก้านขานบทเพลง
วอนรวีอย่าเร่งเปล่งเดชา.. (ระนาดเอก)

ใจระรัวแอบพ้อเพราะหวาดหวั่น
มาศตะวันส่องระยับจับเกศา
หางนกยูงเบ่งบานเต็มม่านฟ้า
แล้วรักเราโรยราหรืออย่างไร? (กชนันท์)

ปลิดกลีบส้มพรมพื้นยืนอดสู
รักที่ดูเจิดจ้าฟ้าสดใส
ชั่วพริบตาขั้วโยกโลกคว่ำใบ
เท้าของใครย่ำกดบดแหลกเลือน(เพรางาย)

แตะเพียงแผ่วแว่นกลีบยับลีบปรุ
พลันทะลุย่อยแหลกเยิ้มยางเฝื่อน
ฝากสีสันแสดแสบไว้แนบเตือน
เซ่นคนเถื่อน เปื้อนตมก่อนจมลับ (กชนันท์)


เหลือหลายดอกแย้มเยือนเรือนใบยอด
รอวันทอดพรมส้มลมขยับ
เล่ห์ลมหวานหว่านลูบจูบประทับ
ตะวันดับร่วงรายตายตามกัน (เพรางาย)

ลู่ลมแรงแข่งขยับวับวาวไหว
ดอกก้านใบร่วงหล่นยลเพียงฉัน
ยืนต้นตายรายเรียงเคียงตะวัน
ถูกฝนพลัน ชูช่อดอก ออกเชยชม  (ตะวันฉาย)

สะบัดพริ้วปลิวว่อนตอนลมพัด
ผลิดอกผลัดใบหล่นปนแสดส้ม
ลอยละลิ่วปลิวคว้างตามทางลม
สีแสดส้มพรมพื้นดื่นดาษตา (แงซาย)


๐ ความรุจีอัศจรรย์โลกสรรค์สร้าง
ก็กระจ่างพร่างพื้นชื่นบุปผา
บ้างค่อยปลิดดอกร่วงควงหล่นมา
บอกเพลาเก่าก่อนไว้สอนใจ..(ระนาดเอก)

emo_12

Kotchanan:



เพิ่มเติมคำอธิบายฉันทลักษณ์
เรื่อง : เสียงท้ายวรรคและการผันเสียงวรรณยุกต์ท้ายวรรค

 

วิธีใช้วรรณยุกต์ ในคำสุดท้ายของแต่ละวรรค


คำท้ายวรรค สดับ (วรรคหนึ่ง) ใช้ สามัญ เอก โท ตรี จัตวา ไม่นิยมสามัญ


คำท้ายวรรค รับ (วรรคสอง) ห้ามใช้ สามัญและตรี นิยมใช้ จัตวา เป็นส่วนมาก


คำท้ายวรรค รอง  (วรรคสาม) ใช้ สามัญ หรือ ตรี ห้ามใช้ เอก โท จัตวา


คำท้ายวรรค ส่ง (วรรคสี่) ใช้ สามัญหรือตรี ห้ามใช้ เอก โท จัตวา นิยมสามัญ



การผันเสียงวรรณยุกต์ท้ายวรรค

การแต่งกลอนแปดนั้น "การผันเสียงวรรณยุกต์ถือตามเสียง ไม่ใช่ถือตามวรรณยุกต์ที่ปรากฎ"..
เวลาลงเสียงท้ายวรรคแต่ละวรรค ผู้แต่งควรไล่เสียงในใจก่อน ก็จะได้คำและเสียงในใจทันที..
โดยเอาเสียงตามความเป็นจริง ไม่ถือรูปวรรณยุกต์ เพราะรูปวรรณยุกต์บางรูปเสียงอาจจะหลอก (อ้างอิงจากคุณระนาดเอก)

วิธีการไล่เสียงวรรณยุกต์

เสียงในภาษาไทยมีอยู่ ๕ เสียง คือ เสียงสามัญ  เสียงเอก  เสียงโท  เสียงตรี และเสียงจัตวา
เริ่มผัน ตัวอย่าง เช่น กา  ก่า  ก้า  ก๊า  ก๋า
ไตรยางค์พยัญชนะ ๔๔ ตัว  แบ่งเป็นอักษรสูง ๑๑ ตัว    อักษรกลาง  ๙ ตัว  และอักษรต่ำ  ๒๔ ตัว

สำหรับอักษรสูงพื้นฐานเป็นเสียงจัตวา
ส่วนอักษรกลางกับอักษรต่ำพื้นฐานเป็นเสียงสามัญ

ปัญหาอยู่ที่ว่า  สำหรับคนที่ใช้ภาษาถิ่น เช่นจังหวัดทางภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคอีสาน เมื่อผันเสียงอาจเพี้ยนได้

ขอนำเคล็ด(ไม่)ลับง่ายๆ  (จากหนังสือต้มยำทำกลอน)มาฝากค่ะ

วิธีเรียนลัดต้องจำไว้ก่อน (เข้าใจทีหลัง) โดยเฉพาะคำเป็นเท่านั้น 
ถ้าเป็นอักษรกลางผันด้วยรูปวรรณยุกต์อะไรต้องเป็นเสียงนั้นวันยังค่ำ
ส่วนอักษรต่ำ เช่น  คน  เติมรูปวรรณยุกต์โท (้) เป็นเสียงตรี (๊)    เติมรูปวรรณยุกต์เอก (่) เป็นเสียงโท (้)  เป็นต้น
ถ้าอักษรสูง เช่น ขอ เสียงจัตวา  เติมรูปวรรณยุกต์โท  เอก  ก็เป็นเสียงนั้นอยู่แล้ว


ขอขอบพระคุณเวปไซต์ http://www.st.ac.th/bhatips/glon.htm
คำแนะนำเรื่องการผันเสียงวรรณยุกต์จากคุณระนาดเอก
และเคล็ดไม่ลับ..จากหนังสือต้มยำทำกลอน

และส่งท้ายด้วย


เพชรน้ำหนึ่ง
ประพันธ์โดย : ส. เชื้อหอม



กลอนเก้าคำ จำไว้ ด้อยไพ"เราะ"   
เขียนให้"เหมาะ"  แปดคำ เพชรน้ำ"หนึ่ง"
แต่ละวรรค หนักแน่น ดุจแกน"กลึง"
กลอนจะ"ซึ้ง" ติดใจ และให้"คุณ"

คำสุดท้าย วรรคแรก แยกพิ"เศษ"
สามัญ"เขต" หวงห้าม ตามเกื้อ"หนุน"
ท้ายวรรคสอง ต้องรู้ อยู่เป็น"ทุน"
เอก-โท"จุน" จัต- วาประ"พนธ์"

ท้ายวรรคสาม วรรคสี่ นี้จำ"มั่น"
เสียงสา"มัญ" -ตรีใช้ ได้ทุก"หน"
สัมผัสซ้ำ จำจด งดปะ"ปน"
จงคิด"ค้น"  ถ้อยคำ ที่จำ"เป็น"

ไม้ไต่คู้ ใช้กับ ไม้ไต่"คู้"
เมื่อฟัง"ดู" เด่นดี ดั่งที่"เห็น"
เสียงสั้นยาว ก้าวก่าย หลายประ"เด็น"
อย่าบำ"เพ็ญ" พ้องกัน นิรัน"ดร"

อย่าเขียนให้ ใจความ ตามเพ้อ"นึก"
จงตรอง"ตรึก" ตระหนัก เรื่องอัก"ษร"
คติธรรม นำใส่ ให้สัง"วร"
รวมสุน"ทร" ถ้อยไว้ ให้งด"งาม"

จุดจบก็ ขอให้ กินใจ"หน่อย"
มิควร"ปล่อย" เปะปะ เหมือนสะ"หนาม"
จบให้เด่น เห็นชัด จำกัด"ความ"
ให้ตรง"ตาม" เค้าโครง เรื่องโยง"ใย"

เขียนเสร็จสรรพ กลับมา ตรวจตรา"ผิด"
ตรวจช"นิด" เรียงตัว ทั่วกัน"ใหม่"
เมื่อเห็นเพราะ เหมาะดี จี้หัว"ใจ"
จึงเผย"ให้" ประชา ชนตรา"ตรึง"

กลอนเก้าคำ จำไว้ ด้อยไพ"เราะ"
เขียนให้"เหมาะ" แปดคำ เพชรน้ำ"หนึ่ง"
แต่ละวรรค หนักแน่น ดุจแกน"กลึง"
ผู้อ่าน"จึง" จะชอบ ชมขอบ"คุณ".




>> พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒


นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว